กระดานข่าว Save Our Sea.net
มีนาคม 28, 2024, 12:06:04 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มารยาทของการถ่ายภาพในยุคดิจิตอล  (อ่าน 13278 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 09:56:20 AM »

จากที่ได้อ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับคุณวินิจเมื่อไม่นานมานี้ ..... ผมได้มาพลิกนิตยสาร  Scuba Diving  ฉบับประจำเดือนมีนาคม 2007 ดู  เปิดไปในหมวด Training  ก็ได้พบบทความของนาย Stephen Frink เรื่อง Photo Etiquette in the Digital Age ซึ่งถ้าแปลเป็นไทยก็คือ มารยาทของการถ่ายภาพในยุคดิจิตอล ที่มีหลายตอนไปพ้องกับกรณีของคุณวินิจ ..

เมื่อได้อ่านจนจบแล้ว  เห็นว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ  โดนใจเป็นอย่างยิ่ง   ผมจึงขอถอดความเป็นภาษาไทย และนำมาถ่ายทอดให้สมาชิก SOS ได้อ่านกัน

ถ้าจะให้อ่านแต่เรื่องเฉยๆโดยไม่มีรูปประกอบ ก็ดูจะน่าเบื่อ  จึงไปหาภาพที่มีอยู่สต็อค มาทำเป็นภาพประกอบให้มีสีสันขึ้นมาบ้าง  ส่วนเนื้อหาของเรื่องต้องเรียนให้ทราบว่า เป็นข้อเขียนของนาย Stephen Frink  ทั้งหมด โดยยังไม่ได้แต่งเติมเสริมความคิดเห็นส่วนตัวของผมเข้าไปเลยแม้แต่นิดเดียวครับ  เริ่มเลยก็แล้วกัน ............



มารยาทของการถ่ายภาพในยุคดิจิตอล   Photo Etiquette in the Digital Age

คงไม่ใช่ครั้งแรกที่ผมจะพูดถึงเรื่องนี้  คุณคงเคยพบเหตุการณ์ที่ทำให้ทริปดำน้ำของคุณหมดสนุก เช่น ถูกพวกช่างภาพยึดครองท้ายเรือ หรือ  คอยกันคุณไม่ให้เข้าใกล้จุดที่พบสัตว์ที่น่าสนใจใต้น้ำ

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน  หลายๆอย่างได้เปลี่ยนไป แต่หลายๆอย่างก็ยังคงเหมือนเดิม  ย้อนกลับไปในหลายปีให้หลัง  กล้อง Nikonos V เป็นกล้องที่ถือว่าสสุดยอดของกล้องถ่ายภาพใต้น้ำในยุคนั้น  ซึ่งคงจะมีคนใช้กันเพียงไม่กี่คน และยังมีข้อจำกัดให้ถ่ายภาพได้เพียง 36 รูปต่อฟิล์ม 1 ม้วน ใน 1 ไดฟ์เท่านั้น  แต่ในปัจจุบัน ความก้าวหน้าของดิจิตอล  ทำให้มีคนถ่ายภาพใต้น้ำมากขึ้น และแต่ละคนใช้การ์ดความจุตั้งแต่ 2 – 8 กิ๊กกะไบท์ ซึ่งสามารถเก็บภาพได้มากกว่าฟิล์มมากมายหลายเท่า ….. และตอนนี้ ก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะนำเรื่องนี้กลับมาพูดถึงกันอีกครั้ง



* Photographer_09.jpg (89.92 KB, 550x366 - ดู 1346 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 22, 2009, 05:46:07 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 10:06:56 AM »


พื้นที่บนเรือ

เป็นเรื่องจริงที่ว่า พวกช่างภาพจะใช้พื้นที่บนเรือมากกว่าพวกที่ไม่ได้ถ่ายภาพ แต่ต้องยอมรับว่าพวกเขาแต่ละคนใช้พื้นที่น้อยลงกว่าสมัยก่อนตอนที่พวกเขายังใช้ Nikonos V , Nikonos RS และ Housing ใส่ Nikon F100 มากมายนัก  เพราะในปัจจุบัน พวกเขาอาจใช้กล้อง Digital SLR ของ Canon หรือ Nikon เพียงตัวเดียวใส่ลงใน Housing และมีความสามารถทำหน้าที่ได้แทนเจ้ากล้องฟิล์มรุ่นเก่าทั้ง 3 ตัวนั้นพร้อมๆกันเลยทีเดียว

