กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 25, 2024, 03:52:15 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ  (อ่าน 26558 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายรุ้ง
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 838


« ตอบ #30 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2008, 03:54:43 AM »

ถ้าอย่างงั้นที่ดินที่สองสายซื้อไว้แถวๆเชิงเขาใหญ่เมื่อกว่าสิบปีมาแล้วก็คงจะกลายเป็นที่ดินติดชายทะเล หรือไม่ก็เป็นเกาะกลางทะเล....

ไปอยู่ด้วยกันไหมคะ....

ไปค่ะ ไป ไปไหนไปโต๋น  หนูว่า พี่สองสาย ไปทำหมู่บ้าน  SOS  ขายเลยดีกว่าค่ะ 

เคยอ่านเจอว่า มีคนพยากรณ์ไว้ว่า ประเทศไทย จะหายไปครึ่งประเทศ  และปากช่องจะเป็นชายทะเล อาจจะเป็นจริงนะค่ะ

สังเกตจากระยะหลังๆนี้  พ่อแม่ครูบาอาจารย์ สายวัดป่า จะมาตั้งวัดสาขาและสำนักสงฆ์ กันอยู่ทางปากช่องมากขึ้นจริงๆ 

จนชวนสงกะสัยว่า ท่านเตรียมอะไรกันอยู่หรือเปล่า .......(เป็นความเชื่อส่วนบุคคล..โปรดพิจารณา) 
บันทึกการเข้า
ดอกปีบ
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 316


If we see the hearts of others, peace will follow


« ตอบ #31 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2008, 05:31:12 AM »

ริเริ่มทำอะไรตอนนี้คงยังไม่สายนะครับ ..
ศึกษาข้อมูลอย่างจริงจัง มีการวางแผนและจัดการที่ดี รวมถึงการที่ทุกคนช่วยกัน 
บันทึกการเข้า
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #32 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2008, 12:46:28 AM »

อ้างถึง
ริเริ่มทำอะไรตอนนี้คงยังไม่สายนะครับ ..
ศึกษาข้อมูลอย่างจริงจัง มีการวางแผนและจัดการที่ดี รวมถึงการที่ทุกคนช่วยกัน
 

ในสภาพที่การเมืองฝังเข้าไปอยู่ในสายเลือด  ความแตกแยกมีอยู่ทุกหย่อมหญ้า  ในสังคมมีแต่คนเอาแต่ตัวเองแบบนี้  การร่วมด้วยช่วยกันคงมีได้ยากนะครับ น้องดอกปีบ .... ปล่อยให้น้ำมันท่วมล้างไปซะบ้างดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #33 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2008, 12:48:13 AM »


"สมิทธ"เตือน 4 ด.ทะเลท่วมกรุงเทพฯแน่   

 นักวิชาการเสนอรัฐบาล แก้-รับมือปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติควรทำเป็นวาระแห่งชาติ ระดมมันสมองหาแนวทางรักษาเมืองรักษาคน เผย กรุงเทพฯ ตั้งใกล้รอยเลื่อน เสี่ยงโดนภัยพิบัติเล่นงานได้ง่าย หวั่นพื้นที่พระบรมหาราชวัง-วัดพระแก้ว ทรุดหากเกิดเหตุเพราะสร้างมานานไม่ได้ตอกเสาเข็ม สมิทธ ชี้ กทม.ไม่มีความพร้อมรับมือภัยพิบัติ-ช่วยเหลือประชาชน คาดเดือนส.ค.-ต.ค.นี้ เกิดมรสุมใหญ่ฝั่งอ่าวไทย พัดถล่มหลายพื้นที่ น้ำทะเลหนุนท่วมกรุงเทพฯแน่

ที่สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 4 มิ.ย. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธาน เปิดสถาบันพัฒนาเมือง กทม. ซึ่งเป็นสถาบันที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน ดำเนินการศึกษาค้นคว้า พัฒนาวิจัย เผยแพร่ข้อมูล รวมทั้งการให้บริการความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอย่างครบวงจรแก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โดยมี รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธานกรรมการสถาบันพัฒนาเมือง และ ผศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร เป็น ผอ.สถาบันพัฒนาเมือง โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่สำนักผังเมือง เลขที่ 44 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงและเขตดินแดง
 
หลังจากการเปิดสถาบันฯ มีการเสวนาเรื่อง “แผนรับมือวิบัติภัยในมหานครกรุงเทพฯ” โดย นายสมิทธ ธรรมสโรธ ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และนางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าฯ กทม. โดยมี รศ.ดร.วรากรณ์ ดำเนินการรายการ
 
นายสมิทธ กล่าวว่า ปัจจุบันคนเข้า   มาอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้นและภัยที่เกิดจาก    ธรรมชาติก็มีแนวโน้มเกิดขึ้นในเมืองสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งเมื่อเกิดแล้วก็จะทำให้คนเสียชีวิตจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของตนนั้นมีความเป็นห่วงอยู่ 2 เรื่องคือ เรื่องแผ่นดินไหว เนื่องจากมีรอยเลื่อนที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ 2 แห่ง คือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์ รวมถึงรอยเลื่อนใต้พื้นที่กรุงเทพฯ เองก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้นอีกแม้จะเป็นรอยเลื่อนที่ไม่มีพลังแล้วก็ตาม แต่หากเกิดขึ้นมาจริง ๆ ตนแน่ใจว่าประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรุงเทพฯ เครื่องมือในการช่วยเหลือต่าง ๆ น้อยมาก
 
นายสมิทธ กล่าวต่อว่า ส่วนปัญหาน้ำท่วมและพายุนั้นปัจจุบันการเกิดพายุแต่ละครั้ง  มีความเปลี่ยนแปลงของความเร็วลม เช่น พายุนาร์กีส เป็นการก่อตัวจากมหาสมุทรอินเดีย     ซึ่งไม่เคยเกิดมาก่อน ดังนั้นในอนาคตการเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ก็น่าเป็นไปได้ โดยในปีนี้ช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค.นี้ ตนทำนายว่าจะเกิดมรสุมใหญ่ที่จะพัดเข้ามาทางอ่าวไทยเข้ามาช่วง จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี เพชรบุรี และหากน้ำทะเลมีการยกตัว (Storm Search) สูง 3-4 เมตร เข้ามาสู่แม่น้ำบางปะกง น้ำก็อาจจะทะลักเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพฯ และหากมีการทะลักท่วมเข้าพื้นที่รัศมี 30 กม. ซึ่งอาจถึงพื้นที่คลองประปา หากเป็นเช่นนั้นน้ำประปาก็จะเค็มและไม่สามารถนำมาใช้ได้ ประชาชนก็จะเดือดร้อนทันทีและปัญหาที่จะตามมาก็มีอีกมากจึงต้องหาทางเตรียมรับมือและป้องกันให้ดี
 
ดร.ต่อตระกูล กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็น ห่วงสำหรับกรุงเทพฯ ในการเกิดพิบัติภัยแผ่นดินไหวอีกอย่างหนึ่งที่ตามมาคือ ผลกระทบกับอาคารต่าง ๆ เนื่องจากเพิ่งมีการกำหนดกฎหมายให้การก่อสร้างอาคารรองรับแรงลมขึ้นในปี 50 ดังนั้นอาคารที่สร้างก่อนกว่า 2,000 แห่ง จึงเป็นอาคารเสี่ยงทั้งหมด นอกจากนี้ในส่วนของโบราณสถานในพื้นที่พระบรมหาราชวังและวัดพระแก้ว เป็นสถานที่ที่ก่อสร้างมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งไม่มีการฝังเสาเข็มตามแบบการก่อสร้างปัจจุบัน จึงน่าเป็นห่วงว่าจะไม่สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนได้ก็อาจจะทำให้ทรุดทั้งหมด
 
ดร.ปณิธาน กล่าวว่า ปัญหาพิบัติภัยนั้นตนคิดว่าน่าจะเสนอเป็นวาระแห่งชาติให้ระดมผู้เชี่ยวชาญจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมรับผิดชอบมาร่วมกันแสดงวิสัยทัศน์ เพื่อวางแผนรับมืออย่างจริงจัง ทั้งนี้อาจพิจารณาเสนอให้มีการสร้างถนนใกล้ชายหาดหรือปรับปรุงถนนเดิมที่มีอยู่แล้วยกระดับความสูงเพิ่มขึ้นอีก 1 เมตร เพื่อใช้ป้องกันน้ำที่สูงขึ้นทะลักเข้าท่วมพื้นที่
 
นางบรรณโศภิษฐ์ กล่าวว่า ในส่วนของ กทม. มีการเตรียมรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยการจัดพื้นที่ผังเมืองให้เหมาะสมและจัด   ทำข้อมูลต่าง ๆ เพื่อรองรับการแก้ปัญหาต่าง ๆ การติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย การช่วยเหลือประชาชน หากเกิดเหตุขึ้น ทั้งนี้การกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ต้องออกเป็นข้อกฎหมายบังคับใช้อย่างจริงจัง.




