เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 02-06-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,403
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 1 - 2 มิ.ย. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 3 ? 7 มิ.ย. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 2 มิ.ย. 65 สำหรับประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ตลอดช่วงไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "คลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน" ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 02 มิถุนายน 2565

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง โดยเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 02-06-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,403
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


"หาดจอมเทียน" โฉมใหม่ ไร้เตียงผ้าใบ ให้ฟีลเหมือนอยู่ไมอามี


ภาพจากในคลิปของผู้ใช้ TikTok ชื่อบัญชี @big_m9126

สวยแปลกตา "หาดจอมเทียน" พัทยา จ.ชลบุรี โฉมใหม่ ที่มีการปรับปรุงทัศนียภาพใหม่ ไร้เตียงผ้าใบและร่มหลากสี นักท่องเที่ยวนิยมมาปูผ้านอนอาบแดด จนหลายคนยกฉายา "ไมอามีเมืองไทย" ให้

ผู้ใช้ TikTok ชื่อบัญชี @big_m9126 โพสต์คลิปภาพความแปลกตาของชายหาดจอมเทียน จ.ชลบุรี พร้อมลงข้อความในคลิปว่า "หาดจอมเทียน แบบใหม่ แบบสับ" ก่อนที่ชาวโซเชียลจะแห่แชร์คลิปดังกล่าวออกไปจำนวนมาก

โดยบรรยากาศของหาดจอมเทียนในวันนี้มีทัศนียภาพที่สวยแปลกตาไป เริ่มจากบริเวณชายหาดไม่มีเตียงผ้าใบและร่มหลากสีมาตั้งแล้ว ทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวนำผ้าปูชายหาดมาปูนั่ง-นอนอาบแดด

รวมถึงบริเวณถนนเลียบชายหาด ได้มีร้านสตรีทฟู้ดมาตั้งขายมากมาย ให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อของกินมานั่งชิลตากอากาศบริเวณชายหาด

ซึ่งภาพบรรยากาศของชายหาดจอมเทียนที่ไม่มีเตียงผ้าและร่มหลากสีทำให้ดูสะอาดตา และนักท่องเที่ยวมาปูผ้าใบนั่งกันแบบนี้ มองดูแล้วคล้ายกับ "ชายหาดไมอามี" รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เลยทีเดียว


https://mgronline.com/travel/detail/9650000052051

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 02-06-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,403
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


พบพืชใหญ่สุดในโลก นอกชายฝั่งออสซี่ ราว 200 ตร.กม. อายุ 4,500 ปี



วันที่ 1 มิ.ย. บีบีซี รายงานการค้น พบพืชใหญ่สุดในโลก เท่าที่รู้จักมา นอกชายฝั่งออสเตรเลีย พืชดังกล่าวเป็นหญ้าทะเลที่ใหญ่กว่าราว 3 เท่า ของเขตแมนแฮตตันของนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลียใช้การทดสอบทางพันธุกรรม ระบุว่า ทุ่งหญ้าใต้น้ำที่ใหญ่ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ความจริงแล้วเป็นพืชชนิดหนึ่ง เป็นที่เชื่อว่าขยายพันธุ์จากเมล็ดพันธุ์เมล็ดเดียวเป็นเวลาอย่างน้อย 4,500 ปี

ทีมนักวิจัยบังเอิญค้นพบหญ้าทะเลดังกล่าวซึ่งปกคลุมพื้นที่ราว 200 ตารางกิโลเมตร ที่อ่าวชาร์ก ห่างจากนครเพิร์ธไปทางเหนือราว 88 กิโลเมตร จึงทำความเข้าใจความหลากหลายทางพันธุกรรมของหญ้าทะเล หรือ "วัชพืชริบบิ้น" ซึ่งพบทั่วไปตามส่วนต่างๆ ชายฝั่งออสเตรเลีย

ทีมนักวิจัยรวบรวมหน่อของพืชจากทั่วอ่าวชาร์กและตรวจสอบ 18,000 เครื่องหมายทางพันธุกรรม เพื่อสร้างรอยนิ้วมือจากแต่ละตัวอย่าง เพื่อค้นหาจำนวนพืชทั้งหมดในทุ่งหญ้าใต้น้ำ

เจน เอดเลอ ผู้เขียนการศึกษาดังกล่าว ระบุว่า ?คำตอบทำให้เราประหลาดใจ มีเพียงหนึ่งเดียว ?เพียงเท่านั้น พืชเพียงชนิดขยายพันธุ์ไปไกล 180 กิโลเมตรในอ่าวชาร์ก จึงเป็นพืชที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่รู้จักมา?

