กระดานข่าว Save Our Sea.net
มีนาคม 29, 2024, 11:32:07 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม: วันพุธที่ 15 เมษายน 2552  (อ่าน 13233 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดอกปีบ
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 316


If we see the hearts of others, peace will follow


« เมื่อ: เมษายน 15, 2009, 02:49:14 AM »

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 15 เมษายน 2552

ลักษณะอากาศทั่วไป เมื่อเวลา 4.00 น.
ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทย ในขณะที่หลายพื้นที่ของประเทศมีอากาศร้อนอบอ้าว ลักษณะเช่นนี้ยังทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้
ในระยะนี้ ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายจากลมกระโชกแรงไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ
อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศา โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40
ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ตาก น่าน ลำพูน ลำปาง และแพร่
ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศา โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30
ของพื้นที่ และลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากจังหวัดเลย หนองคาย สกลนคร
อุดรธานี นครพนม ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง
อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศา โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20
ของพื้นที่กับลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา
ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก
อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศา โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงส่วนมากบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรีประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และนราธิวาส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศา
ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศา โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ
ร้อยละ 20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา
http://www.tmd.go.th/thailand.php





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2009, 02:54:39 AM โดย ดอกปีบ » บันทึกการเข้า
ดอกปีบ
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 316


If we see the hearts of others, peace will follow


« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 15, 2009, 02:54:23 AM »

วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11358 มติชนรายวัน

"เอ็นจีโอ"ไม่เอาด้วยสร้างปางช้างในกรุง

นาย ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยความคืบหน้าการขึ้นทะเบียนช้างเร่ร่อนในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่มีหลายฝ่ายโดยเฉพาะองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) เกี่ยวกับช้างที่ไม่เห็นด้วยกับการที่ กทม.จะสร้างปางช้างในสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) และอีกหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ เนื่องจากเห็นว่าเมื่อจะมีการแก้ปัญหาไม่ให้ช้างเข้าไปอาศัยอยู่ในเมืองหลวง แล้ว ก็ไม่ควรสร้างสถานที่พักช้างในกรุงเทพฯด้วยเช่นกัน เพราะแม้กระทั่งช้างในสวนสัตว์ก็ยังมีการผลักดันให้กลับสู่ป่า จึงต้องมีการรับฟังเหตุผลจากหลายๆ ฝ่าย รวมทั้งหารือกันในรายละเอียดในแต่ละเรื่องที่เกี่ยวข้อง

นายธีระชน กล่าวว่า ในช่วงสงกรานต์ซึ่งควาญช้างส่วนใหญ่พากันนำช้างกลับต่างจังหวัดเกือบทั้งหมด นั้น กทม.ไม่ได้มีการสกัดการนำช้างกลับเข้าพื้นที่แต่อย่างใด เนื่องจากต้องการให้มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องก่อน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ จะมีการประชุมเพื่อหารือแนวทางการขึ้นทะเบียนด้วยการฝังไมโครชิปช้างเร่ร่อน ในกรุงเทพฯ โดยในเบื้องต้นได้มีการประเมินถึงปัญหาในการขึ้นทะเบียน เนื่องจากควาญช้างอาจจะไม่ยินยอมให้จับช้างมาขึ้นทะเบียน ซึ่งอาจจะมีการยิงยาสลบช้างเพื่อบังคับจับ โดยได้มีการประสานให้สัตวแพทย์ ทั้งจากกรมปศุสัตว์ สำนักอนามัย (สนอ.) กทม.ดำเนินการฉีดยาสลบก่อนเพื่อป้องกันช้างทำร้ายระหว่างดำเนินการจับ อย่างไรก็ตาม ระหว่างการจับกุมเพื่อขึ้นทะเบียน หากควาญช้างมีการต่อสู้ขัดขืน ก็จะมีการใช้มาตรการทางกฎหมายที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ เมื่อมีการประชุมเรียบร้อยแล้วจะมีมาตรการที่ชัดเจน รวมทั้งกำหนดวันที่จะเริ่มดำเนินการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการต่อไป

หน้า 10
บันทึกการเข้า
ดอกปีบ
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 316


If we see the hearts of others, peace will follow


« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 15, 2009, 03:01:58 AM »