จาก                           :                              เดลินิวส์   วันที่ 6 มิถุนายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #34 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2008, 12:22:54 AM »


ย้อนดูน้ำท่วมกรุงเทพฯ ปี 2485 และ ปี 2538


 
"ด้วยปรากตว่า ฝนตอนต้นรึดูพุทธสักราช 2485 ตกมากทางภาคพายัพและภาคอิสาน เปนเหตไห้น้ำท่วมเรือกสวนไร่นา และบ้านเรือนราสดรทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคอิสาน ไนระหว่างเดือนกันยายน ตุลาคม และพรึสจิกายน เปนอุทกภัยครั้งสำคันไนประวัติการน์น้ำท่วมของเมืองไทยที่ทำความเสียหายไห้แก่ประชาชนพลเมืองเปนหย่างมาก"

ถ้อยคำบางส่วนจากบทนำในหนังสือ "เหตุการน์น้ำท่วม พ.ส.2485" ของ กระซวงมหาดไทย (กระทรวงมหาดไทย) ที่บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

น้ำท่วมกรุงครั้งนั้น ได้ถูกจารึกไว้ว่า เป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อครั้งที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะมีการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่คือ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์

นับจากปีนั้นมาจนถึงปัจจุบันได้ 66 ปี ภัยธรรมชาติกำลังจะกลับมาหลอกหลอนอีกครั้ง หากสถิติที่ นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุว่า เดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายนจะเป็น 4 เดือนแห่งการลุ้นระทึกน้ำท่วมกรุง เป็นความจริง

ย้อนสถานการณ์เมื่อปี 2485 มีน้ำท่วมหลายจังหวัดในภาคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ปิง วัง ยม น่าน ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ภาคอีสานและ ภาคใต้ ในขณะที่ กรุงเทพฯ เมืองที่ถูกกล่าวขานว่ามีชัยภูมิเอื้อต่อการถูกน้ำท่วม อุทกภัยในปี 2485 ได้เปลี่ยนโฉมกรุงเทพฯกลายเป็นทะเลน้ำจืดขนาดใหญ่ รูปถ่ายที่ถูกบันทึกไว้นั้น ทำให้คนรุ่นหลังเห็นว่าน้ำท่วมขังสูงจนประชาชนต้องใช้เรือเป็นพาหนะร่วมเดือน

ปี 2538 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กรุงเทพฯประสบกับน้ำท่วม ในช่วงที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ยังเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร น้ำเหนือหลากท่วมอยุธยา ปทุมธานี หมู่บ้าน White House ตอนเหนือของกรุงเทพฯ น้ำท่วมร่วม 2 เดือน

เมื่อนำแบบจำลองสภาพภูมิอากาศจากหลายๆ ประเทศมาศึกษาพบว่าภายในปี 2100 เหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรง จะเกิดเพิ่มขึ้นหลายเท่าจากแต่ก่อน โดยมีโอกาสเกิด 3-6 ครั้ง ในช่วง 100 ปี ต่างจากอดีตที่เกิดเพียง 1 ครั้งต่อ 100 ปี

เขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้ม ที่จะเกิดฝนตกหนัก และน้ำท่วมบ่อยครั้งขึ้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกที่ร้อน ทำให้มีการละลายของภูเขาน้ำแข็งแถบขั้วโลกที่เพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำ และทะเลเพิ่มขึ้น ตามลำดับ

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ชุมชนของไทยมักจะประสบกับปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเกิดในเขตชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย โดยเฉพาะแถบชายฝั่งด้านตะวันออก และทางใต้ของประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้มหาสมุทร ในเขตเมืองใหญ่อย่าง กรุงเทพมหานคร หาดใหญ่ และเชียงใหม่ก็ประสบปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน ทั้งนี้ ก็เนื่องจากปริมาณน้ำมีมากกว่าที่กักเก็บ และระบบระบายน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพพอ

ผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วม นำความเสียหายอย่างมหาศาลมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินขึ้น น้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ได้ทำลายสิ่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทาง สิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นต้น ทำลายพืชผลทางการเกษตร ชะล้างหน้าดินทำให้ดินเสื่อมสภาพ เกิดการปนเปื้อนของน้ำ และคร่าชีวิตประชาชนจำนวนมาก

นอกจากนี้ปัญหาน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ยังส่งผลต่อการแพร่ของโรคระบาดทั้งในมนุษย์ พืชและสัตว์ และมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในการเกษตร ประชาชนต้องสูญเสียที่ทำกิน ต้องอพยพย้ายถิ่น ผลผลิตระดับท้องถิ่นและระดับประเทศลดลง มีผลให้ประชาชนเกิดวิกฤตทางอารมณ์ ซึ่งมีผลต่อการก่ออาชญากรรมที่สูงขึ้น

ประเทศไทยยังมีความอ่อนไหวต่อสภาวะน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญต่อการตั้งถิ่นฐานในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำหรือชายฝั่งทะเล เพราะพื้นที่เหล่านี้ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยซึ่งอาจเกิดได้ในอนาคต โดยอาจมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่งหากเกิดภัยพิบัติโดยไม่เตรียมการป้องกันย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม

จากกรณีที่สถาบันเวิลด์วอทช์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ศึกษาวิจัยด้านสภาพแวดล้อมทั่วโลกระบุว่า จากการศึกษาขององค์การสหประชาชาติ (UN) และอีกหลายสถาบันพบว่า เมืองที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั่วโลกกำลังเผชิญกับอันตรายจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและพิบัติภัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศโลก โดยพบว่าเมืองชายฝั่ง 21 แห่ง จากทั้งหมด 33 แห่งที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนประชากรสูงถึง 8 ล้านคนภายในปี 2558 มีความ เปราะบางสูงมากที่จะถูกน้ำท่วม ซึ่ง 1 ในเมืองที่มีความเสี่ยงต่อภัยนี้ คือ กรุงเทพมหานคร

สำหรับการเกิดน้ำท่วม ในกรุงเทพฯ นั้น มีสาเหตุหลักๆ 2 สาเหตุด้วยกัน ประการแรก เกิดจากกรุงเทพฯมีการทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะกรุงเทพฯตั้งอยู่บนดินเลน อีกประการหนึ่งคือ น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลาย ทำให้ปริมาณน้ำทะเลสูงขึ้น และเพิ่มขึ้นทุกปี

องค์การสหประชาชาติวิเคราะห์ไว้ว่า ภายใน 10-15 ปี น้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 1-1.5 เมตร จะทำให้แผ่นดินทรุดตัวลง รวมทั้งจากกรมแผนที่ทหารได้แสดงพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่กำลังทรุดตัวลง โดยพื้นที่ที่มีการทรุดตัวลงมากที่สุดอยู่บริเวณเขตบางกะปิ ซึ่งมีการทรุดตัวไปแล้วประมาณ 100 เซนติเมตร

หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมไม่ย้ายเมือง การย้ายเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล และเวลานานมาก เนื่องจากในกรุงเทพฯ มีโบราณสถาน และสถานที่สำคัญอยู่เป็นจำนวนมาก การจะย้ายวัดพระแก้ว วัดโพธิ์ วัดสุทัศน์ สถานศึกษา มหาวิทยาลัยจะย้ายไปตั้งไว้ที่ใด หากมีการทำกำแพงกั้นโบราณสถาน สถานที่ราชการ โรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล ก็ไม่สามารถดำเนินการได้โดยง่าย และภูมิทัศน์ไม่สวยงาม

การที่ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องโลกร้อน โดยการ ปลูกต้นไม้ ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก นับเป็นวิธีที่ช่วยได้ในระดับหนึ่ง

ส่วนในเรื่องของการเกิดภาวะ น้ำท่วมนั้น ไม่ใช่ให้ประชาชนตระหนกแต่ต้องการให้ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นหรือช่วยกันผ่อนหนักให้เป็นเบาแทน เมื่อรับทราบข้อมูลต้องมีการตั้งข้อ สังเกตด้วยว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เตรียมตั้งรับกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น

เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไขอย่างแน่นอน



จาก                           :                  ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #35 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2008, 12:24:49 AM »


ระวัง ! กรุงเทพฯ จมน้ำ จาก สิงหาคม ถึง พฤศจิกายน 4 เดือนอันตราย


 
ภัยธรรมชาติปีนี้ดูน่ากลัวและรุนแรงกว่าทุกปี หลายประเทศทั่วโลกทั้งยุโรป อเมริกา ต่างประสบภาวะภัยพิบัติกันถ้วนหน้า ทั้งน้ำท่วม พายุถล่ม คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก ขณะที่เอเชียก็เพิ่งเผชิญกับภัยพิบัติครั้งรุนแรงจากพายุไซโคลนนาร์กีส หรือจีนเองก็สูญเสียอย่างหนักจากแผ่นดินไหวถึงน้ำท่วม

ประเทศไทยเอง หลังโศกนาฏกรรม สึนามิที่ภาคใต้ มีความพยายามรับมือหายนะจากภัยธรรมชาติไม่มากก็น้อย แต่ไม่มีใครให้ความมั่นใจได้ว่า เหตุการณ์ สึนามิจะเป็นการสูญเสียครั้งสุดท้าย ?

ก่อนหน้านี้ นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เจ้าของคำทำนายเตือนภัยพิบัติจากสึนามิ ออกทำนายรอบใหม่ว่า อีกไม่นานน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ !!!

คำถามคือ ถ้าเมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารราชการและ ศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศไทย จมน้ำสัก 2-3 เดือนจะเกิดอะไรขึ้น ?

จากบทวิเคราะห์ล่าสุดของนายสมิทธชี้ว่า ปลายปีนี้อาจเกิดสภาวะน้ำท่วมขังในบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล จากอิทธิพลของการเกิดฝนตกหนัก น้ำเหนือไหลผ่าน และน้ำทะเลหนุน และจากอิทธิพลของการเกิดพายุเคลื่อนตัวผ่านพื้นที่บริเวณจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย และบริเวณพื้นที่ของกรุงเทพฯและ ปริมณฑล

นอกจากนี้ยังมีลักษณะน้ำทะเลระดับสูงไหลทะลักในลักษณะ storm surge เข้ามาในปากแม่น้ำสำคัญของกรุงเทพฯและ จังหวัดใกล้เคียง เป็นเหตุให้พื้นที่ลุ่มส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯและปริมณฑลมีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง และมีผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน

ฉะนั้นที่จะหนักในปีนี้ก็คือ storm surge หมายถึงการที่ระดับน้ำมากับพายุตรงและเคลื่อนตัวมาถึงก้นอ่าวไทย อาจจะทำให้ระดับน้ำตรงก้นพายุสูงขึ้น คล้ายกับการเกิดพายุไซโคลนนาร์กีสที่พัดถล่มประเทศพม่า

"ที่พวกเราตื่นเต้นและเป็นห่วงกันมาก เพราะเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา หรือที่อินเดียก็น้ำท่วม ด้วยสภาพที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน ซึ่งทำให้น้ำทะเลอุ่นขึ้น เมื่อน้ำทะเลอุ่นขึ้นก็จะมีไอระเหยไปรวมกับอากาศที่อยู่รอบข้าง ก็กลายเป็นลมและไหลมาเป็นพายุ ก็จะทำให้มีอันตราย

อย่างนาร์กีส ตอนเกิดใหม่ๆ ความเร็ว 140 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ตอนขึ้นฝั่งถล่มพม่ามีความเร็วถึง 240 กิโลเมตร/ชั่วโมง นักอุตุนิยมวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มสงสัยและกังวลกันว่า พายุไซโคลนที่มีมาในมหาสมุทรอินเดียไม่เคยรุนแรงแบบนี้มาก่อนเหมือนอย่างนาร์กีส นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์กันว่า ปีนี้การเกิดพายุในมหาสมุทรอินเดีย หรือมหาสมุทรแปซิฟิกก็ดี ประเทศที่ติดชายฝั่งจะได้รับผลกระทบไปด้วย
 


อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาเล่าว่า ช่วงนี้หากดูสถิติพายุเขตร้อนที่เคลื่อนตัว เข้าสู่ประเทศไทย ก็พบว่าประเทศไทยจะเริ่มได้ผลกระทบตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ธันวาคม เดือนสิงหาคมจะมีพายุพัดผ่าน 19 ลูก กันยายน 45 ลูก ตุลาคม 49 ลูก และพฤศจิกายน 30 ลูก

"4 เดือนนี้ผมถึงบอกว่า ประเทศไทยเราจะมีผลกระทบจากพายุในปีนี้ โอกาสที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯอยู่ใน 4 เดือนนี้ ทุกคนก็แตกตื่น ก็ด่าผม แล้วก็มีคนแย้งว่าน้ำก็ท่วมทุกปี แต่ผมบอกว่า ถ้าท่วมอย่างที่เคยเป็นมา วันสองวันน้ำลด ก็ดี แต่นี่ถ้าคล้ายลักษณะพายุนาร์กีส มันจะท่วมเป็นอาทิตย์ ไม่ได้ท่วมแค่วันหรือ 2 วัน แล้วมันก็จะมี ผลกระทบกับเศรษฐกิจ การสัญจรคมนาคมอย่างมาก"

ล่าสุดที่ผมและทีมงานทำสถิติไว้พบว่า เดือนสิงหาคมราววันที่ 11-20 ก็จะเริ่มมีพายุเข้ามาทางตอนเหนือของประเทศไทย จะมีฝนตกในบริเวณภาคเหนือมาก และปริมาณฝนที่ตกจะไหลมาบรรจบในกรุงเทพฯ เป็นน้ำเหนือเข้ามา

ถึงปลายเดือนสิงหาคม พายุก็ยังอยู่ในภาคเหนือ บางลูกก็ไหลเข้ามาในภาคอีสาน แล้วน้ำก็จะไหลมารวมกันในภาคกลาง ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ยิ่งเดือนกันยายน พายุจะเข้าในภาคเหนือมากขึ้น บางลูกอาจจะพัดผ่านเข้ามาถึงกรุงเทพฯก็มี

ถัดมาปลายเดือนกันยายน ร่องมรสุมก็จะลงมาทางใต้ ซึ่งตอนนี้เองโอกาสที่ภาคกลางจะได้รับปริมาณน้ำฝนมีมากที่สุด ถ้าฝนตกนานและมีกำลังแรงลมเหมือนนาร์กีส หรือน้องๆ นาร์กีส ซึ่งเรายังไม่เคยประสบเลย ก็จะทำให้มีปริมาณน้ำมาก

ถึงเดือนตุลาคม พายุก็จะลงไปทางใต้ แต่ที่ผมห่วงคือเวลาพายุพัดเข้าอ่าวแล้วทวีกำลังแรงลมขึ้นมาถึงก้นอ่าว กรุงเทพฯจะได้รับผลกระทบมาก อีกสาเหตุหนึ่งก็คือในช่วงพฤศจิกายน-ธันวาคมจะมีน้ำทะเลหนุนโดยธรรมชาติ ถ้าพายุเคลื่อนตัวเข้ามาในกรุงเทพฯ ก็จะทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาทะลักเข้ามาในกรุงเทพฯได้ เหมือนที่นาร์กีสพัดเข้าไปในปากแม่น้ำอิรวดี

นักวิชาการที่ร่วมงานด้วยบอกว่า ได้คำนวณว่าน้ำจะเข้ามาจากปากแม่น้ำถึงกรุงเทพฯลึกถึง 30 กิโลเมตร ซึ่งปัญหาของกรุงเทพฯคือการระบายออกจะช้า เมื่อผสมกับน้ำทะเลหนุนโดยธรรมชาติ ก็จะทำให้น้ำระบายออกคืนสู่ทะเลช้ายิ่งขึ้น ประกอบกับมีน้ำเหนือไหลเข้ามาสมทบ ฉะนั้นกรุงเทพฯก็จะมีน้ำท่วมขัง ถ้าโชคร้ายหน่อยก็อาจจะขัง 1-2 อาทิตย์

สาเหตุส่วนหนึ่งก็คือ กรุงเทพฯเป็นพื้นที่ที่มีดินทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะดินกรุงเทพฯเป็นดินเลนจะทรุดตัวอยู่แล้ว 5-8 เซนติเมตรต่อปี ที่รามคำแหงหรือที่เขตสวนหลวงทรุดไปแล้ว 1 เมตร หากเปิดประตูน้ำพระโขนงหรือสำโรง น้ำท่วมทันทีโดยที่ฝนไม่ตก เพราะบริเวณนั้นอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล

หรือแถวสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ดินทรุดตัวหมด หากมีพายุเข้ามาแรง โรงงานแถวนั้นมี 3 หมื่นกว่าโรงอาจจะต้องปิดลง คน 3 แสนคนต้องหยุดทำงาน ตกงาน หากน้ำท่วมเป็นเดือน

มีนักวิชาการบางท่านเป็นห่วงว่า เมื่อ น้ำเข้ามา 30 กิโลเมตรจากปากอ่าว น้ำเค็มก็จะเข้ามาในคลองประปา คนกรุงเทพฯและคนปริมณฑล 8-10 ล้านคน อาจไม่มีน้ำจืดดื่ม จะเป็นน้ำประปาเค็มหมด ปัญหาคือเราจะเอาน้ำที่ไหนกิน

ที่พม่า คนตายเยอะ เพราะคนไม่มีน้ำดื่ม ต้องไปดื่มน้ำสกปรก ก็เป็นโรคตาย ผมก็บอกกับทาง กทม.ว่าให้เตรียมเรื่องน้ำดื่ม ไว้ด้วย

แน่นอนว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ น้ำก็จะท่วม 1-2 เมตร ฉะนั้นวิธีการป้องกันน้ำท่วมอย่างเดียวขณะนี้คือ ต้องสร้างเขื่อนสูงสัก 5 เมตร เป็นคอนกรีต ทำแบบประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างให้หนา ข้างบนรถสามารถวิ่งได้ สร้างตั้งแต่นนทบุรีไปถึงปากคลองประปา เพราะน้ำทะเลจะหนุนไปถึงคลองประปา สร้างวิ่งเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาตลอดไปถึงสมุทรปราการ อ้อมไปถึงบางปะกง

ส่วนอีกด้านหนึ่ง สร้างจากฝั่งธนบุรี อ้อมมาถึงพระประแดง ไปสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ก็อาจจะรักษากรุงเทพฯไม่ให้จมน้ำได้ แต่ก็ต้องเริ่มคิดเริ่มสร้างกันเดี๋ยวนี้

เชื่อมั้ยว่า ทุกครั้งที่ผมพูดหรือไปบรรยายที่ไหน คนส่วนใหญ่ก็มองว่า ผมสร้างความแตกตื่น ทำให้คนตกใจ นักธุรกิจก็ด่าผมว่าทำให้ธุรกิจเขาล้มละลาย ก็ต่อว่าอย่างรุนแรง โดยเฉพาะผู้ประกอบการใหญ่ๆ

สมิทธเล่าว่า ทุกครั้งที่ผมไปพูดหรือบรรยายที่ไหน ผมจะบอกว่า ผมไม่ใช่หมอดู หรือนักวิเคราะห์วิจารณ์ แต่เอกสารหรือสถิติที่ผมนำมาอ้างอิงหรือบรรยาย มาจากวิทยาศาสตร์ล้วนๆ โอกาสถูกก็มีมากกว่าผิด

"แต่คุณฟังผมแล้ว คุณไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องเชื่อก็ได้ แต่ฟังแล้วก็วิเคราะห์เสียก่อน ผมจะเรียนว่า จริงๆ แล้วกรม อุตุนิยมวิทยาเรามีศักยภาพดีมาก เรามีเครื่องมือพร้อม หากมีพายุ ภาพจาก ดาวเทียมหรือเครื่องมือที่เรามีอยู่ สามารถบอกเตือนล่วงหน้าประชาชนได้ 3-5 วัน แต่เราจะรอให้ถึงวันนั้นหรือ"

ด้าน นายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" เกี่ยวกับสถานการณ์ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนที่อาจจะเกิด น้ำท่วมว่า ทางกรมอุตุนิยมวิทยาต้องเฝ้าติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เพราะเดือนสิงหาคมเป็นช่วงที่ร่องความกดอากาศ ต่ำและร่องมรสุมพัดผ่านภาคเหนือของประเทศไทย

"ร่องมรสุมและร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่านภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคม จะทำให้ภาคเหนือมีฝนตกหนัก น้ำจะไหลลงแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน แล้วไหลเข้าสู่เจ้าพระยา ช่วงนั้นต้องมีการบริหารจัดการที่ดี หลังจากนั้นร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนลงมายังภาคกลางและภาคตะวันออก โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนตุลาคมที่ร่องความกดอากาศจะอยู่ที่ภาคกลางนั้น คงทำให้กรุงเทพมหานครและภาคตะวันออกมีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น"

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาให้ความเห็น เพิ่มเติมว่า เดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม หากมีพายุจากทะเลจีนใต้เข้ามายังประเทศไทยก็จะทำให้มีโอกาสที่ปริมาณน้ำภาคกลางและกรุงเทพฯเพิ่มขึ้น