แต่ .... จำนวนของช่างภาพมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และจากที่เคยใช้กล้องชนิดยกขึ้นถ่ายได้เลย (point-and-shoot) เปลี่ยนมาใช้กล้องสมรรถนะสูงบรรจุลงใน Housing แถมยังมีอุปกรณ์เสริมอีกมากมายแทน  มันจึงค่อนข้างจำเป็นที่แต่ละคนจะต้องการโต๊ะสำหรับวางและจัดการกับอุปกรณ์ถ่ายภาพของตนเอง ที่จะไม่กีดขวางทางสัญจรของนักดำน้ำคนอื่นๆที่จะเดินไปยังท้ายเรือ 

ซึ่งในทุกวันนี้ เรือ Daytrip บางลำมีให้ และเรือ Live-aboard บางลำก็ได้จัดโต๊ะไว้ให้ แต่ขนาดและจำนวนของมันก็ยังไม่พอเพียงกับจำนวนและขนาดของอุปการณ์ถ่ายภาพที่ช่างภาพเหล่านั้นใช้กัน   พวกเขาต้องการสถานที่ที่แห้งและมีแสงสว่างมากเพียงพอที่จะทำความสะอาดและประกอบอุปกรณ์กล้องทั้งหลาย และพวกนักดำน้ำที่ไม่ใช่ช่างภาพก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงในการที่จะพาชุดหรือตัวที่เปียกๆผ่านเข้าไปในบริเวณที่พวกช่างภาพใช้จัดเตรียมอุปกรณ์ของเขา

เช่นเดียวกับความจำเป็นที่ต้องมีถังใส่น้ำสะอาดสำหรับแช่อุปกรณ์ถ่ายภาพหลังขึ้นจากน้ำ ถึงแม้ว่ามันจะค่อนข้างกินพื้นที่บนแพลตฟอร์มก็ตามที   ที่ถูกต้อง .....  เรือควรจะจัดเตรียมถังใส่น้ำสะอาดไว้ใบหนึ่งสำหรับแช่อุปกรณ์ถ่ายภาพ และถังใส่น้ำอีกใบหนึ่งสำหรับล้างหน้ากากและอุปกรณ์ดำน้ำอื่นๆ  ซึ่งมันควรจะแยกจากกันอย่างเด็ดขาด ..... เหตุผลก็คือ  น้ำยากันฝ้าหลายยี่ห้อที่ใช้ทำฟิล์มหน้ากากจะทำปฏิกิริยาต่อพอร์ตหรือโอริง นอกจากนี้ อุปกรณ์อื่นๆอาจจะมากระแทก Housing ซึ่งอาจทำให้กระจกหน้าพอร์ตแตกหรือเป็นรอยขีดข่วนได้

อุปกรณ์การถ่ายภาพเองก็เช่นกัน  หากมีหลายชิ้นแช่ในถังเดียวกันพร้อมๆกัน  ตัว sync cords อาจพันกัน.... ขาจับ Housing หรือ ขาแฟลชอาจจะไปขูดหรือกระแทกหน้าพอร์ตของตัวอื่นได้.... การดึงหรือยกอุปกรณ์ชุดหนึ่งขึ้นมาจากถัง  อาจลากอุปกรณ์ของชุดอื่นที่พันกันอยู่ขึ้นมาด้วย และอาจก่อให้เกิดปัญหาน้ำรั่ว (Flood) เข้าอุปกรณ์ ไม่ของเราก็ของคนอื่นได้

วัตถุประสงค์หลักของเราในการนำอุปกรณ์ถ่ายภาพลงแช่ในถังก็คือ เพื่อให้น้ำจืดเข้าไปแทนที่น้ำทะเลในทันที  ซึ่งการแช่เพียงชั่วครู่ตามความจำเป็นก็น่าจะเพียงพอ แต่ต้องล้างให้ได้ละเอียดถี่ถ้วนครบทุกซอกมุมด้วย



* Photographer_16.jpg (90.52 KB, 550x400 - ดู 1358 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 22, 2009, 07:21:19 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 10:10:00 AM »


หลีกเลี่ยงความคับคั่งที่แพล็ตฟอร์ม

การที่ช่างภาพเดินลากขาที่ใส่ตีนกบอุ้มอุปกรณ์ถ่ายภาพเพื่อไปท้ายเรือ เป็นสูตรสำเร็จของความพินาศ .....

ไดฟ์มาสเตอร์มักจะแนะนำให้นำกล้องไปวางไว้ที่ท้ายเรือก่อนเสมอ .... จงฟัง และเชื่อคำแนะนำนี้ ..... ถ้ามันจำเป็นที่จะต้องเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ถ่ายภาพไปไว้ยังที่ที่จัดไว้ที่ท้ายเรือ  ควรจะทำเสียก่อนที่จะใส่อุปกรณ์ดำน้ำและตีนกบ

ให้มั่นใจว่า ขาแฟลช (Strobe Arms) ถูกขันแน่นแล้ว และคุณได้บอกลูกเรือถึงวิธีส่งอุปกรณ์ถ่ายภาพให้คุณเมื่อคุณลงน้ำไปแล้ว ..... เคยมีเหตุการณ์ที่ทำให้พอร์ตที่ทำด้วยแก้วของเลนส์มุมกว้างหรือ Dome Port มูลค่าหลายหมื่นบาทตกลงมากระแทกแพล็ตฟอร์มแตกเพราะตัวเจ้าของละเลยที่จะทำ 2 สิ่งคือ ลืมที่จะขันกระชับขาแฟลชให้แน่น และลืมที่จะบอกลูกเรือให้จับที่ขาจับของ Housing แทนที่จะเป็นขาแฟลช 

.... ช่างภาพที่ดีจึงควรที่จะคาดเดาถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและหาทางหลีกเลี่ยงมันเสีย



* Photographer_12.jpg (98.44 KB, 550x366 - ดู 1261 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2007, 10:13:46 AM โดย สายน้ำ » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 10:12:19 AM »


มารยาทที่ดีตอนอยู่ใต้น้ำ    

ช่างภาพที่ดีควรจะปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท เมื่ออยู่ใต้น้ำ :

พยายามหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งกับสภาพแวดล้อมใต้น้ำ

การลงดำน้ำพร้อมกับถือกล้องและไฟแฟลชไปด้วยมักจะส่งผลถึงการลอยตัว และช่องมองภาพที่เล็กจิ๋วที่มองผ่านช่วงที่จะถ่ายภาพ ทำให้ไม่สามารถเห็นสภาพแวดล้อมรอบๆตัว จึงอาจชนกับปะการังได้ .... ที่กล่าวมาคือสาเหตุ แต่มันไม่ใช่ข้อแก้ตัว ....

ถ้าทักษะในการดำน้ำยังไม่ดีพอที่จะลงดำน้ำให้ราบรื่นพร้อมกับอุปกรณ์ถ่ายภาพได้  ก็อย่าเพิ่งนำกล้องลงไปด้วยจะดีกว่า  นอกเสียจากว่าจะไร้จิตสำนึก ตั้งใจที่จะถ่ายภาพให้ได้โดยไม่สนใจว่าจะทำให้ปะการังเสียหายแค่ไหนก็ตาม 

เราควรจะตระหนักไว้เสมอว่า ปะการังเป็นทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด  ไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ที่จะทำลายมันได้ตามอำเภอใจ



* Photographer_01.jpg (97.81 KB, 400x534 - ดู 1262 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2007, 10:14:21 AM โดย สายน้ำ » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 10:16:34 AM »


ใช้เพียงซากปะการังหรือโขดหินในการทรงตัว

การจับต้องปะการังเป็นความผิดที่ไม่น่าให้อภัย  แต่การใช้นิ้วเพียงนิ้วเดียวจิ้มไปบนหินที่มีสาหร่ายติดอยู่เพื่อช่วยในการทรงตัว ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่เลวร้ายอะไร  .....