เปิดแนวร่วมประชาชนสร้างเครือข่ายป้องกันไฟป่า
   
ไฟป่า เป็นปัญหาสำคัญที่สร้างความเสียหายรุนแรงต่อทรัพยากรป่าไม้ หากเกิดขึ้นครั้งใด ล้วนสร้างความเสียหายลุกลามรุนแรง ยากลำบากต่อการควบคุม  สถานการณ์ไฟป่าจึงถือเป็นอีกหนึ่งในภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายรุนแรงไม่ แตกต่างกันกับภัยพิบัติอื่น ๆ และการดับไฟป่าเป็นงานที่เสี่ยงอันตราย ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้เทคนิคเฉพาะและต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องไฟป่า ทราบถึงเทคนิคและวิธีการดับไฟป่าที่ถูกต้องและถูกวิธี จึงจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดับไฟป่าคือการเดินทางเข้าไปดับไฟป่าให้เร็วที่ สุด เพราะไฟที่เกิดขึ้นใหม่ยังไหม้ลุกลามอยู่ในวงแคบทำให้ง่ายต่อการควบคุม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วพื้นที่ที่เกิดไฟป่าส่วนใหญ่มีสภาพเป็นเขาสูงชัน การคมนาคมไม่สะดวก การเดินทางดับไฟป่าบางครั้งต้องเดินทางด้วยเท้า ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานาน ทำให้ไฟป่าที่เกิดขึ้นขยายเป็นวงกว้างยากต่อการควบคุมในบางครั้งอาจทำให้ เกิดไฟป่าใหญ่ขึ้น ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องขอกำลังสนับสนุนในการดับไฟป่าจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกับที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็น    อีกหนึ่งพื้นที่ที่ต้องประสบปัญหาไฟป่าทุกปี การกำหนดแผนและยุทธวิธีในการปฏิบัติงานตลอดจนการบังคับบัญชา สั่งการการติดต่อสื่อสารและการขอกำลังสนับสนุน จึงจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ
       
นายเดชา สัตถาผล นายอำเภอแม่สะเรียง ซึ่งมีแนว นโยบายในการปฏิบัติงานโดยเน้นการบูรณาการความร่วมมือจากทุก ฝ่ายทุกหน่วยงานเพื่อให้การป้องกันและการเฝ้าระวังปัญหาไฟป่าให้มี ประสิทธิภาพและสามารถควบคุมไฟป่าได้อย่างดีที่สุด ที่ผ่านมาอำเภอแม่สะเรียงได้ประสานพลังมวลชนจากทุกหมู่เหล่าร่วมรณรงค์และ เฝ้าติดตามสถานการณ์ไฟป่าอย่างใกล้ชิด ตลอดจนผสมผสานกำลัง เช่น กำลังของอาสาสมัครรักษาดินแดนกองร้อย อส.แม่สะเรียง หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 สถานีตำรวจภูธรแม่สะเรียง สมาชิก อปพร.ทุกตำบล เทศบาล กำนันผู้ใหญ่บ้าน กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 337 เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สถานีควบคุมไฟป่าแม่สะเรียงที่ 3 ตลอดจนประชาชนทุกคนทุกชนเผ่า ร่วมระดมพลรณรงค์ดับไฟป่า เก็บเศษหญ้าใบไม้แห้ง และทำแนวกันไฟ นอกจากนี้ยังได้สนธิกำลังร่วมกันปฏิบัติงานดับไฟป่าระหว่างพนักงานดับไฟป่า กับอาสาสมัครป้องกันไฟป่าให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการแบ่งแนวเขตการป้องกันและเฝ้าระวังไฟป่าในพื้นที่ตลอดแนวถนนหลวงสาย 108 แม่สะเรียง-เชียงใหม่ แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน และเส้นทางหลวง 105 แม่สะเรียง-สบเมย-แม่สอด ในลักษณะการแบ่งโซนเฝ้าระวังและปฏิบัติการดับไฟ พร้อมจัดตั้งเวรยามชุดเฝ้าระวังและลาดตระเวนไฟ 24 ชั่วโมง
   
ด้าน นายจิรภัทร ชัยกิตติพร หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าที่ แม่สะเรียง เปิดเผยว่า สถานีควบคุมไฟป่าที่ 3 แม่สะเรียง ได้เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างเครือข่าย ประกอบกับปัจจุบันนี้หลายหน่วยงานได้ดำเนินการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันไฟป่า เพื่อให้อาสาสมัครเหล่านี้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับไฟป่า รู้เทคนิคและวิธีการใช้เครื่องมือดับไฟป่า เพื่อเป็นกำลังสนับสนุนดับไฟป่าเมื่อมีไฟป่ากระจายเป็นบริเวณกว้าง การระดมพลจำนวนมากจากหลายหน่วยงานมีความจำเป็นอย่างยิ่ง นอกเหนือจากการผสมผสานกำลังจากหน่วยงานภาครัฐแล้ว ประชาชนก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน และดูแลพื้นที่ป่า ดังนั้นทางหน่วยควบคุมไฟป่าแม่สะเรียง จึงได้จัดทำ โครงการจัดอบรมเครือข่ายการแก้ไขปัญหาไฟป่าภาคประชาชน ขึ้น ซึ่งการจัดอบรมแบ่งออกเป็น 6 รุ่น รุ่นละ 50 คน รวม 300 คน เป้าหมายคือประชาชนในแต่ละหมู่บ้านที่มีปัญหาเรื่องไฟป่าเกิดขึ้นซ้ำซากทุก ปี เช่น บ้านป่ากล้วย บ้านทุ่งพร้าว บ้านไร่ บ้านหนองผักหนาม ตำบลแม่สะเรียง บ้านห้วยหลวง บ้านป่าหมาก บ้านแม่ต๊อบเหนือ บ้านโป่งดอย  ช้าง ตำบลบ้านกาศ บ้านแม่สวรรค์น้อย ตำบล แม่เหาะ และ บ้านห้วยโผ บ้านแม่กองคา ตำบลแม่ยวม พร้อมกันนี้ได้มอบชุดอุปกรณ์ดับไฟให้กับกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนไว้หมู่ บ้านละ 1 ชุด เพื่อเป็นกำลังในการช่วยเหลือดับไฟป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่
 
ขณะเดียวกัน จากสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น และ   มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้น ในช่วงเดือน   เมษายน จากสภาพภูมิประ เทศเป็นภูเขา สูงชัน การเดินทางเข้าพื้นที่ยากลำบาก ส่งผลให้การควบคุมและดับไฟป่าเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูงชัน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทางหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 โดยการนำของ พันเอกบุญยืน อินกว่าง ผบ.ทพ. 36 ร่วมกับทาง นายจิรภัทร ชัยกิตติพร หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าที่ 3 แม่สะเรียง ร้อยเอก จิระพงษ์ ธนสารัญญเวช หัวหน้าสถานีวิทยุกระจายเสียงเคลื่อนที่เฉพาะกิจ กองทัพบกที่ 32 พร้อมชุดเคลื่อนที่เร็วดับไฟป่า จำนวนกว่า 50 นาย ใช้เฮลิคอปเตอร์ โรยตัวลงยังพื้นที่ที่เกิดไฟป่าบนยอดดอยสูง และเข้าทำการดับไฟป่า ซึ่งสามารถที่จะควบคุมไฟป่าบนยอดดอยไม่ให้ลุกลามเข้าพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว
 
สำหรับอำเภอแม่สะเรียง ปี 2552 ไฟป่าได้เกิดขึ้นครั้งแรกใน วันที่ 5 กุมภาพันธ์  2552 ณ บริเวณสันห้วยขมิ้น หมู่ 8 บ้านป่ากล้วย ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง ไฟป่าในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณบ่ายสองโมงเป็นต้นไป สำหรับสถิติการเกิดไฟป่าในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา เกิดไฟป่ารวมทั้งสิ้น 473 ครั้ง พื้นที่ป่าถูกทำลาย 2,402 ไร่  ส่วน อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย ในปี 2551 ที่ผ่านมา เกิดไฟป่าทั้งสิ้น 88 ครั้ง พื้นที่ป่าถูกทำลาย 563 ไร่ และสถิติการเกิดไฟป่าในปี 2552 ตั้งแต่เริ่มสถานการณ์ไฟป่า จนถึงปัจจุบัน  ได้เกิดไฟป่าขึ้นแล้วรวม 89 ครั้ง พื้นที่ป่าเสียหายแล้วกว่า 1,076 ไร่ ซึ่งสาเหตุหลัก ยังเกิดจากการกระทำของมนุษย์ คือ เก็บหาของป่า ล่าสัตว์ เผาไร่ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การเกิดไฟป่า แต่ละครั้งทางหน่วยควบคุมไฟป่าแม่สะเรียง ได้นำกำลังซึ่งมีจำนวนจำกัด เข้าทำการดับไฟอย่างรวดเร็ว แต่ก็ประสบปัญหาหลายด้านคือสภาพภูมิประเทศ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน และพื้นที่กว้างขวาง ประชาชนฟัง พูดภาษาไทยไม่เข้าใจ เป็นปัญหาต่อการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจ เนื่องจากในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาหลายชนเผ่า อย่างไรก็ตามได้ทำการแก้ปัญหาโดยการจัดชุดประชาสัมพันธ์เชิงรุก เข้าหาผู้นำชุมชน ตลอดจนออกอากาศทางวิทยุในท้องถิ่น
 
ป่าไม้ มีความสำคัญต่อมนุษย์และ สัตว์ป่าถือเป็นห่วงโซ่แห่งชีวิตและอาหารที่ร้อย เรียงกันมาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน เมื่อวิกฤติไฟป่ามาถึงนั้นถือ มนุษย์เราต้องหันหน้ามาร่วมใจกันปกป้องผืนป่า ปกป้องแหล่งอาหาร และแหล่งน้ำมิให้สูญหายไปกับภัยธรรมชาติ คงถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องช่วยกัน...หยุดเผา...หยุดทำลายป่า.

สุกัลยา บัวงาม

ที่มา: เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=196319&NewsType=1&Template=1


* 196319_97209.jpg (35.69 KB, 300x225 - ดู 1360 ครั้ง.)

* 196319_97213.jpg (33.08 KB, 300x225 - ดู 1407 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ดอกปีบ
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 316


If we see the hearts of others, peace will follow


« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 15, 2009, 03:09:04 AM »

ภัยคุกคามสัตว์สองโลก

ร่างไร้ลมหายใจของกบสีตลกชนิด Atelopus คู่หนึ่งถูกพบในลำธารอันห่างไกลทใกล้เมืองลีโมน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเอกวาดอร์ พวกมันตายขณะกำลังผสมพันธุ์กัน กบชนิดนี้เป็นกบที่หายากและยังไม่ได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ พบได้เฉพาะในพื้นที่เล็กๆของเทือกเขาแอนดีสและที่ลุ่มแอมะซอน

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (amphibian) เป็นสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆที่กำลังคุกคามสัตว์ป่าทั่วโลกมาก ที่สุดกลุ่มหนึ่ง ราวครึ่งหนึ่งของชนิดพันธุ์ของพวกมันกำลังถูกคุกคาม ขณะที่อีกหลายร้อยชนิดใกล้สูญพันธุ์ และหลายสิบชนิดได้สูญสิ้นไปแล้ว แต่เพราะเหตุใดสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่สามารถเอาชีวิตรอดมาได้จากวิกฤติ การณ์ต่างๆที่ทำให้สัตว์ชนิดอื่นสูญพันธุ์ไปกว่าร้อยละ 95 หรือในยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์นั้น คราวนี้จึงอาจเอาตัวไม่รอดเล่า

เด วิด เวก นักชีววิทยา กล่าวว่า สัตว์เหล่านี้ล้มตายลงเพราะสาเหตุหลายอย่างรวมกันครับ ตั้งแต่การทำลายถิ่นอาศัย การนำสิ่งมีชีวิตจากต่างแดนเข้ามา การฉกฉวยผลประโยชน์ทางการค้า และมลพิษทางน้ำ ล้วนเป็นปัจจัยที่กวาดล้างประชากรสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกทั่วโลกทั้งสิ้น

แต่สาเหตุหลักที่กำลังมาแรงกลับกลายเป็นโรคร้ายที่ชื่อว่า ไคทริดิโอไมโคซิส (chytridiomycosis) หรือโรคไคทริด (chytrid) ซึ่งเป็นการติดเชื้อรารูปแบบหนึ่ง เชื้อราที่ว่านี้เป็นสาเหตุการตายของกบคู่ผัวเมียที่กำลังผสมพันธุ์กันใน ลำธารข้างต้น โดยผลทดสอบยืนยันว่าพวกมันได้รับเชื้อราชนิดนี้

ปัจจุบัน มีรายงานเรื่องราไคทริดในทุกทวีปที่มีกบอาศัยอยู่ รวมทั้งสิ้น 43 ประเทศและ 36 รัฐในสหรัฐฯ เชื้อราชนิดนี้มีชีวิตอยู่ได้แม้ในพื้นที่สูง ตั้งแต่ระดับทะเลไปจนถึงระกับ 6,000 เมตร และคร่าชีวิตทั้งสัตว์น้ำ สัตว์บก และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เชื้อรานี้ก่อให้เกิดโรคในสิ่งมีชีวิตอย่างน้อย 200 ชนิด ทำให้สัตว์บางชนิดสูญสิ้นไปจากถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น คางคกทอง กบทองปานามา คางคกไวโอมิง และกบอุ้มบุญออสเตรเลีย เป็นต้น

นี่คือช่วงเวลาที่เราต้องหยุดยั้งหายนะทางชีววิทยา โครงการแอมฟีเบียนอาร์ก (Amphibian Ark) จึง ถือกำเนิดขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเก็บรักษาสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอย่างน้อย 500 ชนิดไว้ในสถานเพาะเลี้ยงที่ปลอดภัย เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้งเมื่อวิกฤติการณ์คลี่คลายแล้ว

พื้นที่เขตร้อนเป็นบริเวณที่ประชากรสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกลดลงอย่างรุนแรงที่สุด แต่บริเวณที่สภาพอากาศเย็นสบายกว่าก็ตกอยู่ในสภาพที่ไม่ต่างกันนัก ตัวอย่างเช่นเทือกเขาเซียร์ราเนวาดาอันหนาวเย็นในแคลิฟอร์เนีย ในช่วงฤดูร้อนของแอ่งทะเลสาบซิกซ์ตีบนความสูง 3,400 เมตรของเทือกเขานี้ เคยคลาคล่ำไปด้วยกบสุขภาพแข็งแรง แต่ในปัจจุบันกลับพบเห็นได้ยากยิ่ง

วานซ์ วรีเดนเบิร์ก นักชีววิทยาผู้ใช้เวลาศึกษาเกี่ยวกับกบขาเหลืองภูเขามานานกว่า 13 ปี ทำการศึกษากบในพื้นที่แห่งนี้ แต่ในปี 2005 กลับพบว่ากบที่เขาทำงานด้วยมาหลายปีนั้นได้ตายไปหมด โดยบ่อน้ำหมายเลข 8 เป็นบ่อที่มีกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ที่สุดที่เหลือรอดให้วรีเดนเบิร์กใช้ศึกษา บ่อแห่งนี้มีกบตัวเต็มวัยราว 35 ตัว ส่วนตัวอื่นๆที่เขารู้จักนั้นตายไปหมดแล้ว

ปลาเทราต์คือจุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ ในอดีต แหล่งน้ำแถบนี้แทบไม่มีปลาอาศัยอยู่เลย แต่ด้วยนโยบายการปล่อยปลาต่างถิ่นลงในแหล่งน้ำที่ไร้ปลาของทางรัฐ ทำให้ทะเลสาบแห่งนี้กลายเป็นสวรรค์ของนักตกปลา แต่เหตุการณ์กลับกลายเป็นว่า ปลาเทราต์เหล่านั้นกลับกินลูกอ๊อดและกบแรกรุ่นเป็นอาหาร ทำให้ประชากรกบค่อยๆอันตรธานหายไป

วรีเดนเบิร์กพยายามฟื้นฟูทะเลสาบให้กลับไปอยู่ในสภาพไร้ปลาเพื่อนำพวกกบกลับคืนมา เขาดักจับปลาและจัดการกับปลาที่จับได้ จนกระทั่งกรมอุทยานแห่งชาติของสหรัฐฯได้เข้ามาสานต่อภารกิจนี้ วรีเดนเบิร์กบอกว่า ขณะที่มีการจับปลามากขึ้น พวกกบก็เริ่มคืนถิ่น ทะเลสาบก็เริ่มกลับมามีชีวิตอีกครั้ง

แต่แล้วราไคทริดก็รุกคืบมาถึงแอ่งทะเลสาบซิกซ์ตีและแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว หลังจากกำจัดปลาและฟื้นฟูถิ่นอาศัยแล้ว เชื้อราพวกนี้กลับมาคร่าชีวิตกบทั้งหลายไป ถึงกระนั้นเชื้อรากลับไม่ได้สังหารลูกอ๊อด (ราไคทริดมุ่งเล่นงานโปรตีนชื่อเคอราทิน (Keratin) ซึ่งพบมากในกบ) จึงยังคงมีลูกอ๊อดหลงเหลืออยู่ในบ่อน้ำ แต่เมื่อลูกอ๊อดเหล่านั้นกลายเป็นกบ พวกมันก็จะตายในทันที

เมื่อวรีเดนเบิร์กเห็นพวกกบเริ่มตาย เขาจึงรีบเคลื่อนย้ายกบบางส่วนไปรักษาด้วยยาต้านเชื้อรา แล้วจึงนำกลับลงบ่อส่งผลให้ทุกวันนี้ประชากรยังคงที่ต่อเนื่องมาถึงสามปี เขาวางแผนจะใช้วิธีนำกบมาไว้ในสถานเพาะเลี้ยงเพื่อบำบัดรักษาแล้วจึงปล่อย คืนสู่ธรรมชาติ มาใช้กับบ่ออื่นๆในแอ่งทะเลสาบนี้เช่นกัน

นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบวิธีฆ่าเชื้อราโดยใช้ความร้อนตามธรรมชาติ จากกรณีศึกษาที่พบในคอสตาริกา กล่าวคือนัก วิจัยพบว่าปาดคอสตาริกามีสารสีบางชนิดในผิวหนังซึ่งช่วยให้พวกมันผึ่งแดดได้ โดยผิวหนังไม่แห้งผาก วิธีนี้เป็นการฆ่าเชื้อราโดยใช้ความร้อน แต่เรื่องที่น่ายินดีที่สุดคือการที่รี้ด แฮร์ริส แห่งมหาวิทยาลัยเจมส์เมดิสัน และเพื่อนร่วมงานค้นพบกลไกที่มีมาแต่กำเนิดที่ช่วยป้องกันเชื้อรา และลดการแพร่พันธุ์ของเชื้อราชนิดนี้ในแบคทีเรียบนผิวหนังของซาลาแมนเดอร์ และกบบางชนิด

โครงการแอมฟีเบียนอาร์กอาจช่วยให้นักวิจัยทดสอบวิธีการนี้ได้ นอกจากนั้นองค์กรอนุรักษ์ของสหรัฐฯและพันธมิตรในปานามากำลังวางแผนจัดตั้ง สถานเพาะเลี้ยงอีกแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับ  วิธีเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีบนผิวหนังสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในธรรมชาติให้เพียงพอต่อการกำจัดและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อรา หากวิธีนี้ได้ผล สัตว์สองโลกเหล่านี้อาจได้หวนคืนสู่ธรรมชาติในที่สุด

หลายคนอาจตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดเราจึงจำเป็นต้องห่วงใยกบเหล่านี้ด้วย เหตุผลนั้นมีหลากหลาย เป็นต้นว่า กบเป็นสัญญาณเตือนภัยเรื่องมลพิษให้กับมนุษย์เรา อีกทั้งยังช่วยกำจัดแมลงที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่มนุษย์ นอกจากนี้กบยังมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศทั้งบนบกและในน้ำอีกด้วย ดังเช่นที่วรีเดนเบิร์กทิ้งท้ายไว้ว่า เรื่องนี้ใหญ่กว่าแค่เรื่องกบนะครับ  นี่เป็นเรื่อง เกี่ยวกับการปรากฏตัวของเชื้อโรคและการพยากรณ์โรค การรับมือกับปัญหา รวมทั้งการต่อสู้กับสิ่งที่เราไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ นี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพวกเราทั้งหมด ทุกคนจึงควรต้องใส่ใจครับ

ที่มา: NGThai
http://www.ngthai.com/ngm/0904/feature.asp?featureno=4
เรื่องโดย เจนนิเฟอร์ เอส. ฮอลแลนด์     
ภาพถ่ายโดย โจเอล ซาร์โทรี


* 0904feat_4.jpg (58.03 KB, 493x370 - ดู 13385 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2009, 03:11:12 AM โดย ดอกปีบ » บันทึกการเข้า
ดอกปีบ
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 316


If we see the hearts of others, peace will follow


« ตอบ #4 เมื่อ: เมษายน 15, 2009, 03:18:34 AM »

วาฬสีน้ำเงิน

วาฬสีน้ำเงิน  (Balaenoptera musculus) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีชิวิตอยู่บนโลก เมื่อแรกเกิด วาฬสีน้ำเงินมีลำตัวยาวเฉลี่ย 7.5 เมตร และหนักร่วม 3 ตัน  ลูกวาฬซึ่งกินเฉพาะนมแม่ที่มีไขมันสูงถึงร้อยละ 40 มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 4 กิโลกรัม เมื่อโตเต็มวัย วาฬสีน้ำเงินอาจมีลำตัวยาวกว่ารถบัสถึงสองเท่าและหนักเกือบ 200 ตันได้สบายๆ

ความที่วาฬสีน้ำเงินว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับแหล่งอาศัยของมันอยู่ในที่ห่างไกลที่ซึ่งมหาสมุทรทั้งสามแห่งของโลก อันได้แก่ แปซิฟิก แอตแลนติก และอินเดีย มาบรรจบกันในน่านน้ำเย็นเยียบแถบแอนตาร์กติกา ทำให้ประชากรวาฬสีน้ำเงินส่วนใหญ่อยู่รอดปลอดภัยกระทั่งถึงช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ จนเมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นฉมวกระเบิดพร้อมเรือล่าวาฬพลังไอน้ำความเร็วสูง แหล่งที่มั่นสำคัญของวาฬสีน้ำเงินจึงถูกตีแตก ในช่วง 60 ปีแรกของศตวรรษที่ยี่สิบ คาดว่ามีวาฬสีน้ำเงินราว 360,000 ตัวถูกฆ่าตาย  ประชากรวาฬรอบเกาะเซาท์จอร์เจียในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ถูกล้างบาง รวมทั้งพวกที่เคยหากินอยู่นอกชายฝั่งญี่ปุ่นด้วย ประชากรวาฬสีน้ำเงินบางกลุ่มลดจำนวนลงถึงร้อยละ 99 และในที่สุดสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุดของโลกชนิดนี้ก็ตกอยู่ในภาวะสูญพันธุ์

ด้วยเหตุนี้เอง นักเขียน เคนเน็ท บราวเออร์ และช่างภาพ ฟลิป นิกคลิน จึงออกเดินทางร่วมกับบรูซ เมต ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลแห่งมหาวิทยาลัยออริกอนสเตต และนักติดแถบข้อมูลสัญญาณดาวเทียมวาฬ ผู้เปี่ยมความคิดสร้างสรรค์และมีผลงานมากที่สุดในโลก ร่วมด้วยจอห์น คาลัมโบคิดิส นักระบุวาฬจากภาพถ่ายที่หาตัวจับยากที่สุดในแถบเวสต์โคสต์หรือชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ทั้งหมดเริ่มมุ่งหน้าออกสู่ทะเลเพื่อไปยังที่หมายนอกชายฝั่งคอสตาริกา ซึ่งเป็นบริเวณที่วาฬสีน้ำเงินจะอพยพมาอาศัยอยู่ในช่วงฤดูหนาวหรือที่เรียก กันว่า คอสตาริกาโดม (Costa Rica Dome)

คอสตาริกาโดม คือบริเวณที่น้ำเย็นอันอุดมไปด้วยแร่ธาตุลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจาก การบรรจบกันของกระแสลมและกระแสน้ำทางตะวันตกของอเมริกากลาง แม้ตำแหน่งดังกล่าวจะไม่แน่นอนและค่อนข้างวกวน แต่โดมที่ว่านี้มักอยู่ห่างจากชายฝั่งออกไปราว 500 ถึง 800 กิโลเมตร การลอยตัวขึ้นของน้ำเย็นที่ว่านี้จะดันให้เทอร์โมไคลน์ (thermocline) หรือชั้นแบ่งระหว่างน้ำเย็นที่อยู่ลึกลงไปกับน้ำอุ่นที่อยู่บริเวณผิวน้ำ ลอยตัวขึ้นถึง 10 เมตรจากผิวน้ำ น้ำเย็นที่มีออกซิเจนต่ำ ลอยตัวขึ้นจากเบื้องล่างพร้อมกับนำไนเตรต ฟอสเฟต ซิลิเกต และสารอาหารอื่นๆขึ้นมาด้วย อาหารทิพย์เหล่านี้ทำให้เกิดโอเอซิสหรือห่วงโซ่อาหารกลางทะเลขึ้น ส่งผลให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของวาฬสีน้ำเงิน

ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่โตมโหฬารและความต้องการพลังงานมหาศาลอาจบังคับให้วาฬสีน้ำเงินต้องเสาะหาแหล่งพักพิงช่วงฤดูหนาวที่มีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ไม่ใช่เพียงแค่พอประทังความหิว โอเอซิสของคอสตาริกาโดมจึงตอบสนองความต้องการของพวกมันได้ นอกจากนี้ ความอุดมสมบูรณ์ของกระแสน้ำในแถบนี้ยังเอื้อให้วาฬแม่ลูกอ่อนผลิตน้ำนมจากฝูงคริลล์ (krill) ที่สวาปามเข้าไป ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลูกวาฬวัยกำลังกินกำลังโตที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นถึงวันละ 90 กิโลกรัมด้วย

วาฬสีน้ำเงินได้รับการปกป้องในระดับนานาชาติมาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1960 แต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตามซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ประชากรของวาฬชนิดนี้กลับแทบไม่เพิ่มขึ้นเลย ถ้าเราอยากเห็นสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในโลกกลับมายืนยงอีกครั้ง เมตและคาลัมโบคีดิสเชื่อว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาด้านประชากรศาสตร์และติดตาม การเคลื่อนไหวของพวกมันอย่างใกล้ชิด ดังนั้น ภารกิจที่พวกเขาต้องทำก็คือ การติดแถบข้อมูลสัญญาณดาวเทียมวาฬเพื่อจะได้ติดตามได้ว่า พวกมันเดินทางไปไหนบ้างและใช้ชีวิตอย่างไร

ภารกิจเริ่มต้นขึ้นที่คอสตาริกาโดม นักวิจัยจะเริ่มขนเครื่องไม้เครื่องมือสารพัดลงไปในน้ำ เช่น เซ็นเซอร์ซีทีดี (CTD sensor) เครื่องหยั่งน้ำแบบเสียงสะท้อน (echo sounder) และไฮโดรโฟน (hydrophone) หรือ ไมโครโฟนใต้น้ำความไวสูง โดยเซ็นเซอร์ซีทีดีจะบันทึกความสามารถในการนำไฟฟ้า (ใช้ตวจวัดความเค็ม) อุณหภูมิ และความลึก ขณะที่เครื่องหยั่งน้ำแบบเสียงสะท้อนจะค้นหาแหล่งที่คริลล์ซึ่งเป็นอาหารหลักของวาฬสีน้ำเงินรวมตัวอยู่หนาแน่น ส่วนไฮโดรโฟนจะใช้ตรวจหาเสียงร้องของวาฬสีน้ำเงิน

เมื่อเซ็นเซอร์ซีทีดีตรวจพบเทอร์โมไคลน์ลึกลงไปใต้ผิวน้ำเพียง 20 เมตร ทีมงานก็จะปล่อยเรือติดแถบข้อมูลออกไป โดยเมตจะทำหน้าที่ติดแถบข้อมูลให้วาฬ ส่วนบราวเออร์รับหน้าที่เป็นผู้เก็บเนื้อเยื่อ เริ่มจากการเตรียมหน้าไม้ แล้วหยิบลูกดอกเก็บเนื้อเยื่อจากถังแช่ออกมา จากนั้นก็บรรจุลูกดอก ลูกดอกแบบนี้เมื่อยิงใส่วาฬแล้วจะตัดผ่านชั้นผิวหนังและไขมันลึกเข้าไป ประมาณ 8 เซนติเมตร หรือจนสุดปลายจุกยางสีเหลืองที่ติดไว้ตรงปลายลูกดอกอีกด้านเพื่อกันไม่ให้ เจาะเข้าไปลึกเกินไป และช่วยให้ลูกดอกหลุดออกจากตัววาฬได้ง่ายด้วย

เมื่อ พูดถึงวาฬ สิ่งแรกที่เราเห็นก่อนเป็นอันดับแรกเกือบทุกครั้งคือ พวยน้ำที่มันพ่นออกมา ส่วนที่สองของวาฬที่เราเห็นคือ ส่วนหลัง และสิ่งสุดท้ายของวาฬที่เราเห็นคือ รอยหาง (flukeprint) เมื่อ วาฬหรือโลมาว่ายในน้ำตื้น กระแสน้ำที่เกิดจากการตีหางจะทำให้เกิดรอยวงน้ำกลมๆขึ้นที่ผิวน้ำ ซึ่งเรียกว่า รอยเท้าหรือรอยหาง รอยหางของวาฬสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่และคงอยู่ได้นานอย่างน่าแปลกใจ

หลังจากล่องเรือมานานสามสัปดาห์ ทีมงานทั้งหมดก็ได้สรุปผลงานที่ผ่านมา นับว่าประสบความสำเร็จมาก การเดินทางครั้งนี้เป็นบทพิสูจน์ว่า วาฬสีน้ำเงินจำนวนมากเดินทางมายังคอสตาริกาโดม ทั้งเพื่อมาผสมพันธุ์และเป็นแหล่งหากินในช่วงฤดูหนาว นับว่าข่าวที่ได้จากคอสตาริกาโดมนั้นเป็นข่าวดี เพราะนั่นหมายความว่าวาฬสีน้ำเงินที่ครั้งหนึ่งเคยลดจำนวนลงจนเกือบสูญพันธุ์ ได้พลิกฟื้นจำนวนขึ้นแล้ว

กระนั้น เราก็ควรตระหนักว่า แม้ยักษ์ใหญ่แห่งห้วงสมุทรชนิดนี้จะมีความแข็งแกร่งอย่างเหลือเชื่อ แต่พวกมันก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะอยู่รอดต่อไป

ที่มา: NGThai
http://www.ngthai.com/ngm/0904/feature.asp?featureno=2
เรื่องโดย เคนเน็ท บราวเออร์     
ภาพถ่ายโดย ฟลิป นิกคลิน


* 0904feat_2.jpg (51.43 KB, 493x370 - ดู 2021 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 19 คำสั่ง