กระดานข่าว Save Our Sea.net
มีนาคม 28, 2024, 12:14:19 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พบสปีชีส์ใหม่ใต้ทะเลออสซีเพียบ แต่น่าเป็นห่วงโลกร้อนทำสูญพันธุ์  (อ่าน 3482 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: มกราคม 20, 2009, 01:42:19 AM »


พบสปีชีส์ใหม่ใต้ทะเลออสซีเพียบ แต่น่าเป็นห่วงโลกร้อนทำสูญพันธุ์


ปะการังสีแดงสดใสเรียกว่า ปะการังหัวกอร์กอน (gorgons-head coral) หรือแอนโธมาสติด (anthomastid) เป็นสปีชีส์ที่ไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งพบอยู่ที่ความลึก 1,700 เมตร ทางใต้ของทัสมาเนีย (CSIRO)

นักวิทยาศาสตร์ยังคงสำรวจพบความมหัศจรรย์ ของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกแถบเกาะทัสมาเนีย ของออสเตรเลีย ที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิต รูปร่างหน้าตาสวยงามแปลกตาเพียบ สปีชีส์ใหม่ๆ ก็มีเยอะแยะ พร้อมฟอสซิลปะการังหมื่นปี ที่ชี้ว่าโลกร้อนกำลังคุกคามสัตว์โลกใต้ทะเล
       
       ทีมนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียร่วมกับสหรัฐฯ สำรวจใต้ทะเลลึกบริเวณทิศใต้จากชายฝั่งของเกาะทัสมาเนีย ออสเตรเลีย ซึ่งลงลึกกว่าครั้งใดๆ ที่เคยสำรวจมาแล้วก่อนหน้า ทั้งพบสิ่งมีชีวิตหน้าตาสวยงามแปลกประหลาดมากมาย หลายชนิดจัดเป็นสปีชีส์ใหม่ที่ยังไม่เคยมีอยู่ในสารบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต ตามหลักวิทยาศาสตร์ และได้ข้อมูลบ่งชี้ว่าสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลเหล่านี้ กำลังถูกคุกคามจากภาวะโลกร้อน
       
       ทั้งนี้ ทีมวิจัยส่งหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำนามว่าเจสัน (Jason) ซึ่งมีขนาดประมาณรถเก๋ง ดำดิ่งลงไปสำรวจใต้ทะเลบริเวณที่เป็นรอยแยกของเปลือกโลกใต้สมุทรที่เรียกว่า ทัสมัน แฟรคเชอร์ โซน (Tasman Fracture Zone) อยู่ลึกจากผิวน้ำประมาณ 4,000 เมตร


ฟองน้ำชนิดหนึ่ง (waffle-cone sponge) ขนาดกว้างราวครึ่งเมตร สูงเกือบ 2 เมตร อยู่ใต้ทะเลลึกกว่า 2,000 เมตร แถบทัสมาเนีย (เอเอฟพี)
       
       รอน เธรชเชอร์ (Ron Thresher) หัวหน้าทีมวิจัยจากองค์การการวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งสหพันธ์รัฐ หรือ คริสโร (Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation: CSIRO) เปิดเผยว่า สัตว์ใต้ทะเลที่ลึกที่สุดที่พบนั้น มีทั้งเพรียงหัวหอม (sea squirt) หน้าตาพิลึกพิลั่น, แมงมุมทะเล (sea spider) และฟองน้ำขนาดใหญ่ยักษ์ รวมทั้งปะการังอ่อนสปีชีส์ใหม่ๆ และชุมชนสัตว์ทะเลที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนอีกหลายชนิด ที่อิงอาศัยอยู่ร่วมกับเพรียงคอห่าน (gooseneck barnacle) และดอกไม้ทะเล
       
       อดัม ซับแฮส (Adam Subhas) หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า พวกเขาสังเกตการณ์การสำรวจอยู่บนเรือผ่านจอมอนิเตอร์ และเห็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเพรียงหัวหอมเกาะอยู่ตามแนวร่องนั้น ส่วนสภาพทางธรณีวิทยาบริเวณนั้นก็ดูสวยงามน่าหลงใหล ดินตะกอนละเอียดอ่อนและทับถมกันอย่างบางเบาราวกับปุยหิมะ


เพรียงหัวหอมสูงประมาณครึ่งเมตร อยู่ใต้ทะเลลึกกว่า 4,000 เมตร คอยดักจับกินสัตว์ทะเลขนาดเล็กที่ผ่านเข้ามาติดกับบริเวณกรวย คล้ายกับต้นกาบหอยแครงหรือหม้อข้าวหม้อแกงลิง (เอเอฟพี)
       
       นอกจากนี้ยังพบฟอสซิลแนวปะการังโบราณที่ความลึก 1,400 เมตร มีอายุมากกว่า 10,000 ปี ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศในสมัยนั้น และนักวิจัยสามารถใช้เป็นข้อมูลวิเคราะห์หรือสถานการณ์ภาวะโลกร้อนในปัจจุบันได้
       
       "แม้ปัจจุบันเรายังพบแนวปะการังน้ำลึกอยู่บ้าง แต่ก็มีหลักฐานแน่นหนา บอกว่าปะการังเหล่านั้นกำลังจะตาย เพราะพบว่าปะการังที่อยู่ลึกกว่า 1,300 เมตร จำนวนมากเพิ่งตายไปเมื่อไม่นานมานี้เอง อย่างไรก็ตาม นักวิจัยจะต้องศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดมากกว่านี้ แต่จากการศึกษาแบบจำลองก็บ่งชี้ได้ว่าเกิดภาวะความเป็นกรดในมหาสมุทร
       
       ส่วนในเดลีเทเลกราฟ อธิบายเพิ่มเติมว่าภาวะโลกร้อนซึ่งเกิดจากการที่มีก๊าซเรือนกระจกอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเกินไป ไม่เพียงแต่ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดภาวะน้ำทะเลเป็นกรดด้วย เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีมากเกินไปนั้น จะถูกดูดซับไว้ในน้ำทะเลมากถึง 25%


ซากฟอสซิลแนวปะการังอายุไม่ต่ำกว่า 10,000 ปี ที่ความลึกกว่า 1,500 เมตร ส่วนตัวสีเหลืองๆที่เห็น คือดาวทะเลชนิดหนึ่ง (brisingoid) (CSIRO)
       
       "ถ้าเราวิเคราะห์ได้ว่าปรากฏการณ์ดังกล่าว เป็นสาเหตุทำให้ปะการังเสียหายหรือตายลงจริงแล้วล่ะก็ ผลกระทบที่เราเห็นที่ความลึก 1,300 เมตร ในวันนี้ จะขยายไปสู่แนวปะการังส่วนอื่นๆ ที่อยู่ตื้นกว่านี้ในอีก 50 ปีข้างหน้า รวมทั้งสังคมสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ใกล้แนวปะการังก็จะได้รับผลกระทบไปด้วยกันทั้งหมด" เธรชเชอร์ กล่าว
       
       ทั้งนี้ จากรายงานของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เมื่อปี 2551 ระบุว่า เกรต แบริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) หรือ แนวประการังใหญ่ ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแนวประการังขนาดใหญ่ และเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอาจถูกสภาพความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศทำลายจนหมดสิ้นได้ภายในไม่กี่สิบปีนี้.



จาก                                  :                         ผู้จัดการออนไลน์            วันที่ 19 มกราคม 2552 
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 20, 2009, 05:54:13 AM »



มันเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากๆ ที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต้องเสี่ยงกับการสูญพันธุ์ เพราะ ภัยทางธรรมชาติ..
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 21, 2009, 02:01:57 AM »


สัตว์ชนิดใหม่ใต้ทะเลลึก


นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสัตว์ทะเลน้ำลึกชนิดใหม่หลายอย่าง หลังออกสำรวจในน่านน้ำของออสเตรเลีย เช่น สัตว์จำพวกเพรียงหัวหอม และแมงมุมทะเล

ทีมสำรวจของสหรัฐกับออสเตรเลียได้ใช้เวลาหลายเดือน   สำรวจเขตน้ำลึกนอกชายฝั่งของเกาะแทสเมเนียทางตอนใต้ของออสเตรเลีย   เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตในระดับความลึกที่ยังไม่เคยมีการสำรวจกันมาก่อนของประเทศนี้

นอกจากเจอสิ่งมีชีวิตหลายอย่างที่วงการวิทยาศาสตร์ไม่เคยรู้จัก  เช่น พวกปะการังอ่อนบางชนิด ทีมสำรวจยังพบวี่แววด้วยว่า ภาวะโลกร้อนกำลังคุกคามพืชและสัตว์ทะเล

รอน  เทรเชอร์  หัวหน้าทีม  บอกด้วยว่า นักสำรวจได้ค้นพบฟองน้ำยักษ์ เพรียงหัวหอม และแมงมุมทะเล ด้วยการใช้หุ่นยนต์ดำน้ำขนาดเท่ารถเก๋ง ชื่อ เจสัน นักวิจัยได้สำรวจบริเวณรอยแยกเปลือกโลกที่ชื่อ Tasman Fracture Zone หรือเขตรอยแยกแทสเมเนีย

เพรียงหัวหอมที่พบนั้น  มีความสูง 50 เซนติเมตร จากพื้นทะเลที่ความลึก 4,000 เมตร มันคอยดักจับเหยื่อที่ว่ายน้ำผ่านไปถูกมันเข้า

นอกจากนี้ยังพบลานฟอสซิลปะการังอายุกว่า  10,000  ปี ซึ่งตัวอย่างที่เก็บมาได้จะบ่งบอกถึงภูมิอากาศในยุคโบราณ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์ภาวะโลกร้อนในอนาคต

นักวิจัยยังได้พบแนวปะการังสมัยใหม่   แต่พวกมันกำลังจะตาย   ซึ่งปะการังที่ความลึกเกินกว่า 1,300 เมตร เพิ่งตายได้ไม่นาน ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเพราะน้ำทะเลมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น  และเป็นไปได้ว่าปะการังที่อยู่ในระดับความตื้นกว่านั้นจะทยอยตายเพิ่มขึ้นในอีก  50 ปีข้างหน้า

การสั่งสมของก๊าซเรือนกระจก  เช่น  คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ทำให้น้ำทะเลร้อนขึ้น และมีความเป็นกรดสูงขึ้น

รายงานของสหประชาชาติได้เตือนเมื่อปี   2550 ว่า แนวปะการังเกรต แบริเออร์ รีฟ อาจตายเพราะโลกร้อนภายในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า

แนวปะการังนี้เป็นมรดกโลก  มีความยาวกว่า 345,000 กิโลเมตร นอกชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย รายงานบอกว่า ปะการังที่นั่นอาจสูญพันธุ์ได้ในที่สุด.



จาก                                  :                         X-cite  ไทยโพสต์           วันที่ 21 มกราคม 2552 
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.153 วินาที กับ 20 คำสั่ง