กระดานข่าว Save Our Sea.net
มิถุนายน 08, 2024, 07:59:59 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขยายพันธุ์ปะการังในท่อ พีวีซี แล้วความพยายามของมนุษย์ก็เป็นจริง  (อ่าน 18385 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายรุ้ง
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 838


« เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 08:18:17 AM »

 
 สภาพของปะการังที่เจริญเติบโตได้กลมกลืนกับธรรมชาติ


 ปะการังเป็นทรัพยากรทางทะเลที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย เห็นได้จากแต่ละปีนั้นมักจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายพันคนเดินทางเข้ามาเพื่อชื่นชมความงามของแนวปะการังไทย
       
       แต่ปัจจุบันปะการังนั้นกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตอย่างมหาศาล ทั้งนี้เกิดจากการถูกทำลายจากน้ำมือมนุษย์ เช่น การทำประมงที่ผิดวิธี การใช้ประโยชน์ของนักท่องเที่ยวมากเกินไป เช่น ไม่เพียงแต่ชื่นชมความงามของแนวปะการังเพียงอย่างเดียวแต่นำกลับไปเป็นของที่ระลึก หรือการสูญเสียแนวปะการรังจากภัยธรรมชาติ เช่น พายุ ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ภาวะโลกร้อน เป็นต้น
       
       นอกจากการถูกทำลาย และการสูญเสียแนวปะการังแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ การสูญเสียทรัพยากรสำคัญทางทะเล และชีวิตอีกหลายชีวิตที่ไร้ที่อยู่อาศัย ไม่มีแหล่งรวมของอาหาร ทำให้ต้องย้ายที่อยู่อาศัย หรือบางตัวปรับตัวไม่ทันผลสุดท้ายก็ต้องตาย ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ทำให้เรานั้นสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและสูญเสียแหล่งรวมของสิ่งมีชีวิตทางทะเล
       
       บริเวณหาดแสมสาร ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ตัวอย่างที่มีการขยายพันธุ์ปะการังเขากวางด้วยท่อพีวีซีขึ้นครั้งแรกของโลก ตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งนับจากวันนั้นถึงวันนี้...12 ปีเต็มๆ โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
       

 

 



* 550000007849101.jpg (31.97 KB, 500x375 - ดู 1694 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สายรุ้ง
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 838


« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 08:20:01 AM »

**ขยายพันธุ์ปะการังคืนสู่ท้องทะเล
       อาจารย์ประสาน แสงไพบูลย์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งสถาบันราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี ผู้ริเริ่มการขยายพันธุ์ด้วยท่อพีวีซี เล่าว่า วิธีคิดดังกล่าวดังแปลงและประยุกต์มาจากวิธีการรักษารากฟัน โดยใช้เหล็กข้ออ้อยตรงปลายต่อด้วยท่อพีวีซี ทำเหมือนกับรากฟัน ฝังลงไปในกระดูกกราม แล้วเก็บปะการังที่ล้มหรือแตกหักเสียหายมาเสียบไว้
       
       ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ร่วมกับอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา พร้อมทั้งอาสาสมัครผู้รักท้องทะเลประจำศูนย์กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์ ทำการทดลองเพาะเลี้ยงปะการังที่อยู่ในสภาพแตกหักด้วยท่อพีวีซี
       
       โดยได้มีการดัดแปลงให้เป็นแปลงปลูกและอนุบาลปะการังเขากวางในปี 2541 จำนวน 6 แปลง 138 ต้น มีปะการังรอดชีวิต 56 กิ่ง สามารถนำมาใช้เป็นต้นพันธุ์ในการขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นอีก 500 ต้นในช่วงระหว่างปี 2543-2544
       
       “เมื่อมีความเป็นไปได้ที่จะใช้วิธีนี้ช่วยฟื้นฟูแนวปะการัง เราก็นำแยกขยายลงแปลงใหม่ที่หาดแสมสาร ทำเป็นห้องเรียนธรรมชาติใต้น้ำให้นักเรียนโรงเรียนพลูตาหลวงได้เรียนรู้การอนุรักษ์ปะการัง ในเวลา 2 ปีกว่า สามารถขยายกิ่งพันธุ์ได้ 500 กว่าต้น มีอัตราการรอดกว่า 90 เปอร์เซ็นต์”


* 550000007849107.jpg (4.37 KB, 100x150 - ดู 914 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สายรุ้ง
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 838


« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 08:21:58 AM »

อาจารย์ประสานอธิบายเพิ่มเติมว่า สำหรับวิธีการขยายพันธุ์ปะการังนั้น จะต้องมีแปลงที่ทำมาจากท่อพีวีซี ขนาดของแปลงกว้าง 60 ยาว 120 เซนติเมตร โดย 1 แปลงนั้นปลูกได้จำนวน 14 ต้น ใช้อัตราส่วน 5:4:5 วางสลับฟันปลา เพื่อไม่ให้กิ่งปะการังชนกัน ส่วนรูที่ใส่ปะการังนั้นจะมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว เจาะรู 2 ข้าง เพื่อจะนำนอตมายึดระหว่างปะการังกับท่อพีวีซี ขณะที่กิ่งของปะการังที่ใช้ควรมีขนาด 7 –10 เซนติเมตร เพราะจะมีอัตราการรอดมากกว่ากิ่งที่ไม่ได้ขนาด
       
       “วิธีการตัดกิ่งเราจะใช้หินเจียเป็นอุปกรณ์ในการตัด เนื่องจากหินเจียนั้นจะมีความคมมาก ทำให้กิ่งของปะการังบอบช้ำน้อยที่สุด แล้วนำน็อต 2 ตัวมาขันยึดระหว่างท่อกับกิ่งของปะการัง โดยให้กิ่งของปะการังโผล่ออกมานอกท่อพีวีซีประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วนำแปลงของปะการังลงสู่ท้องทะเล หลังจากนั้น 1-2 ปี ก็จะนำปะการังกลับสู่ธรรมชาติได้”
       
       แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอต่อการฟื้นฟูธรรมชาติทางทะเลที่ถูกทำลายไปอย่างมหาศาล ดังนั้น จึงได้มีการก่อตั้งมูลนิธิในเดือนกันยายน 2546 โดยใช้ชื่อว่า “มูลนิธิกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์ ” โดยการอุปถัมภ์ของบริษัท วินีไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณและดำเนินการก่อตั้ง


* 550000007849105.jpg (4.38 KB, 150x100 - ดู 871 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สายรุ้ง
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 838


« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 08:24:32 AM »

 ** ความขัดแย้งกับความเป็นจริง
       อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นกับแนวคิดของอาจารย์ประสานก็คือ การขยายพันธุ์ปะการับด้วยท่อพีวีซีนั้นถูกต้องหรือไม่ เพราะท่อพีวีซีเป็นสิ่งแปลกปลอมทางธรรมชาติ ดังนั้น จึงน่าจะกระทบกับท้องทะเลบ้าง ไม่มากก็น้อย
       
       เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์ประสานได้อธิบายว่า เรื่องนี้ถือเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด และก่อนจะดำเนินการก็ได้คำนึงถึงตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม การขยายพันธุ์ปะการังด้วยท่อพีวีซีตั้งอยู่ภายใต้พื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น มีนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ร่วมกันพิสูจน์แล้วว่า พีวีซีมีความปลอดภัย กระทั่งสิ่งมีชีวิตทางทะเลขนาดเล็กและง่ายต่อการสัมผัสอย่างปะการังก็ยังสามารถเจริญเติบโตเกาะตัวบนท่อพีวีซีจนมิด ดังนั้น พีวีซีจึงเป็นวัสดุที่สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้ดี
       
       อีกทั้งแปลงของท่อพีวีซียังสามารถประดิษฐ์เองได้ง่าย ใช้วัสดุที่หาง่าย ประหยัด ชาวบ้านและเยาวชนจึงมีส่วนร่วมในกิจกรรมได้


* 550000007849103.jpg (4.25 KB, 150x112 - ดู 886 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สายรุ้ง
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 838


« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 08:26:03 AM »

 “ถ้าจะรอให้ปะการังฟื้นฟูเองตามกระบวนการทางธรรมชาติมัน งั้นรอให้มันสูญพันธุ์จะไม่เร็วกว่าเหรอ วิธีไหนที่ทำแล้วดี ได้ผลจริง ไม่ทำลายธรรมชาติก็ควรต้องส่งเสริมและยอมรับมัน”
       
       นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดโครงการวิจัยการใช้วัสดุพีวีซีเพื่อการขยายพันธุ์ปะการังชนิดอื่น ๆ เช่น ปะการังพุ่มไม้ ปะการังโต๊ะ ปะการังโขดหิน และโครงการวิจัยเพื่อฟื้นฟูแนวปะการัง โดยศึกษาถึงวิธีการนำปะการังที่ผ่านอนุบาลแล้วกลับคืนสู่ท้องทะเลด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม ซึ่งโครงการเหล่านี้อยู่ในขั้นตอนที่กำลังทำการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่ความตั้งใจในการคืนชีวิตปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ สู่ท้องทะเลต่อไปในอนาคต


* 550000007849104.jpg (4.18 KB, 150x112 - ดู 898 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สายรุ้ง
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 838


« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 08:27:53 AM »

 ทั้งนี้ ในฐานะที่เป็นคนที่รักการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล อาจารย์ประสานได้ฝากถึง กลุ่มคนที่ยังเพิกเฉยต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลว่า ถ้าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศชาติไม่สายเกินไปที่จะช่วยแก้ไขให้มันดีขึ้น
       
       “ท้องทะเลเป็นทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ การกระทำใด ๆ ก็แล้วแต่ที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมขอให้คำนึงถึงด้วย เราควรรักษาก่อนที่จะฟื้นฟูโดยเฉพาะการให้ความรู้ ความเข้าใจของทุกภาคส่วน ให้เกิดการรักทะเลมากขึ้น เพราะทรัพยากรธรรมชาติที่เสียหายนั้นสะท้อนให้เห็นถึงการที่ไม่เคารพ กฎ กติกาของธรรมชาติ”
       


* 550000007849102.jpg (4.82 KB, 150x112 - ดู 890 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
สายรุ้ง
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 838


« ตอบ #6 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 08:30:26 AM »

ไปอ่านเจอในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ หน้าปริทรรศน์วันนี้ 19 มิ.ย.50 เห็นเป็นเรื่องน่าสนใจ

เลยอยากรู้ว่ามีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้างค่ะในเรื่องนี้


* 550000007849106.jpg (4.12 KB, 100x150 - ดู 872 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #7 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 08:52:22 AM »

พิงค์สงสัยว่า..ถ้าเค้าทำในท่อพีวีซีได้..ทำไมเค้าไปหล่อหินหรืออะไรก็แล้วแต่ ที่มีสีสันกลมกลืนไปกับทะเลแทน..หรือว่าสารเคมีในปูนจะละลายในน้ำ ทำให้ปะการังตาย..ฮืมม์...
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
Plateen
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 522



« ตอบ #8 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 09:45:26 AM »

อืมมม...แปลกดี เหมือนปลูกต้นไม้ในกระถางเน๊อะ
บันทึกการเข้า

For God so loved the world, that he gave his only begotten Son, that whosever believeth in him should not perish, but have everlasting life[John3:16]
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #9 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 12:48:06 PM »

ถ้าเป็นกิ่งปะการังแข็งที่แตกหักตามธรรมชาติ หากกิ่งหรือชิ้นส่วนของเขาตั้ง หรือวางพาดกับกิ่งปะการังชนิดเดียวกันหรือชนิดอื่น...กรวด...หิน...เปลือกหอย...ฟองน้ำ หรือวัตถุที่แข็งและมั่นคงอื่นๆ กิ่งปะการังนั้นก็มีโอกาสจะฟื้นคืนตัว แตกกิ่งก้านสาขาไปได้อยู่แล้วตามธรรมชาติค่ะ

แต่การไปหักปะการังจากที่หนึ่ง มาต่อยอด แล้วก็นำไปวางอีกที่หนึ่งนั้น สายชลไม่ค่อยจะเห็นด้วยเลยค่ะ มันเหมือนทำลายจากที่หนึ่ง นำไปโปะให้อีกที่หนึ่งที่สภาพน้ำและระบบนิเวศไม่เหมือนกัน 

แล้วก็เห็นด้วยกับน้องพิงค์...ท่อพลาสติกสีฟ้าอ๋อยเวลาลงไปอยู่ในน้ำมันไม่น่าดูเอาเสียเลย ช่างขัดตาพิกล

บันทึกการเข้า

Saaychol
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #10 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2007, 06:16:34 PM »

 
ขอตอบความสงสัยของคุณ WayfarinG ว่า สารเคมีในปูนไม่เป็นปัญหากับปะการังหรอกค่ะ  การปลูกปะการังมีคนศึกษาและทำมาแล้วไม่น้อยทั้งในและต่างประเทศ  ในบ้านเราก็มีนักวิจัยทำการศึกษาเรื่องนี้หลายท่าน รวมทั้งใช้ปูนซีเมนต์เป็นฐานให้ปะการังยึดเกาะก็ได้ผลดี  ส่วนพีวีซีก็น่าจะไม่เป็นพิษภัย นอกจากสีแจ๋นดูแปลกปลอมไปหน่อยเท่านั้น
ปัญหาอยู่ที่ประเด็นความจำเป็นในการปลูกปะการัง และความเสื่อมโทรมของแนวปะการังธรรมชาติ.. ที่มันหักพังเพราะมนุษย์ไปรบกวนทำให้หัก หรือแม้แต่ธรรมชาติทำให้หัก หักแล้วถ้าไม่มีอะไรไปรบกวนซ้ำมันก็ฟื้นคืนขึ้นมาใหม่ได้  ที่จะแย่ก็คือพอจะฟื้นก็ถูกกวนซ้ำซากอีก เลยฟื้นไม่ไหว
หรือแม้แต่เอาไปชำไปปลูกงอกงามเพียงใด ถ้ามนุษย์ยังเข้าไปรบกวนทำลาย ก็จะเสื่อมโทรมลงอีก
 