"ประเด็นต่อมาคือ แผ่นดินกรุงเทพฯยุบตัว สูงกว่าระดับน้ำทะเลเล็กน้อย บางส่วนก็ใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล เพราะในอดีตเราใช้น้ำบาดาลเยอะ แผ่นดินจึงต่ำ สำคัญที่ 2 ฝั่งเจ้าพระยาที่น้ำลงมา และประชากรเพิ่มมากขึ้น ถนนหนทางและการสร้างเขื่อนเจ้าพระยาที่ จ.อ่างทองจะทำให้น้ำไหล เร็วขึ้น

ถ้าน้ำจากทะเลหนุน กรุงเทพฯก็จะได้รับผลกระทบ การบริหารจัดการน้ำกับปริมาณน้ำฝนจากภาคกลางและภาคตะวันออกจะส่งผลกระทบกับกรุงเทพฯ อาจจะต้องมีการเตรียมการเครื่องสูบน้ำ ระบายน้ำ โดยเฉพาะลักษณะพื้นที่กรุงเทพฯ เรามีการก่อสร้าง ปัญหาระบายน้ำต้องเตรียมการ ให้ดี การจราจรจะมีผลกระทบ"

นอกจากนี้ นายศุภฤกษ์ยังกล่าวว่า ที่บางขุนเทียนมีปัญหาคลื่นซัด หากการระบายน้ำไม่ดีจะเกิดน้ำท่วมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในขณะนั้นว่ามีฝนตกต่อเนื่องหรือไม่ มีพายุหรือไม่ น้ำเหนือไหลบ่าหรือไม่ และจะมีปริมาณมากในช่วงไหน มีน้ำทะเลหนุนด้วยหรือไม่ ซึ่งคงต้องมองอีกทีหนึ่ง

"ภาพรวมของประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่ม ช่วงนี้ปรากฏการณ์ลานินญาค่อยๆ หายไป จึงทำให้เกิดฝนตก เราประมาท ไม่ได้เรื่องของฝน อยู่ที่ช่วงเวลานั้นว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้น้ำเพิ่มขึ้นมาก แค่ไหน ซึ่งกรุงเทพมหานครเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน ฝนตกค่อนข้างมาก ประกอบกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกค่อนข้างมากและรุนแรง ในส่วนของกรมอุตุนิยมวิทยาก็จะมีการแจ้งเตือนปริมาณ น้ำฝนในพื้นที่เขตประเทศไทย แจ้งว่ามีพายุเข้ามาหรือไม่

ดังนั้นเรื่องการบริหารจัดการก็ต้องให้หน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบร่วมกันประสานให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำฝน กรุงเทพฯต้องเตรียมพร้อม แก้ปัญหาน้ำท่วมเพราะ ผู้อาศัยมาก หากจราจรติดขัดก็จะเสียหายต่อเศรษฐกิจ"

ขณะที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กภช.) เชื่อมั่นว่า ระบบเตือนภัยจะทำให้คนกรุงเทพฯรู้ล่วงหน้าว่าพายุจะเข้ามาเมื่อใด และมีเวลาเตรียมรับมือ

แต่ที่ยากจะรับมือก็คือ หากกรุงเทพฯต้องเจอน้ำท่วมนานเป็นเดือน งานนี้ตัวใครตัวมัน...



จาก                           :                  ประชาชาติธุรกิจ   วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
ipak007
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


« ตอบ #36 เมื่อ: มีนาคม 17, 2009, 07:42:40 AM »

อีก 8 ปี ผมกลัวว่ามันจะไม่นานถึง 8 ปีน่ะสิมันอาจจะเร็วกว่านั้นอาจจะแค่ 4 ปีนับจากวันนี้ ครับ แต่ไม่ว่ายังไงขอแนะนำให้ทุกบ้านหัดไปขี่เจ็ตสกี กันเอาไว้ก่อน และแต่ละบ้านควรจะมีเรือยางที่สามรถนั่งได้ประมาณ 5-8 คนประจำบ้านไว้ด้วยครับรวมถึงถ้าใครสามารถไปเรียนดำน้ำแบบ Scuba ได้ด้วยจะยิ่งดีแต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นการเตรียมพร้อมนะครับ ไม่ได้เป็นกระต่ายตื่นตูมครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง