กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 26, 2024, 06:29:04 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การล่าหัวกะโหลกวาฬบรูด้า ตอนที่ 1  (อ่าน 18199 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 01:37:39 AM »



แม่หมูน้ำ ซึ่งในขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาระดับปริญญาเอก ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ส่งบทความเรื่อง "การล่าหัวกะโหลกวาฬบรูด้า" พร้อมภาพประกอบ มาทางอีเมล์ เพื่อให้สองสายเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวการเดินทางเพื่อศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลของวาฬบรูด้า (Bryde's Whale) ในประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่า เรื่องนี้ น่าจะให้ความรู้และเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกและบุคคลทั่วไปที่ได้แวะเวียนเข้ามาหาข้อมูลจากเว็บ SOS

สองสายจึงขอเป็นตัวแทนของสมาชิก SOS  ขอบคุณต่อแม่หมูน้ำ ที่ได้กรุณามอบเรื่องราวอันมีคุณค่าทั้งทางวิชาการหรือเป็นความรู้รอบตัวแก่ผู้ที่สนใจ มาถ่ายทอดลงในเว็บของ SOS เพื่อที่จะได้ศึกษาหาความรู้หรือนำไปเป็นข้อมูลอ้างอิงต่อไปได้

และสองสายต้องขอเรียนกับแม่หมูน้ำว่า สองสายแทบจะไม่ได้แก้ไขอะไรเลย นอกจากคำที่สะกดผิดบางคำเท่านั้น เพื่อให้ข้อเขียนในบทความนี้ เป็นสำนวนที่แสดงตัวตนของแม่หมูน้ำจริงๆ

แต่ก่อนที่จะโพสต์  สองสายขอแนะนำแม่หมูน้ำให้ผู้อ่านได้รู้จักสักเล็กน้อย :



แม่หมูน้ำ หรือ น้องตึก มีชื่อเต็มๆว่า น.ส. กาญจนา อดุลยานุโกศล จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยริวกิว ประเทศญี่ปุ่น โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ประเทศญี่ปุ่น   เริ่มทำงานด้านเพาะเลี้ยงที่จังหวัดระยอง และในปี 2529 ได้บรรจุเข้ารับราชการที่จังหวัดภูเก็ต สังกัดกรมประมง  ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  เป็นผู้ที่มุ่งมั่นในงานวิจัยและการอนุรักษ์สัตว์ทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์โดยเฉพาะพะยูน และมีผลงานเผยแพร่เรื่องสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมมาแล้วมากมาย

ปัจจุบัน แม่หมูน้ำ เป็นนักวิชาการประมง 8ว   ตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก  สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



* Whale01.jpg (97.85 KB, 550x366 - ดู 1092 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 10, 2008, 01:40:38 AM โดย สายน้ำ » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 01:42:45 AM »



การล่าหัวกะโหลกวาฬบรูด้า ตอนที่ 1  (Bone Hunting Part I)

ฟังหัวข้อแล้วออกจะน่ากลัวไหมคะ    งานนี้แม่หมูน้ำเป็นหัวเรือใหญ่ในการประสานงานและร่วมทีมล่าหัวกะโหลกวาฬกลุ่มบรูด้า ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ไปสงขลา ไล่ขึ้นไปนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี และกรุงเทพฯ ค่ะ ทำงานตั้งแต่วันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ ปีที่แล้ว (2550)  แม้เต่วันวาเลนไทน์ก็ไม่ให้แม่หมูน้ำได้พักคิดเรื่องหัวใจบ้างเลย



* Nakhon_5.jpg (103.98 KB, 700x680 - ดู 887 ครั้ง.)

* PMBC_8.jpg (95.43 KB, 700x680 - ดู 863 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 01:44:22 AM »



งานศึกษาครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญต้นเรื่องคือ Dr.Tadasu K. Yamada มาจาก National Museum of Science and Nature โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวหน้าทีม และยังมี Dr. Yoko Tajima เป็นสัตว์แพทย์  / Ms.Akiko Yatabe นักศึกษาปริญญาเอกจาก University of Marine Science and Technology และ Dr. Chiou-Ju Yao  คนหลังสุดนี้เป็นนักวิจัยด้านพันธุกรรมจากประเทศไต้หวัน

 ในส่วนของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน ภูเก็ต มีแม่หมูน้ำ  และน้องสุเมนต์ ปานพุ่ม เป็นผู้ร่วมงานหลัก พร้อมร่วมเดินทางตะลอนๆ ไปทำงานอีกเกือบ 2 สัปดาห์ และมีน้องเอ (เบญจพล ธรรมเสถียร) มาจากจังหวัดตรังช่วยเป็นสารถีให้  พร้อมทั้งยังช่วยแบกหัวกะโหลก และถ่ายรูปในบางโอกาสด้วยค่ะ



* Yamada&3-ladies.jpg (101.08 KB, 700x600 - ดู 855 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 01:48:22 AM »



เกริ่นนำวิชาการสักหน่อย

วาฬบรูด้า  (Bryde’s whale) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Balaenoptera edeni เมื่อก่อนเรานึกว่ามีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น   ในปีพ.ศ. 2519-2521 นักวิจัยญี่ปุ่นได้ตัวอย่างวาฬกลุ่ม Balaenoptera จำนวน 8 ตัว จากทะเลญี่ปุ่นทางตอนใต้ วาฬทั้งหมดมีลักษณะภายนอกแตกต่างจาก edeni ที่เคยพบมา เช่น การมีขากรรไกรด้านซ้ายสีขาว รวมทั้งส่วนบางของซี่กรอง (Baleen plate) มีสีขาว และมีสันกลางหัวเพียงสันเดียว (edeni มี 3 สันที่หัว) ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับวาฬฟิน (Fin whale, Balaenopter physalus) แต่ว่ามีขนาดเล็กกว่าวาฬฟินมาก และยังไม่สามารถทำการจำแนกชนิดได้ในขณะนั้น

ต่อมาในปีพ.ศ. 2541 เขาได้ตัวอย่างวาฬบรูด้าสมบูรณ์ชนิดนี้อีกจากเกาะ Tsunoshima จึงได้ทำการศึกษาตัวอย่างทั้งหมด 9 ตัวอย่างละเอียด โดยใช้ลักษณะภายนอก โครงกระดูกโดยเฉพาะหัวกะโหลก และ mitochondrial DNA โดยคณะนักวิจัยหลักในทีม ได้แก่ Dr.Shiro Wada, Dr.Masayuki Oishi และ Dr.Tadasu K. Yamada จนในที่สุดสามารถระบุแน่ชัดและแยกเป็นวาฬ

บรูด้าชนิดใหม่ชื่อ Balaenoptera omurai และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานใน Nature ในปีพ.ศ. 2546 จะเห็นว่ากว่าเขาจะสามารถแยกชนิดวาฬ omurai ได้นั้น ต้องใช้เวลานานร่วม 30 ปีทีเดียวนะคะ



* Chantaburi_2.JPG (101.27 KB, 700x680 - ดู 994 ครั้ง.)

* Chantaburi_3.JPG (99.85 KB, 700x680 - ดู 858 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 01:50:44 AM »



ในปัจจุบันวาฬบรูด้าประกอบด้วยวาฬ 3 ชนิด ที่มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกันมาก  (รายละเอียดในตอนต่อไปคะ)  ขนาดความยาวลำตัวก็ต่างกันไล่เลี่ยไปโดยเรียงจากใหญ่สุดไปเล็กสุด คือ Balaenoptera brydei, B. edeni และ B. omurai ขนาดความยาวของวาฬกลุ่มนี้อยู่ระหว่าง 12-15 เมตร



* PMBC_1.jpg (112.06 KB, 700x680 - ดู 853 ครั้ง.)

* PMBC_4.jpg (107.95 KB, 700x680 - ดู 854 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 01:52:21 AM »



เราเริ่มทำงานที่ภูเก็ตก่อนค่ะ  ใช้เวลา 2 วัน  โดยการนำกระดูกวาฬบรูด้าทั้งหมดซึ่งมีอยู่ 13 หัวมาเรียงใหม่ ดูลักษณะหัวกะโหลกโดยละเอียด พร้อมลงเลขทะเบียน แยกได้เป็นชนิด edeni และ omurai คะ แล้วก็เจาะกระดูกส่วนที่แข็งที่สุดเพื่อไว้วิเคราะห์ DNA  เราจะใช้กระดูกส่วนหูหากมีอยู่  ถ้าไม่มีก็จะเลือกส่วนที่เป็นกระดูกแข็งที่สุด ไม่ผุ ไม่มีเชื้อราหรือตะไคร่น้ำเกาะอยู่ งานเจาะกระดูกจะงานของคุณ Yao คะ คุณ Yamada และอีกสองสาว จะวุ่นกับการวัด ลงรายละเอียด ถ่ายรูป ส่วนแม่หมูน้ำและทีมงานจะลงทะเบียน เช็คความถูกต้อง ประสานงานทุกอย่าง พร้อมทั้งเรียนรู้ถึงลักษณะสำคัญต่างๆ ที่ใช้แยกวาฬกลุ่มนี้ออกจากกัน



* PMBC_2.jpg (101.24 KB, 700x680 - ดู 841 ครั้ง.)

* PMBC_3.jpg (105.71 KB, 700x680 - ดู 845 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 01:54:01 AM »



งานที่ทำระหว่างออกเดินทางนอกจากจะทำเช่นเดียวกับที่ภูเก็ตแล้ว เรายังต้องช่วยเรียงโครงกระดูกให้ใหม่ เพราะส่วนใหญ่จะเรียงไว้ผิดหลายตำแหน่ง บางตัวอย่างที่ไม่สามารถเรียงใหม่ให้ได้ อาจเนื่องจากการเชื่อมยึดติดระหว่างกระดูกกับแกนโลหะ คณะเราก็ได้แนะนำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการจัดทำต่อไป



* PMBC_6.jpg (105.16 KB, 700x680 - ดู 904 ครั้ง.)

* PMBC_9.jpg (105.32 KB, 700x680 - ดู 852 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 01:56:38 AM »



งานยากอีกอย่างหนึ่งคือการที่ต้องพยายามขอเจาะกระดูกเพื่อไว้ศึกษา DNAให้ได้   เพราะตัวอย่างหัวกะโหลกเป็นตัวอย่างเก่าเสียส่วนใหญ่  การจะศึกษา DNA จากเนื้อเยื่อจึงทำไม่ได้มากค่ะ  จึงได้มีการพัฒนาการวิเคราะห์เพื่อให้สามารถศึกษาวิจัยจากกระดูกได้ 

แม่หมูน้ำต้องทำตัวอย่างชิ้นกระดูกที่เจาะเป็นรูเล็กๆ แล้วติดไปด้วยเพื่อง่ายต่อการเจรจาคะ แต่ที่ยังยากอยู่คือการที่ต้องพูดคุย (ไม่รู้จะใช้ภาษาไทยถูกรึเปล่า) กับพระตามวัดต่างๆที่มีกระดูกวาฬเก็บอยู่ เพราะแม่หมูน้ำไม่ค่อยถนัดคุยกับพระเลยนะคะ แต่ไม่ถึงกับเป็นพวกคนห่างวัดทีเดียว เพราะบ้านที่สมุทรสาครก็อยู่ใกล้วัดคะ หุ...หุ...



* PMBC_5.jpg (104.94 KB, 700x680 - ดู 828 ครั้ง.)

* PMBC_7.jpg (97.17 KB, 700x680 - ดู 853 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #8 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 01:59:19 AM »



การทำงานได้รับความร่วมมือที่ดีมากคะจาก ผอ. ศูนย์วิจัยฯ และเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นศูนย์ภายใต้กรมเดียวกัน (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดูเพิ่มเติมใน www.pmbc.go.th หรือ www.dmcr.go.th) คือ  ศูนย์ฯ ที่สงขลา (ผอ.สุพจน์ จันทราภรณ์ศิลป์)  /  ชุมพร (ผอ.นิภาวรรณ บุศราวิช)  /  สมุทรสาคร (ผอ.ปรียานาฏ)  และระยอง  (ผอ.มิคมินทร์ จารุจินดา) เจ้าอาวาสวัดและเจ้าหน้าที่ ของวัดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีผอ. พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดสงขลา และผอ. ทัศนีย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดนครศรีธรรมราช  ผอ.โย่ง ที่ศูนย์ฯ เพาะเลี้ยงของกรมประมงที่สุราษฎร์ธานี ผอ.ศูนย์ไร่ฝึกฯ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดชุมพร ผอ.ศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงชายฝั่งประจวบคิรีขันธ์ (ผอ.... แต่ตอนนี้แม่หอยเป็นผอ. อยู่คะ) ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเจ้าขรัว  โรงเรียนบ้านเปรตใน น้องรติมา จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล บางแสน ดร.สุวรรณา ภาณุตะกูล อาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา อาจารย์ชัชรีย์ และอาจารย์ธีรพงศ์ จากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และชาวบ้านที่ช่วยเราตอนหลงทาง แม่หมูน้ำและทีมงานต้องขอขอบคุณทุกๆ คน มา ณ โอกาสนี้ด้วยคะ (แม่หมูน้ำต้องขอโทษด้วยคะ หากไม่ได้เขียนชื่อเต็มของใคร เพราะขณะเขียนต้นฉบับนี้อยู่ต่างประเทศ จึงไม่มีข้อมูลที่พอจะค้นได้คะ)



* Chumphon_1.JPG (105.12 KB, 700x680 - ดู 861 ครั้ง.)

* Chumphon_3.JPG (100.52 KB, 700x680 - ดู 821 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 02:00:52 AM »



งานนี้นอกจากใช้สมองแล้วยังใช้แรงงานหนักอีกด้วยคะ ต้องขอบอกว่าหัวกะโหลกตัวใหญ่หนักมากกว่า 200 กิโลกรัมคะ

ในวันหนึ่งที่วัดสุวรรณประดิษฐ์ จ. นครศรีธรรมราช แม่หมูน้ำเห็นพวกผู้ชายยุ่งๆ อยู่ ก็เลยเข้าไปช่วยแบกหัวกะโหลก  ทั้งๆ ที่น้องสุเมนต์ ได้ห้ามแล้วว่าเดี๋ยวจะแย่นะครับพี่ ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้นเกือบทำงานไม่ได้นะคะ



* Nakhon_9.jpg (110.68 KB, 700x680 - ดู 813 ครั้ง.)

* Nakhon_17.JPG (102.62 KB, 700x680 - ดู 814 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #10 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 02:02:39 AM »



ส่วนน้องสุเมนต์ก็เหนื่อยมาก จนจับไข้ที่จังหวัดประจวบฯ ในขณะที่เราเพิ่งทำงานแค่ครึ่งทางเท่านั้น แม่หมูน้ำเป็นกังวลมากเลยคะ เพราะน้องสุเมนต์เป็นลูกน้องมือระดับห้าดาวของภูเก็ต (หรือของประเทศก็ว่าได้) ในเรื่องกระดูกวาฬและโลมา และหากป่วยเสียกะทันหัน เราคงทำงานกันได้แบบกระท่อนกระแท่นแน่ๆ  แม่หมูน้ำขอร้องให้น้องสุเมนต์ดูแลตัวเองดีๆ เพื่อจะได้ไม่เป็นหนักขึ้น แต่สงสัยที่น้องสุเมนต์หายเร็ว เพราะมีสาวๆ ญี่ปุ่น คอยให้กำลังใจตลอดเวลาแหละคะ



* Prachuap_3.jpg (95.54 KB, 700x680 - ดู 832 ครั้ง.)

* Prachuap_8.jpg (101.67 KB, 700x680 - ดู 807 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #11 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 02:04:12 AM »



โดยสรุปแล้ว เราสามารถเข้าถึงตัวอย่างได้มากกว่าที่คุณ Yamada คาดการณ์ไว้ แหมก็ต้องคุยหน่อยว่าที่ทำได้มากก็เพราะมีผู้ประสานงานที่ดีนะคะ รวมทั้งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพี่ๆ น้องๆ ที่ร่วมชะตากรรมสัตว์ทะเลหายากคะ รวมๆ ราว 55 หัวคะ บางตัวอย่างก็ไม่สามารถเก็บ DNA ได้ อาจเพราะเจ้าของไม่สะดวกที่จะให้ หรือตัวอย่างผุกร่อนจนเกินไป หรือด้วยเวลามีจำกัดในแต่ละสถานที่



* Chonburi_8.jpg (103.66 KB, 700x680 - ดู 805 ครั้ง.)

* Chonburi_Ratima.jpg (104.22 KB, 480x700 - ดู 804 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #12 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 02:06:28 AM »



ในการสรุปเบื้องตันนั้น ในฝั่งทะเลอันดามันมี edeni 2 ตัวอย่าง omurai  7 ตัวอย่าง ฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง  เป็น omurai 17 ตัวอย่าง ส่วนอ่าวไทยตอนบนเป็น edeni 22 ตัวอย่าง (ในตอนแรกเราแยกตัวอย่างอายุ 100 ปี ทีวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราชว่าเป็น brydei แต่ผล DNA บอกว่าเป็น edeni คะ)



* Nakhon_2_2.jpg (107.76 KB, 700x680 - ดู 820 ครั้ง.)

* Nakhon_4_1.jpg (104.42 KB, 700x680 - ดู 802 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #13 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 02:08:05 AM »



เป็นเรื่องน่าสนใจมากที่ตัวอย่าง edeni กับ omurai แยกกันตั้งแต่คราวในจ.สงขลา น่าเสียดายที่ภาวะความไม่สงบใน 3-4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่น่าไว้ใจสำหรับทีมงานของเราที่จะลงไปตามล่าหาหัวกะโหลกต่อไปอีก ซึ่งเราคงต้องใช้ข้อมูลการศึกษาสำรวจประชากรวาฬบรูด้าในธรรมชาติต่อไปอีกระยะหนึ่ง อาจจะได้ข้อมูลที่ชัดเจนขึ้นก็ได้ค่ะ



* Songkhla-Museum_2.jpg (104.59 KB, 700x680 - ดู 821 ครั้ง.)

* Songkhla.jpg (98.8 KB, 700x660 - ดู 791 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #14 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 02:12:35 AM »


ตอนที 1 หมดเพียงเท่านี้ 

ภาพประกอบยังไม่หมด .... ขอลงภาพต่อไปจนหมด และรอติดตามตอนที่ 2 ต่อไปเร็วๆนี้นะครับ ....



* Nakhon_3.jpg (98.22 KB, 700x680 - ดู 789 ครั้ง.)

* Nakhon_7.jpg (99.34 KB, 700x680 - ดู 798 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: [1] 2 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 20 คำสั่ง