กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 25, 2024, 08:56:38 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3 ... 5   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมเรื่องราวของ .... แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด กับภัยพิบัติอื่นๆ  (อ่าน 88375 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2007, 05:40:59 AM »


"ตรินิแดด"ฮือ "ภูเขาไฟใต้ทะเล"โผล่              


 
ค่อยๆ โผล่ขึ้นมา...โผล่ขึ้นมาจากใต้ทะเล

ที่นอกชายฝั่งทะเลทางตะวันออกของประเทศตรินิแดดประมาณ 8 กิโลเมตร มี "ภูเขาไฟโคลน" ที่ค่อยๆ โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ โดย "ภูเขาไฟโคลน" แห่งนี้เป็นที่สังเกตของนักจับปลาด้วยฉมวกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

หลังจากที่ข่าวแพร่ถึง "ภูเขาไฟโคลน" ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้าไปชมอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง

แกรมห์ สกอต นักจับปลาด้วยฉมวกคนแรกที่เห็น กล่าวว่า เขาและเพื่อนชอบมาจับปลาแถวนี้ ตอนที่เห็นครั้งแรก "ภูเขาไฟโคลน" มีความสูงเพียง 5 ฟุตเท่านั้น ส่วนโคลนก็นุ่มและเนียนมาก

เวลาผ่านไปเพียง 3 เดือน "ภูเขาไฟโคลน" สูงขึ้นเป็น 12 เมตร มีฐานกว้าง 149 เมตร น้ำทะเลในบริเวณนั้นเริ่มเชี่ยวกราก จนสำนักงานป้องกันภัยพิบัติเตือนเรือไม่ให้เข้าไปใกล้

ขณะที่นักท่องเที่ยวใจกล้า ไม่กลัวตาย ขอนั่งเรือไปส่องใกล้ๆ ส่วนพวกที่รักตัวกลัวตาย ขอดูไกลหน่อยก็ได้ ไม่เป็นไร

ด้านนักวิทยาศาสตร์ เตือนชาวบ้านแถวนั้นว่า อย่าไปกลัว "ภูเขาไฟโคลน" เกินเหตุ เพราะมันแตกต่างไปจากภูเขาไฟทั่วๆ ไป

โดย "ภูเขาไฟทั่วไป" นั้นมีการระเบิด มีก๊าซความร้อนสูงพุ่งขึ้นมาบนโลก มีลาวา มีแม็กม่า ส่วน "ภูเขาไฟโคลน" มีก๊าซธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเธน มีความร้อนและพลังงานออกมาน้อย

นักวิทยาศาสตร์ยังย้ำว่า "ภูเขาไฟโคลน" ไม่เป็นอันตรายต่อประชาชนที่อยู่บนฝั่ง และเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในพื้นที่แถบประเทศตรินิแดดและโตเบโก ซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกก๊าซธรรมชาติมากเป็นลำดับ 5 ของโลก

อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2540 "ภูเขาไฟโคลน" ระเบิดขึ้นที่หมู่บ้านปิเปโร โคลนได้ฝังรถยนต์และบ้านเป็นพื้นที่ประมาณ 1 ตารางไมล์ จากนั้นโคลนได้แห้งอย่างรวดเร็วเหมือนคอนกรีต โชคดีที่ไม่มีผู้ใดเสียชีวิต และระหว่างพ.ศ. 2507-2544 มีเกาะเล็กเกาะน้อยที่เกิดจาก "ภูเขาไฟโคลน" นอกชายฝั่งตรินิแดดเกิดขึ้นหลายเกาะ

ส่วน "ภูเขาไฟโคลน" ที่กำลังผลุบๆ โผล่ๆ อยู่นี้ นักวิทยาศาสตร์คาดว่า มันอาจจะขึ้นไม่พ้นพื้นผิวน้ำ เนื่องจากคลื่นได้ซัดโคลนด้านบนออกไปตลอดเวลา


จาก     :     ข่าวสด  คอลัมน์หมุนก่อนโลก    วันที่ 20 สิงหาคม 2550
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 03, 2007, 12:41:47 AM โดย สายน้ำ » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2007, 05:43:00 AM »


หลายลูก ‘อยู่ติดไทย’ ‘ภัยภูเขาไฟ’ ‘ใกล้ตัว’ กว่าที่คิด !!
 
 
 
 “ภูเขาไฟ ภัยพิบัติที่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด” ...เป็นชื่องานเสวนาที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในโอกาสที่ เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ชาแนล ช่องสารคดีระดับโลก นำสารคดีชุด “Doomsday Volcano” สารคดีการสำรวจสืบสวนหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ “ภูเขาไฟระเบิด” บนเกาะซานฌโตรินี่หรือชื่อเดิมว่าเธร่าในประเทศกรีซ ซึ่งเป็นการระเบิดที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ มานำเสนอ...
 
“แม้ว่าในประเทศไทยจะไม่มีภูเขาไฟที่สามารถปะทุได้ แต่ประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่รอบ ๆ มีภูเขาไฟที่พร้อมปะทุขึ้นมาและสร้างความเสียหายมายังประเทศไทยได้” ...เป็นการระบุของ ฤทธิชาติ ศิลารักษ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาดและจัดจำหน่าย เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ชาแนล เอเชีย ซึ่งนี่มิได้เกินเลยจากความจริง

 
“แผ่นดินไหว-สึนามิ” การเกิดเกี่ยวข้องกับ “ภูเขาไฟ”
 
ภูเขาไฟ เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น สิ่งที่พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟเมื่อเกิดระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหิน แก๊สต่าง ๆ โดยหินหนืดถ้าพุ่งออกมาบนพื้นผิวโลกเรียกว่า “ลาวา” แต่ถ้ายังอยู่ใต้ผิวโลกเรียกว่า “แมกมา”
 
บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟคือแนวรอยต่อของเปลือกโลก เป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟได้มากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกใต้พื้นมหาสมุทรลงไปสู่บริเวณใต้เปลือกโลกที่เป็นส่วนของทวีป เพราะแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงไปจะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืด และสามารถแทรกตัวขึ้นมาบริเวณผิวโลกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น ส่วนบริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อระหว่างเปลือกโลกก็อาจเกิดภูเขาไฟได้เช่นกัน ซึ่งเกิดขึ้นได้โดยกระบวนการที่หินหนืดถูกดันขึ้นมาตามรอยแยกในชั้นหิน
 
ในไทยก็มีภูเขาไฟ 8 แห่ง แต่ดับสนิทหมดแล้ว มีอายุราว 7 แสนปี โดยอยู่ที่ จ.บุรีรัมย์ 6 ประกอบด้วย... ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง ที่เขาพนมรุ้ง ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ, ภูเขาไฟอังคาร ที่ภูพระอังคาร ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ, ภูเขาไฟกระโดง ที่เขากระโดน ต.เสม็ด อ.เมือง, ภูเขาไฟหินหลุบ, ภูเขาไฟไบรบัด, ภูเขาไฟคอก และอยู่ที่ จ.ลำปางอีก 2 คือ ภูเขาไฟดอยผาคอกจำปาแดด และ ภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู
 
ทั้งนี้ ลักษณะของภูเขาไฟมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่... ภูเขาไฟแบบกรวยสูง เกิดจากการทับถมของลาวาที่เป็นกรด มีความข้นและเหนียวจึงไหลและเคลื่อนตัวช้าแต่แข็งตัวเร็ว ทำให้ไหล่เขาชันมาก ภูเขาไฟแบบนี้ถ้าเกิดการระเบิดจะรุนแรง, ภูเขาไฟแบบโล่ เกิดจากลาวาที่มีความเป็นเบส ลาวามีลักษณะเหลว ไหลได้เร็วและแข็งตัวช้า การระเบิดไม่รุนแรง, ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด เป็นกรวยสูงขึ้น ฐานแคบ เป็นภูเขาไฟที่มีการระเบิดรุนแรงที่สุด, ภูเขาไฟแบบสลับชั้น กรวยของภูเขาไฟมีหลายชั้น มีปล่องและแอ่งปากปล่องขนาดใหญ่
 
การระเบิดของภูเขาไฟก็มีประโยชน์อยู่บ้าง อาทิ ทำให้แผ่นดินขยายกว้างขึ้นหรือสูงขึ้น เกิดเกาะใหม่หลังเกิดการปะทุใต้ทะเล ดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นแหล่งเกิดน้ำพุร้อน
 
แต่โทษภัยที่จะมีต่อชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงนั้น มันร้าย แรงจนคนทั่วไปไม่ค่อยคิดถึงประโยชน์ของภูเขาไฟระเบิด โดยนอกจากธารลาวาแล้ว หลังการระเบิดของภูเขาไฟจะมี “เขม่าควันและก๊าซพิษ” ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต นอกจากนั้นยังทำให้เกิด “แผ่นดินไหว” และต่อเนื่องถึง “สึนามิ” ได้ด้วย
 
วรวุฒิ ตันติวนิช ที่ปรึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี ระบุว่า... การเกิดระเบิดของภูเขาไฟนั้นสิ่งที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิตมากที่สุดไม่ใช่ลาวา แต่เป็น “ไพโรคลาสติก” ซึ่งประกอบด้วยเศษหินร้อน พุ่งขึ้นบนอากาศ เกิดฝุ่นหนาปกคลุมพื้นที่ ทำให้คนขาดอากาศหายใจและเสียชีวิต ปัจจุบันถึงไทยจะไม่มีภูเขาไฟให้ระเบิด แต่บริเวณรอบ ๆ ที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยนั้นยังมีภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นใน อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, อินเดีย เพราะอยู่บนรอยต่อของเปลือกโลกที่จะมีการเคลื่อนตัวตลอด
 
“ภูเขาไฟที่น่าเป็นห่วงที่สุดตอนนี้ก็คือ ภูเขาไฟ Barren Island ที่อินเดีย ที่อยู่ในทะเลอันดามัน เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทุมากที่สุด และถ้าเกิดขึ้นไทยก็จะได้รับผลกระทบด้วยอย่างแน่นอน ดังนั้นการเตรียมตัวรับมือไว้ก่อนจึงดีที่สุด เพราะเราไม่สามารถยับยั้งไม่ให้เกิดภัยพิบัติได้ แต่เราสามารถเรียนรู้ถึงวิธีการรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้” ...ผู้เชี่ยวชาญรายนี้กล่าว
 
สอดคล้องกับ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ที่บอกว่า... ภูเขาไฟที่อยู่ใต้ทะเลอาจจะเกิดปะทุขึ้นได้ทุกนาที เพราะพลังงานที่อยู่ใต้เปลือกโลกยังมีอยู่ ยังถูกปล่อยออกมาจากใต้เปลือกโลก ซึ่งถ้าเกิดการระเบิดของภูเขาไฟในประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบกับประเทศไทยแน่ ถ้ามีการระเบิดขึ้นแล้วตามมาด้วยแผ่นดินไหวเกินกว่า 7 ริคเตอร์ อาจจะทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิในไทยได้

“การระเบิดของภูเขาไฟ การเกิดแผ่นดินไหว จึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจให้มากขึ้น รัฐบาลต้องสร้างระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพสูงให้กับประชาชน เพราะถึงไม่สามารถหยุดยั้งภัยพิบัติได้ แต่ก็จะสามารถช่วยชีวิตและทรัพย์สินได้มาก” ...ดร.สมิทธระบุ
 
ในอดีตไทยเฉย ๆ กับ “แผ่นดินไหว” แต่ยุคนี้ต้องกลัว
 
ในอดีตไทยไม่เคยกลัว “สึนามิ” แต่เดี๋ยวนี้ถึงขั้นผวา
 
และกับ “ภัยภูเขาไฟ” ไทยไม่กลัว...ไม่ได้แล้ว !!!!!.



จาก     :     เดลินิวส์    วันที่ 24 สิงหาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2007, 05:45:35 AM »


เผชิญหน้า... ภัยพิบัติ "ถล่มโลก"


 
สัปดาห์ที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบนให้ระวังน้ำท่วมฉับพลัน ขณะที่กรุงเทพมหานครอาจจะมีฝนตกหนัก ส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ออกประกาศเตือนพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มบริเวณเชียงราย-พะเยา เนื่องจากมีฝนตกหนัก

ขณะที่ก่อนหน้านี้มีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันในพื้นที่ จ.พังงา ส่วนที่ จ.สุราษฎร์ธานี ประสบเหตุน้ำป่าจากน้ำตก 11 ชั้น ป่าต้นน้ำคลองศกไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน บ้านเรือนได้รับผลกระทบกว่า 1,000 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหายประมาณ 10,000 ไร่

ช่วงเวลาเดียวกันที่ต่างประเทศ พายุเฮอร์ริเคน "ดีน" พัดเข้าถล่มบริเวณทะเลแคริบเบียน มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน ขณะที่แถบมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกาถูกพายุฝนกระหน่ำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอุทกภัยรุนแรงในหลายพื้นที่ กระทั่งผู้ว่าการรัฐโอไฮโอตัดสินใจประกาศภาวะฉุกเฉินใน 9 เขตของรัฐในพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือและตอนกลาง เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงรุนแรงที่สุด ในรอบ 100 ปี

ส่วนรายงานจากรัฐวิสคอนซินและมินนิโซตาระบุว่า มีบ้านเรือนประชาชนหลายพันหลังได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์อุทกภัย เบื้องต้นระบุว่า มีบ้านเรือนประชาชนในรัฐมินนิโซตา 4,200 หลังคาเรือน ได้รับความเดือดร้อน 256 หลัง เสียหายทั้งหมด ส่วนที่ วิสคอนซิน นายจิม ดอยล์ ผู้ว่าการรัฐ ประกาศภาวะฉุกเฉินใน 5 เขต ประมาณความเสียหายจากอุทกภัยเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,300 ล้านบาท

นายเทอเจ สคาฟดัล ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ชาวเอเชียและแปซิฟิกกำลังเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยทั้งในเอเชียใต้และเอเชียกลาง, เหตุแผ่นดินไหวทั้งในเปรูและหมูเกาะโซโลมอน แล้วไหนจะพายุเฮอร์ริเคน "ดีน" ที่กำลังทรงพลังอยู่ โดยลำพังเพียงแค่สึนามิในปี 2004 ที่โจมตี 14 ประเทศชายฝั่ง ก็ทำสถิติผู้เสียชีวิตเข้าไปแล้ว 37 เปอร์เซ็นต์ของเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งหมดตั้งแต่ปี ค.ศ.2000

กลับมาที่ประเทศไทย นายทศพร นุชอนงค์ ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า ภาวะโลกร้อนได้กัดเซาะชายฝั่งทะเลทั่วประเทศไทยแล้ว 20 เปอร์เซ็นต์ จากภาวะน้ำทะเลที่เพิ่มสูง ลมแรง และการกระทำของมนุษย์ ในส่วนดินถล่มก็เกิดขึ้นถี่และรุนแรงขึ้น

นี่คือเหตุการณ์บางส่วนจากเหตุภัยพิบัติจากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ประสบความรุนแรงอย่างหนัก

จากสถิติพบว่า หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวจนเกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อ 26 ธันวาคม 2547 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและภัยพิบัติอื่นๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ฤาใกล้ถึงวันสิ้นโลก ?!

"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ "นายสมิทธ ธรรมสโรช" ประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยภัยพิบัติแห่งชาติ เจ้าของคำเตือนภัยพิบัติจาก สึนามิ เจ้าเดียวและเจ้าแรกในประเทศไทย

- ระยะหลังมานี้ภัยพิบัติก่อตัวถี่ขึ้นและรุนแรงมากขึ้น

หลังจากเกิดสึนามิ (26 ธันวาคม 2547) มันทำให้มีรอยแยกของเปลือกโลกในทะเลอันดามันมีความยาวถึง 1,200 กิโลเมตร พื้นเปลือกโลกก็ยกตัวสูงขึ้นถึง 40 เมตร ตลอดแนว การเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่คราวนั้นทำให้รอยเลื่อนหรือรอยแยกของเปลือกโลกที่อยู่ในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคต่างๆ ของโลกมีผลกระทบกระเทือนหมด

ในส่วนประเทศไทย ผมเคยยกตัวอย่างว่า เหมือนเรามีแก้วอยู่ใบหนึ่ง แล้วก็มีรอยร้าวอยู่ 13-14 รอย วันดีคืนดีก็มีคนเอาค้อนมาทุบแก้วเราซึ่งมีรอยร้าวอยู่แล้ว ซึ่งรอยร้าวบางรอยมันก็ต้องมีปฏิกิริยาเพราะได้รับการกระทบ

กระเทือนอย่างรุนแรง ก็อาจจะร้าวมากขึ้น แตกมากขึ้น ผมทำสถิติไว้หลังเกิดสึนามิ พบว่านับตั้งแต่เกิดสึนามิ เราเกิดแผ่นดินไหวถี่ขึ้นและรุนแรงมากขึ้นในทุกจังหวัด ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต รอยเลื่อนที่เรามีอยู่มันก็มีพลังอยู่ แต่จะไม่ไหวต่อเนื่องติดต่อกันมากมายขนาดนี้
 


- หมายความว่าแก้วประเทศไทยพร้อมที่จะ แตกเสมอ

ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย (นะ) แต่เป็นทั่วโลกเลย มีแผ่นดินไหวในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นในพม่า ในจีน แม้แต่ประเทศลาวซึ่งไม่เคยเกิดแผ่นดินไหว ก็เกิดถึง 6.1 ริกเตอร์ มีผลกระทบถึงเชียงแสนทำให้ยอดเจดีย์เราหักลงมา ในพม่าเองก็เกิดบ่อย เมื่อเร็วๆ นี้ก็เกิดขึ้นที่ทะเลอันดามัน จริงๆ มันมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กๆ เป็นพันๆ ครั้งหลังจากเกิดสึนามิ แต่แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มีเป็นร้อยๆ ครั้ง

- ในส่วนประเทศไทยที่มีถึง 13 รอยเลื่อน จุดไหนอันตรายที่สุด

ที่อันตรายที่สุดก็มี 2 จุดที่น่าเป็นห่วง ที่แรกคือตรงรอยเลื่อนเจดีย์ 3 องค์ กับอีกที่คือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เพราะทั้งสองจุดนี้ยังมีพลังอยู่และอยู่ใกล้เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเราเป็นห่วง แต่ปัญหาคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ออกมาประกาศว่า เขื่อนศรีนครินทร์แข็งแรงมาก สามารถทนแรงแผ่นดินไหวได้ 7 ริกเตอร์ แต่ผมชี้แจงว่าการยืนยันเช่นนั้นมันแสดงให้เห็นว่า การก่อสร้างไม่ได้ทำเผื่อแผ่นดินไหวที่รุนแรงมากกว่านี้ เพราะอย่าประมาทว่าเมืองไทยจะแผ่นดินไหวแค่ 7 ริกเตอร์ หากมันเกิดรุนแรงกว่านั้น เขื่อนก็อาจจะแตก เพราะระหว่าง 8 ริกเตอร์กับ 7 ริกเตอร์ ความรุนแรงมันมากกว่ากันถึง 33 เท่า

ฉะนั้นถ้าการไฟฟ้าออกมาบอกโดยไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์มันไม่ได้ เพราะรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์กับรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์เป็นแขนงหนึ่งของรอยเลื่อนสแกงซึ่งอยู่ในพม่า แล้วรอยเลื่อนสแกงเคยเกิดแผ่นดินไหวถึง 8 ริกเตอร์ เมื่อ 74 ปีที่แล้ว

- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯบอกว่า ท่านทำให้คนตื่นตระหนก มีอะไรที่ดีกว่าคำเตือนที่ทำให้คนนอนไม่หลับไหม

มันเตือนอะไรไม่ได้แล้ว ตอนนี้ต้องมีระบบ เตือนภัยเท่านั้น เพราะจะไปรื้อเขื่อนสร้างใหม่ก็ไม่ได้ แล้วไม่มีสิ่งก่อสร้างในแผ่นดินใดที่สามารถทนทานแผ่นดินไหวได้ 7 ริกเตอร์ ที่ปากีสถานหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิแผ่นดินไหว 7.3 ริกเตอร์ คนตายตั้ง 7 หมื่นกว่าคน เมืองโกเบในญี่ปุ่น เมื่อหลายปีก่อนเมืองทั้งเมืองก็พังไปเลย ฉะนั้นอย่ามาคุย (เลย) แล้วก่อนสร้างเขื่อน ผมเคยบอกการไฟฟ้าฯว่า ถ้าสร้างเขื่อนตรงนั้นก็อาจจะแตกได้เพราะสร้างใกล้รอยแยกแผ่นดิน

- แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้างไหม

ผมก็บอกว่าต้องคืนกำไรของการไฟฟ้าฯให้ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ท้ายน้ำ ทำระบบเตือนให้ประชาชนถ้าเขื่อนแตกก็จะได้มีสัญญาณเตือนออกมา บอกเขาให้ชัดว่าตรงจุดที่ประชาชนอยู่ในแต่ละแห่ง น้ำจะมาถึงเขาอีกกี่ชั่วโมงกี่นาที แล้วบอกเขาว่าน้ำจะสูงเท่าไหร่ เพราะถ้าเผื่อมันแตกขึ้นมา คนที่อยู่ราชบุรี เพชรบุรี อาจจะเจอพรวดเลย

- การลงทุนระบบเตือนภัยต้องใช้งบประมาณ เท่าไหร่

ปัดโธ่...! ไม่กี่แสนบาท ก็มีป้ายบอก มีสัญญาณบอก เพื่อเวลาเกิดแผ่นดินไหวทางเขื่อน ก็จะรู้ทันทีว่ามีรอยร้าวรอยแยกมั้ย แล้วก็ส่งสัญญาณให้ประชาชนรู้ว่า เขื่อนกำลังจะร้าวจะแตกก็ให้อพยพคน ซึ่งจริงๆ ไม่กี่ตังค์หรอก แต่เขาไม่ทำ เขาบอกว่าทนได้ถึง 7 ริกเตอร์ แต่ผมบอกว่ามันไม่ได้ เท่าที่ผมศึกษามา 10-20 ปี

