กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 23, 2024, 05:24:25 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การดำน้ำ กับโรคเบาหวาน  (อ่าน 2817 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« เมื่อ: กันยายน 13, 2007, 03:49:19 AM »

เรื่องของเรื่องอยู่ที่กระทู้นี้ครับ http://www.siamscubadiving.com/board/view.php?tid=2467&cat=&PHPSESSID=37566af2555a34d9aa97267877a79f22

เห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอามาฝาก

โดยสรุปแล้วคือ

เบาหวาน เกิดจากอะไร ? เกิดจาก "ภาวะไม่สมดุลของฮอร์โมนอินซูลิน ผลลัพธ์ คือ น้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ"

เบาหวานเป็นโรคที่พบตั้งแต่โบราณ ท่านอาจเคยได้ยินได้ฟังมาก่อนว่า ถ้าชิมปัสสาวะคนไข้เบาหวานจะมีรสหวาน ก็เป็น เรื่องจริง เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลปนออกมาจากภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงท่วมท้น การกรองของไตออกมาแต่คงไม่ต้องลงทุนทำถึงขนาดนั้นนะครับ

โรคเบาหวาน คือ ภาวะการไม่สมดุลของฮอร์โมน ชื่อ อินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลใช้เป็นพลังงานต่อไป ที่ว่าไม่สมดุลก็คือมีน้อยไม่พอกับความต้องการ หรือมีไม่น้อย (อันที่จริงมากกว่าปกติเสียอีก) แต่ไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อผนังเซลได้เต็มที่ ผลก็ออกมาเหมือนกับน้อย คือพาน้ำตาลเข้าไปในเซลไม่ได้ ผลลัพธ์สุดท้าย คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ อันเป็นภาวะเป็นพิษ ต่อเนื้อเยื่อทั่วไปในร่างกายเมื่อต้องผจญกับภาวะน้ำตาลสูงอยู่เป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย สุขภาพอ่อนเพลีย

ทางการแพทย์เขาแบ่ง เบาหวานเป็น 2 ชนิด ครับ  ชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลิน และชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน และชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินมักเกิดขึ้นในเด็ก เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินมักเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ การรักษาแตกต่างกัน”

1. Diabetic type I  เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน มักเกิดขึ้นในเด็ก รูปร่างผอม เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ไม่สามารถใช้ยาเม็ดรับประทานได้

2. Diabetic type II เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน มักเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ รูปร่างอ้วน เนื่องจากอินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์ได้ดี ทำ ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การรักษาอาจเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก และใช้ยาเม็ดชนิดทานในขั้นต่อมา คนไข้ในกลุ่มนี้อาจต้องใช้ยาฉีดอินซูลินบางครั้งหรือตลอดไป ถ้าไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยยาเม็ด

การรักษาเบาหวาน มีอะไรบ้างอ่ะ

เริ่มต้นของคนไข้เบาหวานทุกคนก่อนได้รับการรักษาด้วยยาต้องควบคุมเรื่องอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอย่าให้มี รูปร่างอ้วน ต่อจากนั้นถึงมาตรการใช้ยา ซึ่งมี 2 พวกใหญ่ ๆ คือ ยาเม็ดเบาหวาน และยาฉีดอินซูลิน

คนไข้เบาหวานทั่วไปมักละเลยเรื่องของการคุมอาหาร การออกกำลังกาย โดยคิดว่าเมื่อทานยาแล้วก็คงหายจากโรค เหมือนโรคทั่วไปอย่างอื่น ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ไม่หายขาด แต่ถ้าควบคุมให้ดีคนไข้จะปราศจากโรคแทรกซ้อนหรือชะลออาการเกิดโรคแทรกซ้อนได้

การปฐมพยาบาลผู้ที่เป็นลมเนื่องจากน้ำตาลในเลือดต่ำ
การ์ตูนเรื่อง Dr.K ผู้ป่วยเบาหวานที่เดินๆ มาก็เป็นลมไปเฉยๆ กลางถนนเลย

การเป็นลมเกิดจากน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าเกิดอย่างกระทันหัน จะหน้ามืด หวิว ใจสั่น เป็นลม 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นก้อขณะมีอาการเป็นลม ควรให้การปฐมพยาบาล ผู้ป่วยดังนี้

(1) จับผู้ป่วยนอนศรีษะต่ำ ปลดเสื้อผ้าและเข็มขัดให้หลวม เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้เร็วและพอเพียง

(2) ห้ามคนมุงดู เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก

(3) ใช้ผ้าเย็นๆ เช็ดตามหน้า คอและแขนขา

(4) ขณะที่ยังไม่ฟื้นห้ามใช้น้ำและอาหารทางปาก

(5) เมื่อเริ่มรูสึกตัว อย่าให้ผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งทันทีควรให้พักต่ออีกสัก 15-20 นาที

(6) เมื่อผู้ป่วยฟื้นคืนสติแล้ว และเริ่มกลืนได้อาจให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ (ถ้ารู้สึกกระหายน้ำ) หรือให้ดื่มน้ำหวาน (ถ้ารู้สึกหิว)

(7) ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
+ผู้ป่วยไม่ฟื้นภายใน 15 นาที
+ผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 30 ปี
+มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
+มีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจหอบเหนื่อย ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดศรีษะ วิงเวียน
+ตาเห็นภาพซ้อน พูดอ้อแอ้ กลืนลำบาก เดินเซ หรือแขนขาชา หรืออ่อนแรง
+มีอาการตกเลือด เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ มีบาดแผลเลือดออก เป็นต้น
+ มีภาวะขาดน้ำ อาเจียนรุนแรง ท้องเดินรุนแรงหรือไข้สูง

การป้องกันไม่ให้มีอาการเป็นลมซ้ำ ผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้

1. หลีกเลี่ยงเหตุกระตุ้น เช่น อดนอน อดข้าว อยู่ในที่แออัดหรือร้อนอบอ้าว การใส่เสื้อคอคับ เป็นต้น
2. ดื่มน้ำให้มากๆ อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ
3. ลุกจากท่านอนอย่างช้าๆ ควรลุกนั่งพักสักครู่ก่อนจะลุกขึ้นยืน
4. ถ้าเกิดจากโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
กินยาและติดตามรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่องแต่ถ้าเป็นโรคในระยะรุนแรง ก็อาจมีอาการเป็นลมซ้ำซากได้

ตามต้นฉบับ สรุปคือ

ผู้วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่อาจเกิด hypoglycemic ระหว่างดำน้ำ อาจทำให้ หมดสติโดยไม่รู้ตัว เพราะสัญญาณเตือนล่วงหน้าจะสังเกตได้ยาก  รวมถึงสภาวะการไหลเวียนโลหิต และร่างกายที่ไม่ทนต่อการออกกำลังหนักๆ ทำให้เกิดอันตรายในขณะดำน้ำได้

แต่เนื่องจากพบว่าน้ำดำน้ำที่เป็นเบาหวานยังไม่มีใครเกิดอาการ hypoglycemic ในระหว่างน้ำดำ ทาง BSAC ก็เลยมีการเปลี่ยนแปลงระเบียบใหม่ อนุโลมให้ผู้ที่เป็นเบาหวาน ซึ่งสามารถควบคุมอาการเบาหวานของตนเองได้ สามารถดำน้ำได้ แต่ต้องมีการวางแผนดำน้ำเพิ่มเติม

ขอขอบคุณ คุณนลกุพร ที่จุดประเด็นนี้ขึ้นมา  พี่ batty ที่ช่วยหาข้อมูลให้ และเพื่อน ๆ ใน SSD ที่ช่วยกันถาม ช่วยกันตอบ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง