กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 25, 2024, 04:57:23 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 18   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิกฤต : โลกร้อน (2)  (อ่าน 138268 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #15 เมื่อ: เมษายน 25, 2007, 12:07:09 AM »


โลกร้อนตัวการพายุ “ลูกเห็บ” อุณหภูมิทะลุ 43.2 องศา


 
ชี้โลกร้อนตัวการทำพายุลูกเห็บพุ่ง กรมอุตุฯ ระบุ จ.ตาก อุณหภูมิทะลุ 43.2 องศา ส่วนภาพรวมปีหน้าร้อนตับแลบ 43 องศา ด้าน จ.ชัยภูมิ ฝนถล่มบ้านพัง 300 หลัง ส่วน จ.เชียงใหม่ สั่งจัดระเบียบป้าย รับมือพายุถล่ม

 รศ.ดร.จริยา บุญญวัฒน์ ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศ และสิ่งมีชีวิตบนโลก พบว่า สาเหตุของภาวะโลกร้อน มาจากประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสูงขึ้น มีการตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มจำนวนของอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป ในไทยพบว่าช่วงเดือนเมษายน มีอุณหภูมิสูงถึง 42 องศาเซลเซียส จากเดิมแค่ 38-39 องศาเซลเซียส และคาดว่าในปีหน้า จะเพิ่มเป็น 43 องศาเซลเซียส     

ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกร้อน กล่าวอีกว่า เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น มวลอากาศร้อนจะลอยตัวสูง ทำให้เมฆบนท้องฟ้าอัดแน่นไปด้วยความร้อน เมื่อลอยสูงขึ้นเรื่อยๆ ไปปะทะกับมวลอากาศเย็น ส่งผลให้เกิดฝนลูกเห็บ เนื่องจากการหมุนเวียนของอากาศไม่เป็นไปตามปกติ  อาจกล่าวได้ว่าการเกิดฝนลูกเห็บมีความสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน แต่ขณะนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดยืนยันแน่ชัด เป็นที่น่าสังเกตว่า ต้นปีที่ผ่านมาประเทศไทยก็พบฝนลูกเห็บเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนฤดูร้อนเป็นฤดูฝน แต่ฝนลูกเห็บยังไม่ใช่วิกฤติโลกร้อนที่สำคัญ ในอนาคตหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีใครรับรองได้ว่าฝนลูกเห็บจะไม่กระจายไปในวงกว้าง ประเทศไทยจึงควรมีการศึกษาด้านนี้อย่างจริงจัง

 กรมอุตุนิยมวิทยา มีรายงานว่า ระดับอุณหภูมิสูงสุดของปีนี้ที่วัดจากสถานีอุตุนิยมวิทยา อ.เมือง จ.ตาก สูงถึง 43.2 องศาเซลเซียส แต่ยังไม่เกินสถิติสูงสุดที่เคยวัดได้ที่ 44.5 องศาที่ จ.อุตรดิตถ์ เมื่อหลายปีก่อน รองลงมาที่ จ.ลำปาง 42.1 องศา ส่วน กทม.ยังอยู่ที่ระดับ 37-39 องศา ไม่เกิน 40 องศา พายุฤดูร้อนทำให้เกิดลูกเห็บในปีนี้ถือว่ามีมาก ส่วนหนึ่งเป็นความแปรปรวนของอากาศ และในวันที่ 24-26 เมษายนนี้ จะมีมวลอากาศเย็นแผ่ปกคลุมมายังประเทศไทยอีกครั้งและจะทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง

 ส่วนที่ จ.ชัยภูมิ เกิดเหตุพายุฤดูร้อนถล่มอย่างหนักเมื่อช่วงเย็นวันที่ 23 เมษายน ที่ ต.โนนแดง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ ทำให้บ้านเรือนราษฎรใน 7 หมู่บ้าน เสียหายรวม 330 หลังคาเรือน ราษฎรกว่า 500 คน ต้องอาศัยเต็นท์อยู่ชั่วคราว

 ส่วนที่ จ.เชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ ได้ตรวจสอบป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ทั่วเขตเทศบาล กว่า  300 ป้าย หากพบว่าเกิดสนิมและไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย จะให้รื้อถอนชั่วคราว เพื่อป้องกันเหตุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากลมพายุในระยะนี้
 

จาก   :   คม ชัด ลึก วันที่ 25 เมษายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #16 เมื่อ: เมษายน 25, 2007, 12:20:42 AM »


ร่างรายงานยูเอ็นฉบับกรุงเทพฯชี้ทางเลี่ยงภัยโลกร้อน
 

 
กรุงเทพฯ - นักวิทย์ฯยูเอ็น เตรียมออกรายงานใหม่เดือนหน้า ระหว่างการประชุมที่กรุงเทพฯ แจงวิธีเลี่ยงหายนะโลกร้อน ชี้ทุกภาคส่วนต้องพร้อมใจกันหันไปใช้เทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : สำนักข่าวเอพีรายงานว่า นางราเชล วอร์เรน นักวิจัยอังกฤษ หนึ่งในผู้เขียนรายงานเกี่ยวกับโลกร้อนฉบับใหม่ ที่จะเผยแพร่ระหว่างการประชุมของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ในวันที่ 4 พฤษภาคม ที่กรุงเทพฯ กล่าวว่ารายงานฉบับใหม่จะบรรยายถึงวิธีหลีกเลี่ยงหายนะโลกร้อน โดยระบุว่าทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ธุรกิจ และประชาชน ต้องอ้าแขนรับเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ร่างรายงานระบุว่า การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเพียง 3% ภายในปี 2573

นอกจากนั้น รัฐบาลของประเทศรายใหญ่ที่ปล่อยก๊าซ ได้แก่ สหรัฐ จีน และอินเดีย จะต้องเข้าร่วมพิธีสารเกียวโต เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ ที่เก็บกักความร้อนที่อุตสาหกรรมและโรงงานต่างๆ ปล่อยออกมา

ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐภายใต้การนำของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ไม่ยอมลดการปล่อยก๊าซตามที่กำหนดไว้ในพิธีสาร อ้างว่าจะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่จีนและประเทศยากจนอื่นๆ ได้รับการยกเว้นจากข้อตกลง

ร่างรายงานที่จะออกในการประชุมที่กรุงเทพฯเดือนหน้า จะระบุว่าโลกสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงจากระดับปัจจุบันได้ หากเลิกใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างถ่านหิน และหันไปใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงลดการตัดไม้ทำลายป่า

รายงานของไอพีซีซี 2 ฉบับที่ออกมาในปีนี้ คาดว่าหากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังดำเนินไปในระดับปัจจุบัน อุณหภูมิโลกอาจเพิ่มขึ้นถึง 6 องศาเซลเซียสภายในปี 2643 ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบใหญ่หลวง เพราะอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียง 2 องศา ก็อาจทำให้ผู้คน 2,000 ล้านคน ขาดแคลนน้ำภายในปี 2593 ขณะที่พืช-สัตว์ 20-30% อาจสูญพันธุ์

ส่วนรายงานฉบับที่ 3 ที่จะออกในกรุงเทพฯ จะระบุชัดเจนว่าโลกต้องรีบอ้าแขนรับเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งที่พัฒนาขึ้นมาแล้วและกำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอาคารให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา หรือการเปลี่ยนจากถ่านหินไปใช้ก๊าซธรรมชาติ พลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ อย่างลม แสงอาทิตย์ และพลังงานชีวภาพ
 
 

จาก   :   กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 25 เมษายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
Sea Man
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2208


ท้องฟ้า/ภูเขา/ป่าไม้/ทะเล


« ตอบ #17 เมื่อ: เมษายน 25, 2007, 06:44:23 AM »

  ................
บันทึกการเข้า

.....รู้จักคิด....ฟังความคิดผู้อื่น....พร้อมเปลี่ยนแปลง....ไปสู่สิ่งใหม่และดีกว่า.....
Heineken Narcosis
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 19



« ตอบ #18 เมื่อ: เมษายน 25, 2007, 07:11:34 AM »

ผลกระทบ “โลกร้อน” ต่อไทย “ระบบลมเปลี่ยน-วันร้อนเพิ่ม-วันเย็นลด”

^     
^
^
  

บันทึกการเข้า
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #19 เมื่อ: เมษายน 26, 2007, 12:08:56 AM »


โลกร้อนผลกระทบกลไกธรรมชาติต่อคุณภาพน้ำ



แหล่งน้ำตามธรรมชาติเป็นทรัพยากรสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด จากข้อมูลการวิจัยของศูนย์ Water Environment Remediation & Research Center ของสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นโครงการวิจัยนานาชาติร่วมกับประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษามลพิษในแม่น้ำ Bagmati สายสำคัญที่ไหลผ่านเมืองหลวงกาฐมาณฑุ ของประเทศเนปาล ศึกษาเป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร ซึ่งมีประชาชนราว 1.6 ล้านคน ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภค อุตสาหกรรม ชลประทาน และเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นเวลา 20-30 ปี มาแล้ว พบว่าของเสียในแม่น้ำประกอบด้วยอินทรียวัตถุที่สามารถถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ และการปนเปื้อนของเชื้อโรค ทั้งยังพบโลหะหนักในระดับที่เป็นอันตรายจนทำให้ออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง ปกติการตรวจวัดคุณภาพของแหล่งน้ำ พิจารณาจากค่าต่างๆ อาทิ ปริมาณไนโตรเจนรวม (TN) ฟอสฟอรัสรวม (TP) อุณหภูมิ ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าการละลายของออกซิเจน (DO) ค่าความต้องการออกซิเจนของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายอินทรีย์คาร์บอน (CBOD) พบว่าผลของการสร้างแบบจำลองจากการวิจัยชี้ให้เห็นว่าหากคุณภาพน้ำในภาวะวิกฤต มีปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำต่ำสุด 4 มก./ลิตร จะมีค่า CBOD สูงสุด 3 มก./ลิตร ไนโตรเจนรวม 2.5 มก./ลิตร ที่ระดับอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และน้ำมีค่า pH ช่วง 6.5-8.5 ค่า CBOD ที่ระดับสูงสุด 3 mg/L เป็นไปได้ยากสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างเนปาล และบางประเทศในแถบยุโรปที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม ซึ่งมีการปล่อยของเสียอินทรีย์และสารเคมีปนเปื้อนในแหล่งน้ำเป็นจำนวนมาก