- การไฟฟ้าฯก็ต่อว่าท่านเยอะว่าทำให้เกิดความตื่นตระหนก

กฟผ.บอกว่า ผมมาทำลายเศรษฐกิจของเมืองกาญจน์ ทำให้คนไม่มาท่องเที่ยว ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต่อว่าผม คนที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ชอบ แต่ผมก็บอกว่าภัยธรรมชาติ (เนี่ย) ถ้าคุณทำระบบดี นักท่องเที่ยวเขาไม่กลัวหรอก ดูอย่างญี่ปุ่นมีแผ่นดินไหวทุกชั่วโมง ทำไมคนยังเต็มเมือง หรือลอสแองเจลิส ก็เพราะเขามีระบบเตือนภัยที่ดี ซึ่งประเทศเราต้องแก้ไข ต้องอยู่กับภัยธรรมชาติให้ได้ มนุษย์ต้องเรียนรู้ว่าพื้นที่ที่อยู่อาศัยนั้นจะมีภัยธรรมชาติอะไรเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งเมื่อเรารู้ เราก็ต้องบอกเขา

ในแง่ของระบบเตือนภัย สมมุติถ้าเกิดมีแผ่นดินไหวตอนนี้จะทำอะไรได้บ้าง

ผมก็ได้แต่เตือนประชาชนเท่านั้น (ล่ะ)

- แผ่นดินไหว เรารู้ล่วงหน้าได้มากน้อยแค่ไหน

แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติชนิดเดียวที่คุณไม่สามารถทำนายได้ ถ้าผมทำนายได้ผมรวยไปแล้ว (หัวเราะ) ขนาดทำนายไม่ได้ยังมีฝรั่งมาหาผมทุกวันเพื่อมาขอข้อมูลผม คือ ผมทำมาจนโดนด่า โดนว่าสารพัด ผู้ว่าฯภูเก็ต (จเด็จ อินสว่าง) ไม่ให้ผมเข้าจังหวัด หาว่าผมจะทำให้เกิดอันตราย ประมาณว่าถ้าเกิดอันตรายขึ้นกับผมก็จะไม่รับรองความเสียหาย แต่แล้วเป็นไง สิ่งที่ผมทำนายไว้

แต่รู้มั้ยทำไมชาวมอร์แกนถึงรอดมาได้ ก็เพราะเขาได้รับการสอนมา ทั้งๆ ไม่มีภาษาเขียน แต่เขาสอนลูกหลานเขามาเป็นบทเพลง โดยในเนื้อเพลงจะบอกว่า ถ้ายืนอยู่บนพื้นดิน แล้วรู้สึกถึงความสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง แล้วน้ำก็ลดลงไป ก็ให้วิ่งขึ้นเขาหมด

- ท่านเคยบอกว่าสึนามิคงไม่เกิดอีกครั้งในรุ่นท่าน แต่รุ่นต่อไปไม่แน่

ใช่...ไม่แน่ เพราะหลังจากนี้ก็อาจเกิดอีก ผมคิดว่าภัยธรรมชาติเราประมาทเขาไม่ได้ เราต้องเรียนรู้อยู่กับเขา ไดโนเสาร์ที่ตายก็เพราะมันประมาท ไม่รู้จักอยู่กับภัยธรรมชาติ

- ถ้าหากมีแผ่นดินไหวใกล้กรุงเทพฯจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ตรงไหนจะได้รับอันตรายมากที่สุด แล้วเราจะรับมือยังไง

กรุงเทพฯ (เนี่ย) พบรอยเลื่อนพัดผ่านเข้ามาใต้กรุงเทพฯเลย มันมาจากรอยเลื่อนสแกง แต่ผมตั้งชื่อว่ารอยเลื่อนกรุงเทพฯ มีอยู่ 2-3 รอย เป็นรอยเลื่อนแผ่นเดียวกับที่เกิดสึนามิ แล้วกรุงเทพฯก็ตั้งอยู่บนผิวดินบนเลน การที่มีแผ่นดินตั้งอยู่บนเลน เวลามีแผ่นดินไหวมันจะขยายอัตราเร่งของแผ่นดินไหวซึ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น สามารถทำให้ตึกอาคารบ้านเรือนพังได้

ในทางป้องกัน เราสามารถสร้างอาคารสร้างตึกเพื่อรองรับแผ่นดินไหวก็สามารถทำได้ แต่ต้องสร้างให้แข็งแรงมาก อาคารที่สร้างช่วงหลังๆ ทนทานได้ เพราะวิศวกรส่วนใหญ่เขาสร้างไว้เผื่อแรงลม การสร้างอาคารเผื่อแรงลมจะสามารถปลดปล่อยพลังงานออกไปได้ อาคารก็จะสามารถสั่นตัวได้และไม่พัง เพราะสามารถปลดปล่อยพลังงานที่ได้รับจากแผ่นดินไหวได้ แต่อาคารที่ไม่ได้สร้างไว้เพื่อรับแรงลมก็จะไป ก็เคยบอกแล้ว แต่ไม่มีใครสนใจ มัวแต่ทะเลาะกันเรื่องรัฐธรรมนูญ ไม่รู้จะทะเลาะกันไปถึงไหน

- ท่านกำลังบอกว่าภัยพิบัติมันมาโดยไม่รู้ตัว แต่เราต้องรู้เท่าทันมัน

ผมยกตัวอย่างว่า ที่โตเกียวเขาอยู่ได้เพราะเขาจะไม่เอาตึกไปต่อกับยอดเข็ม เขาจะตอกเสาเข็มเป็นแผ่น แล้วสร้างให้ตึกเหมือนอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม แผ่นดินไหวก็เคลื่อนตัวไปแต่ตึกไม่พัง แต่อาจจะสั่นตามสมควร แต่ถ้าตึกอยู่บนยอดเข็มเหมือนบ้านเรา เวลาแผ่นดินไหวรุนแรง เข็มมันจะหลุดจากหัวเสา ทำให้ทรุดและพังลงมาได้

- มีหน่วยงานอื่นอีกมั้ยที่ทำหน้าที่เตือนภัยธรรมชาติ นอกจากศูนย์เตือนภัย

มีเยอะแยะไป แต่ต่างคนต่างทำ คนไทยชอบทำอะไรแข่งกัน ที่ผมทำก็เตือนมา 10-20 ปี สมัยก่อนผมเคยเตือนรัฐบาลให้จัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติขึ้นมา แต่ก็ไม่มีใครเห็นด้วย เพราะทุกคนอยากจะทำของตัวเอง พยายามจะทำเครือข่ายของตัวเอง ผมก็เลยบอกว่าการสร้างเครือข่ายของตัวเองมันต้องสร้างระบบเตือนภัย ซึ่งระบบเตือนภัยมันแพงมาก แล้วก็เป็นการเสียทรัพยากร ธรรมชาติ เสียงบประมาณให้ต่างประเทศ เพราะเราต้องไปซื้อเครื่องมือเขามา

- ถ้าทำทั้งระบบต้องใช้เงินเท่าไหร่

ผมทำแล้ว ซื้อแล้ว ผมได้เงินจากรัฐบาลที่แล้ว แต่รัฐบาลนี้ให้หยุดไว้ก่อน 6 เดือน ผมลาออกเลย จน พล.อ.สุรยุทธ์ (จุลานนท์) เรียกไปพบว่าให้ทำต่อเถอะ คุณสนธิ (บุญยรัตกลิน) เรียกไปพบบอกว่า อาจารย์ช่วยทำต่อหน่อย ผมก็เลยมาทำต่อ คือเราไม่แตะต้องเงินเลย แต่บอกเพียงว่าให้จัดซื้ออุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือมาให้ผมเท่านั้นเอง

- สิ่งที่ท่านทำไว้แล้วสามารถรองรับภัยพิบัติทุกประเภท

ทุกประเภทครับ ไม่ใช่เฉพาะสึนามิ แต่ยังมีน้ำท่วม น้ำป่า ไฟป่า มลพิษทางอากาศเราก็เตือนได้

- ตอนนี้ก็บรรลุสิ่งที่ต้องการทำหมดแล้ว

ยังไม่หมดสิ ผมถึงยังต้องทำอยู่เดี๋ยวนี้ วันเสาร์-อาทิตย์ยังมาทำงานอยู่เลย ไม่ได้เงินสักบาท ผมก็มาทำให้ ตอนนี้ (เนี่ย) นะ ยังไม่มีคนมาบรรจุเลย คนที่ทำงานกับผม ผมยืมตัวมาทั้งนั้น ตอนที่ผมมาทำ ผมมาตัวคนเดียว แต่ต่อมารัฐบาลก็ให้ผมมีอำนาจขอยืมตัวเจ้าหน้าที่ นักวิชาการจาก 6 กระทรวง ผมก็ระบุเลยว่าเอากระทรวงไหนบ้าง แม้แต่ทหารในกองบัญชาการทหารสูงสุด ผมก็เอามาหมด ทั้งทัพเรือ ทัพบก อากาศ แต่มาทำสักพัก อยู่ๆ เขาก็ต้องกลับแล้ว

- ดูเหมือนรัฐบาลไม่ค่อยให้ความสำคัญ

เมื่อเร็วๆ นี้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินก็เพิ่งมาหาผม แต่ผมก็ด่ากลับไป ผมบอกว่าถ้าจะมายุบก็ทำๆ ไปเลย อย่ามาถามมากเรื่องให้วุ่นวาย เพราะเขามาดูว่า ผมใช้งบประมาณคุ้มค่าหรือเปล่า แต่คุณไปดูผลงานสิ ผมไปติดตั้งระบบเตือนภัยให้ฝรั่งเห็น แล้วศูนย์ที่นี่ผมสามารถออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจได้เลย แล้วผมก็เอาสิ่งที่ผมทำมาให้เขาดูว่าผมทำอะไรบ้าง

หลังเกิดสึนามิใหม่ๆ ไม่มีนักท่องเที่ยวมาเลย ผมก็เอาหอเตือนภัยไปติดให้เขาดู นักท่องเที่ยวก็เห็นแล้วก็มีความเชื่อมั่น แล้วประเทศที่โดนสึนามิทั้งหมดในแถบอันดามัน มีประเทศไทยประเทศเดียวที่ทำระบบนี้ออกมา นักท่องเที่ยวก็กลับมา

บริษัทเอเย่นต์ประกันชีวิตในยุโรปแถบสแกนดิเนเวียมาหาผมถามว่า สิ่งที่คุณทำสามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้กี่นาที มีประสิทธิภาพแค่ไหน ผมก็เล่าให้เขาฟัง เขาก็เชื่อ พอกลับไปบ้านเขาก็ออกระเบียบเลยว่า นักท่องเที่ยวในประเทศเขา โดยเฉพาะในประเทศสวีเดน นอร์เวย์ จะมาเที่ยวประเทศไทย เขารับประกันชีวิตให้ แล้วเขาก็ให้ความมั่นใจว่า ถ้ามาเที่ยวประเทศไทยยินดีให้มา

