กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 19, 2024, 06:38:45 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เลี้ยงกุ้งมังกร 7 สีในกระชัง สดสวยรสชาติอร่อย รายได้สุดยอด  (อ่าน 14056 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: กันยายน 25, 2007, 12:19:48 AM »


เลี้ยงกุ้งมังกร 7 สีในกระชัง สดสวยรสชาติอร่อย รายได้สุดยอด


 
กุ้งมังกร...เป็นกุ้งตัวขนาดเขื่องความยาวตั้งแต่ 20-70 เซนติเมตร และสีสันแปลกตาสวยงามไม่น้อย..!!!

อุปนิสัยของกุ้งทะเลเผ่าพันธุ์นี้ ชอบอยู่ตามพื้นซึ่งมีโขดหินและบริเวณรอบเกาะ ที่มีปะการังหนาแน่น โดยเฉพาะที่หมู่เกาะพีพี เกาะไม้ท่อน ภูเก็ต และบริเวณกลางอ่าวไทย ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ และมีชื่อหลากหลาย เช่น มังกรหัวเขียว หัวโขนเขียว มังกรปะขาว หัวโขนปะขาว ฯลฯ นักวิชาการให้ชื่อสามัญว่า PAINTED SPINY LOBSTER และชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Panulirus vesicolor

ปัจจุบันกุ้งมังกรในธรรมชาติเริ่มหายากขึ้นและเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ไม่ทันต่อความต้องการ กลุ่มชาวประมงบ้านช่องหลาด ต.เกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว จ.พังงา จึงนำมาเลี้ยงไว้ในกระชังเพื่อให้ได้ขนาดก่อนออกจำหน่าย



นางรัตนา เพชรรักษ์ อายุ 40 ปี 1 ในสมาชิก 66 รายที่เลี้ยงกุ้งมังกรบ้านช่องหลาด เล่าว่า...ชาวประมงที่บ้านช่องหลาดนิยมเลี้ยงกุ้งมังกรสายพันธุ์ 7 สี ด้วยกระชังกลางทะเล...

เมื่อครั้งที่เกิด “สึนามิ” กระชังเราก็พังพินาศล่มจมจนแทบจะเลิกท่าล่าถอยกัน ต่อมากรมประมงได้ชุบชีวิตให้เงินสนับสนุนกลุ่มละ 1 ล้านบาท เลยทำให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่

ด้วยทรัพยากรธรรมชาติเอื้ออำนวย วิธีการเลี้ยงจึงไม่ยุ่งยาก เพียงนำกระชังวางในทะเลแล้วสั่งซื้อลูกกุ้งขนาด 3-5 นิ้ว ราคาตัวละ 200-300 บาท จากชาวประมงที่ออกไปจับมาจากทะเลนำมาเลี้ยงในกระชังละประมาณ 50 ตัว ขนาดกระชัง 3x3 เมตร

ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 1 ปี จะต้องคอยสังเกตสภาพน้ำทะเลและอากาศ หากมีสิ่งผิดปกติหรือแปรปรวน เราก็ต้องมาคอยดูแลไม่ให้กุ้งช็อกน้ำ หรือหลุดออกไปสู่ทะเล

เทคนิคอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ กุ้งมังกรมีขนาดตัวโตและสีสันสวยงาม ช่วงเวลาเช้าจะยกกระชังขึ้นจากน้ำ เพื่อให้กุ้งดีดตัวไปมาเป็นการออก กำลังกาย แค่วันละ 10 นาที

จากนั้นจึงให้อาหารที่นำมาจากธรรมชาติ เช่น พวกหอยกะพง ปลาขนาดเล็กๆที่สามารถหามาได้เอง จำพวกปลาข้างเหลือง เป็นต้น...

เมื่อกุ้งมังกรมีขนาดโตเต็มที่ทำรายได้สร้างกำไรให้เป็นอย่างดี...ผู้ซื้อจากห้องอาหารโรงแรม รีสอร์ตหรือภัตตาคาร จะมาซื้อหาถึงกระชังกลางทะเลเลยทีเดียว สนนราคาอยู่ที่ต่ำสุดกิโลกรัมละ 800 บาท และสูงสุดถึง 10,050 บาท...