กลไกของคุณภาพน้ำที่ออกซิเจนในน้ำลดลง ส่วนหนึ่งมาจากแหล่งน้ำมีอินทรีย์วัตถุเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสภาพไม่มีประจุรวมตัวกับโมเลกุลน้ำในแหล่งน้ำหรือมวลน้ำที่ไหลผ่านมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของจุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายของเสียด้วยเอ็นไซม์โดยใช้ออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น และเกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของสารก่อมลพิษในน้ำ เป็นเหตุให้ออกซิเจนในน้ำลดลง

ทั้งนี้ คุณภาพน้ำในภาวะวิกฤตที่ยอมรับได้ในแหล่งน้ำแต่ละแห่ง มีความเกี่ยวข้องกับสัดส่วนออกซิเจนที่มีอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำต่อความเข้มข้นของออกซิเจนขั้นต่ำที่ละลายในแม่น้ำ และการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่แม่น้ำ รวมถึงอัตราการไหลของมวลน้ำที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับความสามารถในการละลายออกซิเจนในแหล่งน้ำตามสภาพทางกายภาพของพื้นที่ด้วย เช่น ความกดอากาศ อุณหภูมิ เป็นต้น

วันนี้ทั่วโลกรวมทั้งไทยมีการวิจัยศึกษาการบำบัดมลพิษในแหล่งน้ำด้วยวิธีการชีวภาพต่างๆ ตามศักยภาพของแต่ละประเทศ อาทิ สถาบัน Sant Longowal Institute of Engineering and Technology ของอินเดีย ทดสอบใช้ชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตรจากกากสบู่ดำ ชานอ้อย และซังข้าวโพดพบว่า ความสามารถในการดูดซับของกากสบู่ดำสูงสุด ที่สภาวะ pH เท่ากับ 2 หรือมีสภาพน้ำเป็นกรด ความเร็วในการหมุนเพื่อเกิดปฏิกิริยา 250 รอบ/นาที เป็นเวลา 60 นาที การดูดซับ hexavalent chromium หรือ Cr(VI) ซึ่งเป็นโละหนักเป็นพิษมีการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ และก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นและผลจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น และความแปรปรวนของสภาพอากาศจากภาวะโลกร้อน อาจมีผลต่อระดับการละลายของออกซิเจนในแหล่งน้ำ และเกี่ยวข้องต่อการทำงานของเอ็นไซม์ของจุลินทรีย์ในแหล่งน้ำ ที่มีหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์สาร จนอาจทำให้เกิดการเน่าเสียของน้ำเพิ่มขึ้น และอาจมีค่า pH เปลี่ยนแปลงไปจนทำให้ความสามารถในการดูดซับโลหะหนักและสารพิษอันตราย ด้วยวิธีชีวภาพตามธรรมชาติอาจเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องตระหนักถึงคุณภาพน้ำให้มากขึ้นในสภาวะการณ์เช่นนี้


จาก   :   คอลัมน์ Active Opinion  มติชน วันที่ 26 เมษายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #20 เมื่อ: เมษายน 26, 2007, 12:23:28 AM »


โลกร้อนจ่อวิกฤต 20 ปี ซื้ออากาศสูด 
 
 
 
เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่โรงแรมมิราเคิน แกรนด์ คอนเวนชั่น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)จัดสัมมนาระดมความคิดกรอบงานวิจัยเรื่อง"มลพิษทางอากาศของไทย ผลพวงจากโลกร้อน" ศ.ดร.เกษม จันทร์แก้ว อาจารย์วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มลพิษทางอากาศที่มีผลพวงจากโลกร้อนนั้น เกิดภาวะเรือนกระจก ซึ่งเกิดจากชั้นบรรยากาศกักเก็บความร้อนไว้มากเกินไปส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนั้น เกิดจากการเผาป่า การเกิดไฟป่าตามธรรมชาติ การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ฝุ่นละอ่องจากการทำเหมืองแร่และควันพิษจากไอเสียรถยนต์ ซึ่งภาวะโลกร้อนมีผลกระทบทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศทั่วโลก เช่น เกิดสึนามิ แผ่นดินไหวและ พายุ จนเกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด

"ขณะนี้มลพิษในกรุงเทพฯถือว่าเข้าข่ายวิกฤติมลพิษ โดยสังเกตได้ว่าคนต่างจังหวัดจะมีอายุยืนยาวว่าคนกรุงเทพฯ หากยังไม่มีการสร้างจิตสำนึกนักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อนาคตจะเป็นอันตราย นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนไว้ว่า หากมลพิษยังเป็นเช่นนี้ ไม่เกิน 20ปีหรืออาจะไม่ถึง 20ปี โลกจะต้องถึงขั้นวิกฤติอย่างแน่นอน ประชาชนอาจะต้องซื้ออ๊อกซิเจนหายใจเหมือนกับโฆษณาก็ได้" ศ.ดร.เกษม กล่าว

ด้าน รศ.ดร.จริยา บุญญวัฒน์ ที่ปรึกษากลุ่มวิชาการด้านบรรยากาศ ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและ ฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศและสิ่งมีชีวิตบนโลกพบว่า สาเหตุภาวะโลกร้อนมาจากประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาด้าน เศรษฐกิจสูงขึ้น มีการตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มจำนวนของอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป สำหรับเมืองไทยพบว่าช่วงเดือน เมษษยนมีอุณหภูมิสูงถึง 42 องศาเซลเซียส จากเดิมแค่ 38-39องศาเซลเซียสและคาดว่าปี2551 จะเพิ่มเป็น 43องศาเซลเซียส

ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกร้อน กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นมวลอากาศร้อนจะลอยตัวสูงทำให้เมฆบนท้องฟ้าอัดแน่นไปด้วยความร้อน เมื่อเมฆร้อนลอยสูงขึ้นเรื่อยๆและไปปะทะกับมวลอากาศเย็น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการหมุนเวียนของอากาศไม่เป็นไปตามปกติ ส่งผลให้เกิดฝนลูกเห็บ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการเกิดฝนลูกเห็บอาจมีความสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน แต่ขณะนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดยืนยันแน่ชัด แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่า ต้นปี2550ที่ผ่านมาประเทศไทยก็พบฝนลูกเห็บเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนฤดูร้อนเป็นฤดูฝน อย่างไรก็ตาม ฝนลูกเห็บยังไม่ใช่วิกฤตโลกร้อนที่สำคัญ แต่ในอนาคตหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีใครรับรองได้ว่าฝนลูก เห็บจะไม่กระจายไปในวงกว้าง สิ่งสำคัญประเทศไทยควรมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ด้าน ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์START กล่าวถึงกรณีวันที่มีอากาศร้อนเกิน 33 องศาเซลเซียส ที่จะเพิ่มเป็น 3เท่าในอีก 30-80ปีข้างหน้า ว่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างจัดทำโมเดล เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ทั้งระยะยาวและระยะสั้นให้มีความทันสมัยมากกว่านี้ ซึ่งจะทำให้รู้ถึงระดับอุณหภูมิเฉลี่ยว่าจะสูงมากขึ้นกว่าเดิมมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ดี เมื่อเร็วๆนี้ได้พบ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม.เพื่อหารือการลดปัญหาภาวะโลกร้อนใน กทม.และมีการตั้งเป้าทำปฏิญญาว่าด้วยการลดโลกร้อนอย่างน้อย 10ประการสำหรับคน กทม.ใน 3ประเด็นหลัก คือ การลดโลกร้อนจากภาคพลังงานและการขนส่ง มลพิษจากขยะและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง โดย กทม.จะดึงทุกภาคส่วนที่ก่อปัญหามาทำข้อตกลงร่วมกัน

ขณะที่ นางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าฯกทม.กล่าวว่า กทม.จัดเป็นหนึ่งในพื้นที่หลักในการสร้างปัญหาภาวะโลกร้อนของประเทศไทยและอาจเป็นอันดับ 1ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เพราะมีจำนวนประชากรมาก ทำให้มีการใช้พลังงานและใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทุกด้านมากกว่าพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะยังเป็นแหล่งปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานและการขนส่ง

วันเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทยารายงานระดับอุณหภูมิสูงสุดของปี2550 ที่วัดจากสถานีอุตุนิยมวิทยา อ.เมือง จ.ตาก พบว่า สูงถึง 43.2องศาเซลเซียส แต่ยังไม่เกินสถิติสูงสุดที่เคยวัดได้ที่ 44.5องศาฯที่ จ.อุตรดิตถ์ เมื่อหลายปี2549 รองลงมาที่ จ.ลำปาง สูงถึง 42.1องศาฯ ส่วน กทม.ยังอยู่ที่ระดับ 37-39 องศาฯแต่ไม่น่าจะเกิน 40องศาฯ อย่างไรก็ตาม สำหรับพายุฤดูร้อนและทำให้เกิดลูกเห็บนั้น ในปี2550 ถือว่ามีมากและค่อนข้างสร้างความเสียหายเยอะส่วนหนึ่งเป็นเพราะความแปรปรวนของอากาศและระหว่างวันที่ 24-26เมษษยนนี้ จะมีมวลอากาศเย็นแผ่ปกคลุมมายังประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดฝนฟ้าคะนอง เกิดขึ้น


จาก   :   แนวหน้า วันที่ 26 เมษายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #21 เมื่อ: เมษายน 26, 2007, 12:26:41 AM »


จีนทำลายโลกหนักข้อ

จีน-หนังสือพิมพ์วอลล์ สตรีท เจอร์นัล รายงานอ้างการให้สัมภาษณ์ของนายฟาตีห์ บิรอล ผู้อำนวยการด้านเศรษฐศาสตร์ ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ หรือไออีเอ ระบุว่า จีนกำลังจะก้าวขึ้นเป็นชาติที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุดในโลก แซงหน้าสหรัฐ ภายในปีนี้

นายบิรอล ระบุว่า เดิมมีการพยากรณ์ไว้ว่า จีนจะเป็นชาติที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดในโลก ภายในปี 2553 อย่างไรก็ตาม ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุใหญ่ของสภาวะโลกร้อนของจีน มีอัตราเพิ่มมากกว่าที่คาดการณ์ไว้จากพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ก่อนหน้านี้ ทางการจีนเพิ่งจะเผยแพร่รายงานค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากสภาวะโลกร้อน แต่รายงานก็ยังยืนยันว่า จีนจะยังคงมุ่งเป้าไปที่พัฒนาการก่อนที่จะพิจารณาเรื่องการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ พร้อมทั้งให้ความเห็นว่า การจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นแนวคิดไม่ยุติธรรม และจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์พลังงานและอุตสาหกรรมโรงงานของจีน ซึ่งจีนยังคงจัดเป็นชาติกำลังพัฒนาทำให้ได้รับการยกเว้นจากพิธีสารเกียวโตที่จีนลงนามให้สัตยาบันไว้


