กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 27, 2024, 04:01:38 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ป่าชายเลน  (อ่าน 48733 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 12:06:31 AM »


ป่าชายเลนลดลงเหลือ 1,047,390 ไร่   ขอพื้นที่ทำนากุ้งมาปลูกป่าชายเลนแทน

นางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยว่า  สถานการณ์ป่าโกงกางหรือป่าชายเลนของไทยนั้นยังมีสัดส่วนการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2530 ที่ป่าชายเลนของไทยมีเพียง 1.3 ล้านไร่ ปัจจุบันจากการสำรวจของดาวเทียมพบว่าป่าชายเลนของไทยมีสัดส่วนเพิ่มเป็น 1.5 ล้านไร่
 
อย่างไรก็ตามกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เตรียมจัดทำแผนการโครงการฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าชายเลนขึ้นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2547-2551 เพื่อให้สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้มากขึ้นเป็น 2 ล้านไร่ควบคู่ไปกับการเร่งฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของป่าชายเลนเพราะป่าชายเลนมีความสำคัญต่อระบบนิเวศโดยเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำช่วยกรองมลพิษบริเวณชายฝั่งเป็นแหล่งไม้สำหรับใช้ก่อสร้างและยังเป็นกำแพงลดความรุนแรงของคลื่นและพายุได้ ปัจจุบันพื้นที่ปลูกป่าชายเลนที่เป็นของรัฐสามารถนำมาใช้ปลูกป่าชายเลนมีความสมบูรณ์ของป่าเพียง 7 แสนไร่ ในจำนวนดังกล่าวมีการปลูกป่าชายเลนไม่ถึง 1,000 ไร่ ดังนั้นหากจะปลูกป่าชายเลนให้ได้ตามเป้าต้องจัดหาพื้นที่เพิ่ม ซึ่งเร็ว ๆ นี้ทช.เตรียมเสนอไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเร่งประสานกับกรมป่าไม้เสนอขอใช้พื้นที่สัมปทานของเอกชนที่รกร้างจากการทำบ่อเลี้ยงกุ้งมาปรับใช้เพื่อปลูกป่าชายเลนคาดว่าจะมีประมาณ 10,000 ไร่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้อีกจำนวนหนึ่ง
 
สำหรับสาเหตุของปัญหาพื้นที่ป่าชายเลนลดลงเนื่องจากการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งรวมทั้งการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อกิจกรรมอื่น เช่น การทำเหมืองแร่ การทำนาเกลือ การทำเกษตรกรรม การขยายชุมชนการสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้า การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมและการขุดลอกร่องน้ำและกิจกรรมอื่น ๆ อีกหลายประเภทได้เจริญเติบโตและขยายตัวอย่างไร้ขอบเขตไปสู่บริเวณชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะในพื้นที่ป่าชายเลนจนทำให้พื้นที่ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็วและเป็นไปอย่างรุนแรงจนน่าวิตก.

 

จาก     :     เดลินิวส์   วันที่ 19 มิถุนายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 12:28:46 AM »


ทช.นัดถกกรมป่าไม้ เจรจาขอ"นากุ้ง"เก่า ระดมปลูกป่าชายเลน กรองมลภาวะชายฝั่ง 

นางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ป่าโกงกางหรือป่าชายเลนของไทยมีสัดส่วนการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2530 โดยผลสำรวจทางดาวเทียมล่าสุด พบป่าชายเลนของไทยมีสัดส่วนเพิ่มเป็น 1.5 ล้านไร่ อย่างไรก็ตามกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯเตรียมจัดทำแผนการโครงการฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าชายเลนขึ้นระยะเวลา 5 ปี ตั้ง แต่ปี 2547-2551 เพื่อให้สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้มากขึ้นเป็น 2 ล้านไร่ควบคู่ไปกับการเร่งฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของป่าชายเลน สำหรับเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำช่วยกรองมลภาวะบริเวณชายฝั่งเป็นแหล่งไม้สำหรับใช้ก่อสร้าง และยังเป็นกำแพงลดความรุนแรงของคลื่นและพายุได้

ขณะเดียวกันกรมฯ เตรียมเสนอไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เพื่อเร่งประสานกับกรมป่าไม้เสนอขอใช้พื้นที่สัมปทานของเอกชนที่รกร้างจากการทำบ่อเลี้ยงกุ้งมาปรับใช้เพื่อปลูกป่าชายเลนคาดว่าจะมีประมาณ 10,000 ไร่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้อีกจำนวนหนึ่ง

นางนิศากร กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่พื้นที่ป่าชายเลนลดลงเนื่องจากการบุกรุกพื้นที่ป่าชายลนเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้ง รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อกิจกรรมอื่น เช่น การทำเหมืองแร่ การทำนาเหลือ การทำเกษตรกรรม การขยายชุมชน การสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้า การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และการขุดลอกร่องน้ำและกิจกรรมอื่นๆอีกหลายประเภท ซึ่งหากประเทศไทยยังไม่มีการดูแลบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนอย่างชัดเจน พื้นที่ป่าชายเลนโดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยอาจจะถูกทำลายและมีสภาพที่เสื่อมโทรมไปเรื่อยๆ กรมฯตระหนึกถึงความสำคัญของการฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าโกงกาง ป่าชายเลนให้คงสภาพความสมบูรณ์ไว้ จึงเตรียมขอความร่วมมือกับภาคเอกชนและชุมชนในท้องถิ่นจัดทำโครงการฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าชายเลนขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการฟื้นฟูให้กลับสู่ป่าชายเลนที่สมบูรณ์



จาก     :     แนวหน้า  วันที่ 19 มิถุนายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2007, 12:06:44 AM »


ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมภาคใต้ เพิ่มป่าชายเลน 1.5 ล้านไร่
 
พล.ต.ต.ดิเรก พงษ์ภมร รองเลขาธิการมูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เผยว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญเกี่ยวกับป่าชายเลน และทรงให้มีการเร่งฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนบริเวณค่ายพระรามหก อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ซึ่งในอดีตสภาพเสื่อมโทรมมาก เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ของป่าชายเลนที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ โดยให้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ กระทั่งในปี พ.ศ. 2546 โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯได้มีการเข้ามาช่วยดำเนินการปลูกป่าชายเลนจำนวน 100 ไร่ในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

ด้านนางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เผยว่า ป่าโกงกางหรือป่าชายเลนของไทยนั้นยังมีสัดส่วนการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2530 ที่มีอยู่ 1.3 ล้านไร่ ปัจจุบันสำรวจด้วยดาวเทียมพบว่าเพิ่มเป็น 1.5 ล้านไร่ กรมฯได้เตรียมจัดทำแผนการโครงการฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าชายเลนขึ้นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2547-2551 เพื่อให้สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้มากขึ้นเป็น 2 ล้านไร่

อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเผยอีกว่า ปัจจุบันพื้นที่ปลูกป่าชายเลนที่เป็นของรัฐ สามารถนำมาใช้ปลูกป่าชายเลนมีความสมบูรณ์ของป่าเพียง 7 แสนไร่ ในจำนวนดังกล่าวมีการปลูกป่าชายเลนไม่ถึง 1,000 ไร่ ดังนั้น หากจะปลูกป่าชายเลนให้ได้ตามเป้าต้องจัดหาพื้นที่เพิ่ม ทช.เตรียมเสนอไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเร่งประสานกับกรมป่าไม้เสนอขอใช้พื้นที่สัมปทานของเอกชน ที่รกร้างจากการทำบ่อเลี้ยงกุ้งมาปรับใช้เพื่อปลูกป่าชายเลน คาดว่าจะมีประมาณ 10,000 ไร่.
 
 
จาก     :     ไทยรัฐ  วันที่  21 มิถุนายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2007, 01:31:47 AM »

สงสัยว่า..ต้นไม้ที่พวกเราจะไปปลูก..จะได้อยู่ใน 1.5 ล้านไร่มั๊ยน๊า..
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
Sea Man
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2208


ท้องฟ้า/ภูเขา/ป่าไม้/ทะเล


« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2007, 07:50:58 AM »

........ด้วยหรือเปล่า.....หนอ.........
บันทึกการเข้า

.....รู้จักคิด....ฟังความคิดผู้อื่น....พร้อมเปลี่ยนแปลง....ไปสู่สิ่งใหม่และดีกว่า.....
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2007, 07:54:57 AM »

เราน่าจะไปปลูกในที่ที่คนไม่ค่อยจะสนใจปลูกกันนะคะ....

ปิดทองหลังพระ....พระจะได้งามอร่ามทั้งองค์ ไงคะ....ใช่ไหมๆน้อง Vita
บันทึกการเข้า

Saaychol
Sea Man
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2208


ท้องฟ้า/ภูเขา/ป่าไม้/ทะเล


« ตอบ #6 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2007, 07:57:35 AM »

...........อะ.............สาธุ..........จ้า
บันทึกการเข้า

.....รู้จักคิด....ฟังความคิดผู้อื่น....พร้อมเปลี่ยนแปลง....ไปสู่สิ่งใหม่และดีกว่า.....
Hear
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2



« ตอบ #7 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2007, 01:12:25 PM »

วันที่ 7/7/2550 มีพี่ๆที่กรมทรัพยากรชวนกันไปปลูกป่าชายเลน ที่ ต.โคกขาม สมุทรสาคร   ไม่ทราบว่ามีสมาชิกคนไหนไปร่วมโครงการนี้บ้างคะ
บันทึกการเข้า
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #8 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2007, 01:28:17 PM »

หรือคะ..... ......พวกเราไม่ได้รับแจ้งเรื่องนี้เลยค่ะคุณ Hear....

หุ..หุ...สงสัยว่า เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพย์ฯ โดยเฉพาะน้องโด่งคงลืมพวกเราไปแล้วกระมังคะ.....

เสียดาย และเสียใจที่เผอิญวันนี้พวกเราบางส่วนเพิ่งตกลงกันว่าจะไปตัดอวนที่ติดอยู่ที่เรือคราม  ใต้ทะเลพัทยาในวันที่ 7 เดือน 7 แล้วล่ะค่ะ ส่วนสมาชิกคนอื่นๆก็คงไม่ว่างกันมั๊งคะ  จึงคิดว่าพวกเราคงไม่สามารถไปร่วมปลูกป่ากับกรมทรัพย์ฯ ได้ค่ะ

ไว้โอกาสหน้าคงได้ไปปลูกป่ากันใหม่ ต้องขอขอบคุณคุณ Hear ที่แจ้งมาให้ทราบค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 29, 2007, 01:33:15 PM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
Vita
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 983


อยู่เหนือสุขและทุกข์ได้ เป็นดี..!


« ตอบ #9 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2007, 02:10:07 PM »

เราน่าจะไปปลูกในที่ที่คนไม่ค่อยจะสนใจปลูกกันนะคะ....

ปิดทองหลังพระ....พระจะได้งามอร่ามทั้งองค์ ไงคะ....ใช่ไหมๆน้อง Vita

ใช่ครับ พี่สายชล
ใครสะดวกตรงไหน ก็ทำตรงนั้น ช่วยๆกันครับ
บันทึกการเข้า

สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2007, 12:03:58 AM »


พังงาสร้างนักวิจัยน้อยร่วมสำรวจธรรมชาติ
 

 
 ปลุกจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง อีกหนึ่งกิจกรรมร่วมลดภาวะวิกฤติโลก

ป่าชายเลน ในประเทศไทย นับวันจะลดลง เนื่องจากภาวะโลกมีการเปลี่ยนแปลง และสิ่งสำคัญที่ทำให้โลกมีการเปลี่ยนแปลง คือ มนุษย์ นั่นเอง ทั่วโลกจึงร่วมมือกันลดภาวะวิกฤติด้วยการปลูกป่าฟื้นคืนธรรมชาติให้เหมือนเดิม หรือให้ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน
 
สำหรับในประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างร่วมมือกันจัดขึ้นมาหลายโครงการ หลายกิจกรรม ซึ่งทางจังหวัดพังงา ถือเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ยังมีป่าชายเลนอยู่จำนวนมาก จึงจัดกิจกรรมฟื้นคืนป่าชายเลนขึ้นมาให้อยู่คู่โลกตลอดไป


 
นายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จังหวัดพังงา โดยกลุ่มนักวิจัยน้อยแห่งบ้านบางเตย ทั้งนี้จากสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อน ซึ่งส่งผลกระทบไปยังทุกภูมิภาคของโลก ไม่เว้นแม้กระทั่ง ประเทศไทย จากเหตุการณ์พายุที่เกิดขึ้นรุนแรง ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วม แผ่นดินเลื่อนไหล น้ำป่าไหลหลาก ในขณะที่บางพื้นที่เกิดสภาวะแห้งแล้ง หรือการเกิดพายุพัดถล่มชายฝั่งของประเทศ ทั้งอ่าวไทยและอันดามัน เกิดแผ่นดินไหวเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการเกิดคลื่นสึนามิ ล้วนแต่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยและทั่วโลก ซึ่งทุก ๆ คนคงได้เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการนำเสนอของคณะทำงาน CHARM เราทุกคนคงยอมรับถึงสถานการณ์เหล่านี้เป็นอย่างดี และเราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าสาเหตุสำคัญเกิดจากน้ำมือของพวกเรา จำเป็นต้อง เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์เหล่านี้ให้ทันเวลาเพื่อป้องกันและลดความรุนแรงจากภัยธรรมชาติ
 
ผวจ.พังงา เปิดเผยอีกว่า นอกจากภัยธรรมชาติแล้วทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ชายฝั่ง ยังได้รับผลกระทบจากการพัฒนาในพื้นที่ทั้งด้านการประมงมากเกินไป การทำการประมงผิดกฎหมาย การบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน น้ำเสียจากบ่อกุ้ง และอุตสาหกรรม ตลอดจนครัวเรือน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการอนุรักษ์และพื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งให้อยู่ในสภาพที่สมดุล สามารถสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในชุมชน ซึ่งใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านี้ในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความร่วมมือของชุมชน  ในการดูแลจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ทางโครงการ CHARM ได้เข้ามา ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ    การพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างความ เข้มแข็งให้กับชุมชน   ให้สามารถศึกษา เรียนรู้ และเข้าใจทรัพยากรในท้องถิ่น ตลอดจนสามารถเฝ้าระวังและติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การบริหาร และการจัดการทรัพยากรของชุมชนด้วยตัวของชุมชนเอง ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตั้งแต่ประชาชนในพื้นที่ ผู้นำท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล นักเรียน ครู และอาจารย์ ตลอดจนหน่วยงานของจังหวัด และจากส่วนกลางเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติยังคงอยู่ และสร้างประโยชน์ให้กับท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน



นายวินัย เปิดเผยเพิ่มเติมอีกว่า ทั้งนี้จังหวัดพังงา มีพื้นที่ป่าชายเลน และมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดของประเทศ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ ทั้งที่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน เกาะปันหยี อ่าวพังงา และเกาะยาว รวมทั้งพื้นที่ตำบลบางเตยก็มีการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่บ้านบางพัฒน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์จังหวัดพังงา การดำเนินโครงการสำรวจและติดตามทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน ถือว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดพังงา เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชายฝั่งค่อนข้างสูง หากได้มีการดูแลเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชนแล้วน่าจะช่วยให้ การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเกิดประสิทธิภาพ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
         
โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนความรู้และเทคนิคจากเจ้าหน้าที่โครงการ มีการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย ทำให้เกิดกลุ่มนักวิจัยน้อยบ้านบางเตยขึ้น มา ถึงแม้จะเป็นแค่จุด เริ่มต้นเล็ก ๆ ที่เริ่มสร้างความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน แต่น่าจะเป็นการจุดประกายให้เกิดการขยายผลไปใช้ในพื้นที่ ต่าง ๆ ของจังหวัดพังงาและพื้นที่ชายฝั่งของประเทศเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรที่ยั่งยืนยิ่งตลอดไป.


จาก       :        เดลินิวส์   วันที่ 17 กรกฎาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #11 เมื่อ: กันยายน 03, 2007, 12:32:24 AM »


โฮมสเตย์บ้านลีเล็ด ห้องสมุดธรรมชาติ-คลังเรียนรู้ชุมชน


 
ชายฝั่งทะเลไม่ต่างกับโรงงานผลิต สิ่งมีชีวิตป้อนคืนความสมดุลสู่ท้องทะเล แต่เมื่อความเจริญรุกคืบ ทำให้ชายฝั่งเสื่อมสภาพจากการบุกรุก นำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทุนและชุมชนดั้งเดิม

การเข้ามาของโครงการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง หรือ (CHARM) และโครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ (REST) เมื่อปี 2547 เป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้ชุมชนชายฝั่งของ ต.ลีเล็ด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เกิดรูปแบบของการนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ แก้ไขปัญหาที่รุมเร้าทำลายทรัพยากร สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรายได้เสริมให้คนในชุมชนอีกทางหนึ่ง

"โฮมสเตย์บ้านลีเล็ด" กลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัวของการบูรณาการและจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ในรูปแบบธุรกิจขนาดเล็กของ ชุมชนเพื่อชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษที่น่าสนใจอย่างยิ่ง นอกจากผืนทะเลโอบล้อมด้วยป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์กว่า 8,000 ไร่แล้ว ยังมี จุดเด่นอื่นๆ ที่แต่งเติมให้บ้านลีเล็ดมีคุณค่าเหมาะแก่การเรียนรู้มากมาย ทั้งการชมระบบนิเวศป่าชายเลน ประมงพื้นบ้าน ล่องแม่น้ำชมวิถีชีวิต ชมโบราณสถานศรีวิชัย การทำอาหาร เรียนรู้กลุ่มทำอาชีพทำกะปิ กลุ่มสมุนไพร กลุ่มจักสาน กลุ่มใบจาก และชมการแสดงลิเกป่า รวมถึงพายเรือชม หิ่งห้อยยามค่ำคืน และประเพณีพื้นบ้านของชุมชน
 


หลังจาก CHARM และ REST ริเริ่มโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทิศทางจัดการ "โดยชุมชน เพื่อชุมชน" และชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของ มีสิทธิในการดูแลเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนแก่ผู้มาเยือน ทำให้บ้านลีเล็ดมีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาและกลุ่มทำงานนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์โดยคนในชุมชนจาก 8 หมู่บ้านแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน

"ประเสริฐ ชัญจุกรณ์" กำนันตำบลลีเล็ด และประธานกลุ่มท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ ให้ข้อมูลว่า ตำบลลีเล็ดป็นพื้นที่ราบลุ่ม ติดทะเลอยู่ในอ่าวบ้านดอน มีแม่น้ำตาปีไหลผ่าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำประมง ฟาร์มกุ้ง และการเกษตร ในอดีตชาวบ้านจะใช้อวนลาก อวนรุน ในการจับสัตว์น้ำ ทำให้ระบบนิเวศเสื่อมโทรมลง
 


แต่หลังจากโครงการ CHARM ให้คำแนะนำและสนับสนุนโครงการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง เปลี่ยนเครื่องมือประมงใหม่ และอบรมการทำเครือข่ายเฝ้าระวังทางทะเล สนับสนุนวิทยุสื่อสารแก่อาสาสมัคร พร้อมเข้ามาประสานให้มีการก่อตั้งกลุ่มท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ขึ้น โดยการอบรมและให้งบประมาณกว่า 1 ล้านบาท ทำให้ชุมชนมีทิศทางการพัฒนาและสร้างจุดยืนที่เข้มแข็ง ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรและส่งเสริมการประกอบอาชีพอีกทางหนึ่ง ตั้งแต่ปี 2547-2550

จึงเป็นผลให้ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ และขยายพื้นที่ออกไปในทะเลอีกกว่า 3,000 ไร่ และยังได้รับการชมเชยจากกรมประมงให้เป็นหมู่บ้านตัวอย่างอีกด้วย

กำนันประเสริฐยังบอกอีกว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นชาวยุโรปและกลุ่มคณะนักเรียน หน่วยงานราชการในจังหวัดใกล้เคียง โดยมีบริษัทนำเที่ยวเป็นผู้จัดสรรนักท่องเที่ยว เนื่องจากอุปสรรคสำคัญของชุมชนคือช่องทางการประชาสัมพันธ์ และภาษาที่ต้องพัฒนาเพิ่ม

แต่สิ่งหนึ่งที่ชุมชนได้ประโยชน์นอกเหนือจากรายได้แล้ว ยังเป็นการสร้างความเป็นปึกแผ่น และกระตุ้นให้คนในชุมชนรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นไว้ด้วย มีผลช่วยทำให้ชาวบ้านในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

"โฮมสเตย์" ชุมชนริมชายฝั่งทะเลเหล่านี้ คือปราการด่านแรกในการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรชายฝั่งอย่างรู้คุณค่า โดยมิได้แสวงหาแต่เม็ดเงินหรือผลกำไรเท่านั้น แต่การได้มาซึ่งความตระหนักรู้และชุมชนเข้มแข็ง อยู่บนบาทวิถีแห่งความพอเพียงและอยู่ดีมีสุข

นั่นคือสิ่งสำคัญในการยึดมั่นของชาวบ้านตำบลลีเล็ด



จาก       :        ประชาชาติธุรกิจ   วันที่ 3 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #12 เมื่อ: กันยายน 20, 2007, 01:00:43 AM »


เกษม 3 หน่วยงาน ตั้ง Operation Room ดูแลป่าไม้-ชายเลน  
 
 นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนากรมป่าไม้ครบรอบ 111 ปี ณ กรมป่าไม้ พร้อมเยี่ยมชมรูปแบบการทำงาน Operation Room ของกรมป่าไม้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการป้องกันและปราบปรามผู้บุกรุกและลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ป่าสงวนที่อยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ ทรัพยากรป่าไม้ ทั้งนี้ได้มอบหมายกรมป่าไม้ เป็นหน่วยงานประสานระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการใช้ประโยชน์จาก Operation Room ด้านทรัพยากรป่าไม้และป่าชายเลนร่วมกัน รวมถึงการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ร่วมกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ กรมทรัพยากรน้ำ ได้มีการจัดตั้ง Operation Room เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำของไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 



จาก       :        แนวหน้า   วันที่ 20 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #13 เมื่อ: กันยายน 22, 2007, 12:14:19 AM »


ม.แม่โจ้จับมือชาวบ้านร่วมปลูกป่าชายเลน  หนทางที่ไม่เกินเอื้อมกับการอนุรักษ์ สนองพระราชเสาวนีย์แม่ของแผ่นดิน



ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง อยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดทั้งพืช และสัตว์ ป่าชายเลน จึงให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย ทั้งในด้านพลังงานและไม้ใช้สอย ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ เป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิด นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะเป็นเกราะกำบังและลดความรุนแรงของคลื่นลมชายฝั่ง ช่วยดักตะกอนสิ่งปฏิกูล และสารพิษ   ต่าง ๆ มิให้ไหลลงไปสะสมในบริเวณชายฝั่ง และในทะเล ซึ่งในปัจจุบันมีปัญหาหลายประการที่ทำให้ป่าชายเลนเริ่มเสื่อมโทรมลงอันได้แก่ การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง แหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม และกิจกรรมอื่นอีกหลายประเภทได้ ขยายไปสู่ชายฝั่งทะเล จนทำให้ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนน่าเป็นห่วง
 
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์เกี่ยวกับปัญหาทรัพยากรป่าไม้ และคุณภาพแหล่งน้ำสำคัญของประเทศ ที่นับวันลดน้อยถอยลงขยายเป็นวงกว้างมากขึ้นทุกที ทั้งป่าบก และป่าชายเลน ล้วนเกิดจากภัยพิบัติจากธรรมชาติ น้ำท่วม ไฟป่า และจากน้ำมือมนุษย์ สร้างความเสื่อมโทรมแก่ธรรมชาติและระบบนิเวศเป็นอย่างมาก จนทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกมารับสนองพระราชเสาวนีย์ นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก้ปัญหา โดยการฟื้นฟู ป้องกัน ปราบปรามผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งแนวโน้มอนาคตจะถึงขั้น  วิกฤติหนักหากยังไม่ได้รับความสนใจเหลียวแลจากหน่วยงานรับผิดชอบอย่างจริงจัง อีกทั้งเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน ในการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์จากรถ ควันพิษ และน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นตัวเร่งภาวะเรือนกระจก หากไม่มีป่าไม้เป็นเกราะป้องกัน เชื่อว่าอนาคตจะเกิดการแปรปรวนทางธรรมชาติ จนกระทบถึงลูกหลานของเรา  ซึ่งผู้คน  ทั้งประเทศต้องช่วยกันฟื้นฟูดูแลร่วมกันปลูก รักษาป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญทั้งป่าบก และป่าชายเลน


 
สำหรับในพื้นที่ป่าชายเลนที่มีมากที่สุดในประเทศอยู่ที่อ่าวพังงา ซึ่งเชื่อมติดต่อกับพื้นที่ 3 จังหวัด คือ พังงา กระบี่ และภูเก็ต หลังจากได้รับความเสียหายจากคลื่นยักษ์สึนามิ ชาวบ้านจึงช่วยกันปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ โดยชาวบ้าน    ท่าสนุก ต.มะรุ่ย อ.ทับปุด จ.พังงา เป็น   อีกแห่งที่มีพื้นที่ป่าชายเลน และได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ ชาวบ้านจึงร่วมมือกันฟื้นฟูขึ้นมาใหม่
 
นายประกอบ บ่มเกลี้ยง ผอ.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา และผอ.โครงการผลิตบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้วิทยาเขตพังงา-ภูเก็ต เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสนองพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ต้องการให้ทรัพยากรป่าไม้และแหล่งต้นน้ำสำคัญกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง หรือป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายไปมากกว่าในปัจจุบัน ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิชาสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ตนรับหน้าที่เป็นทั้งอาจารย์ และ ผอ.โครงการผลิตบัณฑิตแม่โจ้พังงา-ภูเก็ต จึงถือโอกาสนี้นำนักศึกษาออกไปศึกษาเล่าเรียนยังสถานที่จริง โดยมีชาวบ้านเป็นครูพิเศษสอนประสบการณ์ให้นักเรียนได้รับฟัง ว่าอดีตเมื่อมีการทำลายป่าชายเลน เช่น ตัดเผาถ่าน ตัดสร้างบ้านเรือน ขุดบ่อทำนากุ้ง ปัญหาที่ตามมามีอะไรบ้าง และทำไมปัจจุบันชาวบ้านถึงมาร่วมกันอนุรักษ์และป้องกันไม่ให้ป่าชายเลนถูกทำลายอีกต่อไป โดยร่วมกับชาวบ้านช่วยกันปลูกป่าชายเลนโดยชาวบ้านเป็นผู้กำหนดชนิดพันธุ์ไม้และบริเวณพื้นที่ปลูก เพราะต่อไปนี้ ชาวบ้านจะต้องอยู่ร่วมกับป่าที่ชาวบ้านเป็นผู้ปลูกและอนุรักษ์วิธีการบริหารจัดการให้ป่าสมบูรณ์


 
นายประกอบ เปิดเผยอีกว่า กลุ่มพลังนักศึกษาเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสังคม สามารถศึกษาเรียนรู้ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้สังคมได้ โดยเฉพาะปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดจากธรรมชาติและฝีมือของมนุษย์ ทุกคนต้องช่วยกันไม่เห็นแก่ความโลภและประโยชน์ส่วนตัว เช่น ตัดไม้ทำลายป่า เผาป่าเพื่อล่าสัตว์ ปล่อยน้ำเสีย และควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ใช้สารเคมีทางการเกษตร เราควรย้อนกลับไปใช้ชีวิตอย่างเช่น ในอดีตอยู่กันแบบเรียบง่าย ยึดหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสนองพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทำให้แม่ดูทำให้แม่มีความสุขสักครั้งและเพื่อลูกหลานของเราเองด้วย
 
ป่าชายเลน มีความสำคัญมากต่อชีวิตประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ หากไม่มีป่าชายเลน ระบบนิเวศก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องร่วมมือกันอนุรักษ์ป่าไม้ และป่าชายเลนให้อยู่คู่กับโลกตลอดไป.



จาก       :        เดลินิวส์   วันที่ 21 กรกฎาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #14 เมื่อ: กันยายน 24, 2007, 12:02:41 AM »


ทช.ลุยฟื้นป่าชายเลนหมดสัมปทาน ตั้งราษฎรอาสาพิทักษ์ดูแลรุกที่ดิน  

นางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมจัดทำมาตรการเพิ่มความเข้มข้นในการส่งเสริมการปลูกป่าชายเลนที่หมดสภาพและการฟื้นฟูป่าชายเลนที่หมดอายุการให้สัมปทานที่เสื่อมโทรมทั่วประเทศอย่างเร่งด่วน โดยมาตรการดังกล่าว นอกจากจะมีการสนับสนุนพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด อาทิ โกงกาง แสม ลำพูน ให้ชุมชนนำไปปลูกทดแทนสภาพป่าที่เสียไปแล้ว ยังจะอบรมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนในพื้นที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งในส่วนของชุมชนที่มีความพร้อม กรมฯจะให้เข้าไปส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่ม "ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า" หรือ รสทป. เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ทำงานร่วมกับภาครัฐในการดูแลป้องกันการบุกรุก และลักลอบตัดไม้ทำลายป่า พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมในการดำเนินงานให้ด้วย

"การจัดตั้งกลุ่ม รสทป. เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานที่สนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งกรมฯได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2540 โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ทำงานกับภาครัฐในการติดตามสถานการณ์ และแก้ไขปัญหา ตลอดจนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี กรมฯจึงมีแผนขยายการจัดตั้งกลุ่มรสทป.ให้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายได้แก่ บริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก. ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง ตลอดจนพื้นที่บ่อกุ้งที่หมดสัมปทานและถูกปล่อยทิ้งร้างที่กระจายอยู่ในต่างๆของภาคตะวันออก รวมทั้งที่จ.นครศรีธรรมราช และ จ.สุราษฎร์ธานี" นางนิศากร กล่าว



จาก       :        แนวหน้า   วันที่ 24 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: [1] 2 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.281 วินาที กับ 20 คำสั่ง