กระดานข่าว Save Our Sea.net
มีนาคม 29, 2024, 03:41:29 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แผ่นดินที่หายไป (2)  (อ่าน 61027 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Vita
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 983


อยู่เหนือสุขและทุกข์ได้ เป็นดี..!


« ตอบ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2007, 05:33:19 AM »

..........เจ้Way....พูดได้จับใจจริงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ.................
เรียกเค้า เจ๊ ......ระวังอากาศหมดนะ
เหอะๆ....
บันทึกการเข้า

สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
Sea Man
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2208


ท้องฟ้า/ภูเขา/ป่าไม้/ทะเล


« ตอบ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2007, 04:40:04 PM »

  .........น้องWay..อิอิอิอิ
บันทึกการเข้า

.....รู้จักคิด....ฟังความคิดผู้อื่น....พร้อมเปลี่ยนแปลง....ไปสู่สิ่งใหม่และดีกว่า.....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #17 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2007, 01:22:47 AM »


กู้วิกฤติทะเลกลืนแผ่นดิน
 
 
 
 "บ้านขุนสมุทรจีน"อีกหนึ่งตัวอย่าง วอนรัฐช่วยเหลือจริงจัง...

บ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นหมู่บ้านเก่าแก่อายุกว่า 500 ปี ตั้งอยู่บนแหลมขนาดเล็กที่ยื่นออกไปในทะเล ในอดีตบริเวณนี้เป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าจากเรือสำเภาจีนที่สำคัญ มีการขุดพบเงินพดด้วง ไห ถ้วย ชามกระเบื้องจำนวนมาก ซึ่งนักโบราณคดีสำรวจพบว่ามีอายุอยู่ในช่วงเดียวกับวัตถุโบราณที่ขุดพบได้ในชุมชนยี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม
 
คือในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 20 หรือประมาณ 500 กว่าปีก่อน อันเป็นหลักฐานยืนยันว่าหมู่บ้านแห่งนี้เป็นชุมชนเก่าแก่ สันนิษฐานกันว่าเป็นชุมชนชาวจีนอพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่และมาสร้างบ้านเรือนอยู่ริมทะเล แต่ปัจจุบันทะเลได้กลืนกินผืนแผ่นดินที่ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของบ้านขุนสมุทรจีนไปแล้ว ผู้คนในหมู่บ้านจึงต้องอพยพหนีไปอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง หรือย้ายไปอยู่ที่อื่นแทน

ในปัจจุบันพื้นที่หมู่ที่ 8, 9, 10 และ 11 ตำบลแหลมฟ้าผ่า (บ้านขุนสมุทรจีน) ต้องประสบปัญหาการพังทลายของชายฝั่งทะเลบริเวณด้านอ่าวไทยมาเป็นเวลาร่วม 20 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่ 9 ตำบลแหลมฟ้าผ่า มีเนื้อที่เหลือไม่ถึง 10 ตารางกิโลเมตร หากภาครัฐไม่ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง ไม่นานก็คงไม่มีพื้นที่เหลือให้กับลูกหลานได้พักอาศัย และหากปล่อยให้มีการพังทลายของชายฝั่งไปเรื่อย ๆ เหมือนในปัจจุบัน จะทำให้พื้นที่ชั้นในต้องถูกกระแสคลื่นกลืนไปจนหมดอย่างแน่นอน

รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเลประมาณ 2,667 กิโลเมตร ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล พบว่าเกิดขึ้นในทุกจังหวัดชายฝั่งทะเลทั้งด้านอ่าวไทย และอันดามัน ทั้ง 23 จังหวัดชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จากจังหวัดตราด จนถึงบริเวณชายฝั่งทะเลชายแดนภาคใต้จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีความยาวชายฝั่งทะเลทั้งสิ้น 1,653 กิโลเมตร ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยที่พบการกัดเซาะขั้นรุนแรงทั้งสิ้น 180.9 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะประมาณ 56,531 ไร่ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา และการถูกกัดเซาะขั้นปานกลางทั้งสิ้น 304.1 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะประมาณ 38,012 ไร่ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

สำหรับชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน พบการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ขั้นรุนแรงทั้งสิ้น 23 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ถูกกัดเซาะประมาณ 7,187 ไร่ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา และการกัดเซาะขั้นปานกลางทั้งสิ้น 90.5กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ถูกกัดเซาะประมาณ 11,312 ไร่ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาหากพิจารณาพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศถูกกัดเซาะไปทั้งสิ้น 113,042 ไร่ ครอบคลุมชายฝั่งทะเลยาวทั้งสิ้น599กิโลเมตรหรือคิดเป็น21%ของชายยฝั่งทะเลของประเทศทั้งหมดจะพบว่าในช่วง30ปีที่ผ่านมาเราประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลพบได้ทั่วไปทั้ง 23 จังหวัดชายฝั่งทะเล คิดเป็นพื้นที่ 113,042 ไร่
 
หากคิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากกว่า1แสนล้านบาทพื้นที่ชายฝั่งทะเลช่วงอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง จนถึงปากแม่น้ำแม่กลองเป็นพื้นที่อ่อนไหว และพบว่ามีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรงที่สุดของประเทศประมาณ 35 เมตรต่อปีชายฝั่งทะเลบริเวณนี้ถูกกัดเซาะทั้งสิ้นเป็นระยะทาง 82 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำกัดเซาะไปแล้วทั้งสิ้น 18,594 ไร่ ในช่วง30ปีที่ผ่านมา โดยพื้นที่บางแห่งได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะไปแล้วประมาณ 1 กิโลเมตร จนชาวบ้านต้องอพยพย้ายบ้านเรือนหนีเขยิบเข้ามาแล้วไม่ต่ำกว่า 4-5 ครั้งผนวกกับปัญหาระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในอนาคตอันจะทำให้อัตราการกัดเซาะชายฝั่งในบางพื้นที่อาจจะสูงถึง 65 เมตรต่อปีในอีก 20 ปีข้างหน้า

รศ.ดร.ธนวัฒน์ เปิดเผยอีกว่า ดังนั้นหากเราไม่มีมาตรการณ์ใด ๆ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พื้นที่ชายฝั่งทะเลของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงจะถูกกัดเซาะหายเพิ่มขึ้นอีก 1.3 กิโลเมตรในอีก 20 ปี คิดเป็นพื้นที่ ประมาณ 47,875 ไร่ ซึ่งปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่นี้จะมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ

“สำหรับจังหวัดสมุทรปราการ มีแนวชายฝั่งทะเลทั้งสิ้นยาวประมาณ 47 กิโลเมตร ครอบคลุมตำบลที่ติดชายฝั่งทะเล 6 ตำบล ในปัจจุบันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลมีรุนแรงมาก ทำให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะหายไป ประมาณ 11,104 ไร่ ในช่วงปี พ.ศ. 2510-2548 และข้อมูลจากการศึกษาของศูนย์ศึกษาพิบัติภัยชายฝั่งทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลกำลังจะถูกน้ำกัดเซาะอีก ประมาณ 37,657 ไร่ ในอีก 20 ปีข้างหน้า” รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว

ส่วนวิธีการป้องกันปัญหาการน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยการก่อสร้างโครงสร้างถาวรและโครงสร้างชั่วคราวในหลายรูปแบบ แต่โครงสร้างและลักษณะสมุทรศาสตร์ของพื้นที่อาจจะมีความแตกต่างกัน ทำให้วิธีการที่ทำได้ผลในพื้นที่หนึ่ง อาจจะไม่ได้ผลในอีกพื้นที่หนึ่ง และอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันด้วย เช่น รอดักทราย กำแพงกันคลื่น หรือ เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งทะเล ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในวงที่กว้างขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำการศึกษาสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานอย่างละเอียด และมีการทดสอบวิธีการที่เหมาะสมที่สุดกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ชายฝั่งทะเลแต่ละแห่งก่อนมีการก่อสร้างโครงการป้องกันชายฝั่งทะเล

รศ.ดร.ธนวัฒน์ เปิดเผยเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับบริเวณบ้านขุนสมุทรจีน หมู่ที่ 9 ตำบลแหลมฟ้าผ่าขณะนี้ได้ถูกน้ำกัดเซาะชายฝั่งไปแล้วกว่า1 กิโลเมตรในระยะเวลา30ปีและหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง ดูจากสถิติอีกประมาณ 100 ปีข้างหน้า จะถูกคลื่นกัดเซาะถึงสนามบินสุวรรณภูมิอย่างแน่นอนจึงเกิดโครงการนำร่องโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแบบเป็นรูปธรรมขึ้น
 
โดยตั้งชื่อว่า“เขื่อนสลายกำลังคลื่นขุนสมุทรจีน 49 A2” มีรูปแบบเป็นแท่งเสาคอนกรีตสามเหลี่ยม มียาวประมาณ 6-10 เมตร ตอกสลับฟันปลา ระยะห่าง1.50 เมตรจุดละ3เสาโดยทำการปักแท่งห่างจากชายฝั่งออกไปในทะเล 500 เมตร วัตถุประสงค์เพื่อให้คลื่นเข้ามากัดเซาะชายฝั่งน้อยลงและเพื่อเก็บกักตะกอนทั้งนี้เป็นแนวรูปแบบที่ทำเป็นการทดลองระยะความยาว250เมตรโดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จำนวน 8 ล้านบาท เป็นค่าวิจัย และจังหวัดสมุทรปราการ สนับสนุนอีก 5 ล้านบาทเป็นค่าก่อสร้างหลังจากได้ทำการติดตั้งมาแล้ว 2 เดือน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ คลื่นทะเลที่เข้ามาหลังเขื่อนเริ่มลดน้อยลง พร้อมกับมีตะกอนดินเข้ามาสะสมสูงขึ้นถึง 30 เซนติเมตร ในระยะเพียง 2 เดือนนับว่าได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับโครงสร้างได้ดำเนินการเสร็จไปแล้ว50เปอร์เซ็นต์ และจะทำเรื่องของบประมาณทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ตลอดแนวชายฝั่งที่เป็นหาดดินทั่วประเทศ

“ขณะนี้ทั่วโลกยังไม่มีใครประสบความสำเร็จในการทำเขื่อนหาดดิน ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น หรืออเมริกา แต่เราได้ทำสำเร็จขึ้นเป็นประเทศแรกในโลก จึงได้ทำการจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว และจะไปจดสิทธิบัตรที่ต่างประเทศอีกด้วย” รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว

ด้าน นางสมร เข่งสมุทร วัย 51 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 ตำบลแหลมฟ้าผ่า ผู้บุกเบิกการต่อสู้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งมานานกว่า 30 ปี กล่าวว่า รูปแบบที่ อาจารย์ธนวัฒน์ ทำนั้นเป็นเขื่อนสลายคลื่นได้ผลดีมากที่สุด ดูได้จาก คลื่นที่สงบลง และมีตะกอนสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ไม่ต้องดิ้นรนไปหาวิธีอื่นอีกแล้ว วิธีนี้ดีที่สุด นอกจากนี้ไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมใด ๆ อีกด้วย ชาวหมู่บ้านขุนสมุทรจีนไม่ต้องอพยพหนีอีกต่อไป แต่ยังขาดงบประมาณ เพราะยังไม่มีหน่วยงานราชการหน่วยไหนให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง.


จาก    :    เดลินิวส์   วันที่ 15 พฤษภาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #18 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2007, 01:23:21 AM »


ทุ่ม 20 ล. สกัดวิกฤติน้ำเซาะฝั่ง  

นายประวิม วุฒิสินธุ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรชายฝั่งและทะเล เปิดเผยว่า ได้เตรียมจัดสรรงบประมาณ 20 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่นำร่อง 2 แห่งที่วิกฤติคือพื้นที่เขตบางขุนเทียน และพื้นที่เขตจังหวัดสมุทรปราการ

สำหรับสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งเกิดจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลของไทย เกิดจากไม่มีการวางแผนและศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านกายภาพและสังคมของพื้นที่ ทำให้กิจกรรมหลายรูปแบบเป็นตัวเร่งให้เกิดการกัดเซาะมากขึ้น และมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างตึกขนาดใหญ่ที่ล่วงล้ำเข้ามาในชายฝั่ง ซึ่งกฎหมายไม่สามารถดำเนินการเอาผิดได้ เนื่องจากประชาชนมีโฉนดที่ดินถูกต้อง คงต้องขอความร่วมมือในการเพิกถอนสิ่งปลูกสร้าง เนื่องจากหากปล่อยไว้อาจจะกระทบต่อชายฝั่งของไทย ทั้งนี้แม้ว่าจะมีการทำโครงสร้างป้องกันต่างๆ เช่น กำแพงกันคลื่น เขื่อนกันตะกอนร่องน้ำ ก็กลับเป็นสาเหตุหลักในการการไหลเวียนของกระแสน้ำและยิ่งสร้างปัญหาทำให้เกิดการกัดเซาะไปสู่บริเวณใกล้เคียงมากขึ้น

สำหรับแนวทางแก้ไข ขณะนี้กรมฯอยู่ระหว่างเสนอแนวทางให้จัดจ้างมหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่ง จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยเพื่อนำมาใช้เป็นแผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาให้เกิดความต่อเนื่องทุกปี และเสนอให้มีการจัดรูปแบบการดำเนินการแก้ไขร่วมกับแบบพยุหภาคี ทั้งในส่วนของภาครัฐ อบต.เทศบาลที่เกี่ยวข้อง โดยในการจัดทำกำแพงกั้นน้ำ และปลูกป่าชุมชน

"ในระยะสั้น ควรจะมีการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมชายฝั่งทะเลในการป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะที่เหมาะสมส่วนแผนยะยาวควรทำแบบผสมผสาน โดยต้องมีการบูรณะหาดและปลูกป่าชายเลนเพื่อสร้างพื้นที่ป่าและแนวฝั่งทะเลใหม่ และควรมีการกำหนดระยะร่นถอยของสิ่งก่อ สร้างบนชายหาดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ความเสียหายทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างที่จะเกิดขึ้นพร้อมทั้งห้ามมีการขุดหรือนำทรายออกจากชายหาดเป็นอันขาด" นายประวิมกล่าว