จาก   :   สยามรัฐ วันที่ 26 เมษายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
Sea Man
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2208


ท้องฟ้า/ภูเขา/ป่าไม้/ทะเล


« ตอบ #22 เมื่อ: เมษายน 26, 2007, 04:18:24 AM »

  ....หาประเทศไหน........รักษ์โลกจริงๆ.........มีไหมนะ....
บันทึกการเข้า

.....รู้จักคิด....ฟังความคิดผู้อื่น....พร้อมเปลี่ยนแปลง....ไปสู่สิ่งใหม่และดีกว่า.....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #23 เมื่อ: เมษายน 28, 2007, 12:07:09 AM »


การเมืองเรื่องโลกร้อน
 
การจัดประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ระหว่างวันที่ 30 เมษายน-4 พฤษภาคมนี้  ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติ  กรุงเทพมหานคร

ซึ่งถือว่าเป็นการประชุมที่มีความสำคัญ เนื่องจากจะมีนักวิทยาศาสตร์และผู้แทนรัฐบาลจาก 189 ประเทศทั่วโลก ประมาณ 2,000 คน และที่สำคัญคือจะมีการเสนอรายงานทางวิชาการในช่วงที่ผ่านมา เกี่ยวกับภาวะก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานข่าวที่เกิดขึ้นในขณะนี้ถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และกลายเป็นประเด็นที่คนไทยพูดถึงกันบ่อยมากขึ้น เนื่องจากภัยพิบัติในช่วงที่ผ่านมาเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ได้โยงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนด้วย

ความรู้ในการอธิบายภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์เสียเป็นส่วนมาก บางคนก็เชื่อถือรายงานและงานวิจัยที่ระบุว่า โลกร้อนเกิดจากฝีมือของมนุษย์ที่ใช้ทรัพยากรอย่างไร้สติ ดังนั้น จึงมีความพยายามเสนอให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ลดมลภาวะ เพื่อไม่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก แต่บางคนก็ไม่เชื่อถือรายงานทางวิทยาศาสตร์ โดยเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว

ซึ่งไม่ว่ามนุษย์จะดำเนินกิจกรรมใดๆ บนโลกมนุษย์ ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก แต่ที่เกิดขึ้นเพราะเป็นวัฏจักรทางธรรมชาติ ดังนั้น จึงไม่มีประโยชน์และเป็นการเสียโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจ หากมีการใช้มาตรการมาควบคุมกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งทั้งสองกลุ่มยังหาข้อสรุปไม่ได้จนปัจจุบัน

อันที่จริง นับตั้งแต่ประชาคมโลกเริ่มตระหนักถึงภัยจากภาวะเรือนกระจก ได้มีการตั้งองค์กรขึ้นมากดดันรัฐบาลทั่วโลก ให้ดำเนินการควบคุมภาวะเรือนกระจก โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวย ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่สร้างปัญหามลภาวะไปทั่วโลก และต้องมีความรับผิดชอบมากกว่ากลุ่มประเทศอื่นๆ

เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่ใช้ล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติของโลกมากที่สุด และยังสร้างปัญหามลภาวะมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ประเทศเหล่านี้มักจะไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาเท่าที่ควร โดยอ้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสหรัฐ และดูเหมือนว่าการแก้ปัญหาภาวะเรือนกระจกไม่สามารถแก้ได้ หากสหรัฐไม่ให้ความร่วมมือด้วย

แต่หากทุกประเทศเริ่มตระหนักถึงภัยพิบัติและเริ่มร่วมกันหาวิธีการแก้ไข นั่นก็แสดงให้เห็นว่าประชาคมโลกเริ่มมีสำนึกร่วมกัน แม้อาจจะใช้เวลาอีกนานมาก กว่าทุกชาติทุกภาษาจะนับถือความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม และร่วมรับผิดชอบร่วมกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ และกว่าจะถึงวันนี้ เราเชื่อว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นเหมือนเช่นปัจจุบัน

นั่นคือ การแก้ปัญหาภาวะเรือนกระจกจะเต็มไปด้วยการช่วงชิงและการต่อรองผลประโยชน์ อย่างเช่น จีน และบราซิล ก็ประกาศหลายครั้งว่า ยังไม่พร้อมที่จะร่วมขบวนด้วย รวมทั้งสหรัฐที่มีปัญหาปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก ซึ่งหากประชาคมโลกต้องการแก้ปัญหา ก็ต้องเกี่ยวพันกับการเมืองโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น หากประชาคมโลกต้องการแก้ปัญหาโลกร้อนจริง ก็ต้องหันมาแก้ปัญหาการเมืองระดับประเทศอย่างจริงจัง เพราะหาไม่แล้ว ความพยายามในการแก้ปัญหาก็จะล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะภาวะโลกร้อนเกี่ยวข้องทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของผู้คนทั่วโลก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องท้าทายมนุษย์อย่างมาก

ดูอย่างกรณีของบางประเทศ การช่วงชิงอำนาจและผลประโยชน์ของบรรดานักการเมืองสร้างความเดือดร้อนและวุ่นวายทั่วทั้งบ้านเมือง และดูเหมือนยังไม่ยอมยุติลงง่ายๆ แต่ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องของคนทั้งโลก คงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ บางทีคนเราก็เล่นการเมืองมากเกินไป จนลืมปัญหาที่แท้จริง จนกระทั่งพากันพินาศกันไปพร้อมๆ กัน
 
 
จาก   :   บทบรรณาธิการ  กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 28 เมษายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #24 เมื่อ: เมษายน 30, 2007, 12:54:16 AM »


ประชุม 'ลดโลกร้อน' ใครว่าไม่มี 'การเมือง'     
 
รายงานฉบับล่าสุด ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC)  ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่เฝ้าสังเกตการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก  ก่อตั้งโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)  และองค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ในปี 2531 ยืนยันหนักแน่นชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลกที่ร้อนขึ้น  เพราะภาวะเรือนกระจก (Green House Effect) เป็นผลจากน้ำมือมนุษย์อย่างแน่นอน  โดยขณะนี้  อุณหภูมิโลกได้ร้อนขึ้น  0.76 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม  ซึ่งถือว่าเป็นอัตราเพิ่มที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับวัฏจักรโลกร้อนที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนเกิดยุคน้ำแข็ง

IPCC  มีการประมาณการว่าหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นอีก  1 องศาเซลเซียส  ในช่วงกลางศตวรรษนี้ ก็จะทำให้พืชและสัตว์ประมาณ  30%  ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต้องสูญพันธุ์  และมีคนเป็นจำนวนล้านที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม  เนื่องจากหิมะและภูเขาน้ำแข็งละลาย  ส่งผลให้น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น  และผลกระทบอื่นๆ อีกมากมาย

หลังการติดตามสภาวะอากาศโลกเป็นเวลา  6 ปี นักวิทยาศาสตร์คณะทำงานของ IPCC เมื่อวันที่  2  ก.พ.ที่ผ่านมา  นักวิทยาศาสตร์คณะทำงาน IPCC 2 ใน 3 กลุ่มได้นำเสนอรายงานผลการประเมินที่กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศส และเมื่อวันที่ 6 เม.ย.ที่ผ่านมา มีการนำเสนอรายงานด้านฉบับล่าสุดที่ระบุถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ  สังคม เศรษฐกิจและสุขภาพของมนุษย์  ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ซึ่งสรุปได้ว่าภาวะเรือนกระจกที่เกิดขึ้นมาจากน้ำมือมนุษย์

ภายหลังจากการประกาศให้โลกรู้ว่า  "มนุษย์" เป็นสาเหตุที่ทำให้โลกได้ร้อนขึ้นแล้ว IPCC  ยังเตรียมจัดประชุมขึ้นอีกครั้ง  เพื่อนำเสนอผลการประเมินของคณะทำงานกลุ่มที่ 3 ที่สำคัญก็คือ ในการประชุมครั้งนี้จะมีการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศต่อคณะกรรมการของ IPCC  เพื่อให้สมาชิกเห็นชอบอย่างเป็นทางการ การประชุมดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการประชุมครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของมนุษยชาติ ในการแก้ปัญหาสภาพการเปลี่ยนแปลงอากาศโลก ที่จะมีขึ้นในวันที่ 4 พ.ค.ที่จะถึงนี้  ณ  กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้มาร่วมงานซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์จาก IPCC 80 คน และผู้แทนจากประเทศต่างๆ อีก 150
เนื้อหาที่จะนำเสนอในการประชุมที่กรุงเทพฯ   ในวันที่ 4 พ.ค.นี้ ก็คือการนำเสนอ "บทสรุปผู้บริหาร" หรือ "Executive Summary" จำนวน 25 หน้า ซึ่งได้รวบยอดเอาสาระสำคัญใน "รายงานประเมินผลตั้งแต่ฉบับที่  1  จนถึงฉบับที่  3" ซึ่งแต่ละฉบับมีจำนวนเป็นพันๆ หน้ามาไว้ด้วยกัน เป็นการพูดถึงที่มาของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก   แนวโน้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก   ตลอดจนแนวทางแก้ปัญหา นโยบายลดปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

"การประชุมที่กรุงเทพฯ คือ  นอกจากพูดถึงแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทางเลือกในการแก้ปัญหา  รวมทั้งการประเมินนโยบายเครื่องมือ  เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อลดปัญหา นักวิทยาศาสตร์จะเป็นคนพูดให้ประเทศต่างๆ ฟัง   แล้วประเทศต่างๆ อาจจะตั้งคำถามและนักวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นคนตอบ แต่จุดมุ่งหมายของการประชุมครั้งนี้ก็คือ เพื่อนำไปสู่ข้อตกลงให้ได้ของประเทศสมาชิก ว่าจะแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกที่ร้อนขึ้นได้อย่างไร" มาร์ติน  ฮิลเลอร์   ผู้จัดการสื่อสาร  โครงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสากลกล่าว