.. มีความเห็นเหมือนพี่สายชลค่ะ
บันทึกการเข้า
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #11 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2007, 01:22:23 AM »


เอาไปชำไปปลูกงอกงามเพียงใด ถ้ามนุษย์ยังเข้าไปรบกวนทำลาย ก็จะเสื่อมโทรมลงอีก 



ถึงว่า..คน คือ สัตว์โลกที่ทำลายเก่งที่สุด..การเสื่อมโทรมไปตามธรรมชาติ..ไม่นานมันก็ฟื้นตัว..แต่การที่คนตั้งหน้าตั้งตาทำลาย..ให้ตาย..สิ่งแวดล้อมก็คงไม่มีทางฟื้นได้..


ขอบคุณแม่หอยกะพี่สายชลคะ ที่อธิบายให้เข้าใจ..
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
Sea Man
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2208


ท้องฟ้า/ภูเขา/ป่าไม้/ทะเล


« ตอบ #12 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2007, 07:56:49 AM »

..........ต้องช่วยกัน..........รักษาและฟื้นฟู..........
บันทึกการเข้า

.....รู้จักคิด....ฟังความคิดผู้อื่น....พร้อมเปลี่ยนแปลง....ไปสู่สิ่งใหม่และดีกว่า.....
สายรุ้ง
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 838


« ตอบ #13 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2007, 08:13:41 AM »

ขอบพระคุณพี่สายชลกับพี่แม่หอยด้วยอีกคนค่ะที่มาต่อยอดความรู้ความเข้าใจให้น้องๆได้หายสงกะสัย แถมได้ความรู้เพิ่มอีกด้วย 
บันทึกการเข้า
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2007, 12:34:02 AM »


ขยายพันธุ์`ปะการังด้วยท่อพีวีซี !   แก้วิกฤติชายฝั่งตะวันออกทะเลไทย

ปะการังเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญและบ่งชี้ถึงความสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารและที่หลบซ่อนของเหล่าสัตว์น้ำประเภทต่างๆ นอกจากนี้ความงามของปะการังยังนับเป็นมนต์เสน่ห์แห่งท้องทะเลที่คอยดึงดูดผู้คนให้มาแวะเวียนดำดิ่งชมความงดงามของมันสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้แก่ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งมาโดยตลอด แต่ในวันนี้พื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติเนื่องจากแนวปะการังถูกทำลาย ทั้งนี้ในพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออก บริเวณหาดแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีปะการังอุดมสมบูรณ์เกือบ 80% แต่ปัจจุบันเหลือเพียงไม่ถึง 20% เท่านั้น

จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทำให้หลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชน ต่างเล็งเห็นความสำคัญ เช่นเดียวกับ บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) ที่ก่อตั้ง “มูลนิธิกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์” ขึ้น ตั้งแต่เดือนกันยายน 2546 เพื่อดำเนินการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง ตลอดจนทรัพยากรทางธรรมชาติอื่นๆ ด้วย

นายสมพจน์ ชีรนรวนิชย์ ผู้ช่วยรองกรรมการผู้จัดการฝ่ายประสานงานธุรกิจและการสื่อสาร บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัญหาการเสื่อมโทรมของแนวปะการังอยู่ในภาวะค่อนข้างวิกฤติ ซึ่งสาเหตุมาจากการคุกคามของมนุษย์โดยการทำประมงและการท่องเที่ยวที่ขาดจิตสำนึก และการคุกคามจากภัยธรรมชาติ ทางบริษัทฯได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้ผลักดันนโยบายฟื้นฟูแนวปะการังและพยายามคิดที่จะทำความเข้าใจกับชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งให้ตระหนักถึงผลกระทบในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ผิดวิธีไม่ว่าจะเป็นการระเบิดปลาหรือการก่อสร้างในพื้นที่ชายฝั่งที่ทำให้เกิดตะกอนไหลลงสู่ทะเล

“และเพื่อเป็นการต่อยอดแนวคิดด้านการขยายพันธุ์ปะการังเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่ได้มีการริเริ่มค้นคว้าวิจัยและทดลองปลูกปะการังด้วยท่อพีวีซีเป็นครั้งแรกในโลกมาตั้งแต่ปี 2538 นำโดยอาจารย์ประสาน แสงไพบูลย์ ประธานมูลนิธิฯ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านปะการังและทีมอาสาสมัครผู้รักท้องทะเลร่วมดำเนินการ โดยเริ่มจากการนำปะการังที่อยู่ในสภาพแตกหักหลังจากเกิดพายุพัดโหมชายฝั่งมาทดลองเพาะเลี้ยงด้วยแปลงเหล็กข้ออ้อยและใช้ท่อพีวีซีเป็นฐานยึดกิ่ง ต่อมาจึงได้มีการดัดแปลงให้เป็นแปลงท่อพีวีซีเพื่อการปลูกและอนุบาลปะการังเขากวาง ในปี 2541 ซึ่งใน 3 ปีแรกสามารถขยายพันธุ์ได้ 500 ต้น ทำให้เราพบว่าพีวีซีเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มีความปลอดภัย เพราะแม้แต่สิ่งมีชีวิตที่เปราะบางอย่างปะการังยังเจริญเติบโตจนปกคลุมท่อพีวีซีที่เป็นแปลงเพาะและยังมีสัตว์น้ำประเภทอื่นๆ เข้าไปหาอาหารและอาศัยอยู่ตามแปลงเพาะปะการัง นั่นแสดงให้เห็นว่าพีวีซีสามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี จากนั้นในปี 2546 จึงได้มีการจัดตั้ง “โครงการขยายพันธุ์ปะการังเขากวางด้วยท่อพีวีซี” โดยมีเป้าหมายให้ได้ จำนวน 10,000 กิ่ง เพื่อที่จะให้มีปริมาณปะการังเพียงพอในการฟื้นฟูท้องทะเลไทย และเก็บบางส่วนไว้เป็นต้นพันธุ์สำหรับการขยายพันธุ์สานต่อเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมูลนิธิฯ บัดนี้การขยายพันธุ์ปะการังเขากวางด้วยท่อพีวีซีจำนวน 10,000 กิ่ง ได้เสร็จสมบูรณ์แล้วและกำลังอยู่ในขั้นตอนของการอนุบาลปะการังในแปลงท่อพีวีซี เพื่อการศึกษาและเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของปะการัง นำไปสู่การขยายผลการดำเนินโครงการคืนชีวิตปะการังสู่ท้องทะเลไทยในพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออก อาทิ เกาะขาม จังหวัดชลบุรี เกาะหวายจังหวัดตราด เกาะนมสาว จังหวัดจันทบุรี เกาะเสม็ดและเกาะสะเก็ด จังหวัดระยอง รวมถึงเกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” นายสมพจน์ กล่าว

นอกจาก โครงการขยายพันธุ์ปะการังเขากวางด้วยท่อพีวีซี มูลนิธิฯยังได้มีการเริ่มงานวิจัยอีก 2 โครงการ คือ โครงการวิจัยการใช้วัสดุพีวีซีเพื่อการขยายพันธุ์ปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น ปะการังพุ่มไม้ ปะการังสมอง ปะการังแผ่นตั้ง ฟองน้ำ กัลปังหา สาหร่ายทะเล และโครงการวิจัยเพื่อการฟื้นฟูแนวปะการัง โดยศึกษาถึงการนำปะการังที่ผ่านการอนุบาลแล้วกลับคืนสู่ท้องทะเลไทยด้วยวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมโดยไม่เป็นการรบกวนธรรมชาติ และเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ท้องทะเลไทยให้เป็นไปอย่างยั่งยืน

“เพราะเราคิดว่าการจะอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลให้ได้นั้นต้องสร้างคนให้มีความรู้ความเข้าใจก่อน เพราะเมื่อรู้เข้าใจแล้วจะเกิดความรักความผูกพันต่อธรรมชาติแล้วเขาจะกลับมารักษาสิ่งที่เขารักต่อไปอย่างแน่นอน” นายสมพจน์ กล่าวทิ้งท้ายในที่สุด

นับว่าเป็นโครงการดีๆ อีกโครงการหนึ่ง ที่จัดทำขึ้นเพื่อคืนกำไรให้กับสังคม รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์แนวปะการังให้คงอยู่คู่ท้องทะเลไทยไปตลอดชั่วลูกชั่วหลาน...


จาก      :         สยามรัฐ   วันที่ 17 กรกฎาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.55 วินาที กับ 20 คำสั่ง