- แต่เราก็เคยมีปัญหาเรื่องการส่งสัญญาณแต่เกิดขัดข้อง

นั่นเพราะเมืองไทยก็คือเมืองไทย รัฐบาลก็รู้อยู่แล้วว่า ศูนย์เราทำหน้าที่นี้อยู่ แล้วระบบการเตือนภัยมันอ่อนไหวมาก แต่ไปให้เอกชนทำ คุณไปให้เอกชนทำได้ยังไง เพราะบางทีก็ไปกดเอง ทำให้นักท่องเที่ยวกลับบ้านไปตั้งหลายคณะ เสียหายตั้ง 2-3 ล้านบาท ผมกำลังทำเรื่องฟ้องอยู่ (เนี่ย)

- เป็นไปได้มั้ยว่าในอนาคต หน่วยงานแต่ละหน่วยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จะสามารถรวมกันทำงานได้

ก็ควรจะทำอย่างนั้นนะ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เขาก็กำลังจะทำอยู่ แต่ผมว่าไม่สำเร็จหรอก เพราะทุกคนอยากใหญ่ ถ้าคุณไปยุบรวม ตำแหน่งหน้าที่ก็น้อยลง คนที่มันมีอำนาจน้อยลงก็ไม่ยอม นอกจากให้พวกที่มีอำนาจตายไปเสียก่อน (หัวเราะ) เพราะคนเรามันอยากได้อำนาจ อยากเป็นใหญ่

- ตลอดชีวิตการทำงาน นิยามตัวเองว่าอย่างไร

ที่ผมมาทำอย่างนี้ แฟนผมก็ถาม (นะ) ว่า มาทำให้เขาทำไม เกษียณมาแล้วตั้ง 10 กว่าปี แทนที่จะไปตีกอล์ฟ ไปเที่ยวต่างประเทศ ผมก็บอกแฟนว่า ผมเป็นหนี้ประชาชน 8-9 พันคนที่ตายไป แล้วประชาชนที่อินเดีย ที่ศรีลังกา ที่เราควรจะเตือนเขาได้ล่วงหน้า เพราะเขาโดนทีหลังเรา เพราะเรามีระบบที่ดี เราเตือนเขาได้ล่วงหน้า เขาจะได้ไม่ตายเป็นหมื่น

แต่ก็มีท้อแท้ (นะ) กับการด่าการว่าของหนังสือพิมพ์ว่า ผมทำให้เศรษฐกิจปั่นป่วนเสียหาย ผมตัดเก็บไว้หมดนะ มันก็แปลกดีเหมือนกัน มีจิตสำนึกอะไรไม่รู้เก็บพวกนี้ไว้ เผื่อวันหนึ่งจะด่าตอบกลับไป (หัวเราะ) แม้กระทั่งลูกน้องเก่าก็ยังด่าผม ที่หนักๆ หน่อยก็ว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้คนเชื่อโดยไม่มีเหตุผล ผมก็ด่ากลับไปเหมือนกันว่า ความประมาทคือความตาย

- ชีวิตอยู่กับการเตือนภัยพิบัติตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เครียดแย่หรือ

โอ้ย... เมื่อ 2-3 วันก่อนมันไหวที่ 7.4 ตรงแถวๆ จาการ์ตา ผมขับรถมาที่ทำงานตอนตี 2 อายุ 73 ขับรถ 140 กิโลเมตรมาบนทางด่วน เมียผมบอกว่า ไม่ตายก็ดีแล้ว (หัวเราะ) ประกันชีวิตก็ไม่ประกัน ตายไปแล้วเขาก็ไม่รวยขึ้น (หัวเราะ)

- ท่านมั่นใจว่าวิธีการของท่านแม่นกว่าหมอดู

คือผมเชื่อ (นะ) หมอดู เพราะผมเป็นคนเชื่อดาราศาสตร์ ผมเป็นสมาชิกสมาคมดารา ศาสตร์ แล้วผมเชื่อเรื่องการโคจรของดวงดาว บางทีผมถึงได้ทายว่าภัยธรรมชาติเกิดจากการแยกสลายตัวของดวงดาว ดวงอาทิตย์



จาก     :     ประชาชาติธุรกิจ    วันที่ 27 สิงหาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2007, 05:48:46 AM »


"ภูเขาไฟ"ในเมืองไทย-มหันตภัยร้ายแรง "ดร.สมิทธ"แนะ-ต้องเรียนรู้อยู่คู่ภัยธรรมชาติ


 
ความรุนแรงของภูเขาไฟระเบิดมันคือ "ภัยพิบัติหรือมหันตภัยร้ายแรงอันทรงพลังโหดร้าย" ที่สามารถทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ตรงหน้าได้เพียงชั่วพริบตาให้พังราบเป็นหน้ากลอง ไม่เคยมีความปรานี หรือส่งสัญญาณเตือนบอกเหตุให้เราได้รู้ล่วงหน้า และยังเป็นภัยคุกคามที่มนุษย์ไม่สามารถหยุดยั้งมันได้

"เนชั่นแนล จิโอกราฟฟิก ชาแนล" รายการสารคดีระดับโลก ได้จัดเสวนา "ภูเขาไฟ...ภัยพิบัติที่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด" ที่ศูนย์การค้าเพนนินซูล่า พลาซ่า ไปเมื่อเร็วๆ นี้ โดยได้เชิญนักวิชาการระดับปรมาจารย์ด้านธรณีวิทยาของไทย "ดร.สมิทธ ธรรมสโรช" ประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และนักธรณีวิทยาที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภูเขาไฟ "นายวรวุฒิ ตันติวนิช" ที่ปรึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมแนะวิธีรับมือและหลบหลีกอย่างไรให้ปลอดภัย รวมถึงคำทำนาย "นอสตราดามุส" ว่าจะเกิดภัยพิบัติโลกครั้งใหญ่ในปีค.ศ.2012 หรือ พ.ศ.2555

ดร.สมิทธกล่าวว่า "ภูเขาไฟ" คือภัยพิบัติที่ไกลจากตัวเรา ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะไม่มีภูเขาไฟที่สามารถปะทุได้ แต่ประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่รอบๆ ที่มีภูเขาไฟพร้อมปะทุขึ้นมา และสร้างความเสียหายมายังประเทศไทยได้เช่นกัน ถ้าเรากางแผนที่ประเทศไทยดูจะพบว่า ประเทศไทยเรามีภูเขาไฟอยู่หลายลูก ล้วนดับสนิทแล้วทั้งสิ้นมีจำนวน 8 ลูก อาจจะหลงเหลือพิษสงอยู่บ้างก็แค่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่ไม่รุนแรงเท่าใดนัก
 


อาทิ จ.บุรีรัมย์ ได้แก่ ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง ภูเขาไฟหินหลุบ ภูเขาไฟอังคาร ภูเขาไฟกระโดง ภูเขาไฟไบรบัด ภูเขาไฟคอก จ.ลำปาง ได้แก่ ภูเขาไฟดอยผาดอกจำปาแดด ภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู

ปรมาจารย์ด้านธรณีวิทยากล่าวต่อว่า ถ้าดูเหตุการณ์หลังจากเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 9.3 ริกเตอร์ ที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2547 สถิติการเกิดแผ่นดินไหวตามรอยเลื่อนต่างๆ ในประเทศไทยก็เพิ่มมากขึ้นและรุนแรงขึ้น อาทิ ภาคเหนือเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิน 4 ริกเตอร์ ติดต่อกันบ่อยขึ้น จากที่ผ่านมาไม่ค่อยมีเหตุการณ์แบบนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เป็นห่วงมาก

ดร.สมิทธกล่าวเตือนว่า นอกจากแผ่นดินไหวแล้วภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิยังเป็นอีกผลกระทบที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟในประเทศใกล้เคียง ในปัจจุบันยังพบอีกว่าทุกวินาทีบนผิวโลกมีการเกิดภูเขาไฟระเบิด แม้แต่ในขณะนี้ก็ยังมีภูเขาไฟเกิดขึ้นอยู่ใต้ท้องทะเลตลอดเวลาและอยู่บริเวณรอบประเทศไทย แต่เราไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ ซึ่งเป็นการปล่อยพลังงานพื้นโลก
 


จากการตรวจสอบผิวโลกพบว่ามีจุดที่อาจจะเกิดภูเขาไฟอยู่ไม่ต่ำกว่า 100 จุด แต่ที่อยู่รอบประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 50 จุด คือ บริเวณรอบมหาสมุทรแปซิฟิกในประเทศฟิลิปปินส์ 45 จุด และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดบริเวณเกาะนิโคบาร์ ซึ่งมีภูเขาไฟที่เรียกว่าไพโรคลาสติก (Pyro Clatic) ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างออกจากประเทศไทยประมาณ 200 ไมล์ทะเล และเคยเกิดภูเขาไฟระเบิดเมื่อปี 1997 ที่ผ่านมา

หากภูเขาไฟไพโรคลาสติกเกิดระเบิดอีกครั้งจะส่งผลกระทบให้กับประเทศไทย ซึ่งอาจจะเกิดแผ่นดินไหว และจะเกิดเป็นคลื่นทะเลที่สูงมาก จนกระทั่งเป็นคลื่นสึนามิอีกครั้ง พร้อมทั้งจะส่งผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศในจังหวัดภาคใต้ด้วย

ภูเขาไฟที่อาจจะเกิดระเบิดในอนาคตและทำให้เกิดคลื่นสึนามิกระทบมาถึงประเทศไทย ที่น่าเป็นห่วงได้แก่ การระเบิดของภูเขาไฟในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะภูเขาไฟฟินาตูโบ ซึ่งเคยเกิดการระเบิดขึ้นหลายครั้งในอดีต และมีวัฏจักรในการระเบิดประมาณทุก 30-50 ปี

ดร.สมิทธกล่าวว่า ธรรมชาตินี้เราไปหยุดเขาไม่ได้ แต่เราจะหยุดโดยการอยู่กับเขาได้ คือเรียนรู้กับภัยธรรมชาติ เช่น มีสึนามิต้องวิ่งขึ้นบนเขาหรือตึกที่มีความสูงมากกว่า 3 ชั้น หากแผ่นดินไหวและอยู่บนตึกสูงควรหาที่หลบตามช่องไว้ก่อน เมื่อสงบก็ค่อยลงออกจากตึกด้วยบันไดและต้องอยู่ในที่โล่งแจ้งเพื่อไม่ให้สิ่งของตกใส่

ด้านนายวรวุฒิเล่าสมทบว่า ภูเขาไฟที่น่าเป็นห่วงที่สุดตอนนี้ก็คือ ภูเขาไฟ Barren Island ที่อินเดียที่อยู่ในทะเลอันดามัน เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทุมากที่สุด และถ้าเกิดขึ้นไทยก็จะได้รับผลกระทบด้วยอย่างแน่นอน

บริเวณที่มีภูเขาไฟและแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเป็นประจำนี้ คือบริเวณรอบๆ มหาสมุทรแปซิฟิก ในประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ยุโรป หรือทางใต้ของจีน ในฝั่งตะวันออกทวีปแอฟริกา เพราะว่าเปลือกโลกเราไม่ได้เชื่อมต่อเป็นอันเดียว แต่เป็นแผ่นทวีปที่แยก หากมีการเคลื่อนที่บริเวณเปลือกโลกยุบตัวส่วนใหญ่จะมีแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดเกิดขึ้น ไทยเรามีรอยเลื่อนอยู่และมีพลังและอาจมีการเคลื่อนที่ขยับตัว ทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ในบางครั้ง จนทำให้เกิดความรู้สึกได้ในกรุงเทพฯ

ส่วนคำทำนายของนอสตราดามุสในปีค.ศ.2012 ว่าจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่และทำลายมนุษยชาตินั้น ผมเห็นว่าคงเป็นไปไม่ได้ แต่อาจจะมีผลกระทบกับพวกอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร

ภูเขาไฟภัยพิบัติที่ไม่ไกลตัวเรา!!



จาก     :     ข่าวสด    วันที่ 28 สิงหาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2007, 05:51:41 AM »


บาร์เรน-กรากะตัวภูเขาไฟใกล้ไทยกำลังตื่น!
 
หลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งประวัติศาสตร์ที่เขย่าโลกใบนี้ด้วยความรุนแรงขนาด 9.3 ริกเตอร์ และก่อให้เกิดคลื่นสึนามิคร่าชีวิตผู้คนไปนับแสน เมื่อเช้าวันที่ 26 ธันวาคม2547



อาจไม่ใช่ภัยธรรมชาติร้ายแรงที่สุดที่มนุษย์โลกต้องเผชิญ...หากเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่นำไปสู่หายนะของโลกครั้งใหม่ที่ยากเกินจะคาดเดา!

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกตั้งข้อสังเกตว่าหลังแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ผ่านมา อาจมีส่วนทำให้การเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลกมีความถี่เพิ่มขึ้น ขณะที่ใต้พิภพยังคุกรุ่นไปด้วยธารหินหนืดหลอมละลายจากแผ่นเปลือกโลกที่มุดลงใต้เปลือกโลก อาจจะพร้อมใจกันปลดปล่อยพลังงานความร้อนที่รุนแรงกว่าระเบิดนิวเคลียร์หลายพันเท่าออกมาตามปล่องภูเขาไฟที่เคยหลับไหลมาหลายร้อยปีได้ 

สแตนกูสบี ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวและสึนามิจากศูนย์ Pacifle Disaster Warning Center (PDC) ประเทศสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าการเกิดแผ่นดินไหวที่มีความถี่สูงมากเช่นปัจจุบัน เป็นอาการปกติของการปะทุของภูเขาไฟ โดยเฉพาะภูเขาไฟที่ใกล้กับจุดที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม2547



ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวและสึนามิฯหมายถึงภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเกาะบาร์เรนนั่นเอง ซึ่งกำลังปลดปล่อยธารลาวาและควันพิษที่เกิดจากเศษหินหลอมละลายพวยพุ่งอยู่กลางทะเลอันดามัน หากรอบๆ ภูเขาไฟใต้น้ำลูกนี้มีตะกอนสะสมอยู่เป็นปริมาณมาก การระเบิดของภูเขาไฟอย่างรุนแรงหรือเกิดแผ่นดินไหว อาจทำให้ตะกอนปริมาณมหาศาลเหล่านี้พังทลายลงอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดคลื่นสึนามิได้

เฉกเช่นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี2541 เมื่อแผ่นดินไหวขนาด6.8 ริคเตอร์ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเลทางตอนเหนือของเกาะปาปัวนิวกินี เกิดคลื่นสึนามิสูง 7-10 เมตรซัดถล่มชายฝั่งทำให้ชาวปาปัวนิวกีนีเสียชีวิตเกือบ 3,000 คน 



ส่วน"บาร์เรน" เป็น1 ใน 3 ของภูเขาไฟที่หน่วยงานเกี่ยวกับการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติของไทยกำลังจับตาดูอยู่ ได้แก่ภูเขาไฟบาร์เรน ภูเขาไฟกรากะตัว ประเทศอินโดนีเซีย และภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บริเวณแหลมญวน เพราะภูเขาไฟระเบิดแต่ละครั้งความรุนแรงไม่ได้อยู่ที่ธารลาวาร้อน (แมกม่า) หรือหินเดือดหลอมละลายใต้พิภพ แต่อาจเป็นอันตรายจากควันพิษ (ไพโรคลาสติก) หรือคลื่นสึนามิก็ได้

สัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมสีเหลือง2 จุดบนแผนที่เหนือเกาะนิโคบาร์แทนที่ตั้งภูเขาไฟบนเกาะบาร์เรน ปรากฏอยู่บนโปรแกรมเพาเวอร์พอยต์ของ "วรวุฒิ ตันติวนิช" ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ปรึกษาทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งระบุว่าภูเขาไฟลูกนี้เคยระเบิดมาแล้วเมื่อครั้งอดีต แต่เป็นภูเขาไฟขนาดเล็กไม่ค่อยมีความสำคัญในสายตาของนักวิทยาศาสตร์โลก แต่บังเอิญว่าเป็นภูเขาไฟที่อยู่ใกล้ประเทศไทย

วรวุฒิอธิบายว่า ภูเขาไฟบนเกาะบาร์เรนตั้งอยู่กลางทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินโดนีเซีย ไปทางทิศตะวันออก มีประวัติการปะทุและระเบิดของภูเขาไฟลูกนี้เป็นระยะๆ แต่ไม่รุนแรง ล่าสุดปี 2538 มีรายงานการปะทุและมีรายงานการพ่นลาวาออกมา 



อย่างไรก็ตามวรวุฒิ บอกว่า บนเกาะบาร์เรนไม่มีคนอยู่อาศัย จึงไม่ค่อยมีข้อมูลเกี่ยวกับการระเบิดมากเท่าไรนัก แต่ภูเขาไฟลูกนี้ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กังวลว่าหากเกิดการระเบิดอาจจะเกิดสึนามิ ซึ่งประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบจากภูเขาไฟลูกนี้ เพราะอยู่ใกล้ประเทศไทยมากกว่าภูเขาไฟลูกอื่นๆ

"โดยส่วนตัวผมมองว่าภูเขาไฟลูกนี้ อาจจะระเบิดไม่รุนแรงเหมือนภูเขาไฟกรากะตัว ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีความสูงใหญ่และมีพลังมากจนยอดปล่องพังทลายลงมาเมื่อครั้งระเบิดใหญ่ปี 2426 มีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคน และเกิดคลื่นสึนามิ ปัจจุบันภูเขาไฟกรากะตัวกำลังฟอร์มตัวขึ้นอีกครั้ง จากการพ่นหมอกควันที่ประกอบด้วยหินขึ้นมาปกคลุมปากปล่องจนมีขนาดเกือบเท่าของเดิมแล้ว และอาจจะระเบิดรุนแรงอีกครั้งก็ได้"

ทั้งนี้ภูเขาไฟกรากะตัว ตั้งอยู่บนเกาะชื่อเดียวภูเขาไฟอยู่ระหว่างเกาะสุมาตรากับเกาะชวา เคยเกิดระเบิดเล็กๆน้อยๆ หลายครั้ง แต่เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ในปี2224 และอีก200 ปีต่อมา วันที่ 20 พฤษภาคม 2426 ก็เกิดระเบิดเสียงดังกึกก้อง ปล่อยเถ้าถ่านควันไฟออกมาต่อเนื่องจนถึงวันที่ 26 สิงหาคมปีเดียวกันเกิดระเบิดรุนแรงอีกครั้งจนถึงรุ่งเช้าของอีกวัน 

...เสียงกัมปนาทจากปล่องภูเขาไฟดังขึ้นอีกครั้ง ทำให้ยอดปล่องภูเขาไฟพังทลายลงมา ธารลาวาสีแดงเพลิงไหลท่วมหมู่บ้าน 163 แห่ง มีผู้เสียชีวิตราวๆ 36,000 คน



"หากภูเขาไฟที่เกาะบาร์เรนระเบิดรุนแรงจนทำให้ภูเขาไฟถล่ม และมีบางส่วนพังทลายลงมาอาจทำให้เกิดคลื่นสึนามิสูง 1-2 เมตรเกิดขึ้นที่ชายฝั่งไทย แม้ว่าคลื่นจะดูไม่สูงมาก แต่อาจสร้างความเสียหายได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเฝ้าระวังการระเบิดของภูเขาไฟลูกนี้อยู่" วรวุฒิบอก

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 มีรายงานการปะทุและระเบิดของภูเขาไฟบนเกาะบาร์เรนที่อยู่ห่างจากเกาะนิโคบาร์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 135 กิโลเมตร ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านภูเขาไฟระเบิดจากประเทศอินเดีย ลงไปสำรวจร่องรอยการระเบิดครั้งใหม่ในรอบ 10 ปี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบลาวาและหินระเบิดพุ่งออกมาอย่างรุนแรงจากปล่องภูเขาไฟ มีอุณหภูมิตั้งแต่ 900 ถึงมากกว่า 1,200 องศาเซลเซียส พร้อมด้วยฝุ่นหินของลาวาที่ร้อนแรงพุ่งออกมาจากปล่องสูงถึง 100 เมตร นานกว่า 15-30 วินาที หมอกควันที่ระเบิดออกมา มีรูปร่างคล้ายดอกเห็ดใหญ่ๆ ที่มีทิศทางพุ่งไปทางเหนือ

นอกจากนี้วรวุฒิ ยังระบุถึง ภูเขาไฟอีกลูกที่อาจก่อให้เกิดคลื่นสึนามิชายฝั่งอ่าวไทย นั่นคือ ภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ตรงบริเวณปลายแหลมญวน หากระเบิดขึ้นมาอาจทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้ แต่ตอนนี้ยังสบายใจได้ เพราะภูเขาไฟลูกนี้ยังสงบเงียบอยู่ แต่ขณะเดียวกันภูเขาไฟกรากะตัวที่ยังคุกรุ่นอยู่ด้วย ยังเป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะหากภูเขาไฟลูกนี้ระเบิดอีกครั้งอาจทำให้เกิดสึนามิได้เช่นกัน

"ภูเขาไฟใต้ทะเลอาจมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาตลอดเวลา และอาจทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้ ขณะที่ภูเขาไฟรอบๆ ประเทศไทยก็ปล่อยเถ้าถ่านที่เป็นพิษปกคลุมพื้นที่ 3-4 จังหวัดภาคใต้ของไทย"ดร.สมิทธธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ย้ำถึงภัยพิบัติจากภูเขาไฟระเบิด



แม้ว่าภูเขาไฟของไทยทั้ง8 แห่งจะดับสนิทหมดแล้ว แต่ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับภูเขาไฟที่อาจระเบิดได้ในทุกนาที รวมถึงภูเขาไฟใต้ท้องทะเลที่อยู่โดยรอบประเทศไทยด้วย

ดร.สมิทธ เล่าให้ฟังว่า มีนักสำรวจทะเลชาวรัสเซียให้ข้อมูลการค้นพบภูเขาดินหลายลูกใต้ทะเลแถวๆบังกลาเทศ มีขนาดเล็กและใหญ่ต่างกัน เกิดจากการตกตะกอนของแม่น้ำ อยู่ห่างจากประเทศไทย 340 กิโลเมตร พวกเขาเตือนว่าหากภูเขาดินเหล่านี้ถล่มอาจเกิดคลื่นสึนามิโดยไม่รู้ตัว แล้วเราจะป้องกันตัวเองได้อย่างไร

"ศูนย์เตือนภัยได้ของบประมาณปีนี้กว่า 100 ล้านบาทเพื่อซื้อทุ่นตรวจวัดการเกิดคลื่นสึนามิเพิ่มอีก 2 ทุ่น เมื่อเกิดคลื่นสึนามิจะได้เตือนทัน แม้ว่าการติดตั้งทุนจะเตือนภัยล่วงหน้าเพียงแค่ 30 นาทีก็ยังดีกว่าไม่มีการเตือนภัยใดๆ" ดร.สมิทธ กล่าวทิ้งท้าย


----------------


ภาพการระเบิดของภูเขาไฟบนเกาะเธราหรือซานโตนีประเทศกรีก เมื่อราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล ถูกนำเสนอผ่านทรูวิชั่นส์-ยูบีซีช่อง 45 เมื่อค่ำวันหนึ่งกลางเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา ทีมสำรวจของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ใช้เรือดำน้ำ ขนาด 2 ตัน ลงไปเก็บตัวอย่างซากหินและเศษตะกอนภูเขาไฟที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 3,600 ปีก่อน เพื่อค้นหาปริศนาของภูเขาไฟระเบิดครั้งประวัติศาสตร์ ที่มีความรุนแรงกว่าการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวหลายร้อยเท่านัก

ทั้งนี้แรงระเบิดจากภูเขาไฟบนเกาะซานโตนี มีความรุนแรงมากจนทำให้ปล่องภูเขาไฟแตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้ภูเขาไฟขนาดมหึมาจมสู่ก้นทะเลลึก และก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สูงร่วม 30 เมตรซัดถล่มเกาะครีทซึ่งอยู่ห่างออกไปร่วม 100 กิโลเมตร จนทำให้อาณาจักรไมนวลที่เคยเจริญรุ่งเรืองที่สุดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนต้องสิ้นสุดลง

เมื่อย้อนกลับมาสู่ยุคปัจจุบันที่มนุษย์กำลังหาวิธีรับมือกับภัยธรรมชาติทุกรูปแบบที่กำลังถาโถมเข้ามาในศตวรรษนี้ และเริ่มมีข่าวลือหนาหูถึงเรื่องคำทำนายวันสิ้นโลก ท่ามกลางสถานการณ์แผ่นดินไหวถี่และรุนแรงขึ้น โดยมีความสัมพันธ์กับการเกิดภูเขาไฟระเบิด อาจกลายเป็นภัยพิบัติอีกชนิดที่สั่นคลอนชีวิตมนุษย์ได้

ภูเขาหินยักษ์ที่อัดแน่นไปด้วยแมกม่าจากหินหลอมละลายใต้พิภพเกือบ200 แห่งทั่วโลกอาจกำลังถูกปลุกด้วยการขยับตัวของแผ่นเปลือกโลก ฤา...ใกล้ถึงวงรอบการระเบิดของภูเขาไฟครั้งประวัติศาสตร์ที่จะย้อนมากลืนอารยธรรมของมนุษย์อีกครั้ง!


ทีมข่าวรายงานพิเศษ: เรื่อง

เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก-อินเทอร์เน็ต: ภาพ


-------------------


Sidebar 1

ภูเขาไฟในไทย


ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟที่ปะทุและเกิดการระเบิดมาแล้ว8 แห่ง อยู่ที่ จ.บุรีรัมย์ 6 แห่ง ได้แก่ ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง ที่ตั้งของปราสาทหินพนมรุ้ง ภูเขาไฟอังคาร ภูเขาไฟหินหลุบ ภูเขาไฟกระโดง ภูเขาไฟไบรบัด และภูเขาไฟคอก ส่วนอีก 2 แห่ง ตั้งอยู่ที่ จ.ลำปาง ได้แก่ ภูเขาไฟดอยผาดอกจำปาแดด และภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู โดยภูเขาไฟทั้งหมดดับสนิทหมดแล้ว

โดยภูเขาไฟลูกสุดท้ายของไทยสิ้นฤทธิ์ไปเมื่อ7 แสนปีก่อน!?!

ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาบอกว่า การระเบิดของภูเขาไฟในไทยทั้ง 8 แห่งนั้น ไม่มีความรุนแรง เพราะลาวาชนิดบะซอลต์ มีส่วนประกอบของเหล็กและแมงกานีส ซึ่งมีความหนืดต่ำ ไหลง่าย เหมือนลาวาภูเขาไฟที่ฮาวาย แตกต่างจากภูเขาไฟที่อินโดนีเซียหรือกรีซ ซึ่งลาวาจะเป็นหินหนืดไหลช้า จะไปกีดขวางทางไหลของลาวาและมีการสะสมแรงดันเอาไว้ ทำให้มีการปะทุและระเบิดที่รุนแรงนั่นเอง

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิตจากภัยภูเขาไฟระเบิดไม่ใช่ ลาวา แต่เป็นผ้าห่มแห่งหมอกควันพิษที่เรียกว่า "ไพโรคลาสติก" ที่ประกอบด้วยควันพิษและเศษหินร้อนเคลื่อนที่เร็วไหลลงมาถล่มทับหมู่บ้านเบื้องล่าง อย่างที่เคยเกิดขึ้นที่"เมืองปอมเปอี" คราวที่ภูเขาไฟวิสุเวียสระเบิดเมื่อปี 622



-----------------


Sidebar 2

บันทึก...ปฐพีเดือดครั้งสำคัญ


- ปี622 ภูเขาไฟวิสุเวียส ประเทศอิตาลี มีผู้เสียชีวิตราว16,000 คน

- ปี1712 ภูเขาไฟเอ็ตนาเกาะซิซิลี ประเทศอิตาลี มีผู้เสียชวิตราว15,000 คน

- ปี2174 ภูเขาไฟวิสุเวียสประเทศอิตาลี มีผู้เสียชีวิตราว 4,000 คน

- ปี2212 ภูเขาไฟเอ็ตนาเกาะซิซิลี ประเทศอิตาลี มีผู้เสียชีวิตราว 20,000 คน

- ปี2315 ภูเขาไฟปาปันดายัง ประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตราว 3,000 คน

- ปี2335 ภูเขาไฟอุนเซ็นดาเกะ ประเทศญี่ปุ่น มีผู้เสีนชีวิตราว10,400 คน

- ปี2358 ภูเขาไฟแทมโบโลประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตราว12,000 คน และยังทำให้ปี2359 ไม่มีฤดูร้อนอีกด้วย

- วันที่26-28 สิงหาคม2426 ภูเขาไฟกรากะตัว ประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตราว 36,000 คน

- วันที่8 เมษาย 2445 ภูเขาไฟซานตามาเรียประเทศกัวเตมาลา มีผู้เสียชีวิตราว 1,000 คน

 - วันที่8 พฤษภาคม 2445 ภูเขาไฟปิเล เกาะมาร์ตินีกมีผู้เสียชีวิตราว 10,000 คน



จาก     :     คม ชัด ลึก    วันที่ 28 สิงหาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2007, 12:17:11 AM »


รอยเลื่อนนครปฐม แผ่นดินไหว ?
 
นับแต่เกิดแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อ 26 ธ.ค. 2547 บ้านเราที่ไม่ค่อยเจอะเจอภัยแผ่นดินไหวสักเท่าไร กลับเจอถี่หนักเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า



ก่อนหน้าเกิดสึนามิ 2 ปี ได้เกิดแผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย 12 ครั้ง...แต่หลังจากเกิดสึนามิมา 2 ปี เกิดมากถึง 37 ครั้ง

นั่นเป็นสถิติแผ่นดินไหวในทุกระดับ ตั้งแต่ไหวเล็กน้อย ปานกลางไปจนถึงระดับรุนแรง แต่ถ้านับเฉพาะแผ่นดินไหวรุนแรง ตั้งแต่ระดับ 5 ริกเตอร์ขึ้นไป...ความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวจะเพิ่มสูงมากกว่านี้

ก่อนหน้าเกิดสึนามิ 2 ปี บ้านเราได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในระดับ 5 ริกเตอร์ขึ้นไป แค่ 4 ครั้ง...แต่หลังจากเกิดสึนามิ 2 ปี เกิดขึ้น 21 ครั้ง

แผ่นดินไหวระดับรุนแรง เกิดเพิ่มถี่มากขึ้นถึง 5 เท่าตัว

ฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกใจ วันนี้คนไทยถึงได้ใกล้ชิดกับแผ่นดินไหวบ่อยขึ้น และภัยอันตรายจากแผ่นดินไหว คงไม่เป็นเรื่องที่ไกลตัวคนไทยเหมือนในอดีต อีกต่อไป

ณ วันนี้ประเทศไทยมีระบบ มีความพร้อมรับมือเตือนภัยแผ่นดินไหวให้กับคนไทยมากน้อยแค่ไหน?

จะมีโอกาส...เสียชีวิตแบบงงๆ ไม่รู้ตัว ว่ามันเกิดอะไรขึ้น เหมือนสึนามิอีกไหม

“โอกาสที่จะเป็นแบบนั้นคงไม่มีอีกแล้ว ตอนเกิดสึนามิ ทำให้คนเสียชีวิตไปมากมายโดยไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น สาเหตุมาจากตอนนั้นเราไม่มีระบบเตือนภัยการเกิดแผ่นดินไหว เกิดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเลย

ไม่ใช่แต่เราที่ไม่มี ประเทศอื่นๆที่ตั้งอยู่รอบมหาสมุทรอินเดียก็ไม่มี

แม้แต่เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวของนักวิทยาศาสตร์ชาติเจริญแล้ว ที่มักจะเอาอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือไปติดตั้งไว้ตามประเทศต่างๆทั่วโลก ก็ไม่มีมาติดตั้งไว้ที่มหาสมุทรอินเดียแม้แต่เครื่องเดียว”



เหตุที่เป็นเช่นนั้น นายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา อธิบายว่า เป็นเพราะนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ไม่น่าจะเกิดคลื่นในมหาสมุทรอินเดียได้

ส่วนใหญ่เชื่อว่าน่าจะเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกมากกว่า เพราะเป็นเปลือกโลกแผ่นใหญ่ที่สุด ที่มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนตัวตลอดเวลา เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด การเกิดแผ่นดินไหวระดับ 7-8 ริกเตอร์ ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นรอบมหาสมุทรแปซิฟิก

นักวิทยาศาสตร์เลยทุ่มเครื่องไม้เครื่องมือตรวจวัดไปที่มหาสมุทรแปซิฟิกมากกว่าพื้นที่อื่น

เครื่องตรวจวัดไม่มีในมหาสมุทรอินเดีย การเตือนภัยอพยพผู้คนในครั้งนั้น จึงไม่สามารถทำได้ทันท่วงที

แต่ปัจจุบันสึนามิจากเกาะสุมาตรา ได้ทำลายความเชื่อดั้งเดิมไปหมดแล้ว เครื่องไม้เครื่องมือตรวจวัดในมหาสมุทรอินเดียมีแล้ว บ้านเราเองก็มีเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นไม่น้อย...จากเดิมทีมีไม่กี่เครื่อง ทั้งยังเป็นเครื่องล้าหลัง

กรมอุตุนิยมวิทยาไทยมีเครื่องตรวจแผ่นดินไหวที่เชียงใหม่ สงขลา ครั้งแรกเมื่อปี 2506 ไม่ใช่เพราะเราไปซื้อมาติดตั้ง เพราะให้ความสำคัญกับปัญหาแผ่นดินไหวแต่อย่างใด

เรามีก็เพราะองค์กรวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศมาติดตั้งให้ เพื่อศึกษาเรื่องของเปลือกโลก

ต่อมาในยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯกับสหภาพโซเวียตรัสเซียกำลังเฟื่องฟู สหรัฐฯได้ให้ความช่วยเหลือติดตั้งเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวให้เราอีกเครื่องที่เชียงใหม่... เป็นเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวแบบดิจิตอลรุ่นแรกที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น

ประเทศไทยได้ของดีทันสมัยสุดจากสหรัฐฯมาใช้ อย่าหลงเข้าใจผิดฝันไปว่ารัฐบาลอเมริกันใจดี มีเจตนาจะช่วยตรวจวัดแผ่นดินไหวให้เรา เขามาติดตั้งให้ก็เพื่อตรวจจับการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของรัสเซีย, เกาหลีเหนือ, จีน, อินเดีย, ปากีสถาน

เพราะการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ทำให้แผ่นดินไหวได้...ระเบิดเกิดเมื่อไร เครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวสามารถตรวจจับได้

หลังจากนั้น กรมอุตุนิยมวิทยาได้ทยอยซื้อเครื่องตรวจแผ่นดินไหวมาเรื่อย ก่อนเกิดเหตุสึนามิ ปี 2547 เรามีสถานีตรวจวัดอยู่ด้วยกันทั้งหมด 8 แห่ง มีเครื่องตรวจแบบธรรมดาและดิจิตอล...แต่เมื่อเกิดสึนามิ ก็ช่วยอะไรไม่ได้



“เครื่องตรวจวัดที่มีอยู่ตอนนั้น เป็นเครื่องที่ไม่สามารถแจ้งข้อมูลแบบ REAL TIME หรือข้อมูล ณ ปัจจุบัน เหมือนถ่ายทอดสด ตลอด 24 ชั่วโมง

ตอนนั้นเราจะรู้ว่ามีแผ่นดินไหวก็ต่อเมื่อมีเจ้าหน้าที่ มาตรวจดูเส้นสั่นไหวของเครื่องมือตรวจวัด ซึ่งปกติวันหนึ่งก็จะมาดูกันแค่ 3 ครั้ง ตอนมีการรายงานการพยากรณ์อากาศเท่านั้นเอง”

มีเจ้าหน้าที่มาตรวจดู 8 ชั่วโมง 1 ครั้ง นั่นแปลว่า ถ้าเกิดแผ่นดินไหวเกิดหลังเจ้าหน้าที่เพิ่งมาตรวจ กว่าจะมารู้อีกทีก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง...มารู้ ตอนนั้นการเตือนภัยสายไปเสียแล้ว

ฉะนั้น...การจะเตือนภัยที่ดี เราจะต้องรู้ข้อมูลให้ได้เร็วที่สุด และตอนนี้ ระบบตรวจวัดแผ่นดินไหวของบ้านเราได้ถูกปรับให้เป็นแบบ REAL TIME มีการถ่ายทอดสดทั้งวัดระดับน้ำทะเล และตรวจจับการเกิดแผ่นดินไหวตลอด 24 ชั่วโมง

จากสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวที่เคยมีแค่ 8 แห่ง เพิ่มเป็น 40 แห่งและเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะยิ่งมีสถานีมากแห่ง การตรวจวัดจะสามารถทำได้ละเอียด รู้ตำแหน่งจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นไหวได้เร็วและแม่นยำมากขึ้น

เนื่องจากการคำนวณจุดเกิดแผ่นดินไหว จะต้องใช้สถานีตรวจวัดอย่างน้อย 3 แห่ง ยิ่งได้สถานีที่อยู่ใกล้จุดเกิดแผ่นดินไหว เราจะยิ่งรู้เร็วและแม่นยำกว่า ได้ข้อมูลจากสถานีที่อยู่ไกล

“ไม่เพียงแต่จะมีสถานีของเราเองเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ตอนนี้เราได้ เข้าไปเป็นสมาชิกเครือข่ายการตรวจจับแผ่นดินไหวของ IRIS เครือข่ายระดับโลกที่สามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการตรวจจับแผ่นดินไหวได้ทั่วโลก เพื่อเพิ่มความแม่นยำให้การตรวจหาแผ่นดินไหว

เนื่องจากความแม่นยำเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการประกาศเตือนภัยให้ผู้คนอพยพ เพราะถ้าประกาศออกไปแล้วไม่มีความถูกต้องบ่อยๆ จะทำให้ ประชาชนไม่เชื่อถือ ประกาศไปแล้วชาวบ้านไม่อพยพทำตาม ความเสียหายจะตามมาในภายหลัง

สถานีเครือข่ายของต่างประเทศสามารถช่วยยืนยันได้ว่า ที่เราคำนวณออกมานั้น ถูกต้องเหมือนกับที่เขาตรวจวัดได้หรือเปล่า”

และการที่ประเทศไทยมีสถานีเพิ่มขึ้นไปในหลายพื้นที่ เน้นไปที่ภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ก็ไม่ได้ทำเพื่อตรวจวัดแผ่นดินไหวอย่างเดียว

ผลของการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ส่งผลให้ประเทศไทยเผชิญกับแผ่นดินไหวมากขึ้น กรมอุตุนิยมวิทยาต้องเพิ่มเครื่องตรวจวัดพิเศษ...เครื่องตรวจวัดอัตราเร่งของแผ่นดิน



ฟังแล้วชาวบ้าน...เข้าใจยาก

พูดง่ายๆ เป็นเครื่องวัดแผ่นดินแต่ละจุด แต่ละแห่ง แต่ละจังหวัดของประเทศไทยมีอัตราการส่ายไหวไปมามากน้อยแค่ไหน

ตรวจวัดจุดสั่นไหวสูงสุด เพื่อจะได้นำมาใช้ในการกำหนดมาตรฐาน การก่อสร้างอาคารสูงในประเทศไทย

บ้านเรามีประกาศกฎกระทรวงในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2540 แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการตรวจวัดการสั่นไหวของแผ่นดินเลยว่า แต่ละพื้นที่อยู่ในระดับไหน การก่อสร้างอาคารควรจะมีมาตรฐานแค่ไหน

ประกาศที่ออกจึงเป็นแค่กระดาษ นำมาใช้เป็นหลักไม่ได้... แต่ตอนนี้มีการตรวจวัดเก็บสถิติมาแล้ว 1 ปี ฉะนั้นต่อไปใครคิดจะสร้างบ้าน สร้างอาคารสูง ได้ฤกษ์คนไทยต้องปรับตัวปรับใจเตรียมรับภัยแผ่นดินไหวได้แล้ว

กรุงเทพฯ ก็อย่าคิดว่าอยู่ห่างไกลภัย...แถวแม่กลอง นครปฐม ก็มีรอยเลื่อนน่าสงสัยว่า จะมีพลังทำให้แผ่นดินไหวได้ พอๆกับรอยเลื่อนแถวภาคเหนือ



จาก     :     ไทยรัฐ    วันที่ 30 สิงหาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 03, 2007, 12:19:28 AM »


หินสบู่ต้านดินไหว


 
ไม่น่าเชื่อว่า แร่ทัลก์ หรือ แร่หินสบู่ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำเซรามิก และเป็นแร่ที่มีความนุ่มมากที่สุดในบรรดาแร่ทั้งหมด คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้แถบ ซาน อันเดรียส ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีแนวแยกของเปลือกโลก และพร้อมจะเกิดแผ่นดินไหวได้ทุกเมื่อ รอดพ้นจากการเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงได้

ดร.คริสโตเฟอร์ วิบเบอร์ลีย์ มหาวิทยาลัยนีซ โซเฟีย ในฝรั่งเศส พบว่าปริมาณแร่ทัลก์ที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินราว 3 กิโลเมตร ช่วยลดการเสียดสีระหว่างแนวแยกของเปลือกโลก

"คุณสมบัติของแร่ทัลก์ ช่วยทำให้การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกเป็นไปอย่างช้าๆ และมั่นคง ยับยั้งการก่อตัวของพลังงาน ทำให้ไม่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง" ดร.คริสโตเฟอร์กล่าว



จาก     :     ข่าวสด    วันที่ 3 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 03, 2007, 12:47:59 AM »


ทั่วโลกเตรียมรับมือภูมิอากาศ...วิปริต


 
ปรากฏการณ์หิมะตกหนักกลางเมืองหลวงบูเอโนสไอเรส เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 สร้างความตื่นตระหนกให้ชาวอาร์เจนตินาทั่วประเทศ ชาวเมืองที่อายุต่ำกว่า 89 ปี

จะไม่เคยเห็นหิมะตกมาก่อนในชีวิต เนื่องจากปุยหิมะสีขาวบางๆ ตกจากฟากฟ้า ปกคลุมพื้นดินกรุงบูเอโนสไอเรสครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2461

 สำนักพยากรณ์อากาศอาร์เจนตินา วิเคราะห์ว่า มวลอากาศเย็นจัดที่พัดมาจากทวีปแอนตาร์กติกา ปะทะกับมวลความชื้นจากแรงกดอากาศต่ำ ซึ่งปกคลุมพื้นที่สูงทางตะวันตกและทางตอนกลางของอาร์เจนตินา ทำให้อุณหภูมิลดลงถึงติดลบ 22 องศาเซลเซียส เป็นเหตุให้หิมะตกลงมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายชั่วโมง 



 ขณะที่เด็กๆ เล่นขว้างปาหิมะอย่างสนุกสนานนั้น นักวิชาการด้านโลกร้อนจากทั่วโลก ต่างวิตกกังวลว่า หิมะที่ตกหนักหลังจากห่างหายไปนานเกือบ 100 ปี แสดงให้เห็นถึงวิกฤติความแปรปรวนของภูมิอากาศโลก โดยเฉพาะผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

 ส่วนที่ญี่ปุ่นมหันตภัยจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นล่าสุดเมื่อกลางเดือนสิงหาคม ที่ผานมา แต่ผลลัพธ์เป็นตรงข้ามกับการเกิดหิมะตก นั่นคือ การเกิด "คลื่นความร้อน" ปกคลุมทั่วประเทศ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 13 ราย ชายชราวัย 59 ปี นอนตายอยู่ในห้องพักอย่างโดดเดี่ยว เพราะทนคลื่นความร้อนไม่ไหว ขณะที่ประชาชนกว่า 100 คน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเพราะป่วยจากอากาศร้อน

 กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น รายงานเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ว่า เมืองโทจิมิซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียว 400 กิโลเมตร อุณหภูมิได้พุ่งสูงถึง 40.9 องศาเซลเซียส สร้างประวัติศาสตร์ใหม่โดยทำลายสถิติเมืองยามากาตะที่เคยอากาศร้อนที่สุด 40.8 องศาเซลเซียสเมื่อปี 2546 ส่งผลให้รถไฟบางสายต้องหยุดวิ่ง เนื่องจากความร้อนทำให้รางรถไฟพองจนงอตัว ต้องใช้น้ำสาดช่วยลดอุณหภูมิให้เย็นลง 



 นอกจากญี่ปุ่นแล้ว สถานีอุตุนิยมวิทยาภูมิภาคของทิเบต ได้ประกาศเตือนภัยว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลให้ธารน้ำแข็งละลายเป็นวงกว้างถึง 131 ตารางกิโลเมตรต่อปี และ 3 กรกฎาคม 2550 อุณหภูมิในนครลาซา ทำสถิติสูงสุดถึง 29 องศาเซลเซียส นับเป็นประวัติการณ์ในรอบ 30 ปี

 ภาวะโลกร้อน (Global Warming) คือ ปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกและผืนมหาสมุทรสูงขึ้น โดยมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ กักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกสู่บรรยากาศ เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น ภูมิอากาศจึงเกิดการแปรปรวนอย่างรวดเร็ว

 โดยเฉพาะ 3 เดือนที่ผ่านมา ความผันผวนของภูมิอากาศส่งผลเสียหายต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรุนแรงต่อเนื่อง ชนิดที่ไม่เคยมีบันทึกมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ 



 สำหรับประเทศไทยภาวะแปรปรวนของอากาศทำให้ชาวบ้าน 6 อำเภอ ใน จ.พังงา ต้องประสบอุทกภัยครั้งรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมานานหลายสิบปี 20 สิงหาคม ถนนสายตะกั่วป่า-สุราษฎร์ธานี เผชิญกับพายุฝนกระหน่ำ รวมถึงน้ำป่าไหลหลาก จนพื้นถนนจมอยู่ใต้น้ำกว่า 1 เมตร อ.ตะกั่วป่า สั่งปิดโรงเรียนกว่า 10 แห่ง บ้านเรือนราษฎรจมน้ำกว่า 1,500 หลังคาเรือน ชาวบ้าน ต.บางเตย รายหนึ่ง แสดงความวิตกว่า ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยพบน้ำท่วมมาก่อน เพราะพังงาเป็นเมืองชายฝั่งทะเล สาเหตุอาจเกิดจากภาวะโลกร้อน และการบุกรุกทำลายป่าโกงกางโดยกลุ่มธุรกิจบ่อกุ้ง

 นายทศพร นุชอนงค์ ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า ภาวะโลกร้อนได้กัดเซาะชายฝั่งทะเลทั่วประเทศไทยแล้ว 20 เปอร์เซ็นต์ จากภาวะน้ำทะเลที่เพิ่มสูง ลมแรง และการกระทำของมนุษย์ ส่วนดินถล่มก็เกิดขึ้นถี่และรุนแรงขึ้น ประชาชนควรตระหนักว่า ปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องใกล้ตัว

 สำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นางจงกลณี อยู่สบาย ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา ยอมรับว่า ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศแปรปรวนมากขึ้น โดยสถิติในรอบ 30 ปี ปริมาณน้ำฝนน้อยลง แต่ปริมาณพายุรุนแรงมากขึ้น กรมอุตุนิยมวิทยาจึงตั้งศูนย์ภูมิอากาศแห่งชาติเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของอากาศ ร่องมรสุม เพื่อเตือนภัยและเฝ้าระวังแล้ว 



 ด้าน ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิเคราะห์ว่า ขณะนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับสภาวะอากาศที่แปรปรวนอย่างหนัก เหตุการณ์หิมะตกที่อาร์เจนตินา หรือน้ำท่วมที่ จ.พังงา ยังไม่มีนักวิชาการยืนยันว่า เกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนหรือไม่ แต่อาจเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นถึงความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโลก

 "น้ำท่วม หรือหิมะตกเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดมาก่อน อาจจะไม่เกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนก็ได้ แต่ถ้าเกิดถี่ขึ้น หรือบ่อยขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ก็มีแนวโน้มว่าเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน ส่วนกรณีภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยสะท้อนให้เห็นความไม่พร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติ หน่วยงานเกี่ยวข้องต้องประเมินการรับมือใหม่ และต้องทำความเข้าใจเรื่องความแปรปรวนของอากาศ เพราะภัยพิบัติที่เกิดขึ้นวันนี้รุนแรงกว่าในอดีต" ดร.อานนท์ กล่าว



 อย่างไรก็ตาม องค์กรสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา ว่า ปัญหาโลกร้อนจะเป็นวาระหลักของการประชุมสมัชชายูเอ็นประจำปีนี้ เพื่อให้ทุกประเทศร่วมมือกันหาทางแก้ไข โดยรายงานจากยูเอ็นระบุว่า ภายใน 20 ปีนี้โลกจะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลถึงปีละ 7.14 ล้านล้านบาท (2.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อต่อสู้กับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง



จาก     :     คม ชัด ลึก    วันที่ 3 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 03, 2007, 02:17:23 AM »

จะได้เห็นหิมะตกในเมืองไทยไหมหนอ.....
บันทึกการเข้า

Saaychol
Sea Man
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2208


ท้องฟ้า/ภูเขา/ป่าไม้/ทะเล


« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 03, 2007, 01:03:41 PM »

......อยากเห็นจัง....อิอิอิอิ.......
บันทึกการเข้า

.....รู้จักคิด....ฟังความคิดผู้อื่น....พร้อมเปลี่ยนแปลง....ไปสู่สิ่งใหม่และดีกว่า.....
Sky
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 2506



« ตอบ #10 เมื่อ: กันยายน 03, 2007, 02:55:36 PM »


 สำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นางจงกลณี อยู่สบาย ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา ยอมรับว่า ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศแปรปรวนมากขึ้น โดยสถิติในรอบ 30 ปี ปริมาณน้ำฝนน้อยลง แต่ปริมาณพายุรุนแรงมากขึ้น กรมอุตุนิยมวิทยาจึงตั้งศูนย์ภูมิอากาศแห่งชาติเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของอากาศ ร่องมรสุม เพื่อเตือนภัยและเฝ้าระวังแล้ว 
จาก     :     คม ชัด ลึก    วันที่ 3 กันยายน 2550


คุณอาแท้ๆ ของหนูเองค่ะ....ภูมิใจ 
บันทึกการเข้า
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #11 เมื่อ: กันยายน 04, 2007, 12:28:45 AM »


"ฮ่องกง-มาเก๊า"เสี่ยงสึนามิ ถ้าแผ่นดินไหวที่"ฟิลิปปินส์"


 
ฮ่องกงและมาเก๊ามีความเสี่ยงราว 10% ที่จะถูกถล่มด้วยสึนามิในอีกร้อยปีข้างหน้า

นายหลิวยิ่งชุน จาก Graduate University of the Chinese Academy of Sciences ประเทศจีน และคณะซึ่งรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐและญี่ปุ่น วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการเกิดสึนามิ โดยใช้คอมพิวเตอร์จำลองภาพเหตุการณ์ และพบว่าต้นเหตุของสึนามิอาจมาจากพื้นทะเลจีนใต้ที่อยู่ข้างใต้แนวร่องมะนิลา ซึ่งกั้นแผ่นเปลือกโลกทะเลฟิลิปปินส์

ถ้าแผ่นดินไหวที่ "แนวร่องมะนิลา" อาจทำให้เกิดคลื่นยักษ์ถาโถมไปยังทะเลน้ำตื้น ทำให้เมืองใหญ่หลายเมืองอาจได้รับความเสียหาย

จากการคำนวณว่า ถ้าเกิดแผ่นดินไหวความรุนแรง 7.5 ริกเตอร์ ที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์ จะทำให้เกิดคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และอาจสร้างความเสียหายให้กับมาเก๊า ฮ่องกง ไปจนถึงเมืองซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ซึ่งความเสี่ยงของฮ่องกงและมาเก๊า เท่ากับ 10.12% ส่วนซัวเถามีความเสี่ยงอยู่ที่ 13.34%

แต่ถ้าคลื่นสูง 1-2 เมตร ความเสี่ยงของฮ่องกงและมาเก๊า จะเพิ่มเป็น 17.19% ส่วนซัวเถา ความเสี่ยงจะอยู่ที่ 30.65%

การศึกษาระบุว่า เป็นไปได้มากที่จะเกิดสึนามิในบริเวณนี้ และเรียกร้องให้ติดตั้งระบบเตือนภัยไว้ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นและเป็นเขตเศรษฐกิจ และตั้งแต่ค.ศ. 171 เป็นต้นมาพบว่า ชายฝั่งทะเลของจีนรวมทั้งเกาะไต้หวัน ถูกสึนามิเล่นงานถึง 11 ครั้ง โดยครั้งที่หนักที่สุด คลื่นความสูง 7.5 เมตร ถล่มที่เมืองกี่หลง บนเกาะไต้หวัน เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1867



จาก     :     ข่าวสด    วันที่ 4 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #12 เมื่อ: กันยายน 14, 2007, 01:10:42 AM »


ศูนย์เตือนภัยย้ำระบบสมบูรณ์ 100%    มีเวลา3ชั่วโมงกดสัญญาณ"สึนามิ"

ความโกลาหลจากแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว ขนาด 8.4 ริกเตอร์ รอยเลื่อนเกาะสุมาตรา เป็นบททดสอบได้ไม่น้อยกับความพร้อมของระบบเตือนภัยในประเทศไทย เพราะขณะที่ศูนย์เตือนภัยแห่งชาติยังไม่ออกประกาศเตือน ชาวบ้านอันดามันที่ล้วนผ่านบทเรียนเจ็บปวดจากคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อ 3 ปีก่อน ต่างอพยพกันขึ้นบนพื้นที่สูง

คำถามจึงมีอยู่ว่า ทำไมระหว่างนั้น ศูนย์เตือนภัยไม่ประกาศเตือน ซึ่งในเรื่องนี้ ศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา และในฐานะรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยแห่งชาติ บอกว่า หลังเกิดแผ่นดินไหวเวลาประมาณ 18.10 น. ต้องมีการตรวจสอบตำแหน่งที่เกิดอยู่ที่ไหนก่อน และเกิดในทะเลหรือบนบก หากเกิดในทะเลต้องระวัง เพราะเป็นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับประเทศไทย ประกอบกับความรุนแรงของการเกิดครั้งนี้ มีความรุนแรงที่ตรวจได้ตอนแรก 8.0 ริกเตอร์ ก่อนจากนั้นก็ปรับลงเป็น 7.9 ริกเตอร์ ตรงนี้ต้องดูว่าลักษณะความลึกของทะเลตรงนั้นลึกแค่ไหน หากว่าในการเกิดตรงนี้ทะเลลึกมาก ต้