คงต้องยอมรับว่า การประชุม  IPCC ที่จะมีขึ้นที่กรุงเทพฯ นับว่าเป็นการเมืองเวทีโลกระดับหนึ่ง และ Executive  Summary  จำนวน 25 หน้าที่ IPCC จัดทำขึ้น มีความน่าเชื่อถือและปลอดจากปัจจัยการเมืองแค่ไหนเพียงไร  มาร์ติน  ฮิลเลอร์  กล่าวว่า  คณะผู้เขียนรายงาน  IPCC  นี้มาจากหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและหน่วยงานระหว่างประเทศ  และคัดเลือกภารกิจเฉพาะด้านตามความถนัดของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน  ซึ่งมีความหลากหลายทั้งมาจากหลายมหาวิทยาลัย  ศูนย์วิจัย สมาคมธุรกิจ องค์กรสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอื่นกว่า 100 ประเทศทั่วโลก มีผู้เชี่ยวชาญกว่า 300 คน มาร่วมกันร่างรายงาน IPCC 
นอกจากนั้น  ผู้เชี่ยวชาญอีก 200-300  คน จะร่วมกระบวนการพิจารณาทบทวนรายงาน เป็นการทบทวน  2  ชั้น  คือทั้งด้านวิทยาศาสตร์และทางด้านเทคนิค ทั้งนี้ การเตรียมงานทั้งหมดมีกระบวนการที่ชัดเจน  ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ จึงมั่นใจได้ว่า รายงาน IPCC มีความน่าเชื่อถือ โปร่งใส และสอดคล้องวัตถุประสงค์

"รายงาน IPCC  มีทั้งความเป็นวิทยาศาสตร์และวิชาการ ผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง 3 รอบ  แม้จะมีการล็อบบี้เกิดขึ้นจากนักธุรกิจและอุตสาหกรรม  แต่เชื่อว่าไม่น่าจะมีผลทำให้รายงานบิดเบือนไปจากความเป็นจริง" มาร์ตินกล่าว
หลังจากการประชุมที่กรุงเทพฯ แล้ว  ในช่วงปลายเดือนธันวาคมปีนี้จะมีการประชุมใหญ่ของ IPCC อีกครั้ง  ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และรายงาน IPCC ฉบับที่ 4 จะผุดออกมาสู่สายตาสาธารณชน   ซึ่งสาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้ก็คือ   การมีข้อกำหนดการแก้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน หลังจากปี  2012 ซึ่งเป็นที่พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) จะหมดอายุลง และสิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไปในปี 2013 นั้นคืออะไร

รศ.ดร.สิตานนท์   เจษฎาพิพัฒน์   ผู้ประสานงาน  Red  Cross/Red  Crescent,Climate  Change Group, The Netherlands หนึ่งในคณะกรรมการวิจารณ์ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนของประเทศไทย กล่าวว่า  ปัจจุบันการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ  โดยเฉพาะเรื่องปัญหาก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน   จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ  แต่เรื่องเหล่านี้กำลังทำให้ถูกกลายเป็นเรื่องการเมืองไปหมด  แม้ว่า  IPCC จะเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจให้เป็นสมอง ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก แต่ตอนนี้ก็ถูก Hijack โดยการเมือง ทำให้สาระหดหายไป กลายเป็นการเมืองอย่างเดียว แต่ละชาติต้องรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว

"สมัยที่มีการประชุมเพื่อทำข้อตกลงพิธีสารเกียวโต   กำลังทะเลาะถกเถียงกันวุ่นวายไปหมด ผมก็อยู่ที่นั่น  ทุกคนรอ  อัล กอร์ ซึ่งตอนนั้นเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐ การเจรจาหยุดชะงักเพราะต้องรอให้สหรัฐมาและรับข้อตกลงพิธีสารเกียวโต   แต่สหรัฐก็ไม่รับในที่สุด  แต่พอ อัล กอร์ มาถึง ก็พูดแค่ 15 นาที แล้วบอกให้ทุกคนพูดกันด้วยท่าทีสมานฉันท์แค่นั้น แล้วอย่างนี้คิดหรือว่าเวทีอย่างนี้จะไม่มีการเมือง อย่าลืมว่า อัล  กอร์ เป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐ ก่อนที่เขาจะเดินเข้ามาในห้อง เขาต้องเจอล็อบบี้ยิสต์ทุกอุตสาหกรรมมาแล้ว"

รศ.ดร.สิตานนท์ กล่าวอีกว่า ดังจะเห็นได้ว่าใน Excutive Summary 25 หน้า ที่ IPCC จัดทำขึ้น และจะนำมาประชุมที่กรุงเทพฯ ในวันที่  4 พ.ค.มีข้อเสนอต่างๆ ที่ล้วนแต่เป็นการผลักภาระให้กับประเทศกำลังพัฒนาแทบทั้งนั้น เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่พูดถึงแต่ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศกำลังพัฒนา  และให้ประเทศเหล่านี้ลดหรือหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  แต่ไม่เคยพูดถึงเลยว่าประเทศพัฒนาแล้วจะมีบทบาทช่วยเหลืออย่างไร

"เท่าที่รู้มาคนที่เขียน  Executive Summary 25 หน้านี้ 1 ใน 3 มาจากเนเธอร์แลนด์ มีคนจีนแค่คนเดียว  สรุปตรงกันว่า ปัญหาก๊าซเรือนกระจกเกิดจากประเทศกำลังพัฒนา ต้องรับผิดชอบ เพ่งเล็งไปที่จีนกับอินเดีย ซึ่งเหมือนเด็กอ้วนกำลังโต กินจุ พอกินแล้วแถมยังปล่อยของเสียเรี่ยราด ทั้งๆ ที่คนที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  แล้วทำให้โลกมันร้อนขึ้น  0.76 องศาฯ นี่ เป็นพวกประเทศพัฒนาแล้ว การพูดว่าใครรับผิดชอบจึงควรที่จะพูดถึงต้นตอ ใครทำบาปคนนั้นต้องรับผิดชอบ เพราะภาวะโลกร้อนมันไม่ได้เกิดขึ้นทันที มันสะสมมา 200 ปีแล้ว แต่ในบทสรุปผู้บริหารที่ทำขึ้นมาไม่มีพูดถึงเลย"

รศ.ดร.สิตานนท์  กล่าวว่า ในบทสรุปผู้บริหาร  25 หน้า ซึ่งมีการกล่าวอ้างถึงการใช้กลไกสะอาด หรือ  CDM  มาเป็นนโยบายสำคัญในการแก้ปัญหาสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง  โดยมีการพูดถึงการซื้อขายก๊าซคาร์บอนฯ  (Emission Trade) ให้สิทธิ์ประเทศพัฒนาเข้ามาซื้อสิทธิ์ก๊าซคาร์บอนฯ ประเทศยากจน เช่น แอฟริกา หรือประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ได้ นอกจากนี้ ยังบังคับให้ประเทศพวกนี้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

"จุดอ่อนต่างๆ ใน  Text  บทสรุปผู้บริหารนี้ก็คือ สนองประโยชน์ประเทศพัฒนาหลายอย่าง เช่น การคิดค่า  Emission  ที่มีการเจรจามาหลายปี  มีการเอาผลประโยชน์มาหยิบยื่นให้ประเทศยากจน ซึ่งเรียกว่าเป็นการ "เตะตัดขา" แค่นี้ พวกประเทศไม่มีเงินก็ยอมรับกันแล้ว อย่างบราซิล เขาบอกว่าเขาทำเรื่องแก๊สโซฮอล์เต็มที่แล้ว  ไม่รู้จะทำอะไรได้อีก  ถ้าจะให้เขารักษาป่าอเมซอนก็ต้องเอาเงินมาช่วยเพราะเขาไม่มีเงิน   แค่นี้เขาก็พูดไม่ออกแล้ว  ไม่มีแรงจะค้านข้อเสนอของชาติพัฒนา  อย่างนี้ไม่เรียกการเมืองแล้วเรียกว่าอะไร"

รศ.ดร.สิตานนท์  กล่าวอีกว่า  เชื่อว่าก่อนที่ "บทสรุปผู้บริหาร" ทั้ง 25 หน้าจะออกมา นักวิทยาศาสตร์และคนเขียนได้ถูก "ล็อบบี้" มาแล้วทั้งสิ้น  แม้  IPCC  จะอ้างว่ามีการทบทวนตรวจสอบรายงานหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า รายงานฉบับนี้ไม่ถูกแทรกแซงทางการเมืองโดยสิ้นเชิง

"ถามว่าบทสรุปนี้มาจากเนื้อหาจริงๆ ของรายงาน 3 ฉบับก่อนหน้านี้หรือไม่ ก็ตอบไม่ได้เพราะไม่มีใครได้อ่าน แต่จากการที่ผมอ่านบทสรุปผู้บริหาร 25 หน้า ที่เห็นโดดเด่นก็คือเป็นการเขียนที่รักษาผลประโยชน์ให้ประเทศพัฒนา  ปัดภาระให้ประเทศกำลังพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด ถามว่าอย่างนี้มีการทำงานใต้ดินกันหรือเปล่า"

รศ.ดร.สิตานนท์  กล่าวว่า  อยากเสนอให้ประเทศกำลังพัฒนาเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งพวกเขาทำได้และทำได้เยอะด้วย  แต่เขาเลือกที่จะไม่ทำ  และการตั้งประเด็นเกี่ยวกับการปล้น  Emission  กับประเทศพัฒนา  และให้ตรงจุดก็คือ "จุดเริ่มต้น" ของการเกิดปัญหาภาวะก๊าซเรือนกระจก ว่าใครเป็นคนก่อ ใครเป็นคนทำ ซึ่งคนนั้นควรจะรับผิดชอบ

ในส่วนของประเทศไทย รศ.ดร.สิตานนท์  กล่าวว่า  ถือว่าไทยไม่มีความพร้อมในการเจรจา เพราะขาดทั้งข้อมูล  หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง  ไม่รู้แม้กระทั่งว่าเราเองต้องการอะไร  แม้ว่าสังคมจะเริ่มตระหนักดีขึ้นในปัญหาภาวะโลกร้อนดีขึ้น   แต่ภาครัฐเองยังไม่มีความก้าวหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ ขณะที่กระบวนการเจรจาในเวที IPCC ที่จะมีขึ้น ล้วนเป็นเรื่องของการเมืองทั้งสิ้น สถานการณ์ของประเทศไทยจึงถือว่าไม่มีความพร้อมต่อรองโดยสิ้นเชิง