จาก    :    แนวหน้า  วันที่ 8 มิถุนายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #19 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2007, 01:23:54 AM »


ห่วงสถานการณ์กัดเซาะ “ชายฝั่ง”
 
เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับธนาคารโลก รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยปี 2549 เรื่องการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดย ดร.จิเทนดรา ชา เจ้าหน้าที่อาวุโสประสานงานธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของธนาคารโลกในปีนี้ พบว่า การกัดเซาะชายฝั่ง ถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ โดยแนวชายฝั่งของไทยหลายพื้นที่กำลังเผชิญกับการกัดเซาะในอัตรามากกว่า 1-5 เมตรต่อปี หากคิดอัตราสูญเสียพื้นดินโดยรวมแล้วจะอยู่ที่ 2 ตารางกิโลเมตรต่อปี คิดเป็นมูลค่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 6,000 ล้านบาท ขณะที่การแก้ปัญหาส่วนใหญ่ มักจะลงทุนด้านสิ่งก่อสร้างเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของการสูญเสียพื้นที่ดิน อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยธรรมชาติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจาก มีความถี่และก่อความเสียหายต่อทรัพยากรชายฝั่ง สาเหตุของปัญหาการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่ง เกิดจากการขยายตัวของเมืองและการเติบโตของอุตสาหกรรมชายฝั่ง ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว การขนส่งทางทะเล การประมงน้ำเค็มและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงกุ้งเพิ่มจาก 26% เป็น 47% ส่งผลให้เกิดความสูญเสียและความเสื่อมโทรมทรัพยากรที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

 ด้านนางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดี ทช.กล่าวว่า ทช.ร่วมกับหน่วยงานด้านทรัพยากรทางทะเลกำลังแก้ปัญหาการกัดเซาะในเขตพื้นที่อ่าวไทยตอนในรูปตัว ก ทั้ง 5 จังหวัด มีพื้นที่นำร่องที่บ้านขุนสมุทรจีน ส่วนภาคใต้ตั้งแต่บริเวณ อ.ระโนด จ.สงขลา และ อ.หัวไทร และแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช  กำลังอยู่ ระหว่างประเมินรูปแบบการแก้ปัญหา  และออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม.
 
 

จาก     :     ไทยรัฐ    วันที่ 15  มิถุนายน  2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #20 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2007, 01:24:37 AM »


แบงก์โลกชี้ชายฝั่งทะเลไทยวิกฤติ ถูก“กัดเซาะหาย” 1-5 เมตรต่อปี  

ธนาคารโลกชี้ทะเลไทยวิกฤติหนัก “กัดเซาะชายฝั่ง” ส่งผลเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 6 พันล้านบาท ปะการังอันดามัน-อ่าวไทยเสื่อมโทรม แนะรัฐบาลไทยเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการ ลดการลงทุนสิ่งก่อสร้างเพื่อแก้กัดเซาะ ดึงชาวบ้านร่วมแก้ ส่วน ทช.สำรวจเขื่อนกันคลื่นภาคใต้ส่อเค้าเพิ่มปัญหา

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับธนาคารโลก รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยปี  2549 เรื่องการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

 ดร. จิเทนดร้า ชาห์ เจ้าหน้าที่อาวุโสประสานงาน ธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของธนาคารโลกในปีนี้ พบว่าการกัดเซาะชายฝั่งถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ โดยแนวชายฝั่งของไทยหลายพื้นที่กำลังเผชิญกับการกัดเซาะ ในอัตรามากกว่า 1-5 เมตรต่อปี หากคิดอัตราสูญเสียพื้นดินโดยรวมแล้วจะอยู่ที่ 2 ตารางกิโลเมตรต่อปี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 6,000 ล้านบาท

 ขณะที่การแก้ปัญหาส่วนใหญ่มักจะลงทุนด้านสิ่งก่อสร้างเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของการสูญเสียพื้นที่ดิน ตลอดจนการเสียโอกาสเรื่องการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดินนั้นๆ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าเงินลงทุนก่อสร้างหลายเท่า อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยธรรมชาติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากมีความถี่ และก่อความเสียหายต่อทรัพยากรชายฝั่ง

 ดร.จิเทนดร้า กล่าวอีกว่า สาเหตุของปัญหาการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งเกิดจากการขยายตัวของเมืองและการเติบโตของอุตสาหกรรมชายฝั่งในช่วง 30 ปีก่อน เนื่องจากมีประชากรอาศัยตามชายฝั่งทะเลเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว การขนส่งทางทะเล การประมงน้ำเค็มและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงกุ้งเพิ่มจาก 26% เป็น 47% จนส่งผลให้เกิดความสูญเสียและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลบริเวณพรุควนขี้เสี้ยน จ.พัทลุง เป็นตัวอย่างพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งและการท่องเที่ยว ขณะที่สถานภาพของแนวปะการังในอันดามัน 80% และอ่าวไทย 50% อยู่ในสภาพปานกลางถึงเสื่อมโทรมมาก และยังมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่องด้วย

 “พื้นที่บ้านขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากกว่า 1 ตารางกิโลเมตรในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา สาเหตุมาจากการสูญเสียป่าชายเลนตลอดแนวชายฝั่งและยังกระทบกับหมู่บ้านตลอดแนวฝั่งอ่าวไทยด้วย สำหรับพื้นที่ทะเลอันดามันนั้น การกัดเซาะมาจากมนุษย์โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างกำแพงกั้นคลื่น เขื่อนกั้นน้ำ ท่าเทียบเรือ และการขุดเจาะน้ำบาดาล เป็นต้น” ดร.จิแทนดร้า กล่าว

 นอกจากนี้ ดร.จิเทนดร้า ระบุด้วยว่า แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายเพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรก็ตาม แต่ยังมีผลในทางปฏิบัติที่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากกฎหมายมีความซ้ำซ้อนและไม่ได้ปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจากการวิจัยของธนาคารโลกพบว่า หากพื้นที่ไหนมีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการรักษาและดูแลป่าชายเลน และแนวปะการังในพื้นที่นั้นๆ ก็จะมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ธนาคารโลกเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา 5 แนวทาง คือ 1.การลดการกัดเซาะชายฝั่งและผลกระทบจากภัยธรรมชาติ โดย ทช.ควรต้องมีมาตรการเชิงวิศวกรรมแบบผสมผสานและคำนึงถึงความเหมาะสมแต่ละพื้นที่ 2.สนับสนุนวางแผนการประมงแบบยั่งยืน 3.เพิ่มมาตรและการส่งเสริมประสิทธิภาพของการกำกับดูแลการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล เช่น การควบคุมจำนวนฟาร์มเลี้ยงกุ้ง 4.กระตุ้นให้ส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาท และ 5.ส่งเสริมนโยบายและการบริหารทรัพยากร และปรับปรุงให้เอื้อต่อการบูรณาการ

 ด้านนางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ขณะนี้ ทช.ร่วมกับหน่วยงานด้านทรัพยากรทางทะเลกำลังแก้การกัดเซาะในเขตพื้นที่อ่าวไทยตอนในรูปตัว ก ทั้ง 5 จังหวัด มีพื้นที่นำร่องที่บ้านขุนสมุทรจีน ส่วนภาคใต้ตั้งแต่บริเวณระโนด จ.สงขลา และ อ.หัวไทร  และแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช กำลังอยู่ระหว่างประเมินรูปแบบการแก้ปัญหา และออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม อย่างไรก็ตาม สำหรับสิ่งก่อสร้างเดิมที่มีอยู่แล้ว และอาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการกัดเซาะในพื้นที่อื่นๆ นั้น  กำลังอยู่ในขั้นตอนการสำรวจในภาพรวมทั้งหมด หากพบว่ามีส่วนทำให้เกิดปัญหากัดเซาะจริงๆ อาจต้องปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสม และรื้อออกในบางจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดการกัดเซาะให้รุนแรงขึ้น

    “นอกจากนี้ ครม.ยังได้รับร่างหลักการ พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.... ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ถือเป็น พ.ร.บ.ฉบับแรกที่ชุมชนชายฝั่งจะมีส่วนร่วมในการจัดการทะเล” นางนิศากร กล่าว
 


จาก     :     คม ชัด ลึก    วันที่ 15  มิถุนายน  2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #21 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2007, 11:56:04 PM »


ทะเลรุกฝั่งปากน้ำ ร้อยปีถึงสุวรรณภูมิ


 
จังหวัดสมุทรปราการมีพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลรุนแรง พื้นที่แรก...ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกคลองสีล้ง-บ้านบางสำราญ อยู่บริเวณตะวันออก ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เขตอำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี และอำเภอเมือง

ชายฝั่งทะเลส่วนนี้ถูกกัดเซาะเป็นทางยาว 17.5 กิโลเมตร

ช่วงระยะเวลา 28 ปีที่ผ่านมา ชายฝั่งถูกกัดเซาะไปแล้ว 400-600 เมตร และมีอัตราการกัดเซาะ ปีละ 15-25 เมตร

พื้นที่ต่อมา...ชายฝั่งทะเลบ้านแหลมสิงห์-ปากคลองขุนราชพินิตใจ อยู่บริเวณตะวันตก ปากแม่น้ำเจ้าพระยา แนวชายฝั่งยาว 12.5 กิโลเมตร

จากบ้านแหลมสิงห์ซึ่งอยู่ทางใต้ป้อมพระจุลจอมเกล้า ไล่ยาวตามแนวชายฝั่งทะเลทิศตะวันตกจนสุดเขตจังหวัดสมุทรปราการ ที่กึ่งกลางคลองขุนราชพินิตใจ

ชายฝั่งด้านนี้ ส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านชาวประมง ทำนากุ้ง เลี้ยงปลา เลี้ยงหอยแครง มีการพัฒนาพื้นที่น้อย ไม่มีถนนสายใหญ่ คนส่วนใหญ่ยังใช้เรือหางยาวแล่นตามลำคลอง...เลียบชายฝั่งทะเล

สถานการณ์ปัจจุบัน แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ถูกกัดเซาะถอยร่นจากแนวทะเล 700-800 เมตร อัตราเฉลี่ยมากกว่า 25 เมตรต่อปี

บางพื้นที่ เช่น บ้านขุนสมุทรจีน หมู่ 9 ช่วงระยะเวลา 28 ปี ถูกกัดเซาะหายไปถึง 1 กิโลเมตร

ชินภัทร พุทธชาติ ประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ นำทีมสื่อมวลชนลงพื้นที่สำรวจชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ กล่าวว่า

“หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง อีก 100 ปีข้างหน้าจะถูกคลื่นกัดเซาะไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิ”

ข้อมูลจากหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย...ประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเล 2,667 กิโลเมตร มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในทุกจังหวัดชายฝั่งทะเลทั้งด้านอ่าวไทย และอันดามัน



ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ไล่มาตั้งแต่จังหวัดตราด ฝั่งทะเลด้านตะวันออก จนถึงจังหวัดนราธิวาส ความยาว 1,653 กิโลเมตร

ช่วง 30 ปี มีการกัดเซาะขั้นรุนแรง 180.9 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 56,561 ไร่...ถูกกัดเซาะปานกลาง 304.1 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 38,012 ไร่

ชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีการกัดเซาะรุนแรง 23 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 7,187 ไร่ และถูกกัดเซาะปานกลาง 90.5 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 11,312 ไร่

สรุปว่า ในช่วงเวลา 30 ปี ชายฝั่งทะเลไทยถูกกัดเซาะทั้งสิ้น 113,042 ไร่ ครอบคลุมแนวชายฝั่ง 599 กิโลเมตร หรือ ร้อยละ 21 ของแนวชายฝั่งทั้งประเทศ

ชินภัทร บอกว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเลช่วงอ่าวไทยตอนบน ตั้งแต่ปากน้ำบางประกง จนถึงปากน้ำแม่กลอง เป็นพื้นที่อ่อนไหว พบว่า มีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงที่สุด ปีละ 35 เมตร

“แนวชายฝั่งบริเวณนี้ ถูกกัดเซาะตลอดแนว 82 กิโลเมตร ลึกเข้ามาในแผ่นดิน 1 กิโลเมตร...คิดดู ชาวบ้านต้องอพยพย้ายบ้านหนีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง”

ประเมินกันว่า อีก 20 ปีข้างหน้า หากผนวกกับปัญหาน้ำทะเลสูงขึ้น จะทำให้ชายฝั่งบางพื้นที่มีอัตราการกัดเซาะสูงถึงปีละ 65 เมตร

เมื่อถึงวันนั้น...ชายฝั่งทะเลกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง จะถูกกัดเซาะเพิ่มขึ้นอีก 1.3 กิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ 47,875 ไร่

แน่นอนว่า จะกระทบกับเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ

อนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ บอกว่า บ้านขุนสมุทรจีนเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญ กำลังดำเนินการโครงการนำร่องป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ภายใต้ชื่อ...“เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2”

เขื่อนสลายกำลังคลื่น รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร?



“เขื่อนสลายกำลังคลื่น ใช้แท่งเสาคอนกรีตสามเหลี่ยม ความยาว 6-10 เมตร ตอกสลับฟันปลา ระยะห่าง 1.50 เมตร จุดละ 3 เสา โดยปักแท่งห่างจากชายฝั่งล้ำออกไปในทะเล 500 เมตร”    อนุวัฒน์ อธิบาย

เป้าหมายของกลุ่มเสาคอนกรีต มีไว้เพื่อให้คลื่นที่ตีเข้าหาฝั่งลดกำลังน้อยลง อีกทั้งแนวคอนกรีตยังช่วยในการตกตะกอนดิน ช่วยให้ดินชายฝั่งเกิด

เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2 ในขั้นทดลอง มีความยาว 250 เมตร ได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 8 ล้านบาท เป็นค่าวิจัย และงบจากจังหวัดสมุทรปราการอีก 5 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง

“ระยะเวลา 2 เดือน ผลที่ได้รับจากเขื่อนสลายกำลังคลื่น ถือว่าน่าพอใจ...ความแรงคลื่นหลังเขื่อนมีน้อยลง พร้อมกับมีตะกอนดินสะสมสูงขึ้น 30 เซนติเมตร”

ข้อมูลนี้ยืนยันได้ว่า...เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2 ใช้ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์

“โครงการนี้เพิ่งดำเนินการได้ไม่นาน ด้านโครงสร้างดำเนินการเสร็จไปแล้ว 50% ในอนาคตจะต้องทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ตลอดแนวชายฝั่งที่เป็นหาดดิน”

จังหวัดสมุทรปราการมีแนวชายฝั่งยาว 45 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 6 ตำบล ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงมาก

“ประชาชนส่วนใหญ่ประสบปัญหาแนวตลิ่งพังทลายมาเป็นเวลานาน หลายครอบครัวต้องสูญเสียพื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย จนต้องอพยพย้ายออกไปนอกพื้นที่ ครอบครัวที่ยังอาศัยอยู่บางทีก็ย้ายหนีน้ำมาแล้วหลายครั้ง”

อนุวัฒน์ บอกอีกว่า จังหวัดสมุทรปราการมีมาตรการรับมือกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แบ่งเป็น 2 ระยะ...มาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหาระยะสั้น ในช่วง 1-3 ปี และมาตรการระยะยาว ในช่วง 3-5 ปี ที่ต้องทำควบคู่กันไป

มาตรการระยะสั้น คือการสร้างเสถียรภาพของแนวชายฝั่ง ต้องใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมชายฝั่งทะเล เป็นการแก้ปัญหาแบบแข็ง...เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2...คือคำตอบสุดท้าย

มาตรการระยะยาว ควรทำหลังหรือทำควบคู่กับมาตรการระยะสั้น เป็นวิธีผสมผสานแบบอ่อนและแบบแข็งเข้าด้วยกัน เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสภาพแต่ละพื้นที่

“การแก้ปัญหาแบบอ่อน เป็นการบูรณะหาด ปลูกป่าชายเลน บริเวณที่มีการสะสมตะกอนดินเพิ่มขึ้นแล้ว สร้างแนวป่าชายเลน...พัฒนาแนวชายฝั่งขึ้นมาใหม่”

อีกประเด็นสำคัญที่ต้องสนใจให้มาก ไม่น้อยไปกว่าการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดความรุนแรง ก็คือ การกำหนดระยะร่นถอยของสิ่งก่อสร้างบนชายหาด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

อาจจะกำหนดให้มี หรือไม่มีสิ่งปลูกสร้างอะไรบนชายหาด เอาไว้ในแผนแม่บทการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างเป็นรูปธรรม



กรณีศึกษา เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2 บ้านขุนสมุทรจีน เป็นการแก้ปัญหาเชิงนโยบาย ในการกำหนดภารกิจหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคการปฏิรูประบบราชการ

“นโยบายและเจ้าภาพที่ชัดเจน จะนำไปสู่การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝังที่ไม่ซ้ำซ้อน และลดความสูญเสียงบประมาณแผ่นดินในระยะยาว”     อนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวทิ้งท้าย.



จาก     :     ไทยรัฐ    วันที่ 19 มิถุนายน  2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #22 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 12:47:39 AM »


ร่างขอบเขตของงาน (TOR) การจ้างปักไม้ไผ่เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจังหวัดสมุทรสาคร

1.  ความเป็นมา
                ปัจจุบันประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามันได้รับผลกระทบ  อันเนื่อง           มาจากความแปรปรวนของท้องทะเลก่อให้เกิดความรุนแรงและการเปลี่ยนทิศทางของกระแสคลื่นและลม  เป็นผลให้ชายฝั่งทะเลบริเวณดังกล่าวมีการกัดเซาะอย่างรุนแรงรวมทั้งมีการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณชายฝั่งทะเลโดยผิดหลักการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยการสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย  การเกษตรกรรม  โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์น้ำในบริเวณพื้นที่ป่าชายเลน  ซึ่งทำให้พื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลายสูญเสียพื้นที่เป็นจำนวนมาก  เป็นปัจจัยเสริมให้มีการกัดเซาะฝั่งทะเลมากขึ้น               


        พื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามันมีความยาวทั้งสิ้นประมาณ  2,600 กม.  ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด  จากการศึกษาพบว่า  บริเวณจังหวัดชายฝั่งทะเลที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะอย่างรุนแรง  มีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยมากกว่า  5  เมตรต่อปี  ได้แก่  จังหวัดบริเวณอ่าวไทยตอนบนและอ่าวไทยฝั่งตะวันออก  เช่น  จังหวัดจันทบุรี ระยอง  ฉะเชิงเทรา  สมุทรปราการ  กรุงเทพ ฯ  เพชรบุรี  เป็นต้น  โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ทะเลชายฝั่งสมุทรสาครมีอัตราการกัดเซาะรุนแรงปานกลางมีระยะทางประมาณ  1-5  เมตร/ปี  ก่อให้เกิดปัญหาความเดือดร้อนทางด้านที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมรวมทั้งระบบนิเวศชายฝั่ง  (coastal  ecosystem)  เนื่องจากพื้นที่ที่ดินกรรมสิทธ์ได้ถูกกัดเซาะเสียหาย จมอยู่ในทะเล  และมีแนวโน้มที่จะกัดเซาะมากยิ่งขึ้น  ประชาชนในท้องถิ่นจึงได้ตระหนักในปัญหาดังกล่าว  ซึ่งได้มีการคิดวางแผนและมาตรการที่จะป้องกันพื้นที่ชายฝั่งไม่ให้ถูกกัดเซาะอีกต่อไป  จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการแก้ไขปัญหา การกัดเซาะและฟื้นฟูพื้นที่ชายทะเลจังหวัดสมุทรสาคร  โดยมีส่วนร่วมของประชาชน  ร่วมกับองค์กรภาครัฐโดยเฉพาะกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


2.  วัตถุประสงค์
           2.1  เพื่อดำรงรักษาระบบนิเวศชายฝั่งทะเล  และสภาพวิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งทะเลควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนชายฝั่ง  บริเวณตำบลพันท้ายนรสิงห์  และ  ตำบลโคกขาม  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสาคร
           2.2  เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล  ด้วยการปักแนวไม้ไผ่เพื่อสลายพลังคลื่นสู่ทะเล  และเสริมปริมาณตะกอนบริเวณหลังแนวไม้ไผ่
           2.3  เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลน  โดยการสนับสนุนให้ประชาชนปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ของตนเองที่มีปัญหาการกัดเซาะ เมื่อป่าชายเลนเจริญเติบโตจะช่วยเสริมสร้างแนวธรรมชาติในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
           2.4  เพื่อเป็นพื้นที่ทดลองในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง  โดยให้พื้นที่อื่น ๆ  ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งต่อไป


3. คุณสมบัติผู้เสนอราคา
         3.1  ผู้เสนอราคาต้องเป็นนิติบุคคลผู้มีอาชีพรับจ้างงานที่ประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
         3.2  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการ  และได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว  หรือไม่เป็นผู้ได้รับผลของการสั่งให้นิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบของทางราชการ
         3.3  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น  และ/หรือต้องไม่เป็นผู้มีผล         ประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้เสนอราคากับผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์  ณ  วันประกาศประกวดราคาจ้างด้วยวิธี การทางอิเล็กทรอนิกส์  หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้
         3.4  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน  ซึ่งอาจปฎิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทย  เว้นแต่รัฐบาล ของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นว่านั้น
         3.5  ผู้เสนอราคาต้องมีผลงานในการดำเนินการปักไม้ไผ่เพื่อป้องกันการกัดเซาะ  ในวงเงินไม่น้อยกว่า  2,500,000  บาท  (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน)  เป็นผลงานที่แล้วเสร็จตามสัญญาและไม่เกิน  2  ปี  นับถึงวันยื่นซองประกวดราคา               ที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับส่วนราชการ  หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  รัฐวิสาหกิจ  หรือหน่วยงานเอกชนที่กรมเชื่อถือ  พร้อม        นำหลักฐานให้คณะกรรมการประกวดราคาตรวจสอบในวันยื่นเอกสารประกวดราคา
         3.6  ต้องมีที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดแล้ว  โดยนำหลักฐานการขึ้นทะเบียนผู้ชำนาญการดังกล่าวยื่นพร้อมกับซองเอกสารประกวดราคา


4. แบบรูปรายการ
           วิธีดำเนินการของโครงการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล  โดยใช้เทคโนโลยีแบบอ่อน  (soft solution)  ด้วยการประนีประนอมธรรมชาติ
            4.1 ใช้ไม้ไผ่ขนาด  ø  ขนาดประมาณ  3  นิ้ว  ยาว  5  เมตร  ปักเป็นแนวจำนวน  4  แถว  ห่างจากฝั่งเป็นระยะ ทาง  50  ม.  แต่ละแถวมีระยะทางยาว  1,880  เมตร  โดยปักในแต่ละแถวมีไม้ไผ่ห่างประมาณ  10  ซม.  และระหว่างแถวระหว่างลำห่างกัน  10 ซม.  เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า  ลำไม้ไผ่ในแต่ละแถวจะเหลื่อมกันเพื่อปิดช่องว่างเพื่อกันกระแสคลื่น  โดยใช้ไม้ไผ่จำนวน  41,780  ลำ
            4.2  ใช้ไม้ไผ่ ø ขนาด  3  นิ้ว  ยาว  5  เมตร  เหมือนกับข้อ  4.1  ปักเป็นแถวจำนวน  4  แถว  แต่ละแถวมีระยะ ทางยาว  320  เมตร  ห่างจากฝั่ง  50  เมตร  โดยไม้ไผ่กลุ่มนี้จะปักอยู่ระหว่างชายฝั่งทะเล  และกลุ่มไม้ไผ่ตามข้อ  4.1  ให้ปักลึกลงในดินเป็นระยะ  1  เมตร  ระยะระหว่างลำและระหว่างแถวเท่ากัน  10  ซม.  และระยะระหว่างลำในระหว่างแถวเท่ากับ  10  ซม.  โดยจะเหลื่อมกันเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าเพื่อปิดช่องว่างเพื่อกันกระแสคลื่นเหมือนกลุ่มไม้ไผ่ตามข้อ 4.1  ใช้ไม้ไผ่จำนวน  7,112  ลำ  รวมใช้ไม้ไผ่ขนาด ø ขนาด  3  นิ้ว  ตามข้อ  4.1  และ  4.2  รวมทั้งสิ้น  48,892  ลำ
            4.3  บริเวณใกล้ปากคลองหลวงให้มีการปักไม้ไผ่ขนาด  ø  4 ซม.  (ไม้ไผ่รวก)  ยาว  5  เมตร  เป็นแนวขนานคลองออกไปในทะเล  โดยปักเป็นแถว  10  แถว  แถวละ  2,000  ลำ  เป็นระยะทางยาว  200  เมตร  โดยมีระยะห่างระหว่างแถวและระหว่างลำเป็นระยะ  10  ซม.  ปักลึกลงในดิน  1  เมตร  ใช้ไม้ไผ่รวมทั้งสิ้น  20,000  ลำ  โดยปักไม้ไผ่ในแต่ละแถวให้เหลื่อมกัน  ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ตะกอนที่ตกทับถมหลังแปลงปักไม้ไผ่  (ตามข้อ  4.1  และ  4.2)  ไหลลงในคลอง


5.  ระยะเวลาดำเนินการ  หรือส่งมอบงาน
           ให้แล้วเสร็จภายใน  120  วัน  นับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญาจ้าง  หรือวันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกรมให้    เริ่มทำงาน


6.  วงเงินในการจัดหา
      กำหนดราคากลาง  เป็นเงินจำนวน  5,750,000  บาท  (ห้าล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)  ซึ่งเป็นราคาที่รวม      ค่าวัสดุ  ค่าแรงงาน  ค่าดำเนินการ  ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม  7%  และค่าใช้จ่ายทั้งปวงไว้ด้วยแล้ว


7.  หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ
     สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


สถานที่ติดต่อเพื่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือเสนอแนะวิจารณ์  หรือแสดงความคิดเห็นโดยเปิดเผยตัวได้ที่
 1.  ทางไปรษณีย์
           ส่งถึง  สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
                   กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  92  ซอยพหลโยธิน  7  แขวงสามเสนใน
                   เขตพญาไท  กรุงเทพมหานคร  10400
 2.  โทรศัพท์  0  2298  2590  หรือ  0  2298  2143
 3.  โทรสาร  0  2298  2143
 4.  ทางเว็บไซต์  www.dmcr.go.th
 5.  E-Mail  nus_dmcr@yahoo.co.th

http://www.dmcr.go.th/modules.php?name=News&file=article&sid=308



จาก     :     กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  วันที่ 18 มิถุนายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #23 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 12:53:50 AM »


ร่างขอบเขตของงาน (TOR)การจ้างปักไม้ไผ่รวกเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจังหวัดสมุทรปราการ


1.  ความเป็นมา  

       ประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเลประมาณ  2,667  กิโลเมตร  พบว่าปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเกิดขึ้น ในทุกจังหวัดชายฝั่งทะเล  23  จังหวัด  ทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน  สำหรับชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยตั้งแต่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก  จากจังหวัดตราดจนถึงบริเวณชายฝั่งทะเลชายแดนภาคใต้จังหวัดนราธิวาส  รวมทั้งสิ้น 17 จังหวัด  ซึ่งมีความยาวชายฝั่งทะเลทั้งสิ้น  1,653  กิโลเมตร  ในช่วง  30  ปีที่ผ่านมา  ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยที่พบการกัดเซาะขั้นรุนแรงทั้งสิ้น 180.9 กิโลเมตร  คิดเป็นพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะประมาณ  56,531  ไร่  และการกัดเซาะขั้นปานกลางทั้งสิ้น  304.1  กิโลเมตร  คิดเป็นพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะประมาณ 38,012 ไร่  สำหรับชายฝั่งทะเลด้านอันดามันพบการกัดเซาะชายฝั่งทะเลขั้นรุนแรงทั้งสิ้น  23  กิโลเมตร  คิดเป็นพื้นที่ถูกกัดเซาะประมาณ  7,187  ไร่  และการกัดเซาะขั้นปานกลางทั้งสิ้น  90.5  กิโลเมตร  คิดเป็นพื้นที่ถูกกัดเซาะประมาณ  11,312  ไร่  หากพิจารณาพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศถูกกัดเซาะไปทั้งสิ้น  113,042  ไร่  ครอบคลุมชายฝั่งทะเลยาวทั้งสิ้น  599 กิโลเมตร  หรือคิดเป็นร้อยละ  21  ของชายฝั่งทะเลทั้งหมดของประเทศ


       พื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกงจนถึงปากแม่น้ำแม่กลองครอบคลุมพื้นที่  5  จังหวัด  ได้แก่  ฉะเชิงเทรา  สมุทรปราการ  กรุงเทพมหานคร  สมุทรสาคร  และสมุทรสงคราม มีแม่น้ำใหญ่ 4 สาย  คือ  แม่น้ำบางปะกง  เจ้าพระยา  ท่าจีน  และแม่กลอง  ไหลผ่านบริเวณลุ่มน้ำทางภาคเหนือและพื้นที่เกษตรกรรมในภาคกลางลงสู่อ่าวไทยตอนบน  พื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณนี้เรียกว่า  พื้นที่ชายฝั่งทะเลก้นอ่าวไทยมีลักษณะทางธรณีวิทยาเป็นตะกอนร่วนที่สะสมภายใต้สภาพแวดล้อมชายฝั่ง  (Marine Sediment)  มีลักษณะธรณีสัณฐานที่เรียกว่า  ที่ราบน้ำทะเลท่วมถึง  (Tidal Plain)  ตะกอนที่สะสมตัวบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นโคลนทะเล  หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า  ดินเหนียวกรุงเทพ  (Bangkok Clay)  ชั้นดินเหนียวโคลนทะเลนี้มีความลึกเฉลี่ย  20  เมตร  ชายฝั่งทะเลบริเวณดังกล่าวมีความอ่อนไหวต่อการพังทลายเนื่องจากป่าชายเลนถูกถางทำลายมาเป็นเวลานาน  และพบว่ามีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่รุนแรงที่สุดของประเทศ  คือ  ประมาณ  35  เมตรต่อปี  ชายฝั่งทะเลบริเวณนี้ถูกกัดเซาะทั้งสิ้นเป็นระยะทางยาวประมาณ  82  กิโลเมตร  คิดเป็นพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะไปแล้วทั้งสิ้น  18,594  ไร่  ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดยพื้นที่บางแห่งได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะไปแล้วประมาณ  1  กิโลเมตร  จนชาวบ้านต้องอพยพย้ายบ้านเรือนหนีไม่ต่ำกว่า  4-5  ครั้ง  ปัญหาแผ่นดินทรุดของกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงเป็นปัจจัยเสริมที่ผนวกกับปัญหาระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้นในอนาคต  อันจะทำให้อัตราการกัดเซาะชายฝั่งในบางพื้นที่อาจจะสูงถึง  65  เมตรต่อปี  ในอีก  20  ปีข้างหน้า  ดังนั้น  หากเราไม่แสวงหามาตรการเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  พื้นที่ชายฝั่งทะเลของกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงจะถูกกัดเซาะหายเพิ่มขึ้นอีก  1.3 กิโลเมตร  ในอีก  20  ปีข้างหน้า  หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ  47,875  ไร่  จะเห็นชัดว่า  ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่เหล่านี้จะมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ  โดยเฉพาะการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล  การส่งเสริมการท่องเที่ยว  และการรักษาสภาพธรรมชาติและระบบนิเวศชายฝั่ง  เพื่อให้เกิดประโยชน์เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ  และสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชนริมชายฝั่งทะเลบริเวณนี้

      โครงการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาถึงปากน้ำท่าจีนเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฟื้นฟูทะเลไทยและป้องกันภัยธรรมชาติ  เพื่อเป็นโครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน  โดยการก่อสร้างโครงสร้างเป็นแนวไม้ไผ่รวกปักห่างจากแนวชายฝั่งทะเลที่พังทลายประมาณ  20  เมตร  จำนวน  10  แถว  เพื่อเป็นแนวกันคลื่นทะเลสลายพลังคลื่นเป็นแนวกันลม  และป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอันจะเป็นผลให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง  ได้บรรเทาความเดือดร้อนจากการพังทลายของริมฝั่งทะเล  ซึ่งมีผลทำให้พื้นที่ทำกินของประชาชนที่เคยได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติชายฝั่งทะเลได้รับการคุ้มครองยิ่งไปกว่านั้นตะกอนดินเลนก็จะถูกเก็บกักไว้หลังโครงสร้างแนวไม้ไผ่รวก  เนื่องจากกระแสน้ำจะค่อนข้างนิ่งเพราะพลังคลื่นถูกสลาย  ตะกอนเลนดังกล่าวจะตกตะกอนทับถมได้อย่างรวดเร็ว  และเมื่อตะกอนดินเลนหนาขึ้นทางโครงการ ฯ  มีแผนการปลูกป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีการก่อสร้างแนวไม้ไผ่รวกสลายกำลังคลื่นทะเล  ซึ่งจะส่งผลให้ชายฝั่งทะเลมีเสถียรภาพมากขึ้นและเพิ่มสมดุลและความอุดมสมบูรณ์ของชายฝั่งทะเล  ป่าชายเลนจะเป็นพื้นที่กันชนที่สำคัญของระบบนิเวศบกและระบบนิเวศทะเลบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน

       โครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณนี้มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมีผลต่อวิถีชีวิตของประชาชน  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจึงเห็นสมควรจัดทำข้อเสนอโครงการนี้  เพื่อเป็นโครงการต้นแบบของการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดโคลน  ซึ่งในระยะยาวการแก้ไขปัญหาเช่นนี้อาจพัฒนาเป็นวิธีการที่ดีกว่านี้โดยสามารถลงทุนในโครงสร้างอื่นที่ออกแบบมาให้มีประสิทธิ ภาพในการเก็บกักตะกอนให้มากและรวดเร็วขึ้น  พื้นที่ป่าชายเลนก็จะยิ่งเพิ่มพูน  ระบบนิเวศชายฝั่งก็จะกลับฟื้นคืนสู่สภาวะสมดุลมีความอุดมสมบูรณ์ที่ยั่งยืน  ซึ่งมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาสังคม  และความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง


2.  วัตถุประสงค์
 2.1  เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งสภาพทรัพยากรธรรมชาติ  ฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเล  และสภาพวิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งทะเลควบคู่ ไปกับการพัฒนาชุมชนชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบน
 2.2  เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้วยการสร้างแนวไม้ไผ่รวกสลายพลังคลื่นทะเล
 2.3  เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนของอ่าวไทยตอนบน
 2.4  เพื่อนำวิธีการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลนี้ไปใช้กับพื้นที่อื่นของอ่าวไทยตอนบน


3. คุณสมบัติผู้เสนอราคา
     3.1  ผู้เสนอราคาต้องเป็นนิติบุคคลผู้มีอาชีพรับจ้างงานที่ประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
     3.2  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการ  และได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว  หรือไม่เป็นผู้ได้รับผลของการสั่งให้นิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบของทางราชการ
     3.3  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น  และ/หรือต้องไม่เป็นผู้มีผล         ประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้เสนอราคากับผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์  ณ  วันประกาศประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์  หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการประกวดราคา จ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้
     3.4  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน  ซึ่งอาจปฎิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทย  เว้นแต่รัฐบาล ของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นว่านั้น
     3.5  ผู้เสนอราคาต้องมีผลงานในการดำเนินการปักไม้ไผ่เพื่อป้องกันการกัดเซาะ  ในวงเงินไม่น้อยกว่า  2,500,000  บาท  (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน)  เป็นผลงานที่แล้วเสร็จตามสัญญาและไม่เกิน  3  ปี  นับถึงวันยื่นซองประกวดราคา               ที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับส่วนราชการ  หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  รัฐวิสาหกิจ  หรือหน่วยงานเอกชนที่กรมเชื่อถือ  พร้อม        นำหลักฐานให้คณะกรรมการประกวดราคาตรวจสอบในวันยื่นเอกสารประกวดราคา
     3.6  ต้องมีที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดแล้ว  โดยนำหลักฐานการขึ้นทะเบียนผู้ชำนาญการดังกล่าวยื่นพร้อมกับซองเอกสารประกวดราคา


4. แบบรูปรายการ
      วิธีดำเนินการของโครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล  จะใช้เทคโนโลยีแบบอ่อน  (soft solution) ด้วยการประนีประนอมกับธรรมชาติ  โดยสร้างแนวตั้งรับสลายพลังคลื่นด้วยแนวไม้ไผ่รวกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  1  นิ้ว  ยาว  6  เมตร  ปักเป็นแถวขนานกับชายฝั่งทะเลที่พังทลาย  จำนวน  10  แถว  ห่างจากแนวชายฝั่งทะเลเดิม  20  เมตร  โดยให้  3  แถวแรก  ปักไม้ไผ่รวกห่างระหว่างไม้ไผ่รวก  4  เซนติเมตร  และ  7  แถวต่อไป  ปักระยะ ห่างระหว่างไม้ไผ่รวก  10  เซนติเมตร  ระยะทางระหว่างแถว 150  เซนติเมตร  เท่ากันทุกแถว   (ตามแผนผังที่แนบ) การปักเช่นนี้จะใช้ไม้ไผ่รวกจำนวน  145,000  ลำ  ต่อระยะทาง  1  กิโลเมตร  โดยทำการก่อสร้างในพื้นที่โครงการ  บริเวณชายฝั่งทะเล  หมู่ที่ 10  ตำบลแหลมฟ้าผ่า  อำเภอพระสมุทรเจดีย์  จังหวัดสมุทรปราการ  เป็นพื้นที่นำร่องระยะ ทางตามแนวชายฝั่งทะเล  2  กิโลเมตร  ขนานกับชายฝั่งห่างจากชายฝั่งทะเลเดิมประมาณ  20  เมตร  เว้นช่องบริเวณปากคลองเพื่อความสะดวกของการสัญจรทางน้ำ  ซึ่งบริเวณปากคลองทุกคลองจะต้องปักไม้ไผ่รวกเป็นแนวกันเลนไหลออกด้วย  โครงสร้างแนวไม้ไผ่รวกจะเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจากคลื่น  และเมื่อคลื่นลมสงบตะกอนเลนจะตกทับถมหลังแนวไม้ไผ่รวก  ซึ่งหนาพอจะปลูกพันธุ์ไม้ชายเลนได้ในปีถัดไป  ทั้งยังช่วยรักษาพื้นที่ทำกินของประชาชนด้านหลังป่าชายเลน ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะ  เป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านการสูญเสียที่ดินริมฝั่งทะเลของประชาชนในพื้นที่


5.  ระยะเวลาดำเนินการ  หรือส่งมอบงาน
 ให้แล้วเสร็จภายใน  180  วัน นับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญาจ้าง  หรือวันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกรมให้  เริ่มทำงาน


6.  วงเงินในการจัดหา
 กำหนดราคากลาง  เป็นเงินจำนวน  5,225,000  บาท  (ห้าล้านสองแสนสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  ซึ่งเป็นราคาที่รวมค่าวัสดุ  ค่าแรงงาน  ค่าดำเนินการ  ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม  7%  และค่าใช้จ่ายทั้งปวงไว้ด้วยแล้ว


7.  หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ
     สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง



สถานที่ติดต่อเพื่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือเสนอแนะวิจารณ์  หรือแสดงความคิดเห็นโดยเปิดเผยตัวได้ที่
 1.  ทางไปรษณีย์
           ส่งถึง  สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
                   กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  92  ซอยพหลโยธิน  7  แขวงสามเสนใน
                   เขตพญาไท  กรุงเทพมหานคร  10400
 2.  โทรศัพท์  0  2298  2590  หรือ  0  2298  2143
 3.  โทรสาร  0  2298  2143
 4.  ทางเว็บไซต์  www.dmcr.go.th
 5.  E-Mail  nus_dmcr@yahoo.co.th

 http://www.dmcr.go.th/modules.php?name=News&file=article&sid=309
 


จาก     :     กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  วันที่ 18 มิถุนายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #24 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2007, 12:48:02 AM »


นักวิทย์จุฬาฯออกแบบเขื่อนเน้นแรงคลื่นกัดเซาะ
 

 
ทีมวิจัยแก้ปัญหาแผ่นหินหาย ประสบความสำเร็จทดลองใช้งานแบบจำลองเขื่อนสลายคลื่น นำร่องที่หมู่บ้านขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ 2 เดือนพบตะกอนตกสะสม 30 เซนติเมตร

รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หน่วยศึกษาภัยพิบัติและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทีมงานร่วมกันพัฒนาแบบจำลองเขื่อนสลายคลื่น "ขุนสมุทรจีน 49A2" เพื่อแก้ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง พร้อมทั้งนำร่องใช้งานที่หมู่บ้านขุนสมุทรจีน  ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

แบบจำลอง "ขุนสมุทรจีน 49A2" ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 2 ส่วนคือ ส่วนที่ช่วยสลายกำลังคลื่น เป็นเสาคอนกรีตทรงสามเหลี่ยมยาว 50 เซนติเมตร จัดวาง 3 แถว ความลึกของเสาไล่จากส่วนที่ติดทะเลเข้าไปหาแผ่นดินคือ 10, 8 และ 6 เมตร ตามลำดับ วางห่างกัน 1.5 เมตร ในลักษณะฟันปลา ดังนั้น เมื่อคลื่นซัดเข้ามาจะแตกออก 2 ข้างและสะท้อนไปมาตามแนวเสา จึงลดแรงปะทะของคลื่นและค่อยๆ สลายตัว อีกทั้งตะกอนที่ลอยมาก็จะตกตะกอนอยู่บริเวณชายฝั่งหลังแนวเขื่อน

จากนั้นเป็นหน้าที่ของส่วนที่ 2 ที่จะดักตะกอน โดยใช้เสาคอนกรีตรูปบูมเมอแรง ปิดผนังด้านข้างทั้ง 2 ข้าง ไม่ให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดตะกอนลอยกลับไปในทะเล ทำให้สามารถกักเก็บตะกอน ซึ่งหากพอกพูนขึ้นก็มีโครงการที่จะปลูกต้นโกงกางให้ช่วยยึดดินเอาไว้

ปัจจุบัน ทีมวิจัยได้ติดตั้งโครงสร้างไปแล้ว 250 เมตร ด้วยงบประมาณ 5 ล้านบาท บริเวณชายฝั่งติดกับวัดขุนสมุทรจีน ซึ่งถือเป็น 50% ของโครงการทั้งหมด พบว่า 2 เดือนที่ผ่านมา ความแรงคลื่นปะทะหลังเขื่อนเบาลง ขณะที่ตะกอนสะสมตัวเพิ่มขึ้น 30 เซนติเมตร ทั้งยังมีพืชและสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าวเพิ่มขึ้นด้วย

ส่วนการดำเนินโครงการเฟส 2 ต้องรอดูข้อมูลปริมาณการตกตะกอน ความเร็วและแรงของกระแสน้ำ ทิศทางและความเร็วลม โดยทีมวิจัยกำลังจะสร้างสถานีตรวจวัด เพื่อประเมินการทำงานบริเวณหน้าและหลังเขื่อนสลายคลื่น ทั้งยังต้องรอดูงบประมาณสนับสนุน คาดว่าเฟส 2 จะใช้งบ 10 ล้านบาท

รศ.ดร.ธนวัฒน์  กล่าวว่า ปัญหาแผ่นดินหายจากการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่นและลมทะเลที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งถือเป็นจุดวิกฤติที่สุด มีแนวชายฝั่งทั้งสิ้น 45 กิโลเมตร แต่ถูกกัดเซาะทำลายไปกว่า 30 กิโลเมตร หรือราว 68% ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนมาก เช่น ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ที่ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาต้องอพยพหนีน้ำมากกว่า 5 ครั้ง โบสถ์ของวัดสมุทรจีนจมน้ำทะเลลงไปประมาณ 1 เมตร ที่ดินทำกินของชาวบ้านหายไปกว่า 1 กิโลเมตร หากไม่มีมาตรการใดๆ แก้ไข คาดว่า อีก 20 ปีข้างหน้า พื้นที่ชายฝั่งของสมุทรปราการจะหายไปอีก 1.3 กิโลเมตร

ทีมพัฒนาแบบจำลองเขื่อนสลายคลื่น "ขุนสมุทรจีน 49A2" ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เช่น อุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา นิเวศวิทยาชายฝั่ง วิศวกรรมชายฝั่งและสังคม รวมทั้งนักวิจัยท้องถิ่น ทั้งนี้ คาดว่าอีก 6 เดือนจึงจะเก็บและสรุปข้อมูลโครงการได้สมบูรณ์ สำหรับนำไปสู่นโยบายการแก้ปัญหาระดับประเทศต่อไป

"ประโยชน์ของเขื่อนสลายพลังคลื่นดังกล่าว นอกจากจะลดการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชุมชนขุนสมุทรจีนแล้ว ยังประยุกต์ใช้ได้กับพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยทั้งหมด และที่สำคัญ โครงการนี้ยังเพิ่มพื้นที่ปลูกป่าชายเลน ซึ่งนำไปสู่การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 2.7 หมื่นตัน ฉะนั้น หากนำไปขายเป็นคาร์บอนเครดิตจะมีมูลค่าสูงถึง 40-60 ล้านบาท" รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว

ปัจจุบัน "ขุนสมุทรจีน 49A2" ได้รับความสนใจจากนานาประเทศ เนื่องจากประสบความสำเร็จ สามารถลดการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งที่เป็นหาดโคลนได้เป็นแห่งแรกของโลก ทั้งนี้ ได้จดสิทธิบัตรในไทยแล้ว และอยู่ระหว่างหารือถึงรายชื่อประเทศอื่นที่จะยื่นจดเพิ่ม


จาก         :        กรุงเทพธุรกิจ    วันที่ 4 กรกฎาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #25 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2007, 12:04:04 AM »


ชายฝั่งที่หายไป


วันที่ 11 กรกฎาคม เป็น "วันประชาการโลก" จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ในปี 2550 โลกมีประชากรทั้งสิ้น 6,605 ล้านคน

ในภูมิภาคเอเชียมีมากสุดถึง 4,004.8 ล้านคน หรือร้อยละ 60.6 ของประชากรโลก แน่นอนว่าประเทศที่มีประชากรมากที่สุดคือจีน รองลงไปคืออินเดีย

ส่วนประเทศไทยมีประชากร 65.1 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก

ไม่เพียงแต่จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น แต่มนุษย์ยังมีอายุยืนมากขึ้น ซึ่งในอนาคตจะมีประชากรวัยสูงอายุในประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้น

ขณะที่ประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีอายุยืนขึ้น แต่ทรัพยากรธรรมชาติมีอย่างจำกัดและเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้นจะมีการแย่งชิงทรัพยากรต่างๆ กันมากขึ้น และอาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งในสังคมโลกในอนาคตได้

นั่นหมายความว่า ทรัพยากรธรรมชาติของโลกจะถูกมนุษย์ทำลายมากขึ้นตามไปด้วย

ขณะนี้ธรรมชาติเริ่มเอาคืนจากมนุษย์บ้างแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นผลมาจากน้ำมือมนุษย์ที่เป็นต้นเหตุ

โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming ในปัจจุบัน ที่กำลังส่งผลกระทบต่อโลกครั้งใหญ่ ซึ่งคาดกันว่าอาจจะต้องมีการเขียนแผนที่โลกใหม่กันทีเดียว

พื้นผิวของโลกซึ่งประกอบด้วยน้ำ 3 ส่วน และดินอีก 1 ส่วนนั้น ในอนาคตไม่รู้ว่าจะเหลือพื้นที่ดินอีกเท่าไหร่ หรือจะเป็นเหมือนภาพยนตร์เรื่อง Water World ที่มนุษย์เดินดิน จะกลายเป็นมนุษย์น้ำ

แม้จะดูไม่น่าเชื่อ แต่ธรรมชาติเริ่มส่งสัญญาณให้เห็นแล้ว

รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าคณะวิจัยศึกษารูปแบบการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระบุว่า ปัญหา "การกัดเซาะชายฝั่งทะเล" เป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังประสบ และทำให้พื้นดินของโลกหายไปแล้วกว่าร้อยละ 30

สำหรับประเทศไทย พื้นที่ชายฝั่งทะเลก็หายไปจำนวนมาก

รศ.ดร.ธนวัฒน์ได้ศึกษาไว้ว่า แนวชายฝั่งทะเลประเทศไทยมีความยาวประมาณ 2,667 กิโลเมตร พบว่าการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นในทุกจังหวัดชายฝั่งทะเล ทั้งด้านอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ตั้งแต่ชายฝั่งภาคตะวันออกจังหวัดตราด จนถึงจังหวัดนราธิวาส มีความยาว 1,653 กิโลเมตร พบการกัดเซาะรุนแรงมากกว่า 5-20 เมตรต่อปี มีประมาณ 485 กิโลเมตร

สำหรับชายฝั่งอันดามัน มีความยาวประมาณ 1,014 กิโลเมตร พบการกัดเซาะรุนแรงทั้งสิ้น 114 กิโลเมตร คิดเป็น 4% ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งประเทศ

ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ชายฝั่งทะเลในประเทศไทยถูกน้ำทะเลกัดเซาะไปแล้ว 113,042 ไร่ หรือ 21% ของชายฝั่งทะเลของประเทศทั้งหมด

จังหวัดที่อยู่ในภาวะวิกฤตที่สุด คือสมุทรปราการ ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมาชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะไปแล้ว 45 กิโลเมตร หรือประมาณ 10,000 ไร่ และคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ถ้ายังไม่ได้รับการแก้ไข ชายฝั่งทะเลบริเวณดังกล่าวจะถูกกัดเซาะมากถึง 65 เมตรต่อปี

ส่วนที่ชายฝั่งทะเลปากพนัง และแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช ก็อาจจะหายไป เพราะถูกน้ำทะเลกัดเซาะให้แผ่นดินหายไปประมาณ 16 กิโลเมตร

พื้นที่ชายฝั่งที่บ้านบางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี ก็หายไปแล้วกว่า 5,700 ไร่

สำหรับชายฝั่งบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ก็ถูกน้ำทะเลกัดเซาะหายไปมากกว่า 3,000 ไร่แล้ว จากการประเมินอีก 20 ปีข้างหน้า ถ้ายังไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ชายฝั่งบางขุนเทียนจะหายไปอีก 1.3 กิโลเมตร

สาเหตุสำคัญที่ทำให้การกัดเซาะชายฝั่งมีหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน และน้ำทะเลขึ้นสูงอย่างมาก

ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นเพียงผลกระทบส่วนหนึ่งเท่านั้นจากภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลกระทบด้านต่างๆ อีกมากมายต่อโลกและมนุษย์

การแก้ปัญหา ณ ขณะนี้อาจช้าไป แต่ก็ยังดีที่หลายฝ่ายให้ความสนใจมากขึ้น อย่างน้อยอาจจะชะลอความสูญเสียลงได้บ้าง

ในส่วนของไทยก็เริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว โดยมีการตั้งคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานขึ้นมาติดตามดูแล

ทราบว่าทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีแผนบรรเทาภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร ระหว่างปี 2551-2554 โดยของบประมาณ 1,013 ล้านบาท เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคการเกษตรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง ประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของประชากรโลกทั้ง 6,605 ล้านคน ที่จะต้องร่วมมือร่วมใจกัน

แม้พื้นที่ชายฝั่งทะเลจะหายไป แต่จะต้องไม่ให้สำนึกในความร่วมมือที่จะแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนหายไปด้วย


จาก         :        มติชน  คอลัมน์ เดินหน้าชน    วันที่ 11 กรกฎาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #26 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2007, 12:04:03 AM »


เซาะกรุงปีละ 12 ม.  ทะเลกลืนนับหมื่นไร่ผลกระทบโลกร้อน  

โลกร้อนทำอ่าวไทยตอนบนวิกฤติหนัก "นากุ้ง-บ้าน" จมทะเลนับหมื่นไร่ ชาวบางขุนเทียนโอดถมหินป้องกันจนหนี้ท่วม กรมทรัพยากรธรณีชี้สภาวะโลกร้อนบวกแผ่นดินทรุด น้ำทะเลรุกชายฝั่ง กทม.สูญ 12 เมตรต่อปี ขณะที่หาดบางแสนคลื่นทะเลซัดเขื่อนกั้นถนนพัง ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปกติถึงครึ่งเมตร

 ปัญหาโลกร้อนไม่ได้ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ฝนตกมากกว่าปกติ อากาศร้อนเกินกว่าจะรับไหวเท่านั้น แต่ยังทำให้น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งจนพื้นดินชายฝั่งสูญหายไป โดยเฉพาะชายทะเลบางขุนเทียนจมหายไปปีละ 12 เมตร และจากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 5 จังหวัดตอนบน ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา จ.สมุทรสงคราม จ.สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ตลอดระยะทาง 106.5 กิโลเมตรแล้ว ถูกน้ำทะเลกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งไปแล้วกว่า 13,700 ไร่

 ผู้สื่อข่าว "คม ชัด ลึก" ออกสำรวจพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน บริเวณกรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร และฉะเชิงเทรา พบว่า พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดข้างต้นกำลังประสบปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะอย่างรุนแรง โดยพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะรุนแรง จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ เป็นบ่อกุ้งที่เรียงรายอยู่เต็มชายฝั่งทะเล ที่บุกเบิกป่าชายเลนมานานกว่าครึ่งศตวรรษ แต่ปัจจุบันถูกน้ำทะเลรุกเข้ามาในพื้นที่เหล่านี้อย่างต่ำ 500 เมตร ส่วนที่พบสูงสุดกินพื้นที่ชายฝั่งเข้ามาถึง 2 กิโลเมตร

 โดยพื้นที่ชายทะเลบางขุนเทียน ชุมชนคลองประมง กว่า 100 หลังคาเรือน ซึ่งเคยอยู่ห่างจากชายทะเล ประมาณ 2 กิโลเมตร ปัจจุบันต้องถอยร่นประตูระบายน้ำ เพื่อใช้เลี้ยงกุ้งมาแล้วหลายครั้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่พยายามนำหินมาถมเป็นเขื่อนกันคลื่นกัดเซาะจนเป็นหนี้เป็นสินกันถ้วนหน้า แต่น้ำทะเลก็ยังทะลักท่วมที่ดินร่วมเข้ามา 200-500 เมตร

 นายประสูตร ช้างเจริญ อายุ 52 ปี ผู้ใหญ่บ้านชุมชนคลองประมง เขตบางขุนเทียน กทม. กล่าวว่า สมัยอยู่ชั้น ป.4 เคยช่วยพ่อวัดที่ดินออกโฉนด จำได้ว่าจะออกโฉนดได้จะต้องอยู่ห่างจากทะเลหลายกิโลเมตร เดิมทีพื้นที่นี้เคยมีแนวป่าชายเลนหนาทึบ มีต้นแสมนับพันๆ ไร่ แต่ก็ถูกน้ำทะเลกัดเซาะขุดรากถอนโคนจนหมด และเริ่มกินเข้ามาในพื้นที่ทำกินของชาวบ้านแล้ว

 "ตั้งแต่เกิดพายุเกย์เมื่อปี 2532 ปัญหาการกัดเซาะเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เดิมพื้นที่นี้จะมีดินตะกอนงอกใหม่ ตอนนี้กลับหดหายไปเรื่อยๆ รวมกว่า 3,700 ไร่ ผมและชาวบ้านที่ทำนากุ้งอาศัยน้ำทะเลจากธรรมชาติ ต้องย้ายประตูน้ำหนีมา 3-4 ครั้งแล้ว ย้ายครั้งหนึ่งก็ห่างจากจุดเดิม 100-200 เมตร" นายประสูตร กล่าว

 นายประสูตร กล่าวอีกว่า การย้ายประตูระบายน้ำแต่ละครั้งต้องลงทุนนับแสนบาท บางคนต้องกู้เงินมาทำ แถมยังต้องซื้อหินมาถมเป็นเขื่อนกันคลื่น แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ ต้องสูญเสียที่ดินไปแล้วหลายร้อยไร่ ไม่ต่างจาก นางอนงค์ จันทอง ลูกบ้านวัย 45 ปี บอกว่า สมัยก่อนที่ดินทำกินอยู่ห่างจากทะเลเป็นกิโล ตอนนี้น้ำทะเลรุกเข้ามาในที่ดินกว่า 100 เมตรแล้ว ต้องซื้อหินมาเป็นแนวกันคลื่น แต่ก็กันไม่อยู่

 ชุมชนคลองประมง เขตบางขุนเทียน ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเดียวกับนายประสูตรและนางอนงค์ แต่ไกลออกจากอีกฝั่งทะเลอ่าวไทย ชาวบ้าน ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา กลับได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะไม่ต่างไปจากทะเลบางขุนเทียน

 นายสุนทร ขำเอี่ยม อายุ 52 ปี ต้องย้ายบ้านมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อตอนอายุได้ 11 ขวบ ครั้งนั้นชุมชนชายทะเล 20 ครอบครัว ประสบปัญหาน้ำทะเลรุก จึงพากันอพยพหนีน้ำกันมาทั้งชุมชน และอีก 10 ปีต่อมาก็ต้องย้ายหนีกันอีกครั้ง โดยย้ายออกมาไกลจากจุดเดิมมาก เพราะทุกคนตั้งใจว่าจะไม่ย้ายไปไหนอีก แต่สุดท้ายก็ต้องย้ายหนีภัยธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนที่ดินทำกินจมอยู่ใต้ทะเลเหลือแต่หน้าโฉนดเท่านั้น

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ใครที่ผ่านมาที่ชุมชน ต.สองคลอง จะสังเกตเห็นโบสถ์วัดหงษ์ทอง สร้างโดดเด่นอยู่กลางน้ำทะเลที่ขึ้นลงตลอดเวลา พระครูปรีชาประภากร เจ้าอาวาสวัด บอกว่า เดิมทีในโฉนดที่ดินของวัดระบุเนื้อที่ครอบครองทั้งสิ้น 21 ไร่ แต่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 8 ไร่เท่านั้น และโบสถ์ที่สร้างอยู่กลางน้ำเดิมทีก็เป็นที่ดินของวัดนั่นเอง

 นายทวีศักดิ์ สุขศรี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สองคลอง กล่าวว่า พื้นที่ในความดูแลของ อบต.สองคลอง มี 10 หมู่บ้าน มีหมู่บ้านที่เสี่ยงภัยการกัดเซาะชายฝั่ง 6 หมู่บ้าน โดยมีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและปัญหาลมพายุพัดบ้านเรือนได้รับความเสียหายทุกปี ที่ผ่านมา อบต.และหน่วยงานต่างๆ ช่วยเหลือด้วยการทำโครงการลงหินใหญ่สร้างแนวเขื่อน ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การลงถุงใยหินบรรจุทราย และปลูกป่าชายเลน แต่ให้ผลสำเร็จเพียงโครงการละ 10-20% เท่านั้น

 ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในขณะที่ชาวบ้านพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนหลายจังหวัด กำลังเผชิญกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง แต่กลุ่มทุนหมู่บ้านจัดสรรกลับเลือกลงทุนในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งมากขึ้น อย่างหมู่บ้านจัดสรรใน ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งอยู่ห่างจากชายทะเลเพียง 1-2 กิโลเมตร โดยผู้ที่เข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึกวิตกกังวลกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะที่อาจจะเกิดขึ้นแต่อย่างใด

 นางภัทรวดี เสมอภาค อายุ 44 ปี หนึ่งในเจ้าของทาวน์เฮ้าส์ใกล้ทะเล บอกว่า ตอนที่ซื้อบ้านไม่ได้คำนึงถึงเรื่องปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะ แต่ก็ยังไม่รู้สึกกลัวปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้น เช่นเดียวกับ นางสุมาลี มีเอี่ยม อายุ 51 ปี ที่เพิ่งถมดินปลูกบ้านสูงกว่าเดิม 1 เมตร และอยู่ห่างหมู่บ้านจัดสรรเพียง 500 เมตร ยอมรับว่า ตั้งแต่เริ่มมีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ รู้สึกว่าแผ่นทรุดลงไปเยอะมาก ทำให้น้ำเอ่อท่วมเกือบครึ่งเมตรประจำทุกปี แต่ไม่เคยเกิดน้ำท่วมมากเหมือนตอนพายุเข้าเมื่อ 10 ปีก่อน

 ส่วนที่ จ.ชลบุรี ก็เกิดปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งเช่นกัน โดยเฉพาะชายหาดบางแสน สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของ จ.ชลบุรี โดยนายสวัสดิ์ หอมปลื้ม นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี เปิดเผยกับ "คม ชัด ลึก" ว่า ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา บริเวณชายหาดบางแสนและหาดวอนนภา มีคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่งต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้พื้นที่ริมฝั่งทะเลได้รับความเสียหายอย่างมาก จนเทศบาลเมืองแสนสุขต้องเร่งหามาตรการรับมือกับปัญหาดังกล่าวเป็นการด่วน

 นายสวัสดิ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ที่หาดบางแสนมีการทำถนนบริเวณชายหาดเพื่อปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม แต่ก็ถูกคลื่นซัดจนพังเสียหาย เทศบาลเมืองแสนสุขต้องสร้างเขื่อนกั้นป้องกันการกัดเซาะ ซึ่งในระยะแรกได้ผลเป็นอย่างดี กระทั่งต้นปี 2549 เป็นต้นมา พบว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีคลื่นลมแรงผิดปกติ ทำให้เขื่อนดังกล่าวได้รับความเสียหายอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลกระทบมาจากปัญหาโลกร้อน

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามสถานการณ์การกัดเซาะของน้ำทะเล และความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมริมชายหาดใน จ.ชลบุรี พบว่า ตั้งแต่ปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลใน จ.ชลบุรี เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะที่บริเวณศาลาชายทะเลรวมใจ ในเขต อ.เมือง จ.ชลบุรี ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปกติถึง 500 เซนติเมตร

 ด้านนายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในแต่ละพื้นที่มีความรุนแรงไม่เท่ากัน ต้องศึกษาก่อนว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติจนต้องมีการอพยพคนออกหรือไม่ ส่วนสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เกิดจากปัญหาการขุดน้ำบาดาลทำให้แผ่นดินทรุดในหลายพื้นที่ น้ำทะเลจึงรุกเข้ามามากขึ้น ประกอบกับพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เมื่อน้ำทะเลกัดเซาะขอบบ่อได้แล้ว น้ำทะเลจะรุกเข้ามาอย่างง่ายดายและเป็นบริเวณกว้าง

 นายอภิชัย กล่าวด้วยว่า แม่น้ำสายต่างๆ ที่เคยพาตะกอนมาทับถมบริเวณอ่าวไทยได้หายไป เพราะมีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ หรือมีการดูดทรายจากแม่น้ำ แถมยังมีการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น คลื่นลมมีความรุนแรงมากขึ้น จากการสำรวจพบว่า ชายฝั่งชายทะเลบางขุนเทียนมีการกัดเซาะ 12 เมตรต่อปี ถูกกัดเซาะกินพื้นที่ชายฝั่งไปแล้ว 600-700 เมตร และมีหน่วยงานต่างๆ เข้าไปแก้ปัญหา ทำให้ปัญหาการกัดเซาะลดเหลือ 8 เมตรต่อปี

 "กทม.เคยเป็นทะเลมาก่อน มีชายฝั่งทะเลอยู่แถว จ.พระนครศรีอยุธยา พอมีการสะสมตะกอนก็เกิดเป็นแผ่นดินเหมือนทุกวันนี้ กทม.อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 1-2 เมตร เมื่อระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นและแผ่นดินทรุดตัว ต้องศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย" อธิบดีกรมทรัพายากรธรณี กล่าว
 

จาก         :        คม ชัด ลึก    วันที่ 12 กรกฎาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #27 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2007, 12:29:02 AM »


เขื่อน"ขุนสมุทรจีน" นวัตกรรมใหม่ ป้องกันชายฝั่งสูญหาย


โบสถ์วัดขุนสมุทรธาวาสถูกน้ำท่วมในปัจจุบัน

สมุทรปราการ เป็นหนึ่งใน 5 จังหวัดที่ต้องสูญเสียพื้นดินอย่างรุนแรง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการกัดเซาะของน้ำทะเลด้านอ่าวไทย นับคร่าวๆ แล้วแผ่นดินที่สูญหายไปประมาณ 11,104 ไร่ จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องระดมความคิดจากหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ

มิเช่นนั้น การกัดเซาะชายฝั่งของน้ำทะเลจะกินลึกแผ่นดินเข้าไปทุกที-ทุกที

สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) เห็นความสำคัญของปัญหานี้ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้ร่วมมือกับทางจังหวัดสมุทรปราการ สนับสนุนให้งบประมาณในการทำวิจัยกับ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมงานวิจัย เร่งศึกษาถึงแนวทางการลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล

โดยเลือกหมู่บ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ เป็นพื้นที่นำร่องในการศึกษา ซึ่งทางจังหวัดสมุทรปราการ โดย นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่ง เพื่อหยุดยั้งการกัดเซาะของน้ำทะเลที่สมุทรปราการ

เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในพื้นที่ ผู้ว่าฯอนุวัฒน์ทำหน้าที่เป็นไก๊ด์กิตติมศักดิ์พาคณะออกเดินทางไปที่บ้านขุนสมุทรจีน พื้นที่นำร่องในการทดลองใช้ "เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2"


สภาพของหมู่บ้านที่โดนน้ำกัดเซาะจนดูคล้ายเกาะ

การเดินทางใช้เรือลำใหม่ที่ทางจังหวัดสมุทรปราการสั่งต่อไว้ราคาหลายล้านบาท ลักษณะเป็นเรือสองชั้น ติดแอร์ที่ชั้นล่าง ส่วนชั้นบนเป็นส่วนของคนขับเรือ สะดวกสบายพอสมควร ทำให้ระยะเวลาที่เรือวิ่งไปถึงที่หมายแม้จะนานเกือบสองชั่วโมง แต่ไม่มีใครบ่น ส่วนการที่เรือต้องใช้เวลาเดินทางนานขนาดนั้นเป็นเพราะต้องวิ่งอ้อมพื้นที่เลี้ยงหอยของชาวบ้าน


แนวเสาไฟฟ้าในอดีตถูกน้ำท่วมหมด

พอเรือเข้าใกล้บ้านขุนสมุทรจีน จะมองเห็นเสาไฟฟ้าอยู่กลางน้ำเป็นแถวยาวห่างจากฝั่งหลายสิบเมตร มองไปที่ฝั่งเห็นวัดอยู่ด้านหน้าหมู่บ้าน สังเกตแล้วหมู่บ้านนี้คล้ายเกาะกลางทะเลมากกว่า เพราะทั้งด้านหน้าและด้านข้างมีน้ำล้อมรอบ

หลายคนในคณะบอกว่า เดิมที่บริเวณผืนน้ำด้านหน้าหมู่บ้านเป็นพื้นดินมาก่อน มองเห็นซากคอนกรีตที่สร้างเป็นโครงสำหรับตั้งถังเก็บน้ำสูงตระหง่าน แต่เป็นเพราะถูกน้ำทะเลกัดเซาะแผ่นดินบริเวณนี้จึงหายไปกลายเป็นแผ่นน้ำแทน


ชาวบ้านนำหอยนางรมมาขาย

เรือเข้าเทียบท่าที่ด้านข้างของหมู่บ้าน มีสะพานพาดเป็นทางยาวผ่านต้นโกงกาง แสม ขึ้นเต็มพื้นที่ ทำให้บรรยากาศร่มรื่น ชาวบ้านมาคอยคณะอยู่แล้วหลายสิบคน บางส่วนนำของมาขายด้วย เช่น หอยนางรมสดๆ ที่หาไม่ยาก เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพประมง

ผู้ว่าฯอนุวัฒน์พาคณะสื่อมวลชนเดินดูพื้นที่รอบๆ หมู่บ้าน ทั้งที่วัด พระอุโบสถ และกุฏิพระ ที่เวลาน้ำขึ้นน้ำจะท่วมหมดทั่วทั้งบริเวณ ระดับน้ำสูงถึงหน้าต่างของโบสถ์เลยทีเดียว คะเนแล้วราวๆ เมตรเศษ

ผู้ว่าฯบอกว่า บริเวณที่จะสร้าง "เขื่อนสลายกำลังคลื่นขุนสมุทรจีน 49 A2" อยู่ด้านข้างของวัด ซึ่งจังหวัดสมุทรปราการมีแนวชายฝั่ง 45 กิโลเมตร ถูกน้ำกัดเซาะหายไป 11,104 ไร่ มีตำบลที่ติดชายฝั่งทะเล 6 ตำบล

ในอดีตถึงปัจจุบันชาวบ้านต้องสูญเสียพื้นที่ทำมาหากิน ที่อยู่อาศัย และต้องอพยพหนีน้ำ 5-7 ครั้งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา เช่นบ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ ที่สำคัญที่สุดคือโบสถ์ สถานที่ปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ แหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน ถูกน้ำท่วมจนพระสงฆ์ปฏิบัติศาสนกิจไม่ได้

ปัจจุบันทางจังหวัดได้เข้าไปช่วยเหลือหาน้ำประปา และร่วมกับชาวบ้านสร้างเขื่อนป้องกันโบสถ์ แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการกัดเซาะของน้ำทะเลได้ จนเสียพื้นที่ไปแล้ว 1 กิโลเมตร ด้วยเหตุนี้เองทางจังหวัดต้องหาทางป้องกันอย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้เสียแผ่นดินอีกต่อไป

"เราพยายามจัดหาพื้นที่นำร่องในการทดลองหารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่ง โดยการสร้างแนวป้องกัน คือ เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2 มีรูปแบบเป็นแนวลดกำลังคลื่นนอกชายฝั่ง สร้างห่างจากฝั่งออกไปในทะเล 50 เมตร โดยปักแท่งเสาคอนกรีตสามเหลี่ยมชนิดพิเศษ มีความยาวประมาณ 6-10 เมตร ตอกสลับฟันปลาเป็น 3 แถว มีระยะห่างของเสาแต่ละต้นและแต่ละแถวประมาณ 1.5 เมตร ซึ่งขณะนี้ทำการติดตั้งเสร็จแล้ว 250 เมตร การติดตั้งเสาเหล่านี้ก็เพื่อทำให้คลื่นอ่อนกำลังลง ไม่สามารถมีกำลังพอในการกัดเซาะชายฝั่งทะเลได้" เสียงผู้ว่าฯอธิบายให้กับคณะที่มาฟัง

ไก๊ด์กิตติมศักดิ์บอกอีกว่า จากการติดตั้ง "เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2" ประมาณ 2 เดือน สามารถปลูกป่าชายเลนหลังเขื่อนได้สำเร็จ และหยุดปัญหาการกัดเซาะได้ถึง 100% และทางจังหวัดจะสนับสนุนโครงการนี้ต่อไป

อย่างไรก็ดี แม้จะหาทางป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่จังหวัดสมุทรปราการได้สำเร็จแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันการเสียแผ่นดินชายฝั่งทะเล เพราะยังมีจุดอื่นที่เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน บางพื้นที่รุนแรงกว่ามาก

"การทดลองในพื้นที่หมู่บ้านนำร่องนี้ได้ผลอย่างมาก เพราะจากการติดตามผลในช่วงเวลา 2 เดือน มีการตกตะกอนของดินขึ้นมาประมาณ 35 เซนติเมตร จึงทำให้สามารถปลูกป่าชายเลนด้านหลังเขื่อนได้แล้วเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยมีชมรมยุวชนโลกเกือบ 100 คน มาช่วยปลูกป่าชายเลน เขื่อนที่สร้างขึ้นเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งวิธีนี้จึงได้ผลดีเกินคาด ทางทีมงานวิจัยจึงได้ใช้จังหวัดสมุทรปราการเป็นต้นแบบ และหลังจากสร้างเขื่อนแนวป้องกันนี้แล้ว ต่อไปจะตั้งสถานีเก็บข้อมูลอย่างถาวร เมื่อมีข้อมูลเพียงพอก็จะเสนอข้อมูลเป็นรูปธรรมสู่ระดับนโยบายต่อไป" ผู้ว่าฯอธิบายเพิ่มเติม

และกล่าวต่อว่า การสร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่นที่จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีพื้นที่ 45 กิโลเมตรที่ถูกน้ำกัดเซาะ ทั้งหมดใช้งบประมาณ 40-50 ล้านบาท เมื่อติดตั้งเขื่อนแนวป้องกันแล้วจะใช้งานได้เกือบ 100 ปี และที่สำคัญยังได้พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย


แผ่นดินที่งอกคืนกลับมาหลังจากที่สร้างเขื่อนขุนสมุทรจีน

"ระยะเวลาประมาณ 2 เดือนที่สร้างเขื่อนส่วนที่ 1 พบว่ามีตะกอนโคลนเข้ามาสะสมตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 30 เซนติเมตร กระทั่งวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา นับว่าได้ผลในการหยุดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้เกือบ 100% สำหรับโครงสร้างส่วนที่ 2 ทางจังหวัดกำลังดำเนินการให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้โครงการนี้มีความสมบูรณ์ 100%

"ผมภูมิใจอย่างมากกับผลงานที่เกิดขึ้นนี้ เพราะประเทศไทยมีหาดโคลนเป็นประเทศแรกในโลกก็ว่าได้ และในขณะนี้มีการจดสิทธิบัตรเขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2 เรียบร้อยแล้ว โดยจดในประเทศไทยก่อน และในระยะต่อไปอีกหนึ่งปีจะไล่จดสิทธิบัตรในต่างประเทศด้วย" ไก๊ด์กิตติมศักดิ์บอก


ตะกอนทับถมหลังเขื่อนใช้ปลูกต้นไม้ได้สำเร็จ

สมร เข่งสมุทร วัย 51 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 ต.แหลมฟ้าผ่า เล่าว่า ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นมานานกว่า 30 ปีแล้ว เมื่อมีการคิดโครงการสร้างเขื่อนป้องกันในรูปแบบที่กล่าวมา จึงเป็นเรื่องน่ายินดี และยิ่งการทดลองใช้เขื่อนสลายกำลังคลื่นได้ผลดีมาก ก็ยิ่งช่วยชาวบ้านอย่างมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินตะกอนที่มาสะสมทำให้ชาวบ้านได้แผ่นดินเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

"ที่ผ่านมาพวกเราต้องอพยพหนีน้ำปีละหลายๆ ครั้ง ฉันเองหนีน้ำมาแล้ว 3 ครั้ง บางครอบครัวย้ายหนีไปอยู่อื่นเลยก็มี ส่วนชาวบ้านที่เหลือไม่รู้จะหนีไปไหน เพราะไม่ได้ร่ำรวยอะไร จึงต้องต่อสู้ต่อไป ส่วนมากพวกเราที่นี่จะทำอาชีพประมง ตรงนี้เป็นที่ทำกินของชาวบ้าน จึงต้องอยู่กันต่อไปเพราะไม่มีที่จะไปแล้ว เวลานี้จึงเหลือไม่กี่ครอบครัวหรอกที่ยังปักหลักอยู่ที่นี่ ซึ่งหลังจากได้รับความช่วยเหลือจากทางจังหวัดตอนนี้ มีกำลังใจที่จะอยู่สู้ต่อไปอย่างมาก" ผู้ใหญ่บ้านหญิงกล่าวเสียงหนักแน่น

ผู้ใหญ่สมรเล่าว่า ตอนแรกที่มีโครงการทดลอง นึกว่าคงทำไม่ได้ผล เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านลองมาแล้วเกือบทุกอย่าง สร้างแนวป้องกันหลายรูปแบบก็ไม่สามารถป้องกันได้ แต่เขื่อนของทีมวิจัยจุฬาลงกรณ์ใช้เวลา 2 เดือนก็ได้ผลแล้ว

"เวลานี้ชาวบ้านดีใจกันมากที่ไม่ต้องอพยพย้ายบ้านหนีน้ำอีก เพราะเวลาน้ำทะลซัดหนักๆ ติดต่อกันนานเป็นสัปดาห์ พื้นดินจะหายไปเป็นกิโล ทุกวันนี้ชาวบ้านเฝ้าดูบริเวณที่สร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่น ที่ตอนนี้มีการตกตะกอนของดิน พวกเราก็ช่วยกันปลูกต้นไม้หลังเขื่อนเพื่อให้เป็นที่ยึดดินที่งอกขึ้นมาใหม่ และคลื่นลมก็สงบดีด้วย"

ชาวบ้านตำบลแหลมฟ้าผ่า จ.สมุทรปราการ เริ่มจะนอนตาหลับ เพราะปัญหาการกัดเซาะพื้นดินของน้ำทะเลที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานต่อเนื่องถึงสามสิบปีกำลังจะได้รับการแก้ไข การดำเนินชีวิตของพวกเขาจะได้กลับเข้าสู่สภาพปกติเสียที ไม่ต้องอพยพโยกย้ายทิ้งบ้านทิ้งช่องหนีน้ำกันอีกต่อไป

และที่ภาคภูมิใจอย่างมากของชาวบ้าน คือ หมู่บ้านของพวกเขาจะได้เป็นตัวอย่างให้กับการแก้ปัญหาในหมู่บ้านอื่นต่อไป



เขื่อนที่สร้างขึ้นใหม่ป้องกันการกัดเซาะ

รู้จัก"เขื่อนขุนสมุทรจีน 49 A2"

จะมีโครงสร้างหลักแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ช่วงสลายกำลังคลื่น และส่วนที่ช่วยกักตะกอนดิน

โดยแนวสลายกำลังคลื่น จะมีลักษณะโครงสร้างเป็นเสาคอนกรีตสามเหลี่ยมด้านเท่ายาว 50 เซนติเมตร ซึ่งมีการจัดวางแบ่งเป็น 3 แถว โดยความลึกของเสาคอนกรีตไล่จากส่วนที่ติดทะเลเข้าไปหาแผ่นดิน คือ 10 เมตร 8 เมตร และ 6 เมตรตามลำดับ

การวางเสาแต่ละต้นจะถูกวางห่างกัน 1.5 เมตร และการวางเสาระหว่างแถวที่ 1, 2 และ 3 จะมีการวางในลักษณะฟันปลา

เมื่อคลื่นพัดเข้ามา คลื่นจะถูกเฉือนออกเป็น 2 ข้าง และสะท้อนไปสะท้อนมาตามแนวเสาที่วางไว้ ถือเป็นการสลายความแรงของคลื่น เมื่อคลื่นพัดผ่านแนวโครงสร้างเข้ามา คลื่นจะอ่อนกำลังลง ทำให้ตะกอนที่ลอยมาในมวลน้ำตกตะกอนบริเวณแนวชายฝั่งหลังแนวเขื่อนที่สร้างไว้

โครงสร้างส่วนที่ 2 คือ แนวช่วยกักตะกอน มีลักษณะเป็นเสาคอนกรีตรูปบูมเมอแรง ปิดผนังด้านข้าง 2 ข้างเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเอาตะกอนบริเวณริมฝั่งกลับออกสู่ทะเลอีกครั้ง จึงทำให้ไม่เพียงช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่งเท่านั้น แต่ยังสามารถกันตะกอนไม่ให้ถูกพัดพาออกไปด้วย

โครงสร้างนี้จึงมีบทบาทในการกักเก็บตะกอนดินไว้ส่วนหนึ่ง และเมื่อตะกอนมีการพอกพูนตื้นเขินขึ้น ทีมวิจัยจะนำต้นกล้าแสมไปปลูกเพื่อช่วยยึดดินส่วนนี้ไว้ให้งอกเป็นแผ่นดินกลับมาอีกครั้งหนึ่ง


จาก         :        มติชน      วันที่ 13 กรกฎาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #28 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 11:58:25 PM »


เมื่อทะเลกัด             โดย   ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์



      หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมกระหน่ำเขียนเรื่องโลกร้อน ด้วยเหตุผลว่า ยิ่งค้นคว้ายิ่งพูดคุยกับผู้คุย ยิ่งรู้สึกว่าเรื่องนี้กว้างครอบจักรวาล เกี่ยวข้องไปแทบทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งสภาพแวดล้อมแปรปรวนที่เรากำลังเจอและจะเจอหนักขึ้น ฝนตกในยามที่ควรจะหยุด แต่ดันหยุด ในยามที่ควรจะตก
       
       ตกก็กางร่ม หยุดก็ออกมาตากแดดสิ คุณ ๆ บางคนอาจคิดเช่นนั้น แต่หลายล้านคนในประเทศไทย ฝากชีวิตไว้กับลมฝน เขามีภูมิปัญญาสืบทอดมาจากบรรพชน ตอนไหนควรหว่านข้าวตอนไหนควรดำนา แต่ฝนฟ้าที่ไม่ถูกต้องฤดูกาล ทำให้นาต้องล่มครั้งแล้วครั้งเล่า เอาง่าย ๆ ปีนี้ชาวนาที่ทุ่งกุลาร้องไห้ต้องหว่านข้าวมาแล้วสามครั้ง ทราบตั้งแต่ล่วงหน้าแล้วว่า ทำนาปีนี้ยังไงก็ขาดทุน แต่ต้องจำใจทำ
       
       นั่นเป็นเรื่องฝนฟ้า เป็นเรื่องของโลกร้อนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนจำนวนมาก แต่เผอิญข้าพเจ้าถนัดทางทะเล จึงอยากพาคุณกลับไปโลกสีครามอันไพศาล เป้าหมายของเราคราวนี้คืออำเภอบางสะพาน ผมจะพาเราไปดูการกัดเซาะชายฝั่งกันครับ
       
       คุณคงสงสัย ไปดูกัดเซาะ น่าจะไปแถวสามสมุทร (สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม) ทำไมถึงพาไปประจวบ แต่สำหรับนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เราเล่าเรียนมาตั้งแต่สมัยเป็นนิสิต พื้นที่ซึ่งมีการกัดเซาะชายฝั่งชัดเจนสุด อยู่ที่ประจวบจ้า ไม่ใช้ทั้งจังหวัดนะ เป็นเพียงแค่ชายหาดสั้น ๆ ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร มีชื่อว่า “หาดผาแดง”
       
       เรายังเรียนต่อไปว่า การกัดเซาะชายฝั่ง เกิดจากการกระทำของคลื่นลมและกระแสน้ำ ทุกอย่างมีผลร่วมกัน ธรรมชาติของชายฝั่งนั้น ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว บางช่วงทรายงอก บางฤดูทรายหดหาย หาดกว้างหาดแคบแตกต่างกันไป แต่ในหลายพื้นที่ ไม่ใช่เฉพาะหาด แต่รวมถึงแผ่นดินที่ผู้คนอยู่อาศัยใช้ดำรงชีวิต
       
       การกัดเซาะชายฝั่งไม่ใช่เกิดขึ้นแบบเป็นประจำทุกเมื่อเชื่อวัน ส่วนใหญ่เมื่อเราไป เห็นทะเลสดใสชายฝั่งก็ดีนี่ แต่ในยามมีพายุจัด น้ำทะเลหนุนสูง ตอนนั้นแหละครับ ถล่มกันแหลก หลังพายุเจ้าของบ้านออกไปดู อาจล้มตึงเพราะทรายหดเข้ามาตั้งเป็นเมตรหรือหลายเมตร ต้นไม้ล้มโค่นลงทะเลเพียบ พายุจึงเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้ทะเลกัด
       
       ครั้งเมื่อเกิดภาวะโลกร้อน ฝนฟ้าจะแปรปรวน เกิดพายุเข้ามาในทะเลไทยบ่อยครั้งขึ้น และรุนแรงขึ้น แน่นอนว่า ทะเลย่อมกัดแรงขึ้น ดังเช่นที่เคยเกิดกับอ่าวไทยเมื่อปลายปีก่อน บางแห่งถล่มเข้ามาตั้งหลายเมตร หากคิดรวมกันคงได้พื้นที่หลายพันไร่ ถ้าพายุเหล่านี้มาบ่อยขึ้นและบ่อยขึ้น คนที่อยู่แถวชายทะเลคงต้องเตรียมตัวเตรียมใจ ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก
       
       นั่นคือทั้งหมดที่ทราบมา เคยเห็นมากก็หลายครั้ง แต่ไม่มีครั้งไหนเหมือนครั้งนี้ ยามเมื่อเรือเราวิ่งเข้าใกล้ชายหาดผาแดง เหล่านิสิตบนเรืออุทานกันอู้ฮู บางคนแอบกระซิบ คิดว่ามีคนขุดดินไปขาย ชายทะเลจึงได้แดงเถือกปานนี้ แต่เมื่อเราเข้าใกล้ ไม่ต้องมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลก็ได้ ใครเห็นปุ๊บก็ทราบปั๊บ แผ่นดินถิ่นนี้โดนทะเลกัด
       
       ผมพยายามถ่ายภาพดีสุดเท่าที่ทำได้ แต่เชื่อว่า ภาพกระจิ๊ดเดียวที่คุณเห็น คงไม่ให้อารมณ์เหมือนวิวพาโนรามา ยามผมก้าวขึ้นไปบนชายหาดสีแดง เงยหน้าขึ้นมาตลิ่งสูงระดับตึกสามสี่ชั้น เห็นเป็นแผ่นผาสีแดง มีหินก้อนใหญ่ก้อนเล็กประดับอยู่ในดินดานเต็มไปหมด หน้าผาตรงนี้เต็มไปด้วยร่องรอยถูกกัดเซาะ มีเวิ้งถ้ำขนาดหนุ่มสาวเข้าไปนั่งปิกนิกจู๋จี๋กันภายในได้สบาย แต่ต้องจู๋จี๋แบบใจสั่น ไม่ใช่เพราะสาวสวยชวนฝัน แต่เป็นเพราะหลังคาถ้ำมีรอยปริร้าว พร้อมจะถล่มตึงลงมาทุกเวลา
       
       เหลือบมองบางส่วนที่ถูกกัดกร่อนพังทลาย ไปหาดไหนผมเห็นแต่เศษทราย อย่างดีก็ต้นสนล้ม แต่ที่นี่เป็นเหมือนโดนยักษ์กระทืบ ดินที่หลุดลงมาแต่ละก้อน สูงแค่ไหนรบกวนชมภาพเอาเอง มีแบบนั้นหลายก้อนนะครับ ตรงโน้นบ้างตรงนี้บ้าง จนใจที่ไม่สามารถถ่ายภาพมาได้ครบถ้วน
       
       จากจุดที่ผมยืนหันหน้าเข้าฝั่ง มองไปทางซ้าย เป็นบ้านหย่อมหนึ่งอยู่ริมผา เมื่อเดินเข้าไปดูจนใกล้ ผมค่อนข้างมั่นใจ ใครอยู่ในบ้านหลังนั้น ต้องมีขวัญกล้ามากกว่านอนในบ้านผีตายโหงสิง เพราะบ้านยื่นออกมาหมิ่นเหม่ คงไม่มีชาวบ้านคนไหนอยากเห็นวิวทะเลมากมายถึงขั้นไปสร้างบ้านริมผาขนาดนั้น คำตอบจึงมีหนึ่งเดียว เค้าสร้างบ้านไว้ดี ๆ แต่ทะเลดันเข้ามาหาเค้า
       
       ผมรู้สึกเศร้าใจแทนเจ้าของบ้านหลังนั้น รวมทั้งอีกหลายบ้านหลายสวนริมทะเลถิ่นนี้ เมื่อหันกลับไปมองดูทะเล ผมแน่ใจว่า จะใช้เทคโนโลยีแบบไหนดีปานใด คงมีปัญหา การป้องกันคลื่นด้วยเทคนิคต่าง ๆ นานา แม้บางวิธีการอาจได้ผลสำหรับบางพื้นที่ เช่น การฝังเสาไฟฟ้าสองชั้น เพื่อลดแรงของคลื่น ทำให้เกิดการดักตะกอน ก่อนปลูกไม้ชายเลนข้างใน แต่วิธีการนั้นอาจใช้ได้เฉพาะชายฝั่งถิ่นที่เป็นดินโคลนและป่าชายเลนดั้งเดิม เมื่อมาเจอหาดทราย คงกลุ้มใจตาย และยิ่งเป็นหาดทรายที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว กำแพงทะเลคงทำให้เกิดภาพประหลาดอุจาดตา ท้ายสุด การสร้างกำแพงคงใช้เงินไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่นกรุงเทพมหานคร กำลังวางแผนสร้างกำแพงราคากว่าสี่ร้อยล้านบาท (ผมเจอท่านผู้ว่า ฯ ท่านบอกว่ายังอยู่ในระหว่างการเตรียมการ ไม่ใช่ตัดสินใจทำแล้ว คงต้องคิดให้รอบคอบ แต่ที่นำมาบอกเล่า เพราะอยากให้ดูมูลค่าเงินที่ใช้)
       
       กรุงเทพเมืองคนรวย อาจมีเงินสี่ร้อยล้านทำกำแพง แต่ถ้าพูดถึงชาวบ้านแถวนี้ ผมมองสวนอีกครั้ง จะให้อบต.หรือหน่วยงานท้องถิ่นมีเงินสี่ร้อยล้านมาจากไหน ยังมีชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรงไม่ต่ำกว่าสองร้อยกิโลเมตรทั่วทะเลไทย ใช้เงินกี่หมื่นล้านบาทถึงจะพอ และแน่ใจหรือว่า กำแพงที่สร้างจะสู้ทะเลกัดได้...ตลอดไป
       
       ผมขึ้นฝั่งบางสะพาน ขับรถตะบึงกลับมากรุงเทพ เพื่อเข้าร่วมงานรายการพิเศษ “โลกร้อนแก้ได้” ของแกรมมี่และททบ.5 ในคืนวันเสาร์ เป็นงานที่ดีครับ ผมได้รับรู้เรื่องมากมายจากดร.ทั้งหลาย (ข้าพเจ้าก็เป็นหนึ่งในนั้นนะ) หลายเรื่องไม่เคยทราบมาก่อน และคงมีโอกาสเล่าให้คุณฟังในโอกาสต่อไป ผมยังได้อยู่ท่ามกลางเหล่าดาราศิลปินและผู้คนในวงการบันเทิง ตั้งแต่รุ่นเดอะระดับพี่ดี้พี่ฉอด จนถึงนักร้องหน้าใสใหม่จริงแบบ AF
       
       ผมกำลังอยู่ระหว่างคนสองกลุ่ม หนึ่งคือผู้ที่อยู่ลึกในวงการโลกร้อน พอทราบว่า อะไรกำลังเกิดขึ้นในวันนี้ และอะไรอาจจะเกิดขึ้นในวันหน้า อีกหนึ่งคือคนส่วนใหญ่ คนที่กำลังรอให้ภาครัฐ ให้ผู้บริหาร หรือให้ฮีโร่สักคนหรือสักหน่วยงานปรากฏกายออกมา ขจัดปัญหาที่กำลังเป็นที่กลุ้มอกกลุ้มใจ ทำลายก๊าซเรือนกระจกให้หายไป ทำให้โลกหายร้อน
       
       ดาราบางท่านแอบกระซิบผมหลังงานว่า มันน่าตกใจปานนั้นเชียวเหรอ คำพูดที่ผมใช้ “ตายทั้งเป็น” หรือ “อยู่อย่างทรมาน” ไม่กลัวผู้คนตระหนกตกใจเมื่อได้ยินได้ฟังบ้างหรือ
       
       ผมอยากขออภัย หากคำพูดของผมทำให้เธอนอนไม่เป็นสุข หากทำให้อีกหลายต่อหลายคนต้องกลุ้มใจ แต่สิ่งที่ผมพูด ไม่ใช่ข่าวลือว่าจะมีการปฏิวัติซ้อนหรือก่อม๊อบครั้งยิ่งใหญ่ ใครจะกลับเมืองไทยใครจะไปเมืองนอก
       
       สิ่งที่ผมพูด คือความจริงที่ผ่านข้อมูลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการประชุมระดับโลกไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ก่อนจะลงความเห็นร่วมกันจากนักวิทยาศาสตร์ไม่รู้กี่สิบประเทศไม่รู้กี่พันกี่หมื่นคน และสิ่งที่ผมพูด คือสิ่งที่ผมเห็นมาด้วยสายตา
       
       ผมแน่ใจว่า คนที่อยู่ในบ้านริมผาแดง คงใกล้อาการตายทั้งเป็น คนที่หว่านข้าวที่ทุ่งกุลาร้องไห้สามครั้งแล้วยังไม่ได้ผล คงอยู่อย่างทรมาน ผมแน่ใจว่า คนที่สูญเสียจากภัยแล้งหรืออุทกภัย พายุรุนแรงดินถล่มคลื่นความร้อนทลาย ไม่รู้กี่แสนกี่ล้านคนทั่วโลก ณ ขณะนี้ คงไม่มีใครอยู่ด้วยความสุข
       
       ใครเจอเรื่องร้าย ๆ เรามักใช้คำว่าซวยจังหนอ แต่ถ้าคนทั้งหมดเจอเรื่องร้าย ๆ พร้อมกัน เรายังจะเรียกว่าซวยอีกไหมหนอ
       
       ความซวยจังหนอกำลังย่างกรายใกล้เข้ามาหาทุกคน...

       
       หมายเหตุ – สะเดาะเคราะห์ล้างความซวยจังหนอ ทำได้ง่าย รถยนต์กับแอร์คือตัวการใหญ่ทำให้เกิดความซวย ประหยัดน้ำมันใช้แอร์ให้น้อยลง ความซวยลดกำลังลงครับ


จาก         :        ผู้จัดการออนไลน์      วันที่ 16 กรกฎาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #29 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2007, 11:57:55 PM »


ที่ปรึกษา"ห่วย"แก้นํ้าเซาะชายทะเลบางขุนเทียน

 นางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการประชุมร่วมกับนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนเพื่อหาข้อสรุปการแก้ปัญหาชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับการคัดค้านจากนักวิชาการว่าโครงการแก้ปัญหาของ กทม. ใช้ไม่ได้ผล โดยนักวิชาการทั้งหมดยืนยันว่า ลักษณะของคลื่นบริเวณชายฝั่งบางขุนเทียนเป็นคลื่นที่ซัดเข้าหาชายฝั่งในแนวตั้งฉาก ซึ่งขัดกับผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาของ กทม. ที่ระบุว่า คลื่นบริเวณบางขุนเทียนเป็นคลื่นซัดเข้าหาฝั่งในแนวขนาน หรือเฉียงเข้าหาชายฝั่ง ซึ่งเสนอการแก้ไขปัญหาด้วยการก่อสร้างรอดักทราย (Groin) รูปตัวที ตั้งขนานตลอดแนวชายฝั่ง เพื่อชะลอแรงคลื่นที่ซัดเข้าชายฝั่งและช่วยกักเก็บตะกอนไม่ให้ซัดออกนอกชายฝั่งเวลาที่คลื่นม้วนตัวออกจากฝั่ง ดังนั้นหากคลื่นซัดตั้งฉากกับชายฝั่ง จะส่งผลให้ลักษณะการพัดพาตะกอนเป็นทิศ ทางตรงข้ามกับขารูปตัวทีจึงอาจจะไม่ยาวเพียงพอที่จะกักเก็บตะกอนได้ ซึ่งปัญหาทั้งหมดมาจากบริษัทปรึกษาการตั้งสมมุติฐานผิด ซึ่งขณะนี้ได้ให้สำนักผังเมือง (สผม.) แจ้งข้อมูลให้ที่ปรึกษาเร่งปรับเปลี่ยนโครงการใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพราะใช้เวลาศึกษาล่าช้ามากแล้ว
 
นางบรรณโศภิษฐ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม นักวิชาการได้เสนอโครงการแก้ปัญหา 2-3 วิธี คือ 1.ไส้กรอกทราย (sand sausage) หรือถังใส่ทรายขนาดใหญ่ลักษณะเหมือนไส้กรอกหรือหมอนข้างยักษ์ วางบนฟูกทรายขนานกับแนวชายฝั่ง 2.เขื่อนสลายกำลังคลื่น หรือขุนสมุทรจีน คือการปักเสาซีเมนต์รูปสามเหลี่ยม โดยปักเป็นแถวยาวขนานชายฝั่ง โดยปักเรียงแถวหน้ากระดานหนา 3 ชั้น และปักสลับฟันปลา โดยเสาซีเมนต์สลับฟันปลาจะช่วยแรงคลื่นโดยการหักเหกำลังคลื่นลงได้ และการปักไม้ไผ่เป็นแนวเขื่อนริมชายฝั่ง โดยทุกโครงการได้ดำเนินการทดลองทำที่ จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร มาแล้ว ทั้งนี้ การพิจารณาเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ที่ กทม. จะใช้วิธีสร้างไส้กรอกทรายแทนรอดักทราย เพราะมีความเหมาะสมกับชายฝั่งของ กทม. มากที่สุด.
 

จาก         :        เดลินิวส์      วันที่ 18 กรกฎาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 20 คำสั่ง