สายน้ำ
|
|
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:54:13 AM » |
|
การพบวาฬกลุ่มบรูด้า (Bryde’s whale) ในน่านน้ำไทย
เรื่องของวาฬบรูด้าในตอนนี้ แม่หมูน้ำจะขอเล่าเกี่ยวกับวาฬบรูด้าที่พบในทะเลบ้านเราและลักษณะภายนอกทั่วๆ ไปที่พอจะให้พวกเราใช้แยกชนิดแบบง่ายๆ หรือช่วยถ่ายรูปในส่วนที่สำคัญให้กับทีมงานแม่หมูน้ำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลทางวิชาการคะ โดยเฉพาะส่วนหัวด้านบน ส่วนหัวด้านข้างซ้ายและขวา และครีบหลัง รวมทั้งสีของลำตัว
แม่หมูน้ำอาจพูดซ้ำกับเรื่อง “การล่าหัวกะโหลกวาฬบรูด้า ตอนที่ 1 และ2” บ้าง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกกับสมาชิกที่ไม่ได้มีเวลาอ่านเรื่องทั้ง 3 ตอนคะ
วาฬบรูด้าเป็นสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์บาลีนน็อบเทอริดี (Balaenopteridae) เป็นวาฬไม่มีฟันขนาดกลาง โดยมีซี่กรองที่เรียกว่าบาลีน (baleen plate) สำหรับกรองอาหารจำพวกลูกปลา หรือกุ้ง
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
Way_farinG
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 02:57:12 AM » |
|
เราจะมีโอกาสดำน้ำแล้วเห็นมันมั๊ยอะคะ..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home. ~James Michener
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 03:00:25 AM » |
|
พบแพร่กระจายทั่วโลกในน่านน้ำเขตอบอุ่น เขตกึ่งร้อนและเขตร้อน เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการศึกษาการแพร่กระจายประชากรของวาฬกลุ่มบรูด้านี้ ได้พบว่ามีความแตกต่างกันในด้านของพันธุกรรมและสัณฐานวิทยาปัจจุบันของรูปร่างภายนอกและลักษณะของหัวกะโหลก ปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ วาฬอิดิไน (Balaenoptera edeni) ซึ่งเป็นชนิดที่เรารู้จักกันดีอยู่ก่อนแล้ว, วาฬบรูดิไอ (Balaenoptera brydei) และวาฬโอมูไล (Balaenoptera omurai)
ก่อนอื่นแม่หมูน้ำต้องขอขอบคุณทุกๆท่าน ที่ได้เอื้อเฟื้อภาพถ่าย และวีดิโอ เพื่อการศึกษาวิจัยเรื่องวาฬบรูด้า แต่ก็ต้องกราบขอโทษด้วยหากแม่หมูน้ำไม่ได้เอ่ยนามของผู้ถ่ายรูปหรือผู้ที่มอบรูปมาให้ใช้เพื่อการนี้ เพราะบางครั้งรูปที่ได้มาก็ไม่สามารถติดตามรายละเอียดของคนถ่ายรูปได้
อิดิไน มีขนาดยาวลำตัวสูงสุด 13.7 เมตร อาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียและตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนบรูดิไอ มีขนาดใหญ่กว่ามีความยาวสูงสุด 14.6 เมตร พบแพร่กระจายทั่วโลก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 03:02:23 AM » |
|
และโอมูไล B. omurai มีขนาดเล็กที่สุดมีขนาดความยาวสูงสุด 12 เมตร (ในเรื่องของความยาวนี้ เอกสารแต่ละเล่มอาจให้ข้อมูลแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ก็จะอยู่ในระหว่างประมาณ 11=15 เมตร) ซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย วาฬกลุ่มนี้มีน้ำหนักตัวสูงสุด 20-25 ตัน ตั้งท้องนานประมาณ 1 ปี ลูกแรกเกิดมีความยาวประมาณ 4 เมตร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 03:08:56 AM » |
|
แม่หมูน้ำยังไม่มีรูปของวาฬบรูดิไอ แต่โดยทั่วไปส่วนหัวจะมีสันตรงกลางเพียงสันเดียวเช่นเดียวกันกับวาฬโอมูไลคะ
แม่หมูน้ำคาดว่าชาวประมงหรือนักท่องเที่ยวคงเคยได้พบเห็นวาฬบรูด้าในน่านน้ำไทยมานานแล้ว แต่ที่ยังไม่ได้เป็นข่าวฮือฮานั้น น่าจะมาจาก แต่เดิมเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาสัตว์กลุ่มนี้ เรามุ่งเน้นแต่สัตว์เศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ประกอบกับการพัฒนาของระบบการสื่อสาร เทคโนโลยี ทำให้ในปัจจุบันสามรถกระจายข้อมูลข่าวสารได้ไวและได้กว้างขวางกว่าเดิมมาก และกระแสการอนุรักษ์สัตว์ทะเลต่างๆ มีมากขึ้นด้วย
เดี๋ยวนี้ การที่เราใช้กล้องถ่ายรูประบบดิจิตอลกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การถ่ายรูป สามารถถ่ายได้ครั้งละมากๆ และไม่รู้สึกว่าต้องสิ้นเปลืองค่าฟิล์มและค่าล้างรูปหรือสไลด์ ทำให้ในยุคนี้คนจะไม่ค่อยหวงรูปถ่ายมากนัก เพราะสามารถ copy รูปให้ได้โดยที่เจ้าตัวยังมีต้นฉบับอยู่ หากเป็นเมื่อก่อนคนจะหวงรูปมากนะคะ ไม่ต้องยกตัวอย่างอื่นไกล ตัวแม่หมูน้ำยังเป็นเลยคะ เพราะเราถ่ายภาพเป็นสไลด์เสียส่วนใหญ่ พอคนขอยืมไปก็มักไม่ได้คืนมา ไปแล้วไปเลย และรูปหลายๆ รูป ก็มีเพียงรูปเดียวนะคะ
วาฬบรูด้าในประเทศไทยเคยถูกแยกไว้เพียงชนิดเดียว คืออิดีไน (B. edeni) แต่พวกเรานักวิจัยต่างก็มีข้อสงสัยตลอดเวลาว่าลักษณะของซี่โครงคู่แรกนั้นแตกต่างกันเป็น 2 แบบ คือ หัวเป็น 2 แฉก หรือเรียกว่า bifurcate rib ซึ่งนับว่าโชคดีมากที่ซี่โครงคู่แรกที่อยู่ชิดกับกระดูกคอและส่วนหัวที่แม้ว่าตัวอย่างจะเน่าหรือขาดหายไปบางท่อน แต่กระดูกซี่โครงคู่แรกนี้มักจะยังติดอยู่กับซากเสมอๆ ทำให้เราระบุได้ง่ายในเบื้องต้นว่าเป็นวาฬชนิดอิดิไน และอีกส่วนที่เราตั้งข้อสังเกตคือจำนวนสันที่หัว เราจึงคาดว่ามันอาจเป็นข้อแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นได้ในสัตว์ชนิดเดียวกัน แต่ในส่วนของหัวกะโหลกนั้น เรายังไม่มีความรู้ละเอียด และยังไม่ได้มีการศึกษาเรื่อง DNA ในวาฬกลุ่มนี้ในเมืองไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 03:18:29 AM » |
|
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 นักวิจัยชาวญี่ปุ่น คือ Dr.Tadasu K. Yamada จาก National Museum of Science and Nature ได้นำทีมงานเข้ามาศึกษาวิจัยชนิดของวาฬบรูด้าจากลักษณะของหัวกะโหลกโครงกระดูกในประเทศไทยและ DNA ร่วมกับสถาบันฯ ภูเก็ต (ที่เราต้องออกตามล่าหัวกะโหลก ในเรื่องตอนที่ 1 และ 2) Dr.Yamada และทีมงานได้ทำการศึกษาวิจัยวาฬกลุ่มบรูด้าในประเทศต่างๆ มาหลายปีแล้ว เช่น จีน ไต้หวัน พม่า อินเดีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อาฟริกาใต้ และไทย
การสำรวจหัวกะโหลกวาฬบรูด้าในไทย พบว่าตัวอย่างทั้งหมดประมาณ 50 กว่าตัวที่เก็บไว้ตามสถานที่ราชการและวัด สามารถแยกออกเป็น 2 ชนิด โดยที่วาฬอิดิไน (B. edeni) และวาฬโอมูไล (B. omurai) พบได้ทั้งสองฝั่งทะเลของไทยคือฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย น่าสังเกตว่าตัวอย่างหัวกะโหลกในอ่าวไทยตอนบนจาก จ.นครศรีธรรมราชขึ้นไปอ่าวไทยตอนบนและชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ตัวอย่างเกือบ 100% เป็นชนิดอิดิไนคะ ส่วนรายละเอียดการแยกชนิดวาฬจากส่วนของหัวกะโหลกนั้น แม่หมูน้ำจะไม่ขอพูดถึงในตอนนี้ เพราะว่ามันเป็นเรื่องค่อนข้างยากแก่การเข้าใจ บางทีตัวแม่หมูน้ำยังงงๆ เลยคะ
(เมื่อปีที่แล้ว เราแยกกระดูกที่เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช ว่าเป็นชนิดบรูดิไอจากลักษณะรายละเอียดของหัวกะโหลก แต่เราเพิ่งได้ผลการวิเคราะห์ DNA เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 ปรากฏว่าเป็นชนิดอิดิไนคะ ซึ่งป่านนี้แม่หมูน้ำยังไม่ได้มีเวลาไปแก้ไข poster ที่ทำไปให้ทางวัดเลยคะ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 03:20:17 AM » |
|
การพบวาฬบรูด้าและภาพถ่ายในยุคแรกๆ
แม่หมูน้ำว่าน่าจะเป็นสักราวกลางปี 2544 นะคะ ที่มีการบูมเรื่องการพบวาฬบรูด้าที่บ่อนอก และบ้านกรูด อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคิรีขันธ์ พร้อมกับมีรูปถ่ายให้เห็นถึงพฤติกรรมการกินอาหารที่น่าตื่นเต้น โดยคนที่สามารถสร้างสีสันให้วงการนี้ได้มากที่สุดคนหนึ่งเห็นจะเป็น ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (www.talaythai.com) เมื่อแรกๆ ที่มีภาพวาฬบรูด้าจากบ้านบ่อนอกออกสู่สายตา หลายคนคลางแคลงว่า มันใช่รูปถ่ายปลาวาฬที่บ่อนอกเลยจริงๆ หรือเปล่า หรือมีการตัดต่อและแต่งภาพ แต่ท้ายสุดก็พิสูจน์ได้ว่ามันเป็นของจริงคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 03:22:13 AM » |
|
การสำรวจวาฬบรูด้าโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปกติศูนย์ต่างๆ ของกรมทรัพฯ ที่ตั้งอยู่ที่จ. ภูเก็ต สงขลา ชุมพร สมุทรสาคร และระยอง ต่างก็มีโครงการสำรวจโลมาและวาฬอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะพบปลาวาฬชนิดต่างๆ ได้เสมอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 03:23:34 AM » |
|
ตอนนี้เราจะไล่ขึ้นไปดูบริเวณอ่าวไทยตอนบนบ้างนะคะ กลางปี 2548 เช่นกันน้องหนึ่ง (สุรศักดิ์ ทองสุกดี) ก็ได้เก็บภาพสวยๆของวาฬบรูด้า สายพันธุ์อิดิไน จำนวน 3 ตัวคะ กำลังกินอาหารอยู่อย่างเอร็ดอร่อย ที่นอกชายฝั่ง จ.เพชรบุรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 03:24:31 AM » |
|
..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 03:26:16 AM » |
|
และหลังจากนั้นเมื่อราวๆ เดือนมิถุนายน 2550 มีชาวบ้านเจอวาฬบรูด้าเข้ามาที่นอกชายฝั่ง จ.สมุทรสาคร อีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 03:27:53 AM » |
|
ปีนี้เมื่อปลายเดือนกันยายน น้องหนึ่งได้ออกสำรวจบริเวณปากน้ำบางตะบูน ของ จ.เพชรบุรี พบวาฬบรูด้า ประมาณ 3-4 ตัวคะ ลำตัวยาวประมาณ 12 เมตร กำลังว่ายน้ำไล่ต้อนฝูงปลา หรืออาจจะเป็นฝูงกุ้งเคยก็ได้ เพราะในขณะนั้นเห็นว่ามีเรือรุนเคยขนาดใหญ่ประกอบการจำนวนมาก ประมาณ 40 ลำ เชียวคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 03:29:28 AM » |
|
พฤติกรรมของวาฬบรูด้าทั่วไปมักไม่พบเป็นฝูงใหญ่ ปกติพบตัวเดียว หรือฝูงละ 2-3 ตัว ในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝูงใหญ่สุดที่พบมีจำนวน 12 ตัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 03:29:58 AM » |
|
..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
สายน้ำ
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 03:31:48 AM » |
|
ภาพถ่ายวาฬโอมูไลครั้งแรกทางฝั่งอันดามัน
แม่หมูน้ำได้รับความเอื้อเฟื้อจากคนคุ้นเคยของชาว SOS คือพี่สายน้ำและพี่สายชล ที่ได้ถ่ายรูปฝูงวาฬโอมูไล ระหว่างทางที่เดินทางกลับจากเกาะสิมิลันไปยังภูเก็ต เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2549 พี่สองสายบอกว่าเห็นทั้งหมด 4 ตัว ส่วนพี่สายชลเสริมว่าน่าจะกำลังไล่กินฝูงปลาโออยู่คะ
ไม่อยากบอกว่าภาพในชุดนี้ดังมากนะคะ ส่งไป present งาน poster ที่ Cape Town ประเทศอาฟริกาใต้มาแล้วเมื่อเดือนธันวาคม ปีที่แล้วคะ และยังได้ share ภาพบางภาพให้แก่นักวิจัยชาวศรีลังกา และฟิลิปปินส์อีกด้วย แม่หมูน้ำต้องขอขอบคุณน้ำใจพี่สองสาย มา ณ โอกาสนี้ด้วยคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
|
|
|
|