"5 ปีจากนี้ไป ก่อนปี 2012 ผมอยากให้เราเดินการเจรจาในลักษณะรักษาผลประโยชน์ตัวเอง ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นพลเมืองร่วมแก้ปัญหา  Global  Climate Change ที่ดี ไม่ใช่มุ่งแต่เห็นแก่ตัว  พร้อมทั้งต้องถามตัวเองว่าเรามีข้อมูลพอหรือยัง  เราขาดอะไร  และต้องการอะไร ก่อนจะไปเจรจาอีกครั้งในปี 2012 และที่ละเลยไม่ได้ก็คือ การรวมพลังของประชาชนในการร่วมแก้ปัญหาโลกร้อน ที่เราต้องให้ความสำคัญ"

รศ.ดร.สิตานนท์ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า  ผลการเจรจาทำข้อตกลงเรื่องการแก้ปัญหาสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงในปี  2012 จะเป็นข้อตกลงที่มีผลใหญ่หลวง ทำให้เกิดการเปลี่ยนโฉมหน้าแทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน หรือแม้กระทั่งความเชื่อ โดยจะมีผลทั้งระบบ  ที่สำคัญก็คือโครงสร้างทางเศรษฐกิจ  ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งไทยจะต้องเปลี่ยนไป  จะเกิดธุรกิจบริการ  และประกันของบริษัทข้ามชาติมากมาย  เกิดกองทุนกลางมาช่วยประกันความเสี่ยง จากปัญหาสภาพอากาศโลกที่ร้อนขึ้น ซึ่งผลประโยชน์ 100% จะตกกับบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ของโลก 5 ราย

"เรื่องปัญหาโลกร้อน   และข้อตกลงในเวทีระดับโลก   เราคงละเลยเรื่องนี้กันไม่ได้  ทั้งที่องค์ความรู้เรื่องสภาพอากาศของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป   ที่มนุษย์พยายามสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาจะเป็นเพียงแค่กระผีกหนึ่งของสิ่งที่มันจะเป็น แต่มันจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนไม่มีใครรู้ แต่ที่ต้องรู้ก็คือ แค่ร้อนขึ้น  1  องศาเซลเซียส ก็ทำให้สัตว์และพืช 30% สูญพันธุ์แล้ว และถ้าอีก 100 ปีมันร้อนขึ้น 1-4 องศาเซลเซียส อะไรจะเกิดขึ้น".


จาก    :     กองบรรณาธิการ ไทยโพสต์   วันที่   29 เมษายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #25 เมื่อ: เมษายน 30, 2007, 12:57:48 AM »


คน... ต้นเหตุของโลกร้อน


1.จุดเริ่มต้น

ความสนใจในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เริ่มต้นในประเทศไทยมานานกว่า 2 ทศวรรษ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกันรณรงค์ให้ระมัดระวังและลดการเกิดก๊าซมีเทนในนาข้าว การปลูกป่าเพิ่ม การกำหนดเขตเศรษฐกิจ การเกษตร เพื่อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ตรงกับคุณสมบัติของดิน แต่เรื่องนี้เสมือนหนึ่งเป็นการริเริ่มจากภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยผู้คนทั่วไปยังไม่ค่อยเข้าใจว่าจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยรวมได้อย่างไร จนกระทั่ง สภาพความรุนแรงและผลกระทบอันเกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนี้เริ่มมีสัญญาณเตือนภัยให้เห็นอย่างเด่นชัดในปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพราะสภาพแวดล้อมรอบตัวและภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ผู้คนโดยทั่วไปรับรู้ได้จากฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปจากฤดูกาลปกติ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม โดยฝีมือของมนุษย์หรือผู้คนอย่างพวกเราๆ ทั้งหลายเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง

2.ไทยลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในปลายปี 2537 ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCC : United Nations Framework Convention On Climate Change) เพราะได้ตระหนักดีว่าความร่วมมือ ดังกล่าวจะเป็นผลประโยชน์ต่อประเทศไทยในระยะยาว โดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านวิชาการและองค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่จะเกื้อหนุนให้ประเทศไทยมีความพร้อมในด้านต่างๆ ที่จะต้องเผชิญต่อปัญหาอันเกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต รวมทั้งมีขีดความสามารถ ศักยภาพ ประสิทธิภาพ ในการรับมือและวางระบบบริหารจัดการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ระหว่างภาคีการพัฒนาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

หลังจากประเทศไทยได้ลงนามรับรองในอนุสัญญาดังกล่าว และจัดอยู่ใน 148 ประเทศกำลังพัฒนา (non-Annex I) ที่ไม่ได้บังคับให้ลดก๊าซเรือนกระจก (GHG : green house gas) เหมือนกับอีก 41 ประเทศพัฒนาและหลายๆ ประเทศในยุโรปกลางที่จะต้องร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซมีเทน (CH4 : methane) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 : carbon dioxide) ไนตรัสออกไซด์ (NOx : nitrous oxide) และอื่นๆ อีกหลายชนิด

ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้มีแหล่งที่มาจากผลพวงของการพัฒนาอุตสาหกรรม พลังงาน คมนาคม เกษตรกรรม รวมทั้งจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและป่าไม้ เมื่อมีการผลิตก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก อุณหภูมิที่ได้รับจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เคยสะท้อนกลับ กลับถูกกักเก็บเอาไว้มากกว่าเดิม ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น (global warming) และเกิดผลกระทบในหลายๆ ด้านติดตามมา ที่เรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (GHG effects) และเป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) ของโลกและหลายๆ ประเทศติดตามมา รวมทั้งประเทศไทยด้วย เช่นกัน

3.ผลกระทบของก๊าซเรือนกระจก

การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกเริ่มเป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้นเมื่อภาพยนตร์สารคดีเรื่อง An Inconvenient Truth หรือความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง ที่สร้างโดยอดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐ Mr.Robert Al Gore และได้รับรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมที่ผ่านมา โดยเป็นเรื่องที่นำเสนอเกี่ยวกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศบนโลกใบนี้ จึงเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้คนสนใจประเด็นความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาจากก๊าซเรือนกระจกมากยิ่งขึ้น

ตัวชี้วัดที่สำคัญได้สะท้อนให้เห็นว่า ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา (2443-2543) อุณหภูมิของโลกได้เพิ่มขึ้น 1 องศา และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 100 ปีข้างหน้า (2543-2643) โดยประมาณว่าความร้อนบนผิวโลกจะเพิ่มขึ้นอีก 3.0-4.0 องศา หากไม่ได้มีการป้องกันและแก้ไขตั้งแต่วันนี้ ดังจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นจากการละลายตัวของน้ำแข็งที่เกาะกรีนแลนด์บริเวณขั้วโลกเหนือที่เริ่มละลายและลดขนาดลงอย่างมาก หรือธารน้ำแข็งพอร์เทจ (Portage Glacier) ใน Alaska ที่เปลี่ยนสภาพจากน้ำแข็งไปแล้ว และยังมีปรากฏการณ์ในลักษณะเดียวกันในประเทศนอร์เวย์ เปรู ขั้วโลกใต้ (Antarctic) รวมทั้งการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งทะเลเมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้นในหลายประเทศและหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งการลดขนาดของธารน้ำแข็ง หิมะ และน้ำแข็งบริเวณพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก เปรียบเสมือนการลดขนาดของกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนความร้อนของผิวโลกไปสู่บรรยากาศได้น้อยลง การดูดซับความร้อนของผิวโลกและพื้นดินก็จะเก็บความร้อนไว้มากยิ่งขึ้น จึงเป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในระบบนิเวศทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย

ในกรณีของประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบทั้งจากภายนอกและภายในประเทศด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมา แต่ในกรณีนี้อยากจะหยิบยกตัวอย่างที่มีความเชื่อมโยงและเป็นผลกระทบมาจากภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ ผลกระทบจากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น น้ำแข็งที่ปกคลุมขั้วโลกละลายทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น อุณหภูมิของน้ำทะเลที่เปลี่ยนแปลงไปก็จะมีผลกระทบทั้งในเชิงบวกละลายต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็น ซึ่งอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลทำให้คลื่นลมในทะเลเปลี่ยนแปลงไป ในบางพื้นที่ก็จะเกิดปัญหาระดับน้ำทะเลท่วมสูงขึ้นไปพร้อมๆ กับการกัดเซาะชายฝั่งและการรุกตัวของน้ำเค็ม ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งก็จะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ดังกล่าวในบางพื้นที่อาจเกิดปัญหาการฟอกขาวของปะการังใต้ทะเล สัตว์น้ำและความหลากหลายทางชีวภาพอื่นๆ อีกมากมาย

เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบต่อธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวคนในประเด็นอื่นๆ ก็จะพบว่าปัญหาของโลกร้อนยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนโดยทั่วไปที่อยู่ทั้งในเขตเมืองและชนบทในภาคการผลิตทางการเกษตร จะเห็นได้ชัดจากฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดปัญหาฝนแล้ง อุทกภัย และไฟป่าติดตามมา ส่วนในสาขาพลังงาน คมนาคม และอุตสาหกรรม ก็จะเป็นภาคการผลิตหลักที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดของก๊าซดังกล่าวก็ตาม แต่จากรายงานของ World Resource Institution ใน World Resources 2005, The Wealth of The Pool, Managing Ecosystems to Fight Poverty ได้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยในปี 2543 ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 261 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (million ton CO2 equivalent) หรือร้อยละ 0.78 ของโลก ซึ่งน้อยกว่าประเทศจีน (4,942 ล้านตัน หรือร้อยละ 14.7) อินเดีย (1,837 ล้านตัน หรือร้อยละ 5.5) ปากีสถาน (285 ล้านตัน หรือร้อยละ 0.9) โดยที่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมีการผลิตก๊าซเรือนกระจกรวม 18,102 ล้านตัน หรือร้อยละ 54.2 ของ ก๊าซเรือนกระจกโลก โดยสหรัฐอเมริกาผลิต ก๊าซเรือนกระจก 6,924 ล้านตัน หรือร้อยละ 20.6 ออสเตรเลีย 491 ล้านตัน หรือร้อยละ 1.5 ของการผลิตก๊าซเรือนกระจกโลก โดยที่ 2 ประเทศนี้ยังไม่ได้ลงนามรับรองพิธีสารเกียวโต ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวนี้จะมีผลต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่และสุขอนามัยโดยตรงของประชาชน และนับได้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ทุกคนบนโลกใบนี้คงต้องตระหนัก มีจิตสำนึกและร่วมกันป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเรามากยิ่งขึ้นกว่าในช่วงที่ผ่านมา

4.บทบาทภาครัฐและภาคีการพัฒนา

บทบาทของภาครัฐในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เริ่มชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานกับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ นักวิชาการ องค์กร สถาบัน ธุรกิจภาคเอกชน และภาคีการพัฒนาต่างๆ เพื่อร่วมกันกำหนดบทบาท ทิศทาง และมาตรการต่างๆ สำหรับการจัดทำแนวนโยบายแห่งรัฐที่เป็นเอกภาพผ่านกระบวนการและมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนของสังคม นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นผู้มีอำนาจตามพิธีสารเกียวโต (DNA : Designated National Authority) อีกหน้าหนึ่งภายใต้พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ในขณะที่ยังไม่มีการจัดตั้งองค์กรกลาง (องค์การมหาชน) อย่างเป็นทางการ ซึ่งขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยการจัดตั้งองค์กรดังกล่าวนี้มีวัตถุประสงค์หลักในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ กลั่นกรองโครงการ ส่งเสริมการพัฒนาการตลาดซื้อขายก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเป็นศูนย์ข้อมูลกลางเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับคำรับรอง การเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ การสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

สำหรับหน้าที่ของสำนักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็จะต้องทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

ที่จัดตั้งขึ้นตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกัน และการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย การกักเก็บ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการวิจัยพัฒนาด้านต่างๆ รวมทั้งร่วมมือกับนานาชาติเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การกำหนดท่าทีในการเจรจาเกี่ยวกับอนุสัญญาและพิธีสาร การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน เป็นต้น โดยที่ผลของการดำเนินงานภาครัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งองค์กรมหาชนและงานด้านการกำหนดนโยบายนี้จะเกิดขึ้นและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมให้ครบถ้วนทุกๆ ด้านได้ภายในสิ้นปี 2550 นี้

5.นโยบายของไทยกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บทบาทหน้าที่ของประเทศไทยที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (non-Annex I) ก็มีหน้าที่ที่จะต้องให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามอนุสัญญาด้วยเช่นกัน ตามความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน (common but differentiate responsibilities) โดยจะต้องดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการสร้างขีดความสามารถในการปรับตัว (adaptation)

เพื่อการแก้ไขปัญหาและลดความรุนแรงอันเนื่องมาจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจะต้องดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการสูญเสีย (preventive loss) ที่จะมีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องร่วมกันเร่งรัดและฟื้นฟูความสูญเสียที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องใช้มาตรการในด้านการกระจายความเสียหาย หรือความเสี่ยงภัย หรือกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็อาจจะต้องยอมสูญเสียไปบางส่วน หรือให้เสียหายน้อยที่สุด รวมทั้ง การจัดทำรายงานแห่งชาติ (NC : national communication) เพื่อรายงานต่อประชาคมโลกถึงผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สำหรับแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (mitigation) นั้น ก็จะต้องพิจารณาในภาพรวมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้ จะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ มิติ โดยให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งกำเนิด (carbon sources) และเพิ่มแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon sinks) ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการให้ความรู้ สร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้กับประชาชน รวมทั้งสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาให้มากยิ่งขึ้น

ในมิติของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งกำเนิดนี้ รัฐบาลได้สนับสนุนนโยบายสำคัญในด้านการประหยัดพลังงาน การส่งเสริมพลังงานทดแทนจากแหล่งต่างๆ ได้แก่ การใช้ ประโยชน์จากก๊าซมีเทนจากน้ำเสียและขยะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การยุติการเผาในที่โล่ง การนำเอากากหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (แกลบ ชานอ้อย กากจากปาล์มน้ำมันและอื่นๆ) มาใช้ในการผลิตพลังงานทดแทน นอกจากนี้ยังมีมาตรการด้านพลังงานอีกหลายเรื่องที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงพลังงาน

ส่วนการเพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เห็นได้อย่างชัดเจนได้แก่ การปลูกป่าโดยภาครัฐและเอกชน การป้องกันและรักษาพื้นที่อนุรักษ์ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งในเขตเมืองและชนบท การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetlands) การจัดการอุทยานแห่งชาติ การอนุรักษ์ลำน้ำและของเสีย ซึ่งผลของการดำเนินงานดังกล่าวนี้จะเป็นมาตรการสำคัญที่ประเทศไทยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในด้านนโยบายและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของทุกๆ ส่วนที่เกี่ยวข้องในสังคมของประเทศไทยแล้ว เห็นควรเร่งรัดดำเนินการสร้างความเข้าใจร่วมกันในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่างๆ ในการจัดทำยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ที่ได้ลงนามและได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาดังกล่าวไว้แล้ว


จาก     :     คอลัมน์ ระดมสมอง     ประชาชาติธุรกิจ    วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3892

                 โดย ดร.เกษมสันต์ จิณณวาโส เลขาธิการ สำนักงานนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อม(สผ.)

บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #26 เมื่อ: เมษายน 30, 2007, 01:05:30 AM »


IPCC ประชุมรายงานผลโลกร้อนฉบับ 3 ใน กทม.


บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกจะมาเข้าร่วมการประชุมกันเป็นเวลา 5 วันตั้งแต่วันจันทร์ที่ 30 เม.ย. นี้ที่กรุงเทพฯ

เอเอฟพี – บรรดาผู้เชี่ยวชาญซึ่งเข้าร่วมการประชุมเป็นเวลา 5 วันตั้งแต่วันจันทร์นี้ที่กรุงเทพฯ อันจัดขึ้นโดยหน่วยงานด้านความเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดของสหประชาชาติ เตรียมที่จะเสนอต่อบรรดาผู้นำของโลกว่า ช่องทางโอกาสที่จะแก้ปัญหาโลกร้อน ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น กำลังหดแคบลงทุกทีแล้ว อย่างไรก็ตาม เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับทำงานนี้มีอยู่แล้วพรักพร้อม และค่าใช้จ่ายก็ยังอยู่ในระดับไม่แพง
       
       ด้วยการผสมผสานนโยบายและเทคโนโลยีต่างๆ อย่างฉลาดหลักแหลม ค่าใช้จ่ายในการประคับประคองระดับไอเสียเรือนกระจก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกสารคาร์บอน อย่างเช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้คงที่อยู่ใกล้แถวๆ 75% เหนือระดับในปัจจุบัน ภายในปี 2030 นั้น จะต้องใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน (จีดีพี) ของโลกเพียงแค่ 0.2%
       
       แต่ถ้าต้องการทำให้ดีกว่านั้น นั่นคือ ให้มีการปล่อยไอเสียคาร์บอนคงที่ในระดับสูงกว่าปัจจุบันเพียงราวๆ แค่ 50% แล้ว ก็จะใช้จีดีพีโลกประมาณ 0.6%
       
       สถานการณ์สมมุติเหล่านี้ ที่ได้จากการศึกษาคาดคำนวณของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ กำลังถูกร่างบรรจุไว้ในรายงานฉบับหนึ่ง ซึ่งจะนำออกเผยแพร่ที่กรุงเทพฯ ในวันศุกร์ (4พ.ค.) อันเป็นวันสุดท้ายในการประชุมซึ่งจัดโดย คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ (ไอพีซีซี) หน่วยงานของยูเอ็นซึ่งได้รับความเชื่อถือว่าเชี่ยวชาญที่สุดเรื่องโลกร้อน
       
       อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่ายังจะมีการอภิปรายถกเถียงกันอย่างดุเดือด ระหว่างที่เหล่าผู้แทนของชาติสมาชิกต่างๆ ประชุมกันเป็นการภายใน เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน โดยเฉพาะในส่วนบทสรุปย่อสำหรับผู้บริหารของรายงานฉบับนี้ ซึ่งจะมีอิทธิพลสำคัญยิ่งต่อบรรดาผู้กำหนดนโยบายในทั่วโลก
       
       ประเด็นซึ่งคงเกิดการโต้เถียงกันหนัก มีอาทิ เพดานสูงสุดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะยอมให้ปล่อยสู่บรรยากาศได้, ภาษีที่จะจัดเก็บจากการปล่อยไอเสียคาร์บอน, ตลอดจนการเอ่ยพาดพิงถึงพิธีสารเกียวโต ซึ่งประเด็นหลังนี้ถือเป็นของแสลงสำหรับประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช
       
       นอกจากนั้น ยังอาจมีการทะเลาะกันในประเด็นอย่างเช่น จะเสนอแนะให้ใช้พลังงานนิวเคลียร์เป็นทางเลือกหนึ่ง ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจากพวกน้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซ และถ่านหินหรือไม่ ตลอดจนประเด็นเรื่องการเก็บกักคาร์บอน อันเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งผุดขึ้นใหม่ๆ ซึ่งเสนอว่าอาจเป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหาด้วยการนำเจ้าก๊าซเรือนกระจกไปเก็บไว้ใต้ดินลึกๆ
       
       รายงานที่จะออกที่กรุงเทพฯนี้ ถือเป็นตอนสุดท้ายของรายงานรวม 3 ตอนของไอพีซีซี ซึ่งมุ่งปรับปรุงเพิ่มพูนความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศโลกให้ทันสมัยที่สุด โดยอาศัยงานศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ในทั่วโลก 2,500 คนเป็นพื้นฐาน
       
       ในรายงานตอนสุดท้ายนี้ จะระบุนโยบาย, เทคโนโลยี, และมาตรการที่จะชะลอหรือกระทั่งยุติภาวะโลกร้อนได้ในที่สุด
       
       ร่างรายงานซึ่งเอเอฟพีได้รับมา ยังไม่ได้ถึงขั้นยื่นข้อเสนอแนะอะไร แต่บอกว่าเหลือเวลาให้สูญเปล่าไปน้อยเต็มทีแล้ว
       
       ขณะเดียวกัน ร่างรายงานก็ชี้ว่า หนทางและเครื่องมือที่จะสู้ปัญหาไอเสียนั้น เรามีกันอยู่ในมือแล้วหรือไม่ก็กำลังจะได้มาในเร็ววันนี้
       
       ทางเลือกเหล่านี้มีอาทิ การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไม่ว่าในการก่อสร้าง อุตสาหกรรม หรือการขนส่ง, การใช้กลไกทางเศรษฐกิจหรือการคลังเพื่อกระตุ้นส่งเสริมพลังงานซึ่งนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อาทิ ลม แสงอาทิตย์ และความร้อนใต้พิภพ, การให้แรงจูงใจในภาคป่าไม้และการเกษตร ซึ่งรวมแล้วเป็นตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 30% ของยอดรวมทั้งหมด
       