พืชดังกล่าวยังมีความโดดเด่นในความแข็งแกร่ง เติบโตในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วอ่าวที่มีสภาพแปรปรวนอย่างดุเดือด

ดร.เอลิซาเบธ ซินแคลร์ หนึ่งในทีมนักวิจัยกล่าวว่า "ดูจะมีความยืดหยุ่นมาก ต้องเผชิญกับอุณหภูมิและความเค็มหลากหลาย รวมถึงสภาพแสงสูงมาก เมื่อรวมกันแล้วจะเกิดความเครียดสูงสำหรับพืชส่วนใหญ่"

ปกติแล้วพืชชนิดนี้จะเติบโตเหมือนสนามหญ้าในอัตราสูงถึง 35 เซนติเมตรต่อปี ซึ่งเป็นวิธีการที่นักวิจัยประเมินเวลา 4,500 ปี ในการแพร่พันธุ์จนขนาดครอบคลุม 180 กิโลเมตรอย่างในปัจจุบัน

การวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the Royal Society B


https://www.khaosod.co.th/around-the...s/news_7089450

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 02-06-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,403
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


เช็ก!อัตราค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานใหม่เริ่ม 7 มิ.ย.นี้

กรมอุทยานฯ ประกาศจัดเก็บค่าเข้าอุทยานแห่งชาติอัตราใหม่มีผลวันที่ 7 มิ.ย.นี้ แบ่ง 4 กลุ่มราคาแตกต่างกัน เฉพาะกลุ่มที่ 4 มีอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา คนไทยเก็บ 100 บาทต่างชาติเด็ก 250 บาท ผู้ใหญ่ 500 บาท



วันนี้ (1 มิ.ย.2565) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแจ้งการปรับอัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติใหม่ ที่จะเริ่มใช้วันที่ 7 มิ.ย.นี้ ซึ่งเป็นไประเบียบกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ว่าด้วยการเรียกเก็บและการยกเว้นค่าบริการหรือค่าตอบแทน และอัตราค่าบริการหรือค่าตอบแทนในการให้บริการ และการอำนวยความสะดวกในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติ พ.ศ.2564

สำหรับรายละเอียดการปรับค่าธรรมเนียมใหม่ มีการจัดเก็บออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท มีจำนวน 67 อุทยาน เช่น อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ออบหลวง ขุนน่าน เขาสิบห้าชั้น ทับลาน ภูผาม่าน ภูลังกา แก่งกรุง น้ำตกหงาว เขาน้ำค้าง เขาหลัก-ลำรู่

กลุ่มที่ 2 เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท มี 55 อุทยาน เช่น กุยบุรี เขาแหลม เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ผาแต้ม ภูเวียง เขาสก สิรินาถ หาดเจ้าไหม หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ขุนพะวอ ดอยภูคา

กลุ่มที่ 3 เด็ก 30 บาท ผู้ใหญ่ 60 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 150 บาท ผู้ใหญ่ 300 บาท มี 9 อุทยานดังนี้ ดอยผ้าห่มปก ดอยอินทนนท์ ธารโบกขรณี อ่าวพังงา เขื่อนศรีนครินทร์ ไทรโยค เอราวัณ และแก่งกระจาน

กลุ่มที่ 4 เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 250 บาท ผู้ใหญ่ 500 บาท มี 2 แห่งคือ หมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา

ส่วนการจัดเก็บค่ารถเข้าอุทยานมีดังนี้ รถยนต์ 4 ล้อ 30 บาทต่อคัน รถจักรยานยนต์ 20 ต่อคัน


https://news.thaipbs.or.th/content/316178

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 02-06-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,403
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


"ทบทวน ด่วนที่สุด" จากกรมทะเล ถึงกรมโยธา "กำแพงกันคลื่น หาดแม่รำพึง"

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งส่งหนังสือ ?ด่วนที่สุด? ถึงกรมโยธาธิการและผังเมือง ?ขอให้ทบทวนโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึง? ชี้ ?กระทบระบบนิเวศทะเลไม่คุ้ม-ชาวบ้านกังวล?

จับตาเวทีรับฟังความเห็นที่กรมโยธาฯ กำหนดจัดในพื้นที่ 11 มิถุนายน 2565


(ภาพ : พัฒน์_HS7WMU CHANNEL)

หนังสือด่วนที่สุด ขอให้ทบทวน

"เรื่อง ขอให้ทบทวนโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เรียน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง (กรมโยธาฯ)

ด้วยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช. หรือ กรมฯ) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายประชาชน Save หาดแม่รำพึง ขอให้กรมฯ ดำเนินการตรวจสอบและยกเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ซึ่งผู้ร้องเรียนมีข้อกังวลต่อการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดแม่รำพึง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งอาจจะส่งผลกระบต่อชายหาด ระบบนิเวศน์ และวิถีชีวิตดั้งเดิมขอองประชาชนแม่รำพึง

กรมฯ ตรวจสอบพื้นที่ดำเนินโครงการฯ พบว่าหาดแม่รำพึงตั้งอยู่ในระบบหาดบางสะพาน ความยาวชายฝั่งปประมาณ 4.50 กม. เป็นพื้นที่สมดุล จัดอยู่ในแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝึ่งของกรมมฯ 2 แนวทาง คือ การปรับสมดุลชายฝั่งโดยธรรมชาติ และการฟื้นฟูเสถียรภาพชายฝั่ง

เป็นการคงไว้ซึ่งกระบวนการชายฝั่งตามธรรมชาติ เพื่อให้ชายฝั่งฟื้นคืนสภาพธรรมชาติด้วยตนเอง โดยสามารถดำเนินการโครงการในรูปแบบที่สอดคล้อง หรือเลียนแบบธรรมชาติ เช่นการกำหนดพื้นที่ถอยร่น การถ่ายเททราย การเติมทราย การปลูกป่าชายหาด และการปักเสสาดักตะกอน เป็นต้น

ดังนั้นการดำเนินโครงการดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับแนวทางป้องกันแและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของกรมฯ

อย่างไรก็ตาม ประเด็นตามข้อกังวลและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากมีการดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดแม่รำพึงฯ ของเครือข่ายประชาชน Save หาดแม่รำพึง

กรมโยธาฯ ควรตระหนักถึงผลกระทบ และพิจารณาการดำเนินโครงการอย่างรอบคอบ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 เรื่องแนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และมติคณะกรรมการนโยบายแและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 เรื่องหลักเกณฑ์ประกอบการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

จึงขอให้กรมโยธาฯ โปรดพิจารณาทบทวนการดำเนินการโครงการฯ ดังกล่าว

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ขอแสดงความนับถือ"

โสภณ ทองดี อธิบดี ทช. ส่งจดหมายประทับ "ด่วนที่สุด" ที่ ทส 0404/1466 เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา ถึงอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง (ยผ. หรือ กรมโยธาฯ)


(ภาพ : ทช.)

แจ้งชาวบ้าน "ขอให้ทบทวนแล้ว-ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหาด-ทะเลเพียบ"

"ตามที่ท่านและเครือข่ายประชาชน Save หาดแม่รำพึง ได้มีหนังสือร้องเรียน ขอให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินการตรวจสอบและยกเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล หาดแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากมีข้อกังวลเกี่ยวกับการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดแม่รำพึง ของกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้น

จากการตรวจสอบข้อมูลและสถานภาพชายฝั่งประจำปี พ.ศ.2563 พบว่า ชายหาดแม่รำพึงตั้งอยู่ในระบบหาดบางสะพาน ความยาวชายฝั่งปประมาณ 4.50 กม.ซึ่งเป็นพื้นที่ดำเนินเป็นพื้นที่มความสมดุล

ในปี 2562 หาดแม่รำพึงเคยได้รับผลกระทบจากพายุปลาบึก จนทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝึ่งง แต่ในปัจจุบันไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากชายหาดได้ฟื้นตัวและปรับสภาพเข้าสู่คความสมดุลแล้ว

นอกจากนี้ จากการสำรวจพบกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง มีสภาพเสียหายความยาว 110 เมตร สูง 50-70 ซม. อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อชายฝั่งบริเวณด้านหลังกำแพงได้

จึงเห็นควรให้มีการดำเนินการรื้อถอนเศษซากกำแพงออกจากพื้นที่ ทั้งนี้ หาดแม่รำพึงจัดอยู่ในแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝึ่งของ ทช. 2 แนวทาง คือการปรับสมดุลชายฝึ่งฟื้นคืนสภาพธรรมชาติด้วยตนเอง โดยสามารถดำเนินการโครงการในรูปแบบที่สอดคล้อง หรือเลียนแบบธรรมชาติ เช่นการกำหนดพื้นที่ถอยร่น การถ่ายเททราย การเติมทราย การปลูกป่าชายหาด และการปักเสสาดักตะกอน เป็นต้น

จากการสำรวจหาดแม่รำพึง มีลักษณะเป็นหาดโคลนปนทราย (ทรายขี้เป็ด)) ชายหาดมีความลาดชันต่ำ ในช่วงเวลาน้ำลง ชายหาดมีความกว้างมาก ช่วงน้ำขึ้นความกว้างของชายหาดประมาณ 20 เมตร โดยพื้นที่ดังกล่าว มีการใช้ประโยชน์ที่ดินในด้านการท่องเที่ยว การแปรรูปอาหารทะเล และการทำประมงพื้นบ้าน เช่นการวางอวน การจับหอยด้วยมืออ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ยังใช้พื้นที่ในการพักผ่อนหย่อนใจและกิจกรรมนันทนาการ

หากมีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล อาจจะส่งผลกกระทบต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ของประชาชนในกิจกรรมต่าง ๆ ได้

นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่หาดแม่รำพึง ด้วยโครงสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลไม่สอดคล้องกับแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของ ทช.

และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการกัดเซาะชายฝั่งต่อเนื่องบริเเวณจุดสิ้นสุดโครงสร้าง รวมทั้งความสมดุลตะกอนทรายบริเวณหน้าเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลจะถูกทำลาย โดยตะกอนทรายจะเคลื่อนที่ออกจากแนวเขื่อนฯ และไม่สามารถกลับคืนได้ หากแนวการก่อสร้างเขื่อนฯ ดังกล่าวรุกล้ำแนวชายหาด หรืออยู่ในเขตที่ได้รับอิทธิพลของคลื่นลมมรสุม

ตามประเด็นข้อกังวลและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของเครือข่ายฯ หากมีการดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนฯ ซึ่งหน่วยงานเจ้าของงโครงการควรนำประเด็นข้อกังวล มาพิจารณาอย่างรอบคอบ ครอบคลุมทุกมิติ และถูกต้องตามหลักวิชาการ ก่อนดำเนินโครงการ และควรเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 เรื่องแนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และมติคณะกรรมการนโยบายแและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 เรื่องหลักเกณฑ์ประกอบการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

ทั้งนี้ ทช. ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ทส 0404/1466 เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา ขอให้กรมโยธาฯ ทบทวนโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จึงเรียนมาเพื่อทราบ"


จับตา เวทีรับฟังกรมโยธาฯ 11 มิ.ย.

"ถึงแม้ข้อมูลทางวิชการจากนักวิชาการ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะระบุชัดเจนว่า หาดแม่รำพึง ไม่ได้มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง และ มาตรการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการนั้น เป็นมาตรการที่เกิดความจำเป็น และอาจส่งผลกระทบต่อสภาพชายหาดแม่รำพึงอย่างรุนแรง

อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองได้แถลงต่อผ่านเพจ งานประชาสัมพันธ์กรมโยธาธิการและผังเมือง ว่าจะมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอีกครั้ง ในวันที่ 11 มิถุนายน 2565 ซึ่งน่าจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดรับฟังความคิดเห็นอยู่บนหลักวิชาการ ที่ให้นักวิชาการ หน่วยงานต่างๆ และประชาชนได้แสดงข้อห่วงกังวล รวมถึงความคิดเห็นของประชาชนอย่างเปิดกว้าง และมีการให้ข้อมูลผลกระทบโครงการก่อสร้างอย่างตรงไปตรงมาหรือไม่

ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด" กลุ่มสิ่งแวดล้อมที่รณรงค์กรณีกำแพงกันคลึ่น Beach For Life กล่าว


https://greennews.agency/?p=28818

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:07


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger