กระดานข่าว Save Our Sea.net
พฤษภาคม 01, 2024, 02:35:24 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม: วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2552  (อ่าน 2131 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: มีนาคม 17, 2009, 12:47:53 AM »

กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยมีอ่อนกำลังลงอีก ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาโดยจะมีอากาศร้อนในตอนกลางวันและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในระหว่างบ่ายถึงค่ำ ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองกระจายและคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไปยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายในการเดินเรือโดยเฉพาะในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะ 1-2 วันนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณปริมณฑล  อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศา อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศา  ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 16-18 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้อากาศร้อนขึ้น ส่วนภาคใต้มีฝนกระจาย และคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างยังคงมีกำลังค่อนข้างแรงโดยเฉพาะบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 19-22 มี.ค. ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ได้พัดพาความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ สำหรับคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 16-18 มี.ค. ขอให้ชาวเรือในอ่าวไทยตอนล่างโดยเฉพาะบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ควรเพิ่มความระมัดระวัง ในการเดินเรือ



* Forecast2.jpg (40.01 KB, 684x423 - ดู 462 ครั้ง.)

* Earthquake.jpg (30.62 KB, 450x498 - ดู 481 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 17, 2009, 01:04:30 AM »

ผู้จัดการออนไลน์


จีนยันส่ง “เรือประมง” ลาดตระเวนทะเลจีนใต้


ภาพถ่ายจากเครื่องบินของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2542 ที่แสดงให้เห็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้นที่รัฐบาลจีนสร้างไว้ที่ Mischief Reef ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะสแปรตลีย์ที่อยู่ในทะเลจีนใต้ ล่าสุด ทางการจีนได้ส่งเรือลาดตระเวนรุ่นทันสมัยสุดออกสู่ทะเลจีนใต้ หลังจากเกิดเหตุการณ์เผชิญหน้ากับเรือสำรวจของสหรัฐฯ และการที่รัฐบาลฟิลิปปินส์อ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะแห่งความขัดแย้งนี้-เอเอฟพี

      เอเอฟพี – สถานทูตจีนยืนยัน เรือลาดตระเวนลำใหม่ในทะเลจีนใต้ เป็นเพียงเรือที่ใช้เพื่อการประมง จึงไม่ถือเป็นการละเมิดข้อตกลงร่วมกันของนานาประเทศ ด้านกองทัพเรือฟิลิปปินส์มอนอเตอร์พิกัดเรือลาดตระเวนลำนี้อย่างใกล้ชิด
       
       ทั้งนี้ สำนักข่าวปักกิ่ง นิวส์ ของทางการจีน รายงานว่า เรือลาดตระเวนลำใหม่นี้ จะออกลาดตระเวนในพื้นที่ที่เรียกว่า “เขตการเดินเรือพิเศษของจีน” ในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นน่านน้ำแห่งความขัดแย้ง เพราะเป็นที่ตั้งของหมู่เกาะพาราเซล และหมู่เกาะ สแปรตลีย์ ที่มีหลายประเทศอ้างกรรมสิทธิ์
       
       รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า เรือลาดตระเวนที่ดัดแปลงเป็นเรือช่วยชีวิตทางทะเลลำนี้ มีภารกิจเพื่อคอยช่วยเหลือเรือประมงและเรือขนส่งสินค้าของจีน
       
       จีนได้ส่งเรือลาดตระเวนที่ทันสมัยสู่ทะเลจีนใต้ครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ออกกฎหมายที่อ้างกรรมสิทธิ์ในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ซึ่งทางการจีนได้อ้างกรรมสิทธิ์เช่นกัน โดยรัฐบาลจีนกล่าวว่า กฎหมายของฟิลิปปินส์ฉบับนี้ถือว่าผิดกฎหมายและไม่มีผลบังคับใช้
       
       ความเคลื่อนไหวนี้ ได้ทวีความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ โดยในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาสหรัฐฯประกาศว่าจะส่งเรือพิฆาตแล่นขนาบไปกับเรือสำรวจที่กำลังลาดตระเวนอยู่ในทะเลจีนใต้ หลังจากเกิดเหตุเผชิญหน้ากับเรือจีนในวันอาทิตย์(8 มี.ค.) โดยทางการสหรัฐฯ แถลงประท้วงจีนว่า เรือจีนได้เข้ามา “ก่อกวน” ขณะที่เรือสำรวจลำดังกล่าวปฏิบัติภารกิจสำรวจข้อมูลตามปกติอยู่ในน่านน้ำสากล แต่ทางการจีนอ้างว่า เรือสำรวจของสหรัฐฯ ได้รุกล้ำน่านน้ำในเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน ขณะที่สื่อต่างจีนประโคมข่าวว่าเรือสหรัฐฯเข้ามาสอดแนมทาางทหารของจีน ทั้งนี้ บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากชายฝั่งเกาะไห่หนัน (ไหหลำ) 120 กม.
       
       สำหรับบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์และหมู่เกาะพาราเซลนี้ เป็นดินแดนพิพาทสิทธิเหนือดินแดน โดยมีหลายประเทศอ้างกรรมสิทธิ์ใน 2 หมู่เกาะนี้ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นขุมแหล่งน้ำมัน
       
       กล่าวคือ หมู่เกาะสแปรตลีย์ถูกอ้างกรรมสิทธิ์โดยรัฐบาล จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน และไต้หวัน ขณะที่หมู่เกาะพาราเซลที่จีนครอบครองไว้ในขณะนี้ ก็ถูกอ้างกรรมสิทธิ์โดยรัฐบาลจีน เวียดนาม และไต้หวัน

   
ภาพถ่ายของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์แสดงให้เห็นการก่อสร้างของจีนบน Mischief Reef ที่อยู่ในหมู่เกาะสแปรตลีย์ในทะเลจีนใต้ โดยเมื่อวันจันทร์ (16 มีนาคม) ทางจีนได้ออกมายืนยันว่า การส่งเรือไปลาดตระเวนในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ไม่ถือว่าขัดต่อข้อตกลงร่วมกันที่จะรักษาสันติภาพในหมู่เกาะแห่งความขัดแย้งแห่งนี้-เอเอฟพี
 
 
       จีนโต้เรือลาดตระเวณไม่ใช่เรือรบ
       
       อย่างไรก็ตาม แถลงการณ์จากสถานทูตจีนประจำกรุงมะนิลาที่ออกเมื่อวันจันทร์ (16 มีนาคม) โดยอ้างคำพูดของ นายหัว เย่ โฆษกสถานทูตจีนประจำกรุงมะนิลา ระบุว่า เรือลาดตระเวนที่จีนส่งออกไปในทะเลจีนใต้ เป็นเรือลาดตระเวนเพื่อการประมงไม่ใช่เรือรบ ดังนั้น จึงไม่ถือเป็นการละเมิดคำประกาศข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มประเทศในทะเลจีนใต้
       
       ทั้งนี้ คำประกาศดังกล่าวมีขึ้นในปี 2545 เพื่อเรียกร้องให้ทุกประเทศที่อ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะ สแปรตลีย์ รวมทั้งจีนและฟิลิปปินส์ ระงับการกระทำใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความตึงเครียด รวมถึงการเพิ่มกำลังทางทหารและการก่อสร้างในบริเวณดังกล่าว
       
       แม้ว่าจีนจะประกาศว่าการส่งเรือออกลาดตระเวนครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง แต่ก็ทำให้นานาชาติมองว่าการเคลื่อนไหวของจีนครั้งนี้เป็นการพลิกแพลงยุทธวิธีทางทหารที่มีต่อประเทศเล็กๆ ที่อ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์
       
       ฟิลิปปินส์ประท้วงทางการทูต
       
       ขณะที่ นายเซอร์เจ เรมอนด์ โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศของฟิลิปปินส์ได้ใช้ช่องทางการทูตแก้ปัญหานี้อยู่แล้ว “แม้ในความเป็นจริงเราจะกังวลในเรื่องนี้ แต่เราไม่ควรแสดงท่าทีมากเกินไป”
       
       ด้าน พันเอกเอดการ์โด อเรวาโล โฆษกกองทัพเรือฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ทางกองทัพเรือพยายามมอนิเตอร์พิกัดของเรือลาดตระเวนของจีน
       
       “ตอนนี้ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่ประเทศต่างๆ ที่อ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์จะส่งเรือของตนออกมาลาดตระเวน” และยังว่า ฟิลิปปินส์ก็มีกองกำลังทหารตั้งอยู่ในหมูเกาะเล็กๆ เพื่อป้องกันอธิปไตยของประเทศเช่นเดียวกับจีน


******************************************************************************************************************************


