กระดานข่าว Save Our Sea.net
มีนาคม 29, 2024, 03:37:13 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประเทศไทย กับ ..... ภัยพิบัติทางธรรมชาติ  (อ่าน 75550 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2008, 02:50:15 AM »


'ร้ายยิ่งขึ้น' มันมาแล้ว 'ภัยธรรมชาติ' เรียงแถว 'ถล่มไทย!'



"โลกร้อนขึ้น พื้นที่ของน้ำทะเลอุ่นขึ้น พายุในวันข้างหน้าจะรุนแรงมากขึ้น” “จากสถิติพายุหมุนที่เข้าประเทศไทยรอบ 55 ปี มีพายุประมาณ 177 ลูก จะเกิดช่วง ส.ค., ก.ย., ต.ค., พ.ย. ซึ่งพายุรุนแรงแค่ 120-130 กม./ชม. เราก็แย่แล้ว” “ช่วงเดือน ส.ค.- ต.ค.นี้ จะมีพายุขนาดใหญ่พัดถล่มประเทศไทยด้านอ่าวไทย”

...เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งจาก “คำเตือน” เกี่ยวกับ “ภัยธรรมชาติ” ของ สมิทธ ธรรมสโรช ประธานอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ผ่านทาง “เดลินิวส์” ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่นักเตือนภัยธรรมชาติรายนี้เน้นย้ำ

เป็นคำเตือนที่ทุก ๆ ฝ่าย “ไม่ควรละเลย-มองข้าม”
เพราะเรื่องนี้เมื่อเกิดขึ้นมันหมายถึง “ความสูญเสีย”

ทั้งนี้ บางคนบางฝ่ายอาจมองคำเตือนของ สมิทธ ธรรมสโรช เป็นเรื่องไกลตัว เป็นการตื่นกลัวเกินเหตุ แต่จริง ๆ แล้วคำเตือนลักษณะนี้สอดคล้องทั้งกับการเตือนของส่วนงานอื่น และกับข้อเท็จจริงที่เริ่มเกิดแล้ว...

กับข้อเท็จจริง ว่ากันเฉพาะช่วง 10 พ.ค. - 11 ก.ค. 2551 ที่ผ่านมา ในส่วนของภัยที่เกิดจากฝน จากข้อมูลของศูนย์อำนวยการสาธารณภัย (กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า... เริ่มส่อแววมาตั้งแต่เดือน พ.ค. เป็นต้นมา เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ประเทศไทยก็มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ แต่ที่ไม่ธรรมดาก็คือบางพื้นที่มีฝนตกชุกหนาแน่นติดต่อกันนานหลายวัน...

เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เป็นเหตุให้ประชาชนประสบความเดือดร้อน สิ่งสาธารณประโยชน์ พื้นที่การเกษตร และทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย

ถามว่าเสียหายไปแล้วแค่ไหน ? ช่วง 10 พ.ค. - 11 ก.ค. 2551 ที่ผ่านมา ก็มีพื้นที่ประสบภัยแล้ว 79 อำเภอ 469 ตำบล 3,201 หมู่บ้าน ใน 14 จังหวัด ได้แก่... น่าน กำแพงเพชร อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท สุพรรณบุรี จันทบุรี นครราชสีมา หนองคาย อุดรธานี สุราษฎร์ธานี ชุมพร พังงา

และกับ 14 จังหวัด แค่ช่วง 2 เดือน ความเสียหายด้านทรัพย์สิน มีบ้านเรือนเสียหายบางส่วน 55 หลัง ถนน 1,412 สาย สะพาน 32 แห่ง ฝาย 38 แห่ง ท่อระบายน้ำ 96 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง ทำนบกั้นน้ำ 15 แห่ง ยานยนต์ 1 คัน บ่อปลา 504 บ่อ ปศุสัตว์ 327 ตัว สัตว์ปีก 498 ตัว พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม 445,209 ไร่

แค่ช่วง 2 เดือนที่ว่ามา ความเสียหายเบื้องต้นตีเป็นมูลค่าประมาณ 315,270,806 บาท และแค่ช่วง 2 เดือนที่ว่านี้มีราษฎรเดือดร้อนแล้ว 220,945 ครัวเรือน จำนวน 912,982 คน !!

ถามต่อว่าปีนี้มีคน “เสียชีวิตเพราะภัยธรรมชาติ” บ้างแล้วหรือยัง ? คำตอบคือมี !! เช่นรายที่เพิ่งเป็นข่าวคือ นายถัน พันพาแก้ว อายุ 69 ปี ถูก “น้ำป่า” ถาโถมใส่จนเสียชีวิต ในพื้นที่หมู่ที่ 6 ต.บ้านกลาง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เมื่อ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา นี่ยังไม่รวมที่ไม่เป็นข่าว ที่เจ็บป่วยจากภัยธรรมชาติซึ่งตัวเลขยังไม่ชัดเจน

“ขอให้ประชาชนในพื้นที่ภูเขาสูง หุบเขา และหมู่บ้านเสี่ยงภัย ดินถล่ม บริเวณ จ.เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน และเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณเขตเทือกเขาผีปันน้ำ และเทือกเขาหลวงพระบาง อ.อมก๋อย แม่แจ่ม ฝาง แม่อาย ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ อ.แม่จัน แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย อ.จุน ปง จ.พะเยา อ.เชียงกลาง ท่าวังผา เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน อ.หล่มเก่า หล่มสัก น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ตรวจเฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องหลายวันในหลายพื้นที่”

...นี่ก็เป็นการประกาศเตือนภัยเมื่อ 21 ก.ค. 2551 โดยกรมทรัพยากรธรณี เกี่ยวกับภัยน้ำป่าไหลหลาก และภัยดินถล่ม ซึ่งทุก ๆ ฝ่ายก็ควรต้อง “ตื่นตัว” กันไว้ดีกว่าแก้...

เช่นเดียวกับการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ช่วงฤดูฝนตั้งแต่กลางเดือน พ.ค. - กลางเดือน ต.ค. ที่ว่า... คาดว่าจะมี “พายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชัน-โซนร้อน-ไต้ฝุ่น)” เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 2-3 ลูก ผ่านเวียดนามเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน หรือผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีแนวโน้มสูงสุดที่จะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนในเดือน ส.ค. และ ก.ย. และเคลื่อนผ่านภาคใต้ในเดือน ต.ค. และ พ.ย.

ข้อควรระวังคือ...
1.ช่วงที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันหลายวันอาจเกิดน้ำป่าไหลหลาก “น้ำท่วมฉับพลัน-อุทกภัย”,
2.ช่วงที่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าใกล้หรือเคลื่อนผ่านประเทศไทย จะมี “พายุลมแรง” ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก อุทกภัย บริเวณชายฝั่งจะมี “คลื่นพายุซัดฝั่ง” “ทะเลมีคลื่นจัดถึงจัดมาก” ความสูงของคลื่น 3-5 เมตร

ทั้งนี้ กับภัยคลื่นนี้ สมิทธ ธรรมสโรช ก็เตือนไว้ว่าให้ระวังปรากฏการณ์ “สตอร์ม เสิร์ช (Storm Search) - น้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น” จนน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล และอาจมีผลต่อการผลิตน้ำประปา

ในยุคที่มีการเตือนว่า “ภัยธรรมชาติจะมีระดับที่รุนแรงยิ่งขึ้น” ในช่วงนี้ในไทยก็มีการเตือนทั้ง “น้ำป่า-น้ำท่วม-ดินถล่ม-ลมพายุ-คลื่นใหญ่” และอาจแถม “แผ่นดินไหว” ด้วย ซึ่งประชาชนก็ไม่ควรแตกตื่นเกินเหตุ...แต่ก็ “ต้องกลัว...เพื่อระมัดระวัง !!” ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น ส่วนที่ตื่นตัวป้องกันภัยให้ประชาชนแล้วก็ต้องชื่นชม แต่ถ้ายังเรื่อยเฉื่อยอยู่ก็ต้องวอนให้แอ๊คทีฟเสียที และที่สำคัญ...กับระดับรัฐบาลก็หวังว่าจะแบ่งแยกจากเรื่องวุ่นทางการเมืองเพื่อสนับสนุนการป้องกันภัยให้ประชาชนได้เต็มที่

ระยะยาวจะทำอย่างไรกับ “ภัยธรรมชาติ” นั่นก็ว่ากันไป
แต่เฉพาะหน้า “อย่ารอแต่ล้อมคอก” หลังสูญเสีย !!!!!.



จาก              :              เดลินิวส์  วันที่ 25 กรกฎาคม 2551
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 17, 2008, 02:57:38 AM โดย สายน้ำ » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2008, 02:54:12 AM »


เตือนภัยพายุหมุนเสี่ยง น้ำทะเลทะลักกรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิ ดร.สุรพล สุดารา จัดสัมมนาเรื่อง "Storm Surge มหันตภัยของคนกรุงเทพฯ และคนชายฝั่ง" เนื่องในโอกาสวันรำลึกถึง ดร.สุรพล สุดารา นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลของประเทศไทย

นางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า Storm Surge หรือที่เรียกกันว่าคลื่นพายุหมุน หรือคลื่นซัดชายฝั่ง ถือเป็นภัยพิบัติ ที่จะต้องเฝ้าระวังในอ่าวไทย เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อปี 2532 เรียกว่าพายุเกย์ หรือปี 2540 พายุลินดา แนวชายฝั่งของอ่าวไทย รูปตัวกอไก่ โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดคือ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงครามและตามตะเข็บ มีพื้นที่ค่อนข้างสูง แต่ในพื้นที่ชั้นในค่อนข้างต่ำเป็นแอ่ง เพราะฉะนั้นหากเกิดปรากฏการณ์ คลื่นพายุหมุนซัดชายฝั่งจริงๆ น้ำทะเลน่าจะทะลักเข้าทางถนนสุขุมวิท ย่านบางนาและเข้าทางฝั่งธนบุรี ก่อนที่จะถึงชั้นในของกรุงเทพฯ


จาก              :              มติชน  วันที่ 23 กรกฎาคม 2551
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 17, 2008, 02:58:06 AM โดย สายน้ำ » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2008, 02:56:16 AM »

อย่างนี้เค้าเรียก เคราะห์ซ้ำ กรรมซัด..









นอกจาก =3 จะดูแล ปท ไม่ดีแล้ว.. ภัยธรรมชาติ ยังถล่มเราอีก..



กลุ้ม.. 
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2008, 02:56:51 AM »


ผู้เชี่ยวชาญเตือน3เดือนอันตรายพายุถล่ม   ชี้พนังกั้นนํ้าเจ้าพระยาเสี่ยงพังทลายสูง

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 22 ก.ค. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการประชุมสัมมนาการบริหารจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่อง มหันตภัยของคนกรุงเทพและคนชายฝั่ง โดยนางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าฯ กทม. นาวาเอกกตัญญู ศรีตังนันท์ ผู้บังคับหมวดเรืออุทกศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์ ธน วัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมสัมมนา

นาวาเอกกตัญญู กล่าวว่า พื้นที่กรุงเทพฯ และบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย มีโอกาสเสี่ยงต่อภัยพิบัติจากพายุหมุนโซนร้อนที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นกว่าระดับปกติ เกิดลมพายุพัดแรง และฝนตกหนัก เกิน 100 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ขอให้ทุกฝ่ายจับตาพายุหมุนโซนร้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของมวลน้ำโถมเข้าชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยเข้ามาถึงพื้นที่ กทม.และ จ.สมุทรปราการ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังและอาจส่งผลกระทบต่อระบบประปาและแหล่งน้ำจืดในชั้นใต้ดิน พื้นที่ กทม. และจ.สมุทรปราการ เป็นที่ราบลุ่ม มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเพียง 1 เมตร ถึงแม้ กทม.จะมีแนวพนังกั้นน้ำเจ้าพระยาความสูง 2-3 เมตร แต่หากเกิดคลื่นพายุหมุนเขตร้อนก็อาจทำให้มวลน้ำเคลื่อนตัวด้วยความเร็วและเกิดแรงดันสูง ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ พนังกั้นน้ำเจ้าพระยาจะมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับมือต่อความแรงของมวลน้ำที่จะกระแทกเข้ามาด้วยความรุนแรงหรือไม่

ด้านนางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ปรากฏการณ์พายุหมุนโซนร้อนเป็นเรื่องใหม่ ดังนั้นจึงควรมีการให้ข้อมูลและสร้างองค์ความรู้ประชาชนเพื่อไม่ให้ตื่นตระหนกจนเกินไป ซึ่งปัจจุบันกทม.มีหน่วยปฏิบัติการเร่งด่วนของสำนักการระบายน้ำ สำนักการโยธา และสำนักงานเขต เตรียมความพร้อมประจำทุกพื้นที่ รวมถึงมีระบบสื่อสารการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง.


จาก              :              เดลินิวส์์  วันที่ 24 กรกฎาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2008, 03:05:39 AM »


กรมอุตุฯยันยังไม่พบ Storm Surge ในไทยในช่วงนี้



      กรมอุตุนิยมวิทยา ชี้แจงว่า ยังไม่พบการก่อตัวของพายุสตอมเซอจ หรือคลื่นพายุซัดฝั่ง ที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่ถ้าพบก็จะแจ้งเตือนได้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วัน
       
       หลังมีกระแสข่าวการเกิดสตอมเซอจ (Storm Surge) คลื่นพายุซัดฝั่ง หรือระดับน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น ที่คาดว่าจะเกิดบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ความรุนแรงเท่ากับพายุไซโคลนนาร์กีสจนทำให้ประชาชนหวาดวิตกในขณะนี้นั้น กรมอุตุนิยมวิทยาได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ในรอบ 57 ปี มีพายุเคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทยตอนบน ในช่วงเดือน ก.ย.-พ.ย. แต่ความรุนแรงน้อยกว่า 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งสตรอมเซอจที่จะเป็นอันตราย ส่วนมากเกิดจากพายุที่มีแรงลมมากกว่า 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง พายุที่เคลื่อนตัวเข้าพม่า เกิดจากลมความชื้นมาก ทำให้พายุมีกำลังแรง แต่พายุที่เข้าอ่าวไทยเกิดจากลมความชื้นน้อย นอกจากนี้ ภูมิประเทศของพม่าเป็นแบบเปิดรับลม ส่วนอ่าวไทยเป็นแบบแคบและปิด
       
       พื้นที่ชายฝั่งรอบอ่าวไทยตอนบน เคยเกิดสตอมเซอจ เมื่อครั้งพายุไต้ฝุ่นเกย์ เมื่อปี 2532 และพายุไต้ฝุ่นลินดา เมื่อปี 2540 แต่ไม่รุนแรง ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา ยืนยันว่า ถ้าจะมีพายุเคลื่อนตัวเข้ามาอีก ก็จะไม่รุนแรงมากเช่นกัน


จาก              :              ผู้จัดการออนไลน์      วันที่ 16 สิงหาคม 2551
ี้
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2008, 03:08:26 AM »


กทม.ใช้ ICS รับ Storm surge ชี้ พท.เสี่ยงบางนาถึงสมุทรปราการ อาจท่วมถึง 2 เมตร


ภาพจำลองการเกิดStorm surge

       กทม.นำระบบ ICS ของอเมริกาที่ใช้หลังเกิดเหตุวินาศกรรม 911 ของอเมริกา รับมือ Storm surge ขณะที่คาดการณ์พื้นที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่แยกเขตบางนา ไป จ.สมุทรปราการ ส่วนเขตบางขุนเทียน ทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ จอมทอง อาจจมใต้น้ำถึง 1 เมตร ส่วนพื้นที่ใน จ.สมุทรปราการ จะมีน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร
       
       นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีที่ นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกมายืนยันถึงการเตือนภัยปรากฏการณ์น้ำทะเลยกตัวสูง (Storm Surge) ซึ่งทำนายว่า อาจเกิดขึ้นในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ ซึ่งมีความรุนแรงไม่ต่างจากพายุนาร์กีสในพม่า โดยเอาตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติเป็นประกัน ว่า
       
       เรื่องนี้ กทม.ไม่ได้นิ่งนอนใจ หรือต่อต้านการออกมาเตือนเรื่องดังกล่าว แต่จากการหารือกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า จากข้อมูลสถิติในช่วง 57 ปี ที่ผ่านมา ไม่เคยมีพายุไต้ฝุ่นก่อตัวขึ้นแล้วพัดเข้า กทม.อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 17 ส.ค.นี้ กทม.จะจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการซักซ้อมแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กทม.ในระดับวิกฤต และกรณีเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งที่กองบัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบก เขตบางนา ซึ่งที่ประชุมจะหารือถึงกรณีหากเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลยกตัวสูง แล้วพื้นที่ใดจะได้รับผลกระทบบ้าง ความรุนแรง และแผนการให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น
       
       สำหรับแผนการป้องกันภัยพิบัติของ กทม.นั้น ได้นำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กทม.ในระดับวิกฤตมาใช้ มีสำนักการระบายน้ำ (สนน.) และสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) ดำเนินการร่วมกัน ทั้งนี้ มีการประเมินพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบกรณีเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลยกตัวสูงจะเป็นพื้นที่ใกล้แม่น้ำ ประกอบด้วย เขตบางนา ตั้งแต่แยกบางนา ไป จ.สมุทรปราการ เขตบางขุนเทียน เขตทุ่งครุ เขตราษฎร์บูรณะ เขตจอมทอง จะเป็นเขตที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คาดว่า พื้นที่จะจมอยู่ใต้น้ำ 50 เซนติเมตร-1 เมตร ส่วนพื้นที่ใน จ.สมุทรปราการ จะได้รับผลกระทบรุนแรงกว่า ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร


ภาพเหตุการณ์จริงการเกิดStorm surge ในต่างประเทศ

       ทั้งนี้ กทม.มีแผนที่จะอพยพประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเบื้องต้นจะประสานกับเหล่าทัพในการจัดหาเรือท้องแบน รถบรรทุก ในการเข้าไปรับประชาชนออกจากพื้นที่ ส่วนสถานที่รองรับได้เตรียมการประสานกับศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติกรุงเทพ (ไบเทค บางนา) ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลซิตี้ บางนา โรงเรียน และวัดในพื้นที่ เป็นต้น
       
       ส่วนแผนป้องกันและเผชิญเหตุ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบนั้น กรณีที่เกิดเหตุจะมีการจัดตั้งศูนย์ควบคุมภัยพิบัติ โดยจะนำระบบ ICS (Incident command System) ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาใช้หลังจากเกิดเหตุวินาศกรรม 11 กันยา โดยจะแบ่งการทำงานเป็น 12 ฝ่าย เช่น ฝ่ายดำเนินการ หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน ฝ่ายสื่อสาร ฝ่ายจัดหาที่พักพิง ฝ่ายรับบริจาค ฝ่ายเข้ารื้อถอน หน่วยเข้าไปค้นหาผู้รอดชีวิต ฝ่ายควบคุมโรคติดต่อ ฝ่ายอาหาร เป็นต้น มีตัวแทนกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ เข้ามาเป็นกรรมการ หากกรมอุตุนิยมวิทยาตรวจพบว่ามีพายุก่อตัวขึ้นในอ่าวไทย ศูนย์ดังกล่าวจะต้องสามารถเรียกประชุมได้ภายใน 1 ชั่วโมง รวมทั้งออกประกาศแจ้งเตือนกับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมือเหตุการณ์



จาก              :              ผู้จัดการออนไลน์      วันที่ 16 สิงหาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
Bluefin
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 47



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2008, 08:33:26 AM »

            เคยสังเกตุไหมว่า...ธรรมชาติกำลังบอกอะไรกับเรา...การเกิดภัยพิบัติต่างๆพวกนี้อาจเป็นแค่คำเตือนแบบเบาๆ ก่อนอะไรบางอย่าง...
            หากมนุษย์ยังกิน, ใช้ และทำลายเรื่อยไปโดยไม่รู้จักคำว่าเพียงพอและพอเพียง ถ้าไม่มีการลดจำนวนประชากร ถ้าไม่มีการอนุรักษ์ ถ้าไม่มีการแก้ไขสิ่งที่คนทำไว้ สุดท้ายวันหนึ่งก็จะไม่มีคำว่า "มนุษย์"
บันทึกการเข้า
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2008, 11:21:07 AM »


ถูกต้องคร้าบบบบบ........

ถ้าไม่ตระหนักถึงความอยู่รอดของธรรมชาติ.....ไม่ช้าก็จะไม่เหลืออะไรเลย......ไม่เหลืออะไรเลย.....

ไม่ว่าจะเป็น.....ธรรมชาติ....หรือ....มนุษยชาติ.....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 17, 2008, 11:33:47 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
frappe
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1114



« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2008, 04:21:50 PM »

จะว่าไปเหมือนกับเป็นการรักษาสมดุลของธรรมชาตินะคับ
ที่ลด/กำจัดปริมาณผู้ใช้/ผู้ทำลาย (มนุษย์เราๆนั่นเอง ) ลง โดยใช้ภัยธรรมชาติเป็นเครื่องมือ...
บันทึกการเข้า

มีใจเป็นมิตร มีจิตเป็นเพื่อน
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2008, 01:03:45 AM »


กทม.ไม่สน "อุตุฯ"ทักโอกาสเกิด"คลื่นพายุใหญ่"แค่10% สั่งเตรียมรับมือน้ำท่วมพื้นที่สีแดง



กรมอุตุฯยัน กทม.มีโอกาสแค่ 10% เจอ "คลื่นพายุใหญ่" เหตุพื้นที่ไม่เอื้อ "อภิรักษ์" สั่งเตรียมพร้อมรับน้ำท่วมพื้นที่สีแดง คาดจมน้ำไม่ต่ำกว่า 50 ซม.-1 ม. ย่านบางนา แถบไบเทค-เซ็นทรัล-บิ๊กซีเสี่ยงสุด

ที่ห้องประชุมกองบัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบก บางนา นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประชุมร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม เพื่อซักซ้อมแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กทม. ในระดับวิกฤต และกรณีเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง หรือสตอร์ม เซิร์จ (Storm Surge)

นายวัฒนา กันบัว ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาทางทะเล กรมอุตุนิยมวิทยา ได้บรรยายเรื่องพายุโซนร้อนและคลื่นพายุซัดฝั่ง ว่า ยืนยันว่าเป็นไปได้ยากที่จะเกิดปรากฏการณ์สตอร์ม เซิร์จในพื้นที่ กทม. ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคมนี้ โดยมีโอกาสไม่ถึง 10% เนื่องจากสถิติที่ผ่านมา ในประเทศไทยจะเกิดสตอร์ม เซิร์จเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก เช่น ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ขณะที่พื้นที่ กทม. อยู่ในทำเลที่ดี แม้จะติดอ่าวไทย แต่ก็เป็นปากอ่าวทะเลแคบๆ แค่ประมาณ 100 กิโลเมตร ไม่เปิดกว้าง จึงไม่เอื้อต่อการเกิดสตอร์ม เซิร์จ จนเกิดพายุได้ โดยพายุโซนร้อนและมีคลื่นซัดฝั่งได้จะต้องใช้พื้นที่ติดชายฝั่งทะเล 300-1,500 กิโลเมตร

นายวัฒนากล่าวต่อว่า ลักษณะของสตอร์ม เซิร์จจะเป็นพายุซัดเข้าฝั่งทำให้เกิดฝนตกหนัก เพราะเป็นพายุที่ก่อตัวจากใต้ฝุ่น บวกกับลักษณะอากาศที่มีความกดต่ำมาก จนทำให้คลื่นเกิดการยกตัวสูง แตกต่างจากการเกิดสึนามิ ที่ไม่มีพายุฝน อย่างไรก็ตาม หากเกิดสตอร์ม เซิร์จใน กทม.จริง ก็จะไม่รุนแรงเพราะพื้นที่ กทม.ไม่เอื้ออำนวยให้เกิด แต่จะมีผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่รุนแรงขึ้น นอกจากนี้ กรมอุตุฯ ยังสามารถแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนรู้ล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดเหตุ 7 วัน

"การออกมายืนยันไม่ได้ต้องการจะขัดแย้งกับนายสมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุฯ เพราะเรื่องนี้ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล สิ่งที่นายสมิทธ ออกมาเตือนเป็นการดูจากสถิติการเกิดพายุในรอบ 10 ปี ซึ่งปีนี้เป็นช่วงที่ครบรอบพอดี ถือว่าเป็นเจตนารมณ์ดีที่ต้องการให้ทุกฝ่ายเตรียมตัวรับมือ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ก็ตาม" นายวัฒนากล่าว

ด้านนายอภิรักษ์กล่าวว่า ขณะนี้ กทม.ได้สั่งการให้ทั้ง 50 สำนักงานเขต ประเมินพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อแจ้งเตือนประชาชนได้ทันท่วงที โดยกำหนดให้ประเมินให้แล้วเสร็จในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัย (สีแดง) ได้แก่ บางนา บางขุนเทียน ทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ และจอมทอง ซึ่งจะเป็นเขตที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คาดว่า พื้นที่จะจมอยู่ใต้น้ำ 50 ซม. ถึง 1 เมตร โดยเบื้องต้นในเขต บางนา มีพื้นที่เสี่ยงภัยคือ ศูนย์นิทรรศการนานาชาติ ไบเทคบางนา เซ็นทรัล บางนา บิ๊กซี บางนา และอาคารเดอะเนชั่น นอกจากนี้ จะมีการจัดทำคู่มือรับมือคลื่นพายุซัดฝั่งจำนวน 2 แสนชุด เพื่อแจกให้ประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัย ได้รับทราบและเข้าใจถึงสถานการณ์


จาก              :              มติชน  วันที่ 17 สิงหาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2008, 01:52:17 AM »


'สมิทธ'เตือนใต้ก็อาจเจอ'สตอมเซิร์จ'


"สมิทธ" เตือนจังหวัดภาคใต้ก็อาจถูก "สตอมเซิร์จ" ถล่มได้ อันเป็นผลจากภาวะโลกร้อนจนทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง กทม.ประชุม 15 เขตเตรียมความพร้อม ผวจ.สมุทรสาครปลุกประชาชนตื่นตัว

ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ไปบรรยายพิเศษในหัวข้อ "ความเสี่ยงของภัยพิบัติทางธรรมชาติในภาคใต้"  ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่  18  สิงหาคมนี้  ก่อนจะให้สัมภาษณ์ว่า  พื้นที่ชายแดนภาคใต้ถือเป็นพื้นที่ปลอดภัยจากภัยพิบัติแผ่นดินไหว  แต่สึนามิอาจเกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งอ่าวไทยได้  เนื่องจากนักธรณีวิทยาประเทศญี่ปุ่นค้นพบว่า  อีก  50  ปีข้างหน้าอาจเกิดภัยสึนามิในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยได้ หากเกิดแผ่นดินไหวระดับ  7  ริกเตอร์ขึ้นไป ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็น 1 ใน 4 จุดแผ่นดินไหวรุนแรงที่มีการค้นพบ

ดร.สมิทธยังได้เตือนประชาชนให้ระวังภัยธรรมชาติจากน้ำและคลื่น  หากเกิดพายุรุนแรงพัดเข้าฝั่ง หรือสตอมเซิร์จ (Storm Surge) ในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากภาวะโลกร้อนและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย  ทำให้สภาพอากาศและกระแสน้ำเย็นในมหาสมุทรเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้พายุในทะเลภาคใต้มีความรุนแรงขึ้น  และอาจมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางการเคลื่อนที่ได้ อย่างไรก็ตาม  การแจ้งเตือนนี้เป็นเพียงการแจ้งให้มีการป้องกันเตรียมพร้อมรับมือเท่านั้น  ไม่ได้ต้องการให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกแต่อย่างใด

ก่อนหน้านี้ ดร.สมิทธได้แจ้งเตือนกรุงเทพมหานครและจังหวัดบริเวณอ่าวไทย ให้ระวังภัยพิบัติจากสตอมเซิร์จจนมีการซ้อมรับมือในหลายพื้นที่

วันเดียวกัน นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์พายุคลื่นยักษ์ซัดชายฝั่ง (Storm Surge) ร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตย่านฝั่งธนบุรี  จำนวน  15  เขต และผู้อำนวยการสำนักระบายน้ำ ว่า ในย่านฝั่งธนบุรีจะมีพื้นที่ติดกับชายฝั่งทะเลและติดกับจังหวัดใกล้เคียง เช่น  จังหวัดสมุทรปราการ  โดยมีพื้นที่สีแดงหรือพื้นที่เสี่ยง  ได้แก่  เขตบางขุนเทียน ทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ  จอมทอง  และเขตบางนา  ซึ่งมีรัศมีจากชายฝั่งประมาณ  15-20  กิโลเมตร  กำหนดตามแนวคลองสนามไชยที่ต่อเนื่องกับคลองมหาไชย และแนวถนนพระราม 2

ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่า  โอกาสที่จะเกิดเหตุพายุคลื่นยักษ์ซัดชายฝั่งในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนนี้  มีค่อนข้างน้อยไม่ถึงร้อยละ  10  เหตุการณ์พายุคลื่นยักษ์ซัดชายฝั่งจะแตกต่างจากการเกิดสึนามิ ซึ่งก่อนเกิดเหตุจะทราบล่วงหน้า 4-6 วัน ทำให้มีเวลาเพียงพอต่อการรับมือ  ทั้งนี้ กทม.ได้มอบหมายให้แต่ละเขตเร่งชี้แจง ทำความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับพายุคลื่นยักษ์ เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก รวมถึงหารือแนวทางการให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายสิ่งของ หรืออพยพประชาชนหากเกิดเหตุขึ้น  โดยแต่ละเขตจะได้ประสานขอความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและเอกชนในพื้นที่ต่อไป

ด้านนายวีระยุทธ  เอี่ยมอำภา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมเจ้าหน้าที่จากศูนย์ป้องกันภัยพลเรือนจังหวัด และผู้เกี่ยวข้อง ตรวจพื้นที่ริมเขื่อนหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นจุดรับลมทะเล หลังจากนายสมิทธ ธรรมสโรช ระบุว่า สมุทรสาครเป็นหนึ่งในจังหวัดพื้นที่เสี่ยง

ผวจ.สมุทรสาครกล่าวว่า  แม้ศูนย์อุตุนิยมวิทยาทางทะเล กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับพิเศษว่า  เหตุการณ์นี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ แต่จังหวัดไม่ได้นิ่งนอนใจ  และเตรียมการป้องกันไว้เบื้องต้น  โดยมอบหมายให้ศูนย์ป้องกันภัยพลเรือนจังหวัดเป็นผู้เตรียมความพร้อม  และชี้แจงชาวประมงในจังหวัด รวมถึงผู้อยู่ชายฝั่ง เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกเกินไป  แต่ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง จังหวัดสมุทรสาครที่เป็นอ่าวตัว ก.ลึกเข้ามานั้น ไม่น่าจะได้รับผลกระทบรุนแรงมาก ดังนั้น ประชาชนอย่าตื่นตระหนก แต่ควรตื่นตัวมีความพร้อมไว้ตลอดเวลา

ดร.อานนท์  สนิทวงศ์  ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก  แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (START)  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวถึงกระแสวิตกกังวลเกี่ยวกับการเกิดคลื่นพายุหมุน (Storm Surge)  ขึ้นฝั่งที่ จ.สมุทรปราการ จนอาจเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ว่ามีความเป็นไปได้น้อยมาก  โดยการออกมาเตือนให้เฝ้าระวังปรากฏการณ์ เป็นการคาดการณ์ตามช่วงเวลาที่มักเกิดพายุ  ประกอบกับเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงพัดผ่าน  และมีฝนตกมากจึงทำให้มีการพูดถึงมากในสังคม

ดร.อานนท์กล่าวว่า  พื้นที่  จ.ประจวบคีรีขันธ์  ชุมพร สุราษฎร์ธานี ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงที่มีโอกาสเกิดคลื่นพายุหมุน  จากลักษณะกายภาพที่เป็นอ่าวปิดน้ำลึกเข้ามาในแผ่นดินระยะทางยาว  โดยเฉพาะที่  อ.บางสะพาน และลักษณะที่ราบชายฝั่งที่แบนราบซึ่งเสี่ยงน้ำท่วม ประกอบกับน้ำจืดที่หนุนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป  ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ระดับน้ำจะขึ้นสูงสุดในรอบปีช่วงดือนธันวาคม ประมาณ 1 เมตร จึงควรมีการเตรียมรับมือ.




จาก              :              X-cite  ไทยโพสต์    วันที่ 19 สิงหาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2008, 01:58:26 AM »


'ชุมพร-ประจวบ-สุราษฎร์'เสี่ยงเจอพายุหมุน


ผอ.ศูนย์ศึกษาการเปลี่ยนแปลงโลก เผย3จังหวัดเสี่ยงรับภัยพายุหมุน เหตุกายภาพเอื้อ เชื่อกรมอุตุฯ-กรมอุทกศาสตร์จะคาดการณ์พายุได้แม่นยำล่วงหน้า48ชั่วโมง

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(START) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า กระแสวิตกกังวลเกี่ยวกับการเกิดคลื่นพายุหมุน (Storm Surge) ขึ้นฝั่งที่ จ.สมุทรปราการ จนอาจเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในกรุง เทพมหานครนั้น มีความเป็นไปได้น้อยมาก

โดยการออกมาเตือนให้เฝ้าระวังปรากฎการณ์ เป็นการคาดการณ์ตามช่วงเวลาที่มักเกิดพายุ ประกอบกับเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงพัดผ่าน และมีฝนตกมากจึงทำให้มีการพูดถึงมากในสังคม ทั้งนี้หากดูจาก สถิติพายุหมุนที่ขึ้นฝั่งไทยและมาเลเซีย ของกรมอุตุนิยมวิทยาตั้งแต่ปี 2494-2550 พบว่าในรอบ 60 ปีมีพายุหมุนที่ขึ้นฝั่งรวม 69 ลูก

แบ่งเป็นเกิดพายุที่มีความเร็วลมในระดับพายุโซนร้อน ระดับความเร็ว 60-120 กม./ชม. รวม 12 ครั้ง และเกิดขึ้นหลังช่วงกลางเดือนต.ค.เป็นต้นไป และส่วนใหญ่มาจากทางทะเลจีนใต้ จึงมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดพายุ พัดแล้วเลี้ยวเข้าทางจังหวัดริมฝั่งอ่าวไทยเช่น จ.สมุทรปราการ กทม. ส่วนอีก 44 ลูกเป็นดีเปรสชั่นความเร็วลม 60 กม./ชม.

"ที่ผ่านมาการเกิดคลื่นพายุหมุนในประเทศไทยทั้ง พายุแฮร์เลียสที่แหลมตะลุมพุก ปี 2505 พายุเกย์ปี 2531 และล่าสุดคือ พายุลินดา เมื่อปี 2540 มีจุดบ่งชี้ตรงกันว่าไม่ได้เกิดขึ้นโดยฉับพลัน เหมือนกรณีสึนามิ แต่จะมีการสะสมระดับน้ำทะเลหนุนหลายวัน ซึ่งเชื่อว่าด้วยวิทยาการของกรมอุตุฯ และกรมอุทกศาสตร์ เองก็สามารถคาดการณ์ว่าพายุจะพัดขึ้นฝั่งบริเวณใดได้อย่างแม่นยำล่วงหน้า 48 ชั่วโมง ดังนั้นประชาชนจึงไม่ควรตื่นตระหนกเกินเหตุ" ดร.อานนท์ กล่าว   

นอกจากนี้ ดร.อานนท์ กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทยพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงที่มีโอกาสเกิดคลื่นพายุหมุน ได้จากลักษณะกายภาพที่เป็นอ่าวปิดน้ำลึกเข้ามาในแผ่นดินนระยะทางยาว โดยเฉพาะที่ อ.บางสะพาน และลักษณะที่ราบชายฝั่งที่แบนราบ ซึ่งเสี่ยงน้ำท่วม ประกอบกับน้ำจืดที่หนุนตั้งแต่เดือนพ.ย.เป็นต้นไป   

ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ ที่ระดับน้ำจะขึ้นสูงสุดในรอบปีช่วงเดือนธันวาคม ประมาณ 1 เมตร ซึ่งควรมีการเตรียมรับมือทั้งการอพยพซึ่งเป็นแผนระยะสั้น และการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความเปราะบาง ด้านเศรษฐกิจเพื่อรับมือในระยะยาว 

ทส.สั่งบรรเทาหลังน้ำลด 

นายชาตรี ช่วยประสิทธิ์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาวะน้ำโขงล้นตลิ่ง ทำให้มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวน มาก และอาจเกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยตามมานั้น ทางทส.ได้มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทสจ.) ให้ความร่วมมือกับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งหน่วยราชการอื่นๆในการบรรเทาทุกข์และความเดือดร้อนของประชาชน โดยเป็นเครือข่ายย่อยที่เชื่อมโยงการประสานงานระหว่างจังหวัดกับหน่วยงานของกระทรวงฯในส่วนกลาง   

โดยเฉพาะต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ ด้านทรัพยากรน้ำ ให้ประสานงานกับศูนย์ประสานงานกับศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาวิกฤติน้ำ(ศูนย์เมขลา) ของกรมทรัพยากรน้ำ เพื่อเผยแพร่รายงานสถานการณ์อุทกภัยประจำวัน และประกาศพื้นที่ประสบอุทกภัย ส่วนทรัพยากรน้ำบาดาล ให้ประสานงานกับศูนย์อำนวยการน้ำบาดาลบรรเทาภัยธรรมชาติ เพื่อให้ความช่วยเหลือในการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลสำหรับการอุปโภคบริโภค รวมทั้งการซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ และเป่าล้างบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย

นายชาตรี กล่าวว่านอกจากนี้ยังได้เตรียมแผนหลังน้ำลด เร่งติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำและแหล่งน้ำ และพื้นที่ท่วมขัง การจัดการน้ำเสียจากการท่วมขัง รวมทั้งปรับปรุงซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้รับความเสียหาย จัดการขยะมูลฝอยตกค้าง การ ฟื้นฟูสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย อีกทั้งจะ เร่งฟื้นฟูสภาพป่าที่เป็นต้นเหตุของอุทกภัย และสร้างฝาย ปลูกหญ้าแฝกเพื่อชะลอความเร็วของน้ำฝน และการพังทลายของดิน และการ รเตือนภัยดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย เป็นต้น



จาก              :              กรุงเทพธุรกิจ      วันที่ 19 สิงหาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2008, 01:25:56 AM »


พายุ! สตอร์ม เซิร์จ เกิดได้แต่ % น้อย


 
"สตอร์ม เซิร์จ" ภัยพิบัติวิกฤติระบดับพายุนาร์กีสที่เกิดในพม่า สร้างความกังวลใจให้กับผู้คนที่อยู่ติดชายฝั่งอ่าวไทยสมุทรปราการ... ไล่ลึกมาถึงกรุงเทพฯ

สตอร์ม เซิร์จ...อาจไม่คุ้นหู แต่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้ว...อย่างน้อยสามครั้ง...

ปี 2505 พายุแฮเรียต พัดขึ้นฝั่งถล่มแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างความเสียหายสุดประมาณการเป็นลูกแรก

ถัดมาอีก 27 ปี พ.ศ. 2532 พายุเกย์ พัดถล่มหลายพื้นที่ในจังหวัดชุมพร

และอีก 8 ปีให้หลัง พ.ศ. 2540 พายุลินดา ก็ถล่มซ้ำจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี

ข้อมูลวิชาการ ระบุว่า สตอร์ม เซิร์จ (Storm surge) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกับพายุหมุนโซนร้อน ที่ยกระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นกว่าปกติ อันเนื่องมาจากความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณนั้น

หมายความว่า เวลาที่หย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวผ่านไปพร้อมกับศูนย์กลางของพายุจะทำให้แรงกด ยกระดับน้ำจนกลายเป็นโดมน้ำ เคลื่อนตัวเข้าหาชายฝั่ง

สตอร์ม เซิร์จ กับ คลื่นยักษ์สึนามิ ลักษณะการเกิดต่างกัน แต่ผลคล้ายกัน คือ เกิดคลื่นน้ำขนาดใหญ่ถล่มเข้าหาฝั่ง

คะเนความเสียหาย สตอร์ม เซิร์จ อาจจะเลวร้ายกว่ามาก

สตอร์ม เซิร์จ เกิดขึ้นพร้อมพายุ ท้องฟ้าปั่นป่วน สภาพอากาศเลวร้าย เมฆฝนก่อตัว ฝนตกหนัก ลมพัดแรง ชายฝั่งเกิดคลื่นถาโถมอย่างหนัก และคลื่นในทะเลสูง

โชคร้าย...เมื่อศูนย์กลางของพายุเคลื่อนเข้าหาฝั่ง ก็จะหอบเอาโดมน้ำขนาดใหญ่ซัดเข้าฝั่ง ความเสียหายจึงเพิ่มเป็นทวีคูณ

พุ่งเป้าไปที่พายุโซนร้อน เกิดในอ่าวไทยใกล้ฝั่ง มีความถี่ ความเสี่ยงจะเกิดสตอร์ม เซิร์จ กี่มากน้อย?



กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างบริเวณแหล่งกำเนิดของพายุหมุนเขตร้อนทั้งสองด้าน ด้านตะวันออก คือมหาสมุทรแปซิฟิก-ทะเลจีนใต้ ด้านตะวันตก คืออ่าวเบงกอล-ทะเลอันดามัน

พายุมีโอกาสเคลื่อนจากมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีนใต้เข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออก มากกว่าทางตะวันตก เฉลี่ยปีละ 3-4 ลูก

บริเวณที่พายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านเข้ามามากที่สุด คือ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะตอนบนของภาค

ช่วงต้นปี...มกราคมถึงมีนาคม เป็นช่วงปลอดพายุ ถึงเมษายนเป็นเดือนแรกของปีที่พายุจะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคใต้...แต่มีโอกาสน้อย เคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบ 50 ปี (พ.ศ. 2494-2543)

เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป พายุจะเข้าไทยมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นพายุที่มาจากด้านตะวันตก เข้าสู่ประเทศไทยตอนบน และเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม พายุส่วนใหญ่จะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออก ตอนบนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เข้ากันยายนถึงตุลาคม...พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าทุกพื้นที่ได้มาก โดยเฉพาะเดือนตุลาคม มีสถิติเข้ามามากที่สุด

ช่วงปลายปี พฤศจิกายน พายุจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนน้อยลง มีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้มากขึ้น พอเดือนธันวาคม พายุมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้เท่านั้น

วิเคราะห์...สถิติพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าไทยในรอบ 48 ปี ทั้งหมด 164 ลูก พบว่าบริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

จังหวัดนครพนม มีพายุผ่าน 20-25% ของพายุทั้งหมด รองลงมามุกดาหาร สกลนคร หนองคาย อุดรธานี กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู และเลย มีพายุผ่าน 15-20%



ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พายุส่วนใหญ่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันตกของประเทศ บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดมากกว่า 25% เข้ามา 6 ลูก

ได้แก่ พื้นที่ของภาคเหนือตอนบนในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูนและพื้นที่ของภาคกลางในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ต่อเนื่องกับจังหวัดตาก อุทัยธานี

เดือนมิถุนายน ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดมากกว่า 50% เข้ามา 6 ลูก ได้แก่ ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะนครพนม หนองคาย สกลนครตอนบน

เดือนสิงหาคมศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุด มากกว่า 25% จำนวน 18 ลูก ได้แก่ ตะวันออกของภาคเหนือตอนบน น่าน พะเยา แพร่ ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่

ส่วนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน...นครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย มีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามามากกว่า 25% จำนวน 18 ลูก

เดือนกันยายน...ต้องจับตาเป็นพิเศษ เดือนนี้...เป็นเดือนแรกที่พายุเริ่มเคลื่อนตัวเข้ามาในภาคใต้ตอนบน... แต่มีโอกาสเกิดน้อย

ช่วงนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านยังคงเป็นประเทศไทยตอนบน มากกว่าร้อยละ 25 เข้ามา 39 ลูก ได้แก่ นครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก

เดือนตุลาคม พายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านประเทศไทยได้ทั้งในประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ มากกว่า 10% จำนวน 48 ลูก...มีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่าง ได้บ้าง แต่ยังน้อยอยู่

สถิติศูนย์กลางที่พายุเคลื่อนผ่านมากที่สุด เป็นพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบทั้งหมด ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง ต่อเนื่องถึงภาคใต้ตอนบน

เดือนพฤศจิกายน พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ได้มาก โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 25% จำนวน 28 ลูก

รองลงมา 10-25% เข้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสงขลา

เดือนสุดท้าย...ธันวาคม เป็นเดือนที่ไม่มีพายุเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน แต่พายุทั้งหมดจะเคลื่อนผ่านอ่าวไทย เข้าสู่ภาคใต้ตอนล่างไล่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป

ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุด 75% จำนวน 7 ลูก อยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง

ต้องย้ำว่า พายุหมุนเขตร้อนเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ปกคลุมพื้นที่กว้างนับร้อยกิโลเมตร ก่อให้เกิดผลกระทบเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะในอาณาบริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่าน จะได้รับผลกระทบมากที่สุด

ความเสียหายที่เกิดขึ้นแปรผันตามความรุนแรงของพายุ...มีกำลังแรงในขั้นดีเปรสชัน ความเสียหายส่วนใหญ่จะเกิดจากฝนตกหนัก และอุทกภัยที่เกิดขึ้นตามมา

เมื่อพายุมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนหรือไต้ฝุ่น จะมีความเสียหายเพิ่มขึ้นอีกมากทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จากฝนตกหนัก อุทกภัย ลมพัดแรงจัด คลื่นสูงในทะเล...มีคลื่นซัดฝั่ง

พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็น...พายุดีเปรสชัน มักจะอ่อนกำลังลงก่อนถึงประเทศไทย ส่วนพายุโซนร้อน หรือไต้ฝุ่น มีโอกาสเกิดน้อย

ในรอบ 48 ปี...มีเพียง 11 ครั้ง ที่มีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อน หรือไต้ฝุ่น ในจำนวนนี้ มีครั้งเดียวที่มีกำลังแรงเป็นไต้ฝุ่น คือ ไต้ฝุ่นเกย์



กรมอุตุนิยมวิทยา แจงว่า ภัยพิบัติ...สตอร์ม เซิร์จ ในอ่าวไทยตอนบน ความรุนแรงเท่ากับพายุไซโคลนนาร์กีส จึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้...น้อย...ถึงน้อยมาก

ประการแรก...สถิติในรอบ 57 ปี มีพายุเคลื่อนตัวเข้ามาในอ่าวไทยตอนบนในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน แต่ความแรงลมมักน้อยกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ประการที่สอง... การเคลื่อนตัวของพายุในอ่าวเบงกอลที่เข้าประเทศพม่าเกิดจากลมที่มีความชื้นมาก ทำให้พายุมีกำลังแรงขึ้นก่อนขึ้นฝั่ง

แต่...พายุที่เคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทย เกิดจากลมที่มีความชื้นน้อย จะทำให้พายุอ่อนกำลังลง และมีแรงลมน้อยกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ขณะที่สตอร์ม เซิร์จ เกิดจากพายุที่มีแรงลมมากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ประเด็นสำคัญ การติดตามการก่อตัวและแนวโน้มของพายุที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยาสามารถแจ้งเตือนให้ทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมป้องกันได้ไม่น้อยกว่า 5 วัน

สรุปว่า...สตอร์ม เซิร์จ ถึงจะเป็นภัยพิบัติที่น่ากลัว แต่ก็ยังไม่มาเร็วด่วนจี๋ภายในชั่วโมง...ครึ่งชั่วโมง เหมือนคลื่นยักษ์สึนามิ

แต่ที่ต้องกลัว และไม่ประมาท สตอร์ม เซิร์จ เกิดจากพายุหมุนโซนร้อนที่พัดเข้าอ่าวไทย ยังไงก็มีโอกาสเกิดถี่กว่าสึนามิหลายเท่านัก.
 
 

จาก              :              ไทยรัฐ  สกู๊ปหน้า 1      วันที่ 20 สิงหาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2008, 01:31:45 AM »


่ไทยไร้แผนรับมือ โลกร้อนพายุแรง


 
สถิติพายุไซโคลนเข้าสู่ประเทศไทยเฉลี่ยปีละ 3 ลูก เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนกระทั่งถึงเดือนธันวาคม แต่ช่วงที่มีโอกาสเข้ามากที่สุดคือกันยายนถึงตุลาคม

ระยะนี้พายุหมุนโซนร้อนจะมีเส้นทาง เข้าสู่บริเวณอ่าวไทย...ภาคใต้ และมีกำลังค่อนข้างแรง ระดับพายุโซนร้อน

ที่น่ากลัว...หากพายุเหล่านี้ไม่ได้เสียกำลังในการปะทะขอบฝั่ง เทือกเขา แต่ เข้าอ่าวไทยตรงๆ จะสร้างความเสียหายเป็นทวีคูณ

เสี่ยงต่อการเกิด...สตอร์ม เซิร์จ

พายุเกิดใกล้อ่าว เกิดขึ้นมาแล้วก็เคลื่อนตัวเข้าฝั่ง คือความเสี่ยงที่สุดที่ประเทศไทยจะโดนพายุแบบเต็มๆ แต่ก็มีโอกาสเกิดน้อย

ที่ต้องจับตา คือ ดีเปรสชัน ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่นับเป็นพายุหมุน

ดีเปรสชันเกิดขึ้นง่ายและเกิดบ่อย...แถมเกิดใกล้ฝั่ง ความน่ากังวล ถ้าฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานานต้องระวังเรื่องน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

ดีเปรสชันมีทั้งลมแรง ฝนมาก เป็นพายุที่รุนแรง หากอยู่ใกล้ทะเล จะทำให้ มีคลื่นรุนแรง และก่อนหน้าที่จะเกิดดีเปรสชัน ต้องสังเกตว่า มีฝนตกต่อเนื่อง หรือเปล่า?

ถ้ามี...ตกหนักแค่ไหน เพราะถ้าตกหนัก ตกนาน และมีดีเปรสชันเข้ามาเสริมโอกาสที่ดินโคลนถล่มจะมีมากขึ้น

“ภัยพิบัติ...ปกติมีอยู่แล้ว แต่ภัยพิบัติที่เกิดจากโลกร้อน ยังเป็นเรื่องใหม่”

ดร.พิจิตต รัตตกุล ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย หรือ adpc (Asian Disaster Preraredness Center) บอก

“การที่เราจะแก้ปัญหาเพียงลดอุณหภูมิโลกด้วยการดับไฟ ประหยัดพลังงาน... คงไม่พอ ต้องเตรียมมาตรการรับมือทุกฤดูกาล ทุกภูมิภาค”

ภาพใหญ่ปัญหาวันนี้ เริ่มตั้งแต่ห่วงโซ่เหตุการณ์ ทรัพยากรธรรมชาติถูกละเมิด นำไปสู่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อากาศร้อน ก๊าซเรือนกระจกสะสม จนเกิดภาวะโลกร้อน

นำไปสู่การเกิดภัยพิบัติที่มีความถี่และรุนแรงมากขึ้น

คาดว่า ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ระดับน้ำทะเลจะสูงถึง 60 เซนติเมตร กรุงเทพฯ อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 37 เซนติเมตร ถ้าน้ำทะเลสูงขึ้นขนาดนั้น... ก็เรียบร้อย

ถัดมา...ลมฟ้าอากาศรุนแรง ผลจากโลกร้อนจะเพิ่มความรุนแรง ความถี่ขึ้นเกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่ เนื่องมาจากปริมาณน้ำฝน น้ำทะเลหนุน

ภัยพิบัติที่ไม่ค่อยพูดถึง...ภาวะแห้งแล้งจัดในบางพื้นที่ ในบางเวลา

“ประเทศเดียวกันอาจจะมีทั้งภาวะน้ำท่วม แห้งแล้ง นำไปสู่ปัญหาโรคระบาด ศัตรูพืช พืชเศรษฐกิจถูกทำลาย คนจนที่พึ่งพาแหล่งอาหารจากธรรมชาติ จะได้รับผลกระทบหนักที่สุด”

อีก 40 ปีข้างหน้า จะนำไปสู่การขาดแคลนน้ำจืดบริโภค ดังนั้นวันนี้จึงต้องมีการบริหารจัดการน้ำให้ลงตัว น้ำท่วมก็จัดเก็บได้ หากแห้งแล้งก็นำมาใช้ได้ ไม่ใช่ท่วมแล้วก็ปล่อยให้ท่วม ไหลทิ้งไปหมด

ดร.พิจิตต ย้ำว่า การบริหารจัดการน้ำเป็นมิติใหม่ในอนาคตที่ต้องทำให้ได้ปริมาณน้ำเก็บ น้ำไหลแต่ละช่วงเวลา และระบบการกระจายน้ำสู่ผู้ใช้ภาคเกษตร ผู้บริโภค

“รัฐบาลมีโครงการอยู่บ้าง แต่ยังไม่เห็นแผนในภาพรวม”

ล่าสุด...ปริมาณน้ำแม่น้ำโขงมีปัญหาชัดเจน เอ่อล้นท่วมฉับพลัน ใช่ว่า

จะมีปัญหามาจากพายุฝนเท่านั้น ยังเกี่ยวโยงกับต้นน้ำ ปล่อยน้ำออกมาจากเขื่อน

“ต้นน้ำคำนึงถึงการบริหารจัดการน้ำ แต่ก็มีปัญหาบริหารจัดการยังไม่ดี พอมีน้ำมาเยอะ โลกร้อนน้ำแข็งขั้วโลกละลาย บวกกับพายุก็ต้องปล่อยน้ำลงสู่แม่น้ำโขงมากขึ้น”

ผลกระทบนี้ ประเทศไทยจำต้องรับแบบเลี่ยงไม่ได้ ต้องสร้างแหล่งกักเก็บน้ำย่อยในประเทศ ผ่านแม่น้ำชี แม่น้ำมูล ไปยังซอกเขา แก้มลิงไว้รองรับ

ภัยพิบัติถัดมา...การเซาะกร่อนไหล่ทวีป ปัญหาน้ำเค็มไหลเข้าสู่พื้นที่การเกษตร อีก 40 ปีข้างหน้า คาดกันว่า...ป่าชายเลนกว่าครึ่งจะหายไป



นั่นก็หมายความว่า ป่าชายเลนที่เคยเป็นตัวกั้นคลื่น กั้นพายุก็จะหายไปด้วย ไม่ว่า...สตรอม เซิร์จ หรือคลื่นขนาดใหญ่ รวมถึงการเซาะกร่อน จะยิ่งเกิดมากขึ้น

ควบคู่ไปกับปัญหาภัยพิบัติ ประเทศไทยยังต้องเจอกับแหล่งอาหารที่ลดน้อยถอยลง ป่าชายเลนที่เป็นบริเวณสร้างชีวิตสัตว์น้ำหลากหลาย ก็เสียหายไปด้วย

ปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสนใจ คือการเตรียมรับมือ ซึ่งไม่ใช่ เรื่องของชาติ ของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของเอกชน และประชาชนในทุกภาคส่วน

ที่สำคัญ...ต้องมีแผนแห่งชาติรับมือภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อน

“แผนแห่งชาติจะต้องนำภัยพิบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นมาเป็นตัวตั้ง วางแผนแก้ไขว่าจะต้องมีอะไรบ้าง”

ยุทธศาสตร์จะต้องระบุชัด ลงลึกถึงแต่ละพื้นที่ว่าจะต้องทำอย่างไรในแต่ละฤดูกาล...พื้นที่เสี่ยง ตรงไหนเสี่ยงมาก เสี่ยงน้อย

คงจะพูดไม่ได้ว่าแผนแห่งชาติจะมีหน้าตาอย่างไร แต่พูดได้เพียงว่าต้องรอบด้าน ครอบคลุมทุกผลกระทบจากทุกภัยพิบัติ

“จะต้องมีแผนที่ของความแห้งแล้ง พื้นที่ที่จะโดนน้ำท่วม ดินถล่ม แผ่นดินไหว พื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ พายุไซโคลน โรคระบาด ในช่วงไหนของปี”

สิ่งสำคัญเมื่อมีแผนแล้ว ทุกหน่วยงาน หลากหลายองค์กรยังต้องร่วมมือกันในทิศทางเดียวกัน

แต่วันนี้...เรายังไม่มีแผนรับมือแบบองค์รวม ต่างหน่วยต่างทำ แยกแต่ละประเภทภัยพิบัติ น้ำท่วมก็ทำน้ำท่วม ดินถล่มก็ทำดินถล่ม พายุ...แผ่นดินไหวก็ทำกันไป

ศูนย์ adpc เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นโดยสหประชาชาติ ทำหน้าที่สนับสนุนรัฐบาลประเทศเครือข่ายซึ่งมีทั้งหมด 23 ประเทศ กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว ในการวางแผนรับมืออุบัติภัยฉุกเฉินและจัดฝึกอบรม

ดร.พิจิตต บอกว่า แผนรับมือภัยพิบัติเป็นภาพที่ใหญ่กว่า เป็นการมองไกลกว่าการรับมือ เชื่อมต่อไปถึงการดำรงชีวิตอยู่ของผู้คน ซึ่งแม้แต่ไม่มีอุบัติภัยก็อาจจะตายได้ เพราะอดข้าว อดน้ำ ขาดแคลนแหล่งอาหาร

“ประเทศอื่นเริ่มแล้ว...ในประเทศที่เจริญแล้วยิ่งมีแผนสมบูรณ์มาก ประเทศกำลังพัฒนาก็เริ่มบ้าง แต่ยังอยู่ในขั้นเริ่มกระเตาะกระแตะ”

อนาคตประเทศไทยต้องรับปัญหาหนักสุดคือ น้ำ...ทั้งขาด ท่วม และน้ำจืดหาย กระทบภาคเกษตร อาหารขาดแคลน และปัญหาการเกิดพายุรุนแรง

ภัยพิบัติพายุ น้ำท่วม ดินถล่ม แผ่นดินไหว พยากรณ์เตรียมพร้อมล่วงหน้าได้ แต่การบริหารจัดการวางแผนรับมือยากกว่า

“พายุนาร์กีสรู้ล่วงหน้า 7 วัน พยากรณ์ทิศทางเตือนล่วงหน้าทำนายได้แม่นยำระดับ 9 ตารางกิโลเมตร จะขึ้นฝั่งตรงไหน แต่ก็เกิดความสูญเสียมหาศาล เพราะแผนรับมือไม่มี”

การพยากรณ์ที่มีความละเอียด แม่นยำสูงสำคัญมาก นำไปใช้วางแผนการอพยพ เพาะปลูก สร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะหน้าได้

ชัดเจนขึ้นไปอีก...กรณีเกิดแผ่นดินไหว เจาะจงพื้นที่กรุงเทพฯ แผนรับมือต้องเตรียมเลยว่า พื้นที่กรุงเทพฯทั้งหมดตึกไหน โซนไหนอันตราย...ตึกไหน ประเภทไหนแข็งแรง

“คนในแต่ละชุมชนจะได้รู้ว่า เมื่อเกิดเหตุจะต้องทำอย่างไร จะอยู่ต่อหรือจะหนีให้ห่างตึกประเภทไหน”

เหตุการณ์ดินถล่ม กรมทรัพยากรธรณี ระบุจุดเสี่ยงทั่วประเทศไทย มีกว่า 2,600 จุด ตามแนวภูเขาเหนือจดใต้ของประเทศ

สมมติว่า กรมอุตุพยากรณ์ได้ว่าพายุฝนจะมาฝั่งนี้ พื้นที่ภูเขาจุดเสี่ยงดินถล่มก็จะเหลือน้อยลง เตรียมรับมือเฉพาะพื้นที่

แผนรับมือแผ่นดินถล่มระดับชุมชน หากฝนตกหนัก ก็ให้คนในชุมชนไปวัดระดับปริมาณน้ำฝน แจ้งข้อมูลไปยังศูนย์เตือนภัย ถ้าถึงจุดเสี่ยงก็ออกประกาศเตือนภัยอพยพ

“ปัญหามีว่า...ถ้าระบบโทรศัพท์ล่มจะทำอย่างไร ก็หมายความว่ากระทรวงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ต้องเข้ามาร่วมอยู่ในแผนรับมือ”

ดร.พิจิตต รัตตกุล ทิ้งท้ายว่า หลายประเทศเกิดภัยพิบัติถี่และรุนแรงไม่เห็นความสำคัญ...อาจมองปัญหาไม่ออก

แผนรับมือภัยพิบัติจากโลกร้อน มีความสำคัญยิ่ง เป็นภัยพิบัติในอนาคตที่ทุกประเทศจะเพิกเฉยไม่ได้.
 
 


จาก              :              ไทยรัฐ  สกู๊ปหน้า 1      วันที่ 21 สิงหาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
angel frog
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 371


สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว


« ตอบ #14 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2008, 03:51:43 AM »

ไงดีละค่ะ...ท่าน   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 21 คำสั่ง