...สนใจจะไปเยี่ยมชมหรือไปซื้อ ลองโทร.ติดต่อคุณรัตนา เบอร์ 08-6949-2592.

 
 
จาก              :            ไทยรัฐ    วันที่ 25 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 25, 2007, 02:47:23 AM »

 
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
zmax
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 361



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 25, 2007, 03:58:13 AM »

อ้าว......สรุปก็คือยังคงต้องไปจับกุ้งตามธรรมชาติมาอีกอยู่ดี  นึกว่ามันจะมีแบบเพราะได้ซะอีก
งี้ก็ทำให้จำนวนกุ้งลดลงเหมือนเดิมแหละ.......
บันทึกการเข้า

Defend our territory,.. Defend our sea!!
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 25, 2007, 04:40:58 AM »

ทราบว่ามีการเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรได้แล้วค่ะ แต่ประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการเพาะฟักกุ้งมังกรได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและอัฟริกาเท่านั้น ส่วนในประเทศไทยการเลี้ยงกุ้งมังกรในเชิงพานิชย์ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากกุ้งมังกรมีระยะวัยอ่อนค่อนข้างยาวนาน จึงไม่สามารถอนุบาลลูกกุ้งวัยอ่อนให้รอดและเจริญเติบโตในบ่อเพาะฟักได้  จึงยังคงมีการนำลูกกุ้งที่หาได้จากแหล่งธรรมชาติ แล้วนำมาเลี้ยงให้ได้ขนาดเพื่อขาย

 
มีบทความเรื่องการเลี้ยงกุ้งมังกรจาก www.nicaonline.com สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรมประมง มาให้อ่านค่ะ





กุ้งมังกร (SPINY LOBSTER)
สุจิตรา จันทร์เมือง (ผู้เรียบเรียง)

-------------------------------------------------------------------------------

     
กุ้งมังกรเป็นกุ้งทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในครอบครัว Palinuridae พบมากทางชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ด้านทะเลอันดามัน ตั้งแต่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล คนทั่วไปมักเรียกชื่อกุ้งชนิดนี้ว่า "กุ้งหัวโขน" ทั้งนี้เพราะลักษณะเด่นของส่วนหัวของกุ้งมังกรมีสีสันลวดลายสวยงาม
     
กุ้งมังกรหรือกุ้งหัวโขนเป็นสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพสูงในอนาคต นับเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากความต้องการของตลาดมีมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีราคาค่อนข้างแพง นอกจากจะใช้บริโภคเป็นอาหารแล้ว ยังใช้ทำเครื่องประดับตกแต่งบ้านและเลี้ยงไว้ในตู้ปลาสวยงามได้อีกด้วย

ลักษณะรูปร่าง
     
กุ้งมังกรจะมีขนาดใหญ่กว่ากุ้งชนิดอื่นมาก มีกระดองรูปทรงกระบอก หนวดคู่ที่สองยาวกว่าความยาวของลำตัวมาก โคนหนวดคู่ที่สองไม่อยู่ติดกัน บนแผ่นกลางหนวดมีหนามขนาดใหญ่อยู่ปลายสุด 1 คู่ อยู่ตรงแนวกลางของโคนหนวดคู่ที่ 1 โคนละ 1 หนาม ปล้องท้องเรียบไม่มีร่องขวางกลางปล้อง ขอบท้ายของปล้องท้องมีลายสีครีมขวางทุกปล้อง พบทั่วไปตามหาดโคลนทั้งทางด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

ชนิด
     
ในน่านน้ำของประเทศไทยมีกุ้งมังกรอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น P.ornatus, P.polyphagus, P. longipes, P.versicolor, P.homarus, P.penicillatus, P.dasypus ฯลฯ แต่ชนิดที่พบบ่อยมีอยู่ 3 ชนิดคือ

