กระดานข่าว Save Our Sea.net
มิถุนายน 15, 2024, 04:46:59 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม: วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม 2551  (อ่าน 1949 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กน้อย
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 190


« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 02:07:03 AM »

กรมอุตุนิยมวิทยา

สภาวะอากาศทั่วไป

หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และ
อ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะนี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 26 องศา สูงสุด 34 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ส.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลง และร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ทั่วประเทศจะมีฝนลดลง


* Forecast2508.JPG (22.75 KB, 398x382 - ดู 224 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2008, 02:13:33 AM โดย เด็กน้อย » บันทึกการเข้า
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 02:11:53 AM »


ขอบคุณครับ น้องเด็กน้อย และน้อง SNR ที่สละเวลามาช่วยกันสรุปข่าว

เช้าวันนี้ ยังอยู่ต่างจังหวัดครับ ใช้ GPRS ต่อเน็ต  เดี๋ยวติดเดี๋ยวหลุดตลอดเวลา ปวดหัว เลย .... ขอล็อคเอ๊าท์ไปก่อนครับ บ๋ายบาย ....

บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
เด็กน้อย
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 190


« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 02:22:50 AM »

ไทยรัฐ

ชูนโยบายสร้างเขื่อนริมน้ำเจ้าพระยา
 
ผู้สื่อข่าวรายงานวานนี้ (24 ส.ค.) ถึงความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร ว่า  ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีการเกิดเหตุการณ์สตอมเซิร์จ (Storm Surge) หรือคลื่นพายุหมุน ที่อาจส่งผลทำให้กรุงเทพฯต้องจมอยู่ใต้บาดาลว่า ขณะนี้มีการเตือนภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมาย ทั้งเรื่องภาวะโลกร้อน การเกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วมใหญ่ หรือการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาดังกล่าว พบว่าชาวบ้านรู้สึกกังวลกับปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างยิ่ง ขณะเดียวกัน พบว่ายังไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมารับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้หากมีโอกาสเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตนได้ศึกษาและเตรียมแผนรับมือทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างเป็นระบบ โดยระยะสั้นจะสั่งให้มีการขุดลอกคลองและท่อระบายน้ำทั่วพื้นที่ กทม. พร้อมกับหมั่นตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด และซักซ้อมการหลบภัย ขณะที่การแก้ปัญหาในระยะยาว ตนเห็นว่าการสร้างเขื่อนรอบแม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นเรื่องที่มีความเป็นจำเป็น แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมี กทม.เป็นเจ้าภาพหลัก   

เมื่อเวลา 10.00 น. ที่พรรคพลังประชาชน ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงการส่งผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชนลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่า เป็นเรื่องของทางภาค กทม.ของพรรคพลังประชาชนที่ไปพิจารณาหาคนลงสมัคร แต่ในเวลานี้ทางพรรคยังไม่ได้ประชุมหารือกันว่าจะส่งใครลงชิงตำแหน่ง คิดว่าไม่มีปัญหา หากพรรคมอบหมายให้ใครดูแล เราก็ต้องให้เขาไปดำเนินการ และไม่ควรโวยวาย เมื่อมอบหมายให้ทางภาค กทม.แล้วก็ต้องปล่อย เพราะเป็นเรื่องของ กทม.โดยเฉพาะที่จะต้องสรรหาคนชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ต่อไป เมื่อถามว่า จะมีลักษณะส่งคนลงแต่ไม่เปิดตัวว่าเป็นคนของพรรคชัดเจน เหมือนกรณีนางปวีณา หงสกุล หรือไม่ ร.ท.กุเทพตอบว่า กรณีดังกล่าวเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะในอดีตมีคนสนับสนุนมาก จะไปเปิดตัวคนใดคนหนึ่งจะทำให้อีกคนเสียใจ แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป โดยหากไม่ซับซ้อนมากเปิดตัวไปชัดเจนเลยดีกว่า ไม่ใช่ไปแอบช่วยใครอยู่เบื้องหลัง ทั้งนี้คนที่จะลงสมัครในนามพรรคพลังประชาชนอาจคิดหนัก เพราะจากผลสำรวจคะแนนนิยมของพรรคประชาธิปัตย์นั้น ข่มขวัญคนอื่นอยู่มากพอสมควร
 
 ****************************************************************************************
บุชเตรียมงบกลางช่วยน้ำท่วม 4จุดในรัฐฟลอริดา
 
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานวันนี้ (25 ส.ค.) ว่า นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติใน 4 จุดของรัฐฟลอริดา พร้อมเตรียมงบประมาณกลางไว้สำหรับปฏิบัติการช่วยเหลือเร่งด่วน และซ่อมแซมพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายในเขตเบรวาร์ด มอนโร โอคีโชบี และเซนต์ลูซี  ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากน้ำท่วมและพายุรุนแรง อันเนื่องมาจากฝนตกหนักมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ครั้งหนึ่ง จากอิทธิพลของพายุโซนร้อนเฟย์ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตในรัฐฟลอริดา อย่างน้อย 11 คน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุดพายุโซนร้อนเฟย์ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นแล้ว

รายงานระบุด้วยว่า หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาคาดว่า อาจเกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมได้ ในพื้นที่อาละบามา มิสซิสซิปปี ลุยเซียนา และเทนเนสซี

 
บันทึกการเข้า
เด็กน้อย
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 190


« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 02:24:39 AM »

เดลินิวส์

สุดเจ๋ง!"น้ำ"เติมรถซดแทน"น้ำมัน" ไอเดียคนไทย-จดสิทธิบัตร พลิกวิกฤติต่อยอดศก.ชาติ

 ปัจจุบันทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่วิกฤติการณ์ด้านพลังงาน และโลกร้อน ซึ่งมีผลกระทบต่อคนไทย การสร้างเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกใหม่ขึ้นมาทดแทนพลังงานเชื้อเพลิง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องหาแนวทางร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว

“ไฮโดรเจน” เป็นพลังงานทางเลือกหนึ่งสำหรับยุคสมัยน้ำมันแพงที่สามารถจะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ได้ ซึ่งเป็นพลังงานที่เมืองไทยหาได้จากธรรมชาติ และเป็นพลังงานสะอาด สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนและลดมลพิษจากไอเสียได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ทาง ผศ.จรูญ ถาวรจักร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี นายสมชาย ไตรสุริย  ธรรมา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีช่างเครื่องบิน  ผศ.วิเชียร จันทะโชติ อาจารย์มหาวิทยาลัยราช     ภัฏอุดรธานี ได้ร่วมกันคิดค้นรถเติม “น้ำ” แทน      “น้ำมัน” โดยเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีกับภาคเอกชนคือ นายสุมิตร อิศราง  กูร ณ อยุธยา ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อดีตเจ้าหน้าที่องค์การ “นาซ่า” ประจำอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้ง นายศักดิ์ชัย ตันคงจำรัสกุล นักธุรกิจ จ.อุดรธานี โดย นายสุมิตร    อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์แยกก๊าซ     “ไฮโดรเจน” จากน้ำ แล้วนำมาเป็นเชื้อเพลิงใช้กับรถยนต์สำเร็จ โดยเริ่มแรกทางมหาวิทยาลัยฯ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันในความร่วมมือที่จะประดิษฐ์อุปกรณ์แยกก๊าซ โดยทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ให้การสนับสนุนเครื่องมือประกอบชิ้นส่วน ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนความรู้และปรึกษาหารือกับ ผช.วิเชียร ตลอดเวลา เมื่อมีโอกาสก็จะช่วยประดิษฐ์อุปกรณ์  เล็ก ๆ น้อย ๆ พร้อมกับนำเครื่องมือไปช่วยทำ จน กระทั่งได้เครื่องต้นแบบออกมาเป็นรูปเป็นร่าง และเป็นที่พอใจ จึงได้พากันนำไปติดตั้งกับรถยนต์ แล้วจึงได้ทดลองวิ่งดู