เวทีน้ำโลกย้ำวิกฤติ อีก 20 ปีคนครึ่งโลกขาดน้ำจืด



เริ่มแล้วการประชุมระดับโลกทางด้านน้ำจืด "เวิล์ด วอเตอร์ ฟอรั่ม" มีผู้เข้าประชุมมากเป็นประวัติการณ์ ซ้ำข้อมูลยูเอ็นเผยอีก 20 ปีประชากรโลกจะขาดน้ำจืดเกือบครึ่ง ส่วนใหญ่อยู่ในจีนและเอเชียใต้ เร่งสร้างจิตสำนึกมีความรับผิดชอบต่อน้ำ ย้ำแนวคิด “รักษาน้ำเหมือนเป็นสมบัติล้ำค่าของชีวิต”
       
       การประชุมน้ำโลกครั้งที่ 5 หรือ "เดอะ ฟิฟธ์ เวริล์ด วอเตอร์ ฟอรั่ม" (The 5th World Water Forum) จัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ 3 ปี โดยในปีนี้เริ่มขึ้นแล้ว ณ กรุงอีสตันบุล ประเทศตุรกี ระหว่างวันที่ 16-22 มี.ค.52
       
       ทั้งนี้ ในการประชุมแต่ละครั้ง ก็จะมีการประกาศประเด็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับน้ำ ทั้งความขาดแคลน แนวโน้มความเสี่ยงอันนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศเหนือแม่น้ำ ทะเลสาบต่างๆ รวมถึงทางออกในการรักษาน้ำสะอาด และสร้างน้ำให้สุขอนามัยเพียงพอแก่ประชากรนับพันล้าน โดยปีนี้มีแนวคิดว่าโลกกำลังเผชิญวิกฤติน้ำจืดมากยิ่งขึ้น และมุ่งการรณรงค์ไปที่ “รักษาสมบัติอันล้ำค่าต่อชีวิต” (to save the precious stuff of life)
       
       ทว่า ก่อนการเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่าได้มีประชาชนกว่า 300 คนเดินขบวนประท้วงไปยังสถานที่จัดประชุม ส่งผลให้ตำรวจต้องสลายด้วยแก๊สน้ำตา เพราะกลุ่มผู้ประท้วงได้ขว้างก้อนหิน และใช้ไม้เข้าตีเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังจากสลายกลุ่มผู้ชุมนุมแล้ว เจ้าหน้าที่จับผู้ประท้วงได้อย่างน้อย 15 ราย และคุมตัวไว้สอบสวนต้อไป ส่วนกิจกรรมการประชุมก็สามารถดำเนินต่อไปได้ตามปกติ
       
       สำหรับพิธีเปิดการประชุมเริ่มขึ้น โดย โลอิค โฟชง (Loic Fauchon) ประธานสภาน้ำโลก (World Water Council : WWC) กล่าวปาฐกาว่า มนุษยชาติต้องแสดงปฏิกิริยาต่อต้านการทำให้น้ำเสีย และการใช้น้ำในทางที่ผิด เพราะน้ำนั้นช่วยประทังชีวิต “พวกเราต้องมีความรับผิดชอบ”
       
       “มีความรับผิดชอบต่อการกระทำที่ผิดต่อน้ำ มีความรับผิดชอบต่อภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลให้โลกเปลี่ยนไป และมีความรับผิดชอบต่อผลพวงต่างๆ ที่นำไปสู่ปริมาณน้ำจืดที่ลดลง ซึ่งน้ำจืดเหล่านั้นมีผลต่อการมีชีวิตรอดของมวลมนุษยชาติ” โฟชงกล่าว
       
       นอกจากนี้ เขายังเสริมอีกว่า ทุกๆ ครั้งเมื่อเอ่ยถึงประวัติศาสตร์น้ำ จะพบว่า พวกเรามักใช้ทรัพยากรน้ำมากเกิน ทว่าในเวลาเดียวกันเราก็ต้องปกป้อง ปรับปรุงคุณภาพน้ำ และแม้กระทั่งนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
       
       ทั้งนี้ ประชากรโลกในปัจจุบันมีมากกว่า 6.5 พันล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านในช่วงกลางศตวรรษ (ประมาณปี ค.ศ.2050) นั่นหมายความว่า จะมีความต้องการน้ำจำนวนมหาศาล มากกว่าปริมาณน้ำที่จะจัดหาได้ในปัจจุบัน
       
       ตามข้อมูลขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี (Organization for Economic Cooperation and Development : OECD) ระบุว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีปัญหาน้ำอย่างรุนแรงนั้น คาดว่าจะสูงถึง 3.9 พันล้านคนในปี ค.ศ.2030 นับว่าเกือบครึ่งของประชากรทั่วโลก โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ประสบปัญหาเหล่านี้จะอยู่ในจีน และเอเชียใต้


       
       นั่นยังไม่รวมถึงผลกระทบจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โลกร้อน (Global warming) มีผลต่อรูปแบบลมฟ้าอากาศไปแล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงเวลาและสถานที่ฝนหรือหิมะตก ตามการศึกษาข้อผู้เชี่ยวชาญ
       
       นอกจากนี้ ประชากรอีกราว 2.5 พันล้านคนยังไม่มีโอกาสเข้าถึงสุขอนามัยที่เหมาะสม ซึ่งนับเป็นอุปสรรค ต่อการบรรลุหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ (UN's Millennium Development Goals)
       
       ข้อมูลจากนักอุทกวิทยาหลายฝ่าย ยังชี้ว่ารากเหง้าของวิกฤติของการขาดน้ำที่แท้จริง เกิดจากการทำเกษตรเกินพอดี การรั่วไหลของน้ำจากแหล่งส่งน้ำเมือง มลพิษของแม่น้ำ และการกักกันแหล่งน้ำจากแหล่งต่างๆ อย่างไร้การควบคุม
       
       เวทีน้ำในครั้งนี้ จัดขึ้นที่กรุงอีสตันบูล และจะดำเนินไปจนถึงวันที่ 22 มี.ค.52 ซึ่งการประชุมเริ่มด้วย การประชุมกลุ่มย่อยของเหล่าผู้นำรัฐและรัฐบาล นำโดยตุรกี และจะสรุปด้วยการประชุมใหญ่ระดับรัฐมนตรี เพื่อร่วมกันหาหนทาง สร้างข้อแนะนำ (guideline) ในการจัดการน้ำอย่างชาญฉลาด รวมถึงการจัดการกับความขัดแย้ง อันเนื่องมาจากแหล่งน้ำ
       
       นอกจากภาระที่เป็นของฝ่ายการเมืองแล้ว ในการประชุมครั้งนี้ ยังได้รวมบริษัทและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำเข้ามาร่วมแสดงความเห็นอีกด้วย
       
       อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากรายงานการพัฒนาน้ำสำหรับโลกที่ 3 (the third World Water Development Report) ระบุว่า ทั่วโลกจำเป็นต้องใช้งบประมาณปีละ 92.4 – 148 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสร้างและรักษาระบบการสำรองน้ำ รวมถึงการทำให้น้ำสะอาด และการเกษตร ลำพังที่จีนและบางประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ก็ต้องใช้งบประมาณมากถึงปึละ 38.2-51.4 พันล้านเหรียญ
       
       “จะทำให้อย่างไร ให้การลงทุนทุ่มเงินเหล่านี้มีประสิทธิภาพ และเพียงพอที่จะจัดการน้ำ” นับเป็นโจทย์สำคัญในการประชุมครั้งนี้
       
       มาร์ก ฮาเยส (Mark Hayes) นักรณรงค์จากกลุ่ม ซีเอไอ (Corporate Accountability International : CAI) ซึ่งติดตามการดำเนินงานของบริษัทมหาชนถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ว่า สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการควบคุมน้ำจากแหล่งใหญ่สู่ประชาชน ทั้งการจัดส่งน้ำ ราคาค่าน้ำ และการจัดการน้ำ ซึ่งประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งจากวิกฤติน้ำและการดำเนินการของบริษัทเหล่านี้
       
       “ขณะนี้ ประชาชนที่กำลังหิวกระหาย ไม่สามารถส่งเสียงของพวกเขาต่อที่ประชุม” ฮาเยสกล่าว ซึ่งการประชุมเวิล์ดวอเตอร์ฟอรั่มครั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 27,000 คน จากกว่า 100 ประเทศ นับว่าทำลายสถิติผู้เข้าร่วมประชุม 4 ครั้งก่อนหน้านี้
       
       สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ นอกจากจะเป็นผู้นำจากประเทศหรืออุตสาหกรรมแล้ว ยังมีคนสำคัญที่น่าจับตามอง อาทิ เจ้าชายวิลเลียม อเล็กซานเดอร์ มกุฏราชกุมารแห่งเนเธอร์แลนด์, เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ประธานาธิบดียาลัล ตอลาบานี แห่งอิรัก, ประธานาธิบดีอีโมมาลี ราห์มอน แห่งทาจิกิสถาน และนายกรัฐมนตรีแห่งเกลาหลีใต้ เป็นต้น โดยผู้นำบางท่านจะอยู่ร่วมประชุมตลอดสัปดาห์.

บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.248 วินาที กับ 20 คำสั่ง