- กุ้งมังกรประขาว , หัวโขนประขาว , กุ้งมังกรแดง (PURPLISH BROWN SPINY LOBSTER Panulirus longipes) เป็นกุ้งทะเลที่มีขนาดใหญ่ สวยงามมาก สีบริเวณลำตัวมีสีเทาหม่นอมน้ำตาล มีแถบขาวขวางตามปล้องลำตัวและขาเดิน หนวดคู่ยาวจะมีความยาวเป็น 2 เท่าของลำตัว บริเวณหัวจะมีหนามแหลมๆ เต็มไปหมด หนามคู่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่หลังตา อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งกุ้งชนิดนี้จะอยู่ที่พื้นหน้าดินเป็นโคลน หรือโคลนปนเปลือกหอย มักจะชอบซ่อนตัวตามซอกหินกินอาหารพวกสัตว์น้ำเล็กๆ ซึ่งเกาะอยู่ตามตะไคร่น้ำ มีความยาวประมาณ 18-30 ซม.

- กุ้งมังกรประขาว , หัวโขนประขาว , กุ้งมังกรแดง (PURPLISH BROWN SPINY LOBSTER Panulirus longipes) เป็นกุ้งทะเลที่มีขนาดใหญ่ สวยงามมาก สีบริเวณลำตัวมีสีเทาหม่นอมน้ำตาล มีแถบขาวขวางตามปล้องลำตัวและขาเดิน หนวดคู่ยาวจะมีความยาวเป็น 2 เท่าของลำตัว บริเวณหัวจะมีหนามแหลมๆ เต็มไปหมด หนามคู่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่หลังตา อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งกุ้งชนิดนี้จะอยู่ที่พื้นหน้าดินเป็นโคลน หรือโคลนปนเปลือกหอย มักจะชอบซ่อนตัวตามซอกหินกินอาหารพวกสัตว์น้ำเล็กๆ ซึ่งเกาะอยู่ตามตะไคร่น้ำ มีความยาวประมาณ 18-30 ซม.

- กุ้งมังกรประเหลือง ,หัวโขนประเหลือง, กุ้งมังกรยักษ์ (YELLOW-RING SPINY LOBSTER Panulirus ornatus) ลำตัวสีน้ำทะเล มีจุดสีส้มประปราย บริเวณเปลือกหัวมีลักษณะแข็งมาก ขาเดินจะมีแถบสีเหลืองคาดขวางลำตัว มีขีดสีเหลืองสั้น 2 ขีด อยู่ด้านข้างของปล้องลำตัว อาศัยอยู่ตามโพรงหิน โพรงปะการัง แต่อยู่ในระดับน้ำลึก และกระแสน้ำค่อนข้างเชี่ยว พบทั่วไปตามบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย กินอาหารพวกหอยและสัตว์น้ำที่อยู่ตามพื้นทะเล มีความยาวประมาณ 20-40 ซม.

การเจริญเติบโต
     
กุ้งมังกรเป็นกุ้งที่เติบโตช้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ การเจริญเติบโตใช้วิธีการลอกคราบในขณะที่อยู่ในวัยอ่อน จะมีการลอกคราบบ่อยครั้ง คือประมาณอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง กว่าจะโตเต็มที่ต้องใช้เวลาประมาณ 5-7 ปี

การเพาะพันธุ์
     
ประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการเพาะฟักกุ้งมังกรได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและอัฟริกาเท่านั้น ส่วนในประเทศไทยการเลี้ยงกุ้งมังกรในเชิงพานิชย์ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากกุ้งมังกรมีระยะวัยอ่อนค่อนข้างยาวนาน จึงไม่สามารถอนุบาลลูกกุ้งวัยอ่อนให้รอดและเจริญเติบโตในบ่อเพาะฟักได้ กุ้งมังกรที่เลี้ยงจึงเป็นกุ้งที่หาได้จากแหล่งธรรมชาติ แล้วนำมาเลี้ยงให้ได้ขนาดต่อไป

การเลี้ยงกุ้งมังกร
     
การเลี้ยงกุ้งมังกรในบ่อซีเมนต์   บ่อที่ใช้เลี้ยงเป็นบ่อซีเมนต์กลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 130 ซม.ลึก 80 ซม.ระดับน้ำที่เลี้ยง 35 ซม. น้ำที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำทะเลสดพักไว้ในบ่อพักน้ำแล้วปล่อยให้ไหลลงบ่อเลี้ยงตลอดเวลา (over flow) พร้อมทั้งให้ฟองอากาศ ที่กลางบ่อมีท่อ PVC เจาะรูขนาดเล็กโดยรอบเพื่อให้น้ำและเศษอาหารเหลือไหลผ่านออกไปได้ ควบคุมระดับน้ำด้วยท่อน้ำล้นนอกบ่อ

แต่ละบ่อทดลองใส่ท่อ PVC สั้นๆ เพื่อเป็นที่หลบซ่อน ความเค็มของน้ำอยู่ในช่วง 29-31 ppt อุณหภูมิของน้ำในบ่อเลี้ยงประมาณ 29.0-34.5 องศาเซลเซียส กุ้งมังกรที่เลี้ยงมี 3 ชนิด คือ Panulirus ornatus,Panulirus homarus และ Panulirus polyphagus เป็นกุ้งมังกรวัยรุ่นมีขนาด CL เฉลี่ย 51.06-54.38 มม.(carapace lengh (CL) =ระยะจากกึ่งกลางหนามคู่หน้าถึงปลายสุดกึ่งกลาง carapace) ปล่อยกุ้งบ่อละ 4 ตัว เนื่องจากถ้าปล่อยกุ้งแน่นเกินไปจะแย่งที่อยู่และอาหารกัน ขณะเดียวกันพฤติกรรมการกินกันเอง (canibalism) ก็จะเกิดมากขึ้นด้วย แต่ถ้าปล่อยเลี้ยงตัวเดียวในบ่อ อัตราการเจริญเติบโตจะลดลง ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งมังกรคือปลาเป็ดสับเป็นชิ้นเล็กๆ ให้วันละ 2 ครั้ง ในเวลา 6 เดือน กุ้งมังกร Panulirus ornatus มีอัตรารอด 77 เปอร์เซ็นต์,Panulirus homarus 78 เปอร์เซ็นต์ และ Panulirus polyphagus 39 เปอร์เซ็นต์
     
การเลี้ยงกุ้งมังกรในกระชัง  นำกุ้งมังกรขนาดเท่านิ้วก้อย มาอนุบาลในกระชังตาถี่ก่อน อาหารของกุ้งมังกรขนาดเล็กจะเป็นพวกหอยแมลงภู่บดหรือสับให้ละเอียดโรยให้วันละ 1 มื้อ บริเวณที่เลี้ยงต้องมีน้ำขึ้นน้ำลงตลอด และเป็นที่น้ำไหล ไม่มีคลื่น เมื่ออนุบาลลูกกุ้งมังกรได้ 2 เดือน จะได้ขนาด 200 กรัม จึงย้ายมาไว้ในกระชังรวมได้ กระชังมีขนาด 2.5x2.5 เมตร ลึกประมาณ 2 เมตร ปล่อยลูกกุ้งมังกรประมาณ 50 ตัว/กระชัง

อาหารของกุ้งมังกรในระยะนี้จะเป็นปลาเป็ดหรือหอยแมลงภู่มีชีวิตทั้งเปลือก วันละ 1 ครั้ง และเมื่อเลี้ยงในกระชังเป็นเวลานาน กระชังจะมีหอย,เพรียง,สาหร่าย และสัตว์น้ำอื่นๆ เกาะติด ซึ่งจะกลายเป็นอาหารธรรมชาติของกุ้งต่อไป นอกจากนี้ ต้องปิดกระชังด้านบนด้วยเนื้ออวน เพื่อป้องกันกุ้งมังกรไต่หลบหนีออกจากระชัง ถ้าใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 8-9 เดือน จะได้กุ้งมังกรขนาด 0.8-1.0 กก.

เอกสารอ้างอิง

ไวยพจน์ เครือเสน่ห์. 2541. การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งมังกรในกระชัง เอกสารวิชาการฉบับที่ 2/2541 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลฝั่งอันดามัน อำเภอถลาง ภูเก็ต 18 หน้า.

ไวยพจน์ เครือเสน่ห์. 2541. การเจริญเติบโตและอัตรารอดของกุ้งมังกรวัยรุ่น สกุล Panulirus spp. ที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เอกสารวิชาการฉบับที่ 3/2541 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลฝั่งอันดามัน อำเภอถลาง ภูเก็ต 15 หน้า.

สมพงษ์ ดุลย์จินดาชบาพร และ ปกรณ์ ประเสริฐวงษ์. 2528. การศึกษาพัฒนาการเบื้องต้นของ ตัวอ่อนกุ้งมังกร,Panulirus polyphagus. เอกสารงานวิจัยฉบับที่ 09/2528 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางเขน 11 หน้า.

กองบรรณาธิการ. 2545. เลี้ยงกุ้งมังกรในกระชัง. นิตยสารคัมภีร์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปีที่ 2 ฉบับที่ 13 หน้า 89-92.

สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. 2540. ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 325 หน้า.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 25, 2007, 04:48:07 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 25, 2007, 05:28:34 AM »

ข่าวไม่ได้แจ้งว่า....ที่ญี่ปุ่นและอัฟริกามีวิธีการเพาะฟักและเลี้ยงกุ้งอย่างไรจึงอยู่รอดได้.....

เขาใช้เวลาเพาะฟักน้อยกว่า..... หรือ....ไม่ใช้บ่อเพาะเลี้ยง....หรือ ฯลฯ   

ใครทราบช่วยบอกหน่อยนะคะ....ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ....
บันทึกการเข้า

Saaychol
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 25, 2007, 05:48:59 PM »

เท่าที่ทราบคือไม่มีที่ไหนทำการผลิตลูกพันธุ์กุ้งมังกรจากโรงเพาะฟักเพื่อนำไปเลี้ยงได้สำเร็จในระดับการเลี้ยงเชิงพาณิชย์นะคะ..
ที่ว่าทำได้อาจเพาะฟักและเลี้ยงลูกกุ้งได้จำนวนหนึ่ง แต่เนื่องจากลูกกุ้งมังกรมีระยะการดำรงชีวิตในระยะวัยอ่อนยาวนานมาก การที่จะเลี้ยงหรืออนุบาลจนโต ผลิตลูกกุ้งให้ได้จำนวนมากให้สามารถนำไปเลี้ยงต่อเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์นั้น คงจะทำได้ยากค่ะ เพราะยิ่งต้องเลี้ยงนาน อัตราการรอดตายก็จะลดต่ำลงเรื่อยๆ และไม่มีความคุ้มทุน

ได้ลองค้นเพิ่มเติมจาก websites มีแต่ข้อมูลยืนยันคล้ายๆ ที่แม่หอยสรุปแล้ว คือแม้ทำได้แต่ยังไม่สำเร็จระดับพาณิชย์ค่ะ มีบทความ Shrimp News International บทความหนึ่งลงเรื่องสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านการเลี้ยงกุ้งมังกร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 นี้เอง (จาก  http://shrimpnews.com/FreeNewsBackIssues/FreeNewsMay200718.html ).. เขาว่า While some progress has been made in improving spiny lobster larval culture techniques in recent years, the larval technology is still not commercially reliable or economically feasible at this point.   แม้จะมีความคืบหน้าในการพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงลูกกุ้งมังกรวัยอ่อนได้ดีขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แต่เทคนิคการเลี้ยงตัวอ่อนก็ยังไม่มีความแน่นอนหรือคุ้มค่าในระดับพาณิชย์ ฯลฯ

หากมีข้อมูลคืบหน้ากว่านี้จะนำมาเล่าให้ฟังนะคะ

บันทึกการเข้า
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 26, 2007, 06:02:00 AM »

ขอบคุณน้องแม่หอยสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ.....

ที่นี้เข้าใจชัดแจ้งแล้วค่ะว่าจริงๆแล้วการเพาะกุ้งมังกร (เพื่อการศึกษา) ทำได้มาหลายปีแล้ว  แต่ไม่มีที่ใดที่ทำการเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรในเชิงพาณิชย์เพราะไม่คุ้มทุนค่ะ....



 
บันทึกการเข้า

Saaychol
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.026 วินาที กับ 20 คำสั่ง