       วิธีที่จะลดการปล่อยไอเสียคาร์บอนได้มากๆ อีกวิธีหนึ่งได้แก่ การกำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดขึ้นสำหรับอาคารบ้านเรือน, ยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์, และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลาย
       
       อย่างไรก็ดี สาระสำคัญของมาตรการทั้งหมดเหล่านี้ ได้แก่ การสร้าง “ราคาคาร์บอน” ขึ้นมา หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือการผ่องถ่ายค่าใช้จ่ายด้านมลพิษไปให้แก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคแบกรับ เพราะนั่นจะเป็นแรงจูงใจอันทรงพลังให้เกิดเทคโนโลยีใช้พลังงานอย่างทรงประสิทธิภาพและปล่อยไอเสียคาร์บอนต่ำ
       
       ร่างรายงานชี้ว่า ยิ่งราคาคาร์บอนสูง ก็ยิ่งมีศักยภาพในการลดการปล่อยไอเสีย เป็นต้นว่า หากราคาคาร์บอนนี้ถูกกำหนดให้อยู่ในระดับตันละ 20 ดอลลาร์ นั่นคือผู้ผลิตและผู้บริโภคต้องเฉลี่ยรับภาระกันไปในระดับนี้แล้ว จะทำให้ลดการปล่อยไอเสียคาร์บอนได้ระหว่าง 9,000 – 18,000 ล้านตันต่อปี หรือถ้าราคาพุ่งเป็นตันละ 100 ดอลลาร์ ก็จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 16,000 – 30,000 ล้านตันต่อปีทีเดียว
       
       ทว่าเรื่องที่ดีสำหรับสิ่งแวดล้อม อาจขัดแย้งกับภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในเมื่อน้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซ และถ่านหิน ยังน่าจะเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลกไปอีกหลายสิบปี ทั้งนี้ตามการศึกษาของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ(ไออีเอ)
       
       เหล่านักเศรษฐศาสตร์โต้แย้งว่า ถ้าราคาคาร์บอนขึ้นสูงไปและเร็วไป พวกเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพิงเชื้อเพลิงฟอสซิลก็มีหวังพังพาบเป็นแถวๆ


จาก    :     ผู้จัดการออนไลน์   วันที่   30 เมษายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #27 เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2007, 12:16:01 AM »


IPCC มุ่งหาทาง "ลดก๊าซเรือนกระจก" เก็บภาษีผู้ก่อปัญหา


สภาพการจราจรบนท้องถนนขณะฝนตกในเช้าวันที่ 30 เม.ย. ก่อนการเปิดการประชุมไอพีซีซีเพื่อเร่งแก้ปัญหาโลกร้อน ซึ่งยวดยานบนท้องถนนเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญก่อก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน

       นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญกว่า 400 รายกำลังเดินหน้าถกเถียงเพื่อกลั่นกรองรายงานฉบับ 3 ที่มีกำหนดจะประกาศในวันสิ้นสัปดาห์ โดยมุ่งเป้าไปที่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งยังเสนอให้เรียกเก็บภาษีคาร์บอนจากผู้ที่ก่อปัญหา
       
       ตลอดสัปดาห์นี้ (30 เม.ย. - 4 พ.ค.) คณะทำงานกลุ่มที่ 3 (WG 3) คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ (IPCC) มีวาระการประชุมครั้งที่ 9 เพื่อพิจารณากลั่นกรองรายงานเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนฉบับที่ 3 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ซึ่งประเด็นหลักที่ถกเถียงอธิปรายกันคือ มาตรการการควบคุมระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน รวมถึงก๊าซดักจับความร้อนอื่นๆ ด้วย
       
       "นักวิทยาศาสตร์จัดหามาตรการการแก้ปัญหาเอาไว้หลากหลายวิธี แต่จะใช้วิธีใด และใช้เมื่อไหร่เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องตัดสินใจ" นายราเชนทรา ปาจาอุรี (Rajendra Pachauri) ประธานไอพีซีซี กล่าวระหว่างการเปิดประชุม


บรรยากาศระหว่างการประชุมที่มีนักวิทยาศาตร์และตัวแทนจากนานาชาติให้ความสนใจเข้าร่วมฟังแนวทางแก้ปัญหาโลกร้อนเป็นจำนวนมาก
       
       การประชุมไอพีซีซีครั้งนี้มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศมากกว่า 400 ชีวิต จาก 120 ประเทศทั่วโลก ให้ความสนใจมาเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณากลั่นกรองรายงานเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนฉบับที่ 3 โดย 2 ฉบับก่อนหน้านี้ มีเนื้อหากล่าวเตือนถึงภาวะโลกที่ร้อนขึ้น และอาจส่งผลเสียรุนแรง ก่อเกิดเภทภัยต่างๆ ทั้งภัยแล้ง อุทกภัย วาตภัย รวมถึงประชากรที่อดอยากและโรคระบาดเพิ่มมากขึ้น
       
       ทั้งนี้ ที่ประชุมคาดการณ์เอาไว้ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะสูงขึ้นประมาณ 6.1 องศาเซลเซียส ภายในปี ค.ศ. 2100 ซึ่งหากเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 2 องศาเซลเซียส ภายในอีก 50 ปีข้างหน้า ก็จะส่งผลให้ประชากรโลกกว่า 200 ล้านคนต้องตกอยู่ในภาวะขาดแคลนน้ำ และการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตอีก 20-30% ของทั้งหมด


นายราเชนทรา ปาจาอุรี เดินผ่านสมาชิกกลุ่มกรีนพีชที่ชุมนุมกันอยู่หน้าองค์การสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
       
       ส่วนสาระสำคัญของร่างรายงานฉบับที่ 3 นี้ ซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมด 24 หน้า มีสาระสำคัญอยู่ที่การแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างเร่งด่วน โดยมุ่งเน้นไปที่การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะมีแผนการทั้งระยะสั้นคือภายในปี ค.ศ.2030 และระยะยาวเห็นผลหลังจากนั้น พร้อมทั้งแนวทางการแก้ปัญหา มีทั้งการลดใช้ถ่านหินหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติแทน พลังงานนิวเคลียร์ การนำเอาพลังงานหมุนเวียนมาใช้ เช่น พลังงานลม และการปลูกป่าทดแทนพร้อมกับลดการทำลายป่าไม้ด้วย ซึ่งเหล่านี้จะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศได้
       
       ทางด้านนายโอกันลาเด เดวิดสัน (Ogunlade Davidson) ประธานร่วมการประชุมไอพีซีกล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญเสนอนโยบายกำหนดให้ทุกวันศุกร์เป็นวันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปกป้องสภาพแวดล้อมจากการถูกทำลายโดยไม่ให้มีผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจโลกมากนัก
       
       "เรามองหาวันที่จะให้ผลลัพธ์ดีที่สุด ซึ่งเราก็ได้เลือกเอาวันสุดท้ายของสัปดาห์ให้เป็นวันที่เราจะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา ไม่ใช่พวกเราเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดปัญหา" เดวิดสันกล่าว
       
       นอกจากนี้ การประชุมที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯครั้งนี้ยังมีจุดน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง คือการเรียกเก็บภาษีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และอื่นๆที่มีการอ้างถึงในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) รวมถึงการเสนอให้มีการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้พื้นโลก ซึ่งแผนงานขั้นต่อไปคือการกำหนดวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการประเมินการปล่อยและกักเก็บก๊าซเรือนกระจก
       
       อย่างไรก็ดี การประชุมเพื่อทำสรุปสาระสำคัญฉบับที่ 3 ครั้งนี้ ก็เพื่อเป็นแนวทางให้รัฐบาลและองค์กรต่างๆ วางแผนการที่จะป้องกันการเผชิญสภาวะโลกร้อนที่เลวร้าย โดยมีกำหนดจะเผยแพร่รายงานในวันที่ 4 พ.ค. และทาง IPCC จะนำร่างบทสรุปทั้ง 3 ฉบับไปรวมเป็นรายงานสังเคราะห์ (Synthesis Report) เพื่อนำไปพิจารณาในการประชุมองค์กรย่อยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Subsidiary Body for Scientific and Technological Advice : SBSTA) ระหว่างวันที่ 6-18 พ.ค.ที่เยอรมนี
       
       จากนั้นจะนำรายงานดังกล่าวไปพิจารณาเพื่อให้มีมติรับรองในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สมัยที่ 13 (Conference of the Parties : COP13) ระหว่างวันที่ 6-18 ธ.ค.ที่อินโดนีเซีย และเมื่อรายงานสังเคราะห์ผ่านการรับรองแล้วจะกลายเป็นกรอบในการกำหนดนดยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของแต่ละประเทศต่อไป


จาก    :     ผู้จัดการออนไลน์   วันที่   1 พฤษภาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #28 เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2007, 12:21:25 AM »


เดินหน้า "ถกรายงานโลกร้อน" ฉบับ 3 รองปลัด ทส.เกรงไทยเสียประโยชน์


ยูเอ็นจัดการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากศโลก โดยชูประเด็นเรื่องการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ระหว่างวันที่ 30 เม.ย.- 4 พ.ค. ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ

เริ่มแล้วประชุม IPCC ถกรายงานโลกร้อนฉบับที่ 3 มุ่งเป้าลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ เตรียมสรุปรายงานสู่ชาวโลกในวันที่ 4 .พ.ค.พร้อมร่างแนวทางปฏิบัติของชาติสมาชิก รองปลัดกระทรวงทรัพย์ฯ ชี้รัฐบาลไทยต้องเฝ้าระวัง เกรงเวทีสากลอ้างตัวเลขไม่สมเหตุสมผล ผลักภาระและภาพลักษณ์ผู้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชาติเกษตรกรรมและกำลังพัฒนา แนะหากเป็นจริงอาจต้องรวมกลุ่มชาติที่เสียประโยชน์กดดันยูเอ็น


วันที่ 30 เม.ย.เป็นวันแรกของการประชุม ผู้แทนรัฐบาล นักวิชาการสิ่งแวดล้อม และนักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศมาร่วมงาน อาทิ นายราเชนทรา ปาจาอุรี ประธานไอพีซีซี และนายโอกันลาเด เดวิดสัน ประธานร่วมของไอพีซีซีฝ่ายกลุ่มทำงานที่ 3 ของไอพีซีซี
       
       ช่วงสัปดาห์นี้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ (ไอพีซีซี) มีวาระประชุมไอพีซีซีครั้งที่ 29 และประชุมคณะทำงานกลุ่มที่ 3 (WG 3) ครั้งที่ 9 เพื่อพิจารณากลั่นกรองรายงานเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนฉบับที่ 3 ซึ่งมีทั้งหมด 4 ฉบับ โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ของไทย ร่วมกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เป็นเจ้าภาพขึ้นระหว่างวันที่ 30 เม.ย.- 4 พ.ค. ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
       
       ทั้งนี้ในวันที่ 30 เม.ย.อันเป็นวันแรกของการประชุม ผู้แทนรัฐบาล นักวิชาการสิ่งแวดล้อม และนักวิทยาศาสตร์จากประเทศภาคีภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมงานราว 400 คน อาทิ นายราเชนทรา ปาจาอุรี (Rajendra Pachauri) ประธานไอพีซีซี และนายโอกันลาเด เดวิดสัน (Ogunlade Davidson) ประธานร่วมของไอพีซีซีฝ่ายกลุ่มทำงานที่ 3 หรือกลุ่มทำงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก


กรีนพีชประเทศไทย ร่วมรณรงค์การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนงานประชุมจะเริ่ม
       
       ก่อนเริ่มการประชุม กลุ่มกรีนพีซประเทศไทยนำโดยนายธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ และกลุ่มเยาวชนนานาชาติ"โซลาร์ เจเนเรชั่น" ได้เดินทางมายังบริเวณด้านหน้าของศูนย์ประชุมสหประชาชาติพร้อมเปิดตัวยานจำลองต้นแบบการใช้พลังงานสะอาดให้แก่สื่อมวลชนตลอดจนผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับชมกัน โดยหวังว่ายานจำลองต้นแบบดังกล่าวจะเป็นแนวทางสำคัญในการหยุดยั้งภาวะโลกร้อนได้
       
       อย่างไรก็ดี ภายหลังพิธีเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการ นายชาตรี ช่วยประสิทธิ์ รองปลัด ทส. ในฐานะประธานการเปิดงานฝ่ายไทย เผยว่า การประชุมวิชาการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นการศึกษาข้อมูลและผลการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกในช่วงที่ผ่านมาร่วมกันระหว่างนักวิชาการจากทั่วโลก โดยเน้นความสำคัญไปที่การเกิดสภาวะโลกร้อนและวิธีป้องกันและการจัดการกับปัญหาดังกล่าวใน 7 ด้านหลักๆ ด้วยกัน
       
       ทั้ง 7 ด้านดังกล่าว ได้แก่ ภาคการพลังงาน ภาคการคมนาคมและขนส่ง ภาคการบริการที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภาคป่าไม้ และภาคการจัดการของเสีย
       
       นายชาตรี เผยอีกว่า ภายหลังการประชุมตลอด 4 วันแล้ว ในวันที่ 4 พ.ค. ที่ประชุมจะได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวร่างบทสรุปสำหรับผู้กำหนดนโยบาย (Summary for Policy Makers: SPM) เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติพร้อมกำหนดวิธีการปฏิบัติให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ยึดถือเป็นหลักในการป้องกันและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนต่างๆ ด้วย ซึ่งประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิกต้องปฏิบัติตาม


นายชาตรี ช่วยประสิทธิ์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชี้ว่าหากไม่มีการเฝ้าระวังให้ดี ไทยอาจเสียประโยชน์จากเวทีการประชุมนี้
       
       อย่างไรก็ตาม จากการแถลงข่าวร่างบทสรุปยังถือเป็นโอกาสดีที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีสะอาดระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะเทคโนโลยีพลังงานทดแทน เนื่องจากถือเป็นเรื่องที่ต้องเอื้อกันเพราะต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์จากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ
       
       ทว่า จุดสำคัญที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญติดตามคือ ตัวเลขการประมาณการณ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อประเทศไทยโดยตรงในฐานะผู้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลก เนื่องจากหากไม่มีการเฝ้าระวังก็อาจเป็นการผลักภาระและภาพลักษณ์ของประเทศผู้ผลิตก๊าซเรือนกระจกมายังประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเกษตรกรรมได้ อาทิ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างคาร์บอนไดออกไซด์และไนโตรเจนไดออกไซด์ของภาคอุตสาหกรรม การใช้เตาหุงต้มแบบดั้งเดิมที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก และการปลูกข้าวซึ่งทำให้มีก๊าซมีเทนเกิดขึ้น
       
       ดังนั้นรัฐบาลไทย ประกอบด้วยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงจะต้องร่วมกันทำงานอย่างใกล้ชิดและไร้ช่องว่างเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ไม่ให้มีการคาดการณ์ตัวเลขดังกล่าวอย่างไม่สมเหตุสมผล โดยการเปรียบเทียบกับรายงานวิชาการของนักวิชาการไทยที่มีการจัดทำมาโดยตลอดอยู่แล้ว
       
       สำหรับรายงานของไทยชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีปริมาณปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่ยอมรับได้ และไม่น่าวิตกแต่อย่างใด คือ มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าประเทศมาเลเซียเล็กน้อย แต่มีปริมาณใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวและกัมพูชา
       
       นอกจากนั้น อีกมาตรการหนึ่งที่ใช้รับมือกับร่างบทสรุปดังกล่าวคือ การรวมกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนา (จี 77) และประเทศเกษตรกรรมชาติอื่นๆ รวมถึงจีน เพื่อเพิ่มน้ำหนักใช้ในการต่อรองกับร่างบทสรุปที่ได้จากการประชุม เพราะลำพังประเทศใดประเทศหนึ่งย่อมมีอำนาจต่อรองในเวทีโลกน้อยเกินไป


จาก    :     ผู้จัดการออนไลน์   วันที่   1 พฤษภาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #29 เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2007, 12:28:26 AM »


เวทีกรุงเทพฯเร่งทุกรัฐแก้โลกร้อน


คณะทำงานแก้ปัญหาโลกร้อนของยูเอ็นเปิดประชุมหาหนทางลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เตือนหากลงมือช้าเกินการณ์จะเสียค่าใช้จ่ายแพงลิ่ว ขณะเอ็นจีโอชี้ยังมีลู่ทางรับมือด้วยต้นทุนไม่สูง แต่ประเทศต่างๆ ต้องเลิกทะเลาะกันเสียที

เมื่อวันจันทร์ คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี)  ได้เปิดประชุมที่ศูนย์ประชุมของสหประชาชาติในกรุงเทพฯ  หลังจากได้ออกรายงานที่น่าวิตกเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนมาแล้ว  2  ฉบับ ซึ่งที่ประชุมอันประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนรัฐบาลกว่า 100 ประเทศจะเสนอแนวทางแก้ไขในวันศุกร์

ร่างรายงานที่กำลังเตรียมจะนำเสนอได้เตือนว่า   หากยังคงล่าช้าต่อไป  โอกาสในการแก้ปัญหาโดยมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่มากก็จะหมดไป  เนื่องจากมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ประธานไอพีซีซี  ราเชนทรา  ปาเชารี บอกกับผู้สื่อข่าวว่า วิทยาศาสตร์ได้ให้เหตุผลอันหนักแน่นมากมายว่าต้องมีการแก้ปัญหานี้   แต่เมื่อถูกถามว่าไอพีซีซีจะแปรรายงานให้เป็นการปฏิบัติในภาครัฐได้อย่างไร เขาตอบว่า ไอพีซีซีไม่มีอำนาจ อำนาจต้องมาจากที่อื่น

คาดกันว่าบรรดาประเทศที่ปล่อยก๊าซจำนวนมหาศาล  เช่น สหรัฐ จีน และผู้ผลิตน้ำมันอย่างซาอุดีอาระเบีย   จะเรียกร้องให้แก้ไขรายงานเพราะไม่ต้องการให้มีการตั้งเป้าในการลดการปล่อย  หรือส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ

คณะกรรมการด้านภูมิอากาศของยูเอ็นชุดนี้ได้ออกรายงานฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์  ระบุว่ามีความเป็นไปได้อย่างน้อย  90% ที่มนุษย์เป็นตัวการทำให้โลกร้อน รายงานฉบับที่สองเมื่อวันที่  6  เมษายนเตือนถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อนว่าจะเกิดภาวะอดอยาก  ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

บรรดากลุ่มสิ่งแวดล้อมวิงวอนให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ เลิกทะเลาะกัน "ภูมิอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนไป  มันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เรามีหนทางแก้ไขมากกว่าแต่ก่อน และไม่ได้ใช้เงินมากอย่างที่บางคนพยายามทำให้เราเข้าใจเช่นนั้น"  สตีเฟน  ซิงเกอร์ ผอ.แผนกนโยบายการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศแห่งกองทุนสัตว์ป่าโลก  (ดับบลิวดับบลิวเอฟ)  กล่าว

รายงานของไอพีซีซีประเมินว่า   การรักษาระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะทำให้จีดีพีของโลกลดลง  0.2%-3.0% ภายในปี 2573 ขึ้นอยู่กับว่าจะจำกัดการปล่อยก๊าซมากน้อยแค่ไหน การคำนวณบางแบบยังชี้ด้วยว่า จีดีพีอาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อยด้วยซ้ำหากมลพิษลดน้อยลง และผู้คนเจ็บป่วยเพราะการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยลง

ข้อสรุปของรายงานได้สนับสนุนการคำนวณของอดีตหัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก   นิโคลัส  สเติร์น  ซึ่งระบุเมื่อปีที่แล้วว่า หากลงมือลดการปล่อยก๊าซในวันนี้จะทำให้จีดีพีของโลกลดลง 1% แต่หากปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินต่อไปก็จะมีต้นทุนราว 5-20%

ขณะนี้มีการยื่นขอแก้ไขรายงานฉบับที่  3 นี้แล้วในกว่า 1,000 จุดในจำนวนความหนา 24 หน้าซึ่งเป็นบทคัดย่อสำหรับผู้กำหนดนโยบาย หลายประเทศบ่นว่าอ่านไม่รู้เรื่อง และเต็มไปด้วยศัพท์แสงทางวิทยาศาสตร์.


จาก    :    กองบรรณาธิการ  ไทยโพสต์   วันที่   1 พฤษภาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 18   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 20 คำสั่ง