สำหรับรถต้นแบบ “รีแอค เตอร์ 1” รถทดสอบนั้น เป็นรถเก๋งนั่ง 4 ประตู ขนาด 2000 ซีซี ได้ชื่อว่าเป็น “H20 เทคโนโลยีแห่ง   อนาคต” หรือ “HGV.Hydrogas Vehicle” เป็นรถที่ใช้พลังผสมระหว่างเบนซินกับไฮโดรเจน หรือ LPG กับไฮโดรเจน โดยในสัดส่วนของเบนซินหรือ    LPG 40 เปอร์เซ็นต์ กับไฮโดรเจน 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในการทดสอบที่ผ่านมา รถวิ่งจากกรุงเทพฯ มาอุดรธานี ระยะทาง 560 กม. ใช้น้ำมันเบนซินไปประมาณ 10 ลิตร ขณะน้ำที่ใช้ผลิตไฮโดรเจนใช้ไปเพียง 1 ลิตรเท่านั้น

นายสุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา อธิบายถึงการใช้อุปกรณ์ว่าเริ่มต้นที่น้ำบริสุทธิ์เหมือนน้ำกลั่น (ดีไอโอไนซ์) เติมเข้าไป  ในเครื่องรีแอคเตอร์ที่จะแยกไฮโดรเจนและออกซิเจนออกมาเป็น HH-O ผ่าน   ออกมายังเซฟตี้วาล์ว เพื่อส่งตรงไปที่เครื่องยนต์ หากรถ  มีหัวฉีดก็ผ่านหัวฉีด โดยทั้งหมดจะควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์คอนโทรลที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวรถ เพื่อให้เครื่องผลิตไฮโดรเจนออกมาเท่าที่เอาไปใช้เท่านั้น จะไม่มีการเก็บรักษาไว้ หากอุณหภูมิ  ความดันผิดปกติก็จะมีระบบ  ป้องกันตัวเอง
 
อย่างไรก็ตามสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ นายสุมิตรกล่าวว่าได้คิดมาตั้งแต่ 4 ปีก่อน เมื่อครั้งที่ยังทำงานอยู่ที่นาซ่า ประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วมาเมื่อ 2 ปีถัดมา จึงตัดสินใจซื้อรถคันต้นแบบ ซึ่งเป็นรถใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณมาจากนายศักดิ์ชัย นักธุรกิจ จ.อุดรธานี และได้รับความร่วมมือ และความช่วยเหลือจากทางมหา วิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยรถคันดังกล่าวนี้จะเป็นรถที่มีระบบเชื้อเพลิง 3 ประเภท คือ น้ำมันเบนซิน, ก๊าซแอลพีจี และก๊าซไฮโดรเจน โดยรถคันนี้ได้มีการทดลองวิ่งมาแล้วกว่า 40,000 กม. จนถึงขณะนี้ยังไม่พบปัญหาอะไรเกิดขึ้นเลย
 
สำหรับในการขอจดสิทธิบัตรนั้น ได้จดไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจดในประเทศไทย เพราะต้องการให้เทคโนโลยีชิ้นนี้เป็นสมบัติของชาติไทย คนไทยสามารถนำเอามาต่อยอดในแนวความคิดให้มีหลากหลายมากขึ้นไป แม้จะประสบกับความสำเร็จไปแล้วในขณะนี้ แต่ก็ต้องการที่จะพัฒนาให้ก้าวไกลไปอีก ในโอกาสเดียวกันก็มีความต้องการที่จะให้ผลงานชิ้นนี้ เป็นสิ่งที่จะถ่ายทอดความรู้ และเป็นสถาบันฝึกอบรมให้กับนักศึกษาด้วย ส่วนเรื่องการผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ ออกมาจำหน่ายให้เป็นสินค้านั้นอาจจะในเร็ว ๆ นี้ แต่ด้านราคาจะสูงกว่า แอลพีจี แต่จะถูกกว่า เอ็นจีวี สำหรับอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมาใช้กับไฮโดรเจนแทนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นจะติดตั้งอยู่ในที่เก็บของท้ายรถประกอบไปด้วย กล่องคอนโทรลจุดระเบิดอัจฉริยะ แบตเตอรี่ 12 v. มอเตอร์ อินเวอเตอร์ ขวดบรรจุน้ำกลั่นพิเศษ ไมโครคอนโทรลและอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง โดยควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์คอนโทรลที่อยู่บริเวณแผงหน้าปัดเหนือพวงมาลัย ส่วนในห้องเครื่องรถจะติดตั้งมอเตอร์ควบคุมระบบแยกน้ำ
 
นายสุมิตร กล่าวอีกว่าเทคโนโลยีไฮโดรเจน เกิดหลังการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า ซึ่งจะได้ก๊าซไฮโดรเจน 2 อะตอมกับออกซิเจน 1 อะตอม โดยรีแอคเตอร์  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของเรา ถ้านำมาใช้กับยานยนต์ โดยใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจาก     แบตเตอรี่รถยนต์ เพื่อแยกโมเลกุลน้ำ ให้ได้ไฮโดรเจนออกมาเป็นเชื้อเพลิงเข้าไปใช้สันดาปของเครื่องยนต์ โดยไม่ต้องใช้ถังเก็บก๊าซไฮโดรเจนเลย ประการที่สองการควบคุมอุณหภูมิ ปกติการแยกน้ำโดยรีแอค   เตอร์ทั่วไปทำให้ความร้อนสูงยากแก่การควบคุมซึ่งอาจจะเป็นอันตราย แต่รีแอคเตอร์ที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถควบคุมความร้อนให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ประการที่สาม วัตถุดิบที่ใช้เป็นต้นกำเนิดเชื้อเพลิง คือ น้ำซึ่งหาได้ง่าย ราคาถูก และประการที่สี่ ไอเสียที่ได้จากการสันดาปจะกลับมารวมตัวกับออกซิเจนได้น้ำ เป็นไอเสียที่บริสุทธิ์
 
 อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีพลังงานทางเลือกไฮโดรเจน ที่พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบขณะนี้ ยังต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นเรื่องของความปลอดภัย ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม ซึ่งจะทำหน้าที่ตรวจสอบความผิดปกติของการทำงานของระบบโดยรวม นอกจากนี้ยังต้องการพัฒนาประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และไมโครคอนโทรลเลอร์ ควบคุมการทำงานของรีแอคเตอร์กับเครื่องยนต์ เพื่อให้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่น้อยลง และได้ผลผลิตคือ ก๊าซไฮโดรเจนในปริมาณที่เป็นสัดส่วนกับความต้องการเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์
 
นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่ง จากมันสมองของคนไทย ที่สามารถคิดค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิงได้สำเร็จในระดับที่น่าพอใจ.

พีระ วีระชัยสุดเจ๋ง!"น้ำ"เติมรถซดแทน"น้ำมัน" ไอเดียคนไทย-จดสิทธิบัตร พลิกวิกฤติต่อยอดศก.ชาติ
End            :

ปัจจุบันทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่วิกฤติการณ์ด้านพลังงาน และโลกร้อน ซึ่งมีผลกระทบต่อคนไทย การสร้างเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกใหม่ขึ้นมา   ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องหาแนวทางร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว

“ไฮโดรเจน” เป็นพลังงานทางเลือกหนึ่งสำหรับยุคสมัยน้ำมันแพงที่สามารถจะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ได้ ซึ่งเป็นพลังงานที่เมืองไทยหาได้จากธรรมชาติ และเป็นพลังงานสะอาด สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนและลดมลพิษจากไอเสียได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ทาง ผศ.จรูญ ถาวรจักร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี นายสมชาย ไตรสุริย  ธรรมา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีช่างเครื่องบิน  ผศ.วิเชียร จันทะโชติ อาจารย์มหาวิทยาลัยราช     ภัฏอุดรธานี ได้ร่วมกันคิดค้นรถเติม “น้ำ” แทน      “น้ำมัน” โดยเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีกับภาคเอกชนคือ นายสุมิตร อิศราง  กูร ณ อยุธยา ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อดีตเจ้าหน้าที่องค์การ “นาซ่า” ประจำอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้ง นายศักดิ์ชัย ตันคงจำรัสกุล นักธุรกิจ จ.อุดรธานี โดย นายสุมิตร    อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์แยกก๊าซ       “ไฮโดรเจน” จากน้ำ แล้วนำมาเป็นเชื้อเพลิงใช้กับรถยนต์สำเร็จ โดยเริ่มแรกทางมหาวิทยาลัยฯ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันในความร่วมมือที่จะประดิษฐ์อุปกรณ์แยกก๊าซ โดยทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ให้การสนับสนุนเครื่องมือประกอบชิ้นส่วน ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนความรู้และปรึกษาหารือกับ ผช.วิเชียร ตลอดเวลา เมื่อมีโอกาสก็จะช่วยประดิษฐ์อุปกรณ์  เล็ก ๆ น้อย ๆ พร้อมกับนำเครื่องมือไปช่วยทำ จน กระทั่งได้เครื่องต้นแบบออกมาเป็นรูปเป็นร่าง และเป็นที่พอใจ จึงได้พากันนำไปติดตั้งกับรถยนต์ แล้วจึงได้ทดลองวิ่งดู

สำหรับรถต้นแบบ “รีแอค เตอร์ 1” รถทดสอบนั้น เป็นรถเก๋งนั่ง 4 ประตู ขนาด 2000 ซีซี ได้ชื่อว่าเป็น “H20 เทคโนโลยีแห่ง   อนาคต” หรือ “HGV.Hydrogas Vehicle” เป็นรถที่ใช้พลังผสมระหว่างเบนซินกับไฮโดรเจน หรือ LPG กับไฮโดรเจน โดยในสัดส่วนของเบนซินหรือ    LPG 40 เปอร์เซ็นต์ กับไฮโดรเจน 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในการทดสอบที่ผ่านมา รถวิ่งจากกรุงเทพฯ มาอุดรธานี ระยะทาง 560 กม. ใช้น้ำมันเบนซินไปประมาณ 10 ลิตร ขณะน้ำที่ใช้ผลิตไฮโดรเจนใช้ไปเพียง 1 ลิตรเท่านั้น

นายสุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา อธิบายถึงการใช้อุปกรณ์ว่าเริ่มต้นที่น้ำบริสุทธิ์เหมือนน้ำกลั่น (ดีไอโอไนซ์) เติมเข้าไป  ในเครื่องรีแอคเตอร์ที่จะแยกไฮโดรเจนและออกซิเจนออกมาเป็น HH-O ผ่าน   ออกมายังเซฟตี้วาล์ว เพื่อส่งตรงไปที่เครื่องยนต์ หากรถ  มีหัวฉีดก็ผ่านหัวฉีด โดยทั้งหมดจะควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์คอนโทรลที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวรถ เพื่อให้เครื่องผลิตไฮโดรเจนออกมาเท่าที่เอาไปใช้เท่านั้น จะไม่มีการเก็บรักษาไว้ หากอุณหภูมิ  ความดันผิดปกติก็จะมีระบบ  ป้องกันตัวเอง
 
อย่างไรก็ตามสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ นายสุมิตรกล่าวว่าได้คิดมาตั้งแต่ 4 ปีก่อน เมื่อครั้งที่ยังทำงานอยู่ที่นาซ่า ประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วมาเมื่อ 2 ปีถัดมา จึงตัดสินใจซื้อรถคันต้นแบบ ซึ่งเป็นรถใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณมาจากนายศักดิ์ชัย นักธุรกิจ จ.อุดรธานี และได้รับความร่วมมือ และความช่วยเหลือจากทางมหา วิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยรถคันดังกล่าวนี้จะเป็นรถที่มีระบบเชื้อเพลิง 3 ประเภท คือ น้ำมันเบนซิน, ก๊าซแอลพีจี และก๊าซไฮโดรเจน โดยรถคันนี้ได้มีการทดลองวิ่งมาแล้วกว่า 40,000 กม. จนถึงขณะนี้ยังไม่พบปัญหาอะไรเกิดขึ้นเลย
 
สำหรับในการขอจดสิทธิบัตรนั้น ได้จดไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจดในประเทศไทย เพราะต้องการให้เทคโนโลยีชิ้นนี้เป็นสมบัติของชาติไทย คนไทยสามารถนำเอามาต่อยอดในแนวความคิดให้มีหลากหลายมากขึ้นไป แม้จะประสบกับความสำเร็จไปแล้วในขณะนี้ แต่ก็ต้องการที่จะพัฒนาให้ก้าวไกลไปอีก ในโอกาสเดียวกันก็มีความต้องการที่จะให้ผลงานชิ้นนี้ เป็นสิ่งที่จะถ่ายทอดความรู้ และเป็นสถาบันฝึกอบรมให้กับนักศึกษาด้วย ส่วนเรื่องการผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ ออกมาจำหน่ายให้เป็นสินค้านั้นอาจจะในเร็ว ๆ นี้ แต่ด้านราคาจะสูงกว่า แอลพีจี แต่จะถูกกว่า เอ็นจีวี สำหรับอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมาใช้กับไฮโดรเจนแทนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นจะติดตั้งอยู่ในที่เก็บของท้ายรถประกอบไปด้วย กล่องคอนโทรลจุดระเบิดอัจฉริยะ แบตเตอรี่ 12 v. มอเตอร์ อินเวอเตอร์ ขวดบรรจุน้ำกลั่นพิเศษ ไมโครคอนโทรลและอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง โดยควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์คอนโทรลที่อยู่บริเวณแผงหน้าปัดเหนือพวงมาลัย ส่วนในห้องเครื่องรถจะติดตั้งมอเตอร์ควบคุมระบบแยกน้ำ
 
นายสุมิตร กล่าวอีกว่าเทคโนโลยีไฮโดรเจน เกิดหลังการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า ซึ่งจะได้ก๊าซไฮโดรเจน 2 อะตอมกับออกซิเจน 1 อะตอม โดยรีแอคเตอร์  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของเรา ถ้านำมาใช้กับยานยนต์ โดยใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจาก     แบตเตอรี่รถยนต์ เพื่อแยกโมเลกุลน้ำ ให้ได้ไฮโดรเจนออกมาเป็นเชื้อเพลิงเข้าไปใช้สันดาปของเครื่องยนต์ โดยไม่ต้องใช้ถังเก็บก๊าซไฮโดรเจนเลย ประการที่สองการควบคุมอุณหภูมิ ปกติการแยกน้ำโดยรีแอค   เตอร์ทั่วไปทำให้ความร้อนสูงยากแก่การควบคุมซึ่งอาจจะเป็นอันตราย แต่รีแอคเตอร์ที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถควบคุมความร้อนให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ประการที่สาม วัตถุดิบที่ใช้เป็นต้นกำเนิดเชื้อเพลิง คือ น้ำซึ่งหาได้ง่าย ราคาถูก และประการที่สี่ ไอเสียที่ได้จากการสันดาปจะกลับมารวมตัวกับออกซิเจนได้น้ำ เป็นไอเสียที่บริสุทธิ์
 
 อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีพลังงานทางเลือกไฮโดรเจน ที่พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบขณะนี้ ยังต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นเรื่องของความปลอดภัย ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม ซึ่งจะทำหน้าที่ตรวจสอบความผิดปกติของการทำงานของระบบโดยรวม นอกจากนี้ยังต้องการพัฒนาประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และไมโครคอนโทรลเลอร์ ควบคุมการทำงานของรีแอคเตอร์กับเครื่องยนต์ เพื่อให้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่น้อยลง และได้ผลผลิตคือ ก๊าซไฮโดรเจนในปริมาณที่เป็นสัดส่วนกับความต้องการเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์
 
นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่ง จากมันสมองของคนไทย ที่สามารถคิดค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิงได้สำเร็จในระดับที่น่าพอใจ.

พีระ วีระชัย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.424 วินาที กับ 20 คำสั่ง