.....โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุกเข่าลงบนพื้นทราย ยิ่งเป็นการแสดงออกถึงการกระทำที่เป็นมิตรต่อแนวปะการังอย่างชัดเจน

.... แต่ต้องพึงระวัง  อย่าตีเท้าลงบนพื้นทรายตอนลอยตัวขึ้น  มันจะทำให้เกิดตะกอนฟุ้งขึ้นมา และลอยเข้าไปหาแนวปะการังได้



* Photographer_06.jpg (99.76 KB, 550x366 - ดู 1298 ครั้ง.)

* Photographer_10.jpg (91.34 KB, 550x366 - ดู 1261 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 11:00:08 AM »


ผลกระทบอันเปราะบางต่อชีวิตสัตว์

การรบกวนสัตว์เพียงเพื่อให้ได้ภาพ  เป็นสิ่งที่ผิดอย่างยิ่ง เช่น ตั้งใจทำให้ปลาปักเป้าพองลม หรือ ขึ้นไปขี่หลังเต่าเพื่อแอ๊คท่าถ่ายภาพ เป็นต้น    การถ่ายภาพใต้น้ำ เป็นสิ่งยอดเยี่ยมที่จะสื่อถึงความสวยงามของปะการัง  ทะเล และชีวิตของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลออกมา  เราจึงควรปฏิบัติต่อทะเลและผู้อาศัยด้วยความเคารพ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราพึงกระทำอย่างสุดความสามารถ ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์และปกปักษ์ความสวยงามเหล่านั้นเอาไว้ให้คงอยู่ต่อไปอีกยาวนาน

การถ่ายภาพใต้น้ำแต่ละครั้งไม่ควรใช้เวลานานมากนัก  สีของน้ำทะเลจะเป็นสีเขียว – ฟ้า และหนาแน่นกว่าอากาศถึง 800 เท่า  และการถ่ายภาพให้ได้สีสันและความชัดเจนมากที่สุด ช่างภาพควรจะเข้าให้ใกล้วัตถุเป้าหมายให้ได้มากเท่าที่จะทำได้  นอกจากนี้ ยังต้องใช้แหล่งแสงอื่นนอกเหนือจากแสงธรรมชาติคือ แสงไฟจากแฟลช เพื่อนำสีที่ถูกต้องที่ถูกน้ำทะเลกลืนไปกลับคืนมาในภาพถ่าย  และแน่นอน  แสงไฟจากแฟลชอาจทำให้สัตว์บางชนิดตกใจได้



* Photographer_03.jpg (93.26 KB, 550x366 - ดู 1278 ครั้ง.)

* Photographer_14.jpg (93.27 KB, 550x413 - ดู 1257 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 11:01:40 AM »


 Dr. Alex  Mustard นักชีววิทยาทางทะเลและช่างภาพใต้น้ำกล่าวว่า ปัญหาใหญ่คือ สัตว์อาจมีอาการช็อค  การถ่ายภาพสัตว์โดยใช้แฟลชยิงซ้ำหลายๆครั้งในตอนกลางคืน น่าจะแย่กว่าการถ่ายภาพแบบเดียวกันในตอนกลางวัน เพราะยิ่งมืดมากเท่าไร  แสงจากแฟลชจะยิ่งสว่างและแรงมากขึ้น

ไม่เคยมีใครบันทึกไว้ให้ทราบว่า แสงจากแฟลชที่แรง 150 วัตต์ต่อวินาทีที่ยิงไปยังม้าน้ำแคระ (Pygmy Seahorse) ห่างออกไป 6 นิ้วนั้น จะทำให้มันบาดเจ็บแค่ไหน  แต่ไดฟ์ลีดเดอร์บางคนได้เรียนรู้ที่จะจัดการปัญหานี้ในช่วงที่เขาต้องพานักดำน้ำไปยังกัลปังหากอเดิมที่ม้าน้ำอาศัยอยู่ซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยการจำกัดจำนวนครั้งของการใช้แฟลชไม่ให้มากเกินไป และสามารถทำให้ม้าน้ำดำรงชีวิตต่อไปได้  ..... ความเป็นจริงคือ เมื่อช่างภาพได้รบกวนเจ้าสัตว์ที่อยู่กับที่และคอยหลบๆซ่อนๆชนิดนี้  อย่างไรเสียก็จะต้องมีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับมัน  โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เราใช้กล้องที่มีสมรรถนะสูงขึ้นในการถ่ายภาพ  สามัญสำนึก ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่างภาพจำเป็นต้องมีมากที่สุด ดูเหมือนจะเลือนหายไป



* Photographer_15.jpg (95.7 KB, 550x401 - ดู 1217 ครั้ง.)

* Photographer_08.jpg (90.21 KB, 550x366 - ดู 1235 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 11:03:55 AM »


การแสดงความเป็นเจ้าของสิ่งที่พบ  

การมีกล้องอยู่ในมือไม่ได้หมายถึงว่า จะมีสิทธิ์เหนืออาณาบริเวณใดๆ ..... ลองอ่านกฎ กติกา มารยาทด้านล่างนี้เสียหน่อย


เปิดทางให้คนที่ไม่ใช่ช่างภาพบ้าง

เมื่อนักดำน้ำพบอะไรที่น่าสนใจ  อย่าเข้าไปพร้อมกัน หรือไปดันคนอื่นออกมา  พวกช่างภาพควรรออยู่ห่างๆก่อน รอเมื่อคนข้างหน้าถอยออกมาแล้ว ค่อยผลัดกันเข้าไปเก็บภาพทีละคน .... การที่มีกล้องถ่ายภาพไม่ได้แสดงว่าคุณมีประสบการณ์เหนือกว่าคนที่ไม่มีกล้อง



* Photographer_11.jpg (96.73 KB, 550x366 - ดู 1233 ครั้ง.)

* Photographer_02.jpg (99.26 KB, 550x366 - ดู 1243 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 11:05:34 AM »


อย่าเข้าไปเกะกะช่างภาพคนอื่น

ถ้าคุณเห็นช่างภาพกำลังปรับกล้องหรือเล็งกล้องอยู่  อย่าได้ว่ายเข้าไปใกล้  ....

เขาอาจกำลังจะถ่ายภาพมุมกว้างของแนวหน้าผา  อย่าว่ายเข้าไปข้างใต้เขาหรือแนวเป้าหมายของภาพ  ฟองอากาศที่คุณพ่นออกมา จะไปทำให้ภาพของเขาเสียได้   จำไว้ว่า .... อย่าได้ว่ายผ่านเข้าไปหน้าเป้าหมายที่เขาเล็งอยู่  รอจนเขาถ่ายเสร็จแล้ว จึงค่อยว่ายผ่านไป



* Photographer_04.jpg (97.15 KB, 350x526 - ดู 1231 ครั้ง.)

* Photographer_07.jpg (97.87 KB, 550x366 - ดู 1264 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 11:09:11 AM »


การที่ได้ดำดิ่งลงไปพบกับความมหัศจรรย์ของโลกใต้ทะเลคือโอกาสที่พิเศษ และไม่มีใครมีฐานันดรเหนือกว่าคนอื่น ..... 

เดือนที่แล้ว ผมได้ไปดำน้ำในจุดที่มีชื่อเสียงสำหรับการถ่ายภาพใต้น้ำขณะที่กำลังพักน้ำอยู่ที่ 15 ฟุต ผมสามารถมองเห็นช่างภาพหลายคนที่ยังคงง่วนอยู่กับการถ่ายภาพเบื้องล่าง  มีนักดำน้ำ 2 คนจากเรือลำเดียวกับผมต้องรอคอยอย่างอดทนและอดกลั้นที่จะเข้าไปดูปลาใบไม้  หลังจากถูกนักดำน้ำจากเรือลำอื่นเข้ามาเบียด พร้อมส่งสายตาข่มขู่ และครอบครองโอกาสในการถ่ายภาพปลาใบไม้ไปก่อน  ผมเห็นลักษณะของอุปกรณ์ถ่ายภาพรุ่นใหม่ๆในมือของเขา  แต่ก็ไม่ทราบเลยว่าเขาเป็นช่างภาพมืออาชีพที่มีชื่อเสียงโด่งดังจนกระทั่งขึ้นมาทราบเอาตอนอยู่บนเรือ

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า   :   ถ้าคุณตั้งใจที่จะแสดงออกถึงพฤติกรรมใต้น้ำที่เลวทรามล่ะก็  อย่าเผลอเขียนชื่อของคุณลงบนกล้องเป็นอันขาด



* Photographer_13.jpg (99.22 KB, 550x366 - ดู 1198 ครั้ง.)

* Photographer_17.jpg (91.77 KB, 550x366 - ดู 1213 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 12:32:02 PM »

สำหรับความรู้ค่า..

เคยรอที่จะถ่ายรูปจนเกือบติด d-comp คิดไปคิดมา..เออออ..ทำไมเราต้องเอาชีวิตมาเสี่ยงด้วยหว่า..ไม่ถ่ายก็ได้..เอิ๊กกก...

บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2007, 01:26:25 AM »


มันเป็นเรื่องธรรมชาติครับ ..... ยิ่งถ้าได้ไปทริปเดียวกับพวกมืออาชีพด้วยแล้ว  ต้องพยายามออกให้ห่างๆไว้เลย เพราะพวกเค้าจะพิถีพิถันมาก จึงใช้เวลากันพอสมควร  เราก็ออกไปเตร็ดเตร่หาอะไรอย่างอื่นถ่ายไปก่อน  พอพวกเค้าเสร็จแล้วค่อยเข้าไป

.... แต่ถ้าใกล้ติดดีคอม ก็ทำใจครับ ไปทำ Safety Stop ดีกว่า ..... ชีวิตย่อมมีค่ากว่าภาพถ่ายแน่นอนครับ
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
angel frog
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 371


สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว


« ตอบ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2007, 03:10:53 AM »

เคยมีการปะทะคารมกันระหว่างเพื่อนดำน้ำ  ที่มีปัญหาเรื่อง "ช้า"  และหรือ "มองไม่เห็น อันเป็นเหตุให้เพื่อนไม่ได้ดู เพราะเขาไปแล้ว"    ......... อันนี้น่าจะเคยได้พบเจอกันบ้างทุกคน   อยากให้ใจเย็นๆ  แบบว่าขำๆดีกว่านะ    เคยเจอแบบไม่ยอมกัน   โกธรกันไปเลยก็มี    ....วัยรุ่นเห็นแล้ว...เซ็ง
บันทึกการเข้า
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #13 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2007, 03:50:26 AM »

กร๊ากกก...อันนี้..ทำใจ..เห็นก็ดีใจ..ไม่เห็นไว้..เจอใหม่คราวหน้า...เนอะ....
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
ประชาชาติ
ได้2ดาวแล้วพยายามอีกหน่อยจะได้สอย3ดาว
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 70


« ตอบ #14 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2007, 10:37:01 AM »

ไหนๆก็เขียนเรื่องแบบนี้แร้ว ประชาชาติก็ขอบ่นมั่งครับ

มารยาทในการถ่ายภาพที่ผิดๆ ในการถ่ายภาพที่ผมมักเจอเกือบทุกไดว์ แระไม่เคยเข้าใจว่าทำไมจึงต้องมีคนทำแบบนั้นกันได้ทุกที

1. ถังแช่อุปกรณ์ถ่ายภาพ ที่มีคนเอาอุปกรณ์อย่างอื่นที่ไม่ใช่กล้องมาแช่ ตั้งแต่ไดว์คอม มีด ยันตะกั่วพร้อมเข็มขัด ถมใส่กันได้ทุกทริป ไม่ว่าจะบรีพตั้งแต่เริ่มลงเรือมาแร้วก็ตาม ไม่รู้ว่าโง่จริงหรือปลอมกันแน่
โรคน้ำข้าวกล้องมักจะเกิดตอนแช่ในถัง เพราะจะเป็นตอนที่เราไม่ได้สังเกตุเรื่องน้ำเข้า มักจะอยู่ในตอนกินข้าว หรือนอนหลับในห้องแอร์แสนสบาย ออกมาแต่งตัว คว้ากล้องแร้วเป็นลมต่อซักพัก หน้าขาวซีด

แค่ล้างๆซักพักแร้วมาตากลมดีกว่าครับ หรือไม่ก็ลองดูน้ำในถังแช่กล้องตอนจบทริปซิครับ.......ยี้.......สกปรกสุดๆ

2. อาการปลาสวายตอมหนมปัง อาการหัวชนกันตอนแย่งกันถ่ายภาพสัตว์ที่กำลังจะตาบอดเพราะแสงแฟลช แท้งค์ชนกันป๊งเป๊ง ไม่รู้จะรีบเห็นกันไปถึงไหน มารยาทแทบไม่มีครับ ตะกอนทรายฟุ้งเห็นแต่ไกล รอบข้างราบเรียบ

ค่อยๆถ่าย หารูปดีๆซักสองสามรูปก็พอครับ ไม่ต้องรีบถ่าย แระกดมันสิบรูป ตาบอดหมดครับ
เมื่อวานดูหนังเรื่อง Paparassi เรยรู้ว่าเป็นคนโดนไฟแฟลชแยะๆก็ไปไม่เป็นทางเหมือนกัน ปลา กุ้ง ปู ม้าน้ำไม่มีเปลือกตานะครับจงทราบไว้ด้วยอีกทีครับ เพื่อลืมไปแร้ว

3. การที่ไดว์ลีดเดอร์ พยายามนำเสนอสัตว์หายากมาให้ถ่าย หรือต้อนมาให้ดู เป็นการพลัดพรากสัตว์เหล่านี้ออกจากจุดที่มันเรียกว่าบ้านอันอบอุ่นของมันออกมาล่อนจ้อนอยู่กลางแจ้ง ตอนนี้เป็นที่ฮิตเวลาพูดถึงเรือแต่ละลำ เรือสบาย อาหารอร่อย ไดวลีดหาตัวอะไรเก่ง เป็นจุดขายหลักที่มักจะเลือกกัน

กล้องดิจิมอนตัวเล็กๆก็ถ่ายแบบเล็กๆได้ดี แต่พวกที่ใช้กล้องติดก้ามปู ติดเพลช เลนส์ยาวเวลามุดกอถ่ายอะไรก็เก้งก้าง กระแทกโน่นนี่
ไดว์ลีดที่หาตัวอะไรเก่ง ก็งัดมันมาให้ดูได้เก่งครับ เอาออกมาไว้ข้างนอก เจอตัวที่ชอบกินพวกมันก็......หวาน กรอบ ล่อน....

รสนิยมการดำน้ำสมัยนี้ เป็นการดำเพื่อเสาะหาความสะใจที่ได้เห็นตัวอะไรแปลกๆ ตัวหายาก ตัวที่เพื่อนเราไม่เคยพบ ไม่ได้มาดื่มด่ำกับการดำดูอะไรสวยๆ ทะเลดีๆ ปลาหากินรอบแนวปะการังที่สมบูรณ์

ตอนบรีฟก่อนดำแทบไม่อยากฟังเรยแบบ

ดำกองริเชริว ลงปุ๊บเจอม้าน้ำสีเหลือง ว่ายทางซ้ายที่ 25 เมตรเจอถ้ำมีกุ้งตัวตลกอยู่ ขึ้นทางเหนือมีปลากบสีชมพู ลงไปลึกอีกหน่อยเจอปลาสัปปะรด ก่อนขึ้นดูรอบข้างอาจเจอแมนต้า

ปลาทะเลไทยมีอยู่แค่นี้เหรอครับ หรือพวกเราพอใจกันอยู่แค่นี้ที่จะเสียตังค์ดำน้ำปีละหลายตังค์เพื่อดูสัตว์ทัวรชะโงก

ที่ว่าให้อาหารสัตว์ทะเลว่าผิดนะ ผมว่าถ้าจะไปถ่ายรูปไปฉายไฟดูตัวพวกนี้ น่าจะให้มันได้กินไรมั่ง พริตตี้มอเตอร์โชว์ โดนกล้องถ่ายวันละ 8 ชั่วโมงยังได้ตังค์เรย คุ้มค่ากับการตาเสีย

สัตว์พวกนี้เจอตั้งแต่ไดว์แรก 7 โมงเช้า ยันไนว์ไดว์ โดนแฟลชกี่ร้อยแว๊บ ตาก็ใกล้บอดเหมือนกัน ไม่ได้อะไรเรยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.707 วินาที กับ 20 คำสั่ง