![]() |
#1
|
|||
|
|||
![]()
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "อากาศหนาวเย็นลงบริเวณประเทศไทยตอนบน และคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้(มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 9-15 มกราคม 2561)" ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 10 มกราคม 2561 ในช่วงวันที่ 10-11 มกราคม 2561 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น และอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 6-8 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ส่งผลให้มีอากาศหนาวเย็นลงโดยทั่วไปกับมีลมแรง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 12-15 มกราคม 2561 อุณหภูมิจะลดลงได้อีกเล็กน้อย ทำให้มีอากาศหนาวเย็นได้ต่อเนื่อง สำหรับบริเวณยอดดอย และยอดภู ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด จึงขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง และเกษตรกร ควรระวังความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนแล้ว และจะแผ่เข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบนจนถึงวันที่ 15 มกราคม 2561 สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 11-15 มกราคม 2561 ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน มีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง สภาวะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและมีอากาศหนาวเย็นลงกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็ว อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย และเกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. คาดหมาย การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 9 - 11 ม.ค. 61 อากาศจะหนาวเย็นลงอย่างรวดเร็วกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิลดลง 6-8 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และกรุงเทพมหานคร อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 12-13 ม.ค. 61 อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 ม.ค. 61 ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่างในช่วงวันที่ 10-15 ม.ค. 61 คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ข้อควรระวัง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่10 - 13 ม.ค. 61 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย สำหรับในช่วงวันที่ 10 - 15 ม.ค. 61ประชาชนบริเวณชายฝั่งภาคใต้ระวังคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าฝั่ง และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 ม.ค. 61 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย |
#2
|
|||
|
|||
![]()
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
องค์กรสิ่งแวดล้อมชี้แผนผุดเขื่อนในจีนกระทบปลายน้ำโขง ชาวบ้านโอดปลาลดทุกปี เอเอฟพี - แม่น้ำโขง แม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนหลายสิบล้านชีวิตกำลังถูกคุกคามจากเขื่อนจีน ที่ย้ำให้เห็นถึงการควบคุมทางกายภาพของปักกิ่งเหนือเพื่อนบ้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวประมงกัมพูชา อายุ 32 ปี จากชุมชนมุสลิมชาวจามที่อาศัยอยู่บนเรือที่ล่องไปตามแนวแม่น้ำใน จ.กันดาล ระบุว่า ปลาที่เขาหาได้ในแต่ละวันนั้นลดจำนวนลงทุกปี ?เราไม่รู้ว่าทำไมตอนนี้ปลาถึงมีน้อยลง? ชายชาวเขมร กล่าว เรื่องราวน่าเศร้าจากหมู่บ้านที่อยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำซึ่งคดเคี้ยวมาจากที่ราบสูงทิเบต ผ่านพม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ ด้วยความยาวเกือบ 4,800 กิโลเมตร แม่น้ำโขงเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นรองเพียงแค่แม่น้ำอเมซอนสำหรับความหลากหลายทางชีวภาพ โดยแม่น้ำโขงสายนี้ได้หล่อเลี้ยงประชากรราว 60 ล้านคนทั่วทั้งลุ่มน้ำ แม้การไหลของแม่น้ำโขงจะยังไม่ถูกควบคุมจากพื้นที่ต้นน้ำในจีนก็ตาม แต่ในการเยือนกรุงพนมเปญ ของนายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง เพื่อร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำระดับภูมิภาคในวันพุธนี้ (10) อาจกำหนดอนาคตของแม่น้ำสายนี้ก็เป็นได้ รายงานขององค์กรแม่น้ำนานาชาติ ระบุว่า ปักกิ่งสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงส่วนบนแล้ว 6 แห่ง และกำลังลงทุนในโครงการเขื่อนอีกมากกว่า 6 แห่ง จากที่วางแผนไว้ 11 แห่ง ในพื้นที่ตอนใต้ กลุ่มสิ่งแวดล้อมเตือนว่า การกีดขวางลำน้ำอาจเป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา รบกวนการอพยพของปลา และการไหลของสารอาหาร และตะกอนสำคัญต่างๆ ชุมชนต่างๆ ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง รายงานว่า ปริมาณปลาลดลงในช่วงหลายปีมานี้ และกล่าวโทษว่า เขื่อนเป็นสาเหตุ แต่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปเนื่องจากยังขาดข้อมูลพื้นฐาน และธรรมชาติที่ซับซ้อนของระบบนิเวศแม่น้ำ แต่สิ่งที่พวกเขาเห็นด้วยคือ ว่า จีนนั้นมีอำนาจเหนือทรัพยากรนี้ ที่เป็นสายเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจของบรรดาคนยากจนที่อยู่ทางตอนใต้ของลำน้ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายต่างประเทศ ระบุว่า ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างไม่สามารถโต้แย้งจีน เป็นผลให้ปักกิ่งยังสามารถทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย และวิถีชีวิตของประชาชนหลายล้านที่อยู่ตามแนวแม่น้ำ และจากการควบคุมต้นน้ำ ปักกิ่ง จึงยังสามารถสร้างเขื่อนบนส่วนต่างๆ ของแม่น้ำ ขณะที่ผลกระทบตกอยู่กับปลายน้ำ นอกจากนั้น จีนยังสามารถปรับเปลี่ยนระดับน้ำได้ ที่นับเป็นเครื่องมือต่อรองที่มีอิทธิพลอย่างมากในปี 2559 เมื่อจีนเปิดประตูเขื่อนเพื่อช่วยเวียดนามบรรเทาความแห้งแล้งรุนแรงในปีนั้น อำนาจมหาศาลในระดับภูมิภาคกำลังถูกยืนยันอีกครั้งผ่านเวทีการประชุมกรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (LMC) และในขณะเดียวกัน จีนก็เอาใจเพื่อนบ้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการลงทุน และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ในสัปดาห์นี้ ผู้นำจากทั้ง 6 ชาติในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงจะเข้าร่วมการประชุมกรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (LMC) ที่กัมพูชา กระทรวงการต่างประเทศของจีนกำกับดูแลหัวข้อการประชุม ที่ยังครอบคลุมไปถึงประเด็นการค้าและความมั่นคง เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และสภาพแวดล้อมที่สวยงาม แต่นักสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การประชุม LMC มุ่งหมายที่จะแทนที่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) คณะทำงานในระดับภูมิภาคที่พยายามจะจัดการการพัฒนาตามแนวแม่น้ำโขง ซึ่งไม่มีประเทศจีนเข้าร่วม มัวรีน แฮร์ริส ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขององค์กรแม่น้ำระหว่างประเทศ กล่าวว่า รู้สึกวิตกกังวลว่าบทบาทผู้นำของจีน และอิทธิพลจะทำให้จีนให้ความสำคัญต่อผลประโยชน์ของตัวเองเหนือกว่าความร่วมมือที่มีความสำคัญ บริษัทต่างๆ ของจีนกำลังลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในโครงการเขื่อนหลายแห่ง แต่จนถึงเวลานี้โครงการต่างๆ ยังไม่สามารถดำเนินการประเมินผลกระทบทางสังคม และสิ่งแวดล้อมให้เสร็จสมบูรณ์ การเรียกร้องการปกป้องคุ้มครองแม่น้ำมักถูกมองข้าม ด้วยรัฐบาลต่างๆ พยายามที่จะตอบสนองความต้องการด้านพลังงาน และไม่ต้องการที่จะโต้แย้งจีน หรือต่อต้านเงินลงทุนของจีน. |
#3
|
|||
|
|||
![]()
ขอบคุณข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
ออสเตรเลียร้อนปรอทแตก! ?ค้างคาว?ทนความร้อนไม่ไหว หลายร้อยตัวล้มตาย เจ้าหน้าที่เร่งช่วยเหลือ ![]() บีบีซีรายงานว่า หลังอากาศในประเทศออสเตรเลียร้อนระอุ ส่งผลให้ค้างคาวหลายร้อยตัวไม่สามารถทนทานต่อสภาพอากาศได้และตายลง รวมไปถึงเจ้าของสุนัขรายหนึ่งถูกกล่าวหาว่าทารุณกรรมสัตว์เนื่องจากปล่อยสุนัขอยู่ในรถท่ามกลางอากาศร้อน โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อากาศในมหานครซิดนีย์ได้ทำลายสถิติ กลายเป็นวันที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่ปี 1939 ด้วยอุณหภูมิที่พุ่งทะยานไปถึง 47.3 องศาเซลเซียส สภาพอากาศดังกล่าวส่งผลให้ค้างคาว, พอสซั่ม และนก ต้องเผชิญกับภาวะความเครียดจากความร้อน (heat stress) มากที่สุด ในบรรดาสัตว์ท้องถิ่นของออสเตรเลีย นอกจากนี้ ตำรวจยังพบว่ามีหญิงรายหนึ่งปล่อยลูกสุนัขไว้ในรถยนต์ ซึ่งมีอุณหภูมิภายในรถพุ่งสูงถึง 65 องศาเซลเซียส เจ้าหน้าที่จึงทุบกระจกรถและนำลูกสุนัขอายุ 7 สัปดาห์ออกมา ก่อนจะให้น้ำและพาไปอยู่ในรถตำรวจพร้อมเปิดแอร์ให้ จากนั้นจึงแจ้งข้อหาทารุณกรรมสัตว์แก่เจ้าของสุนัขซึ่งเป็นหญิงวัย 28 ปี ![]() ลูกสุนัขที่ถูกทิ้งไว้ในรถ ขณะที่เมืองทางตะวันตก ศูนย์ข้อมูลสัตว์ป่านิวเซาท์เวลส์ บริการการศึกษาและช่วยเหลือ ระบุว่า พบฝูงค้างคาวแม่ไก่ต้องเผชิญกับภาวะเครียดจากความร้อน และตายลงไปอย่างน้อยหลายร้อยตัว โดยเจ้าหน้าที่ได้นำน้ำไปให้ลูกค้างคาวแม่ไก่ราว 120 ตัว ก่อนจะนำกลับคืนสู่รังของมัน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังช่วยปฐมพยาบาลให้กับพอสซั่มที่อุ้งเท้าไหม้เนื่องจากพื้นถนนและหลังคาที่ร้อนเกินไป รวมไปถึงให้น้ำแก่นกด้วย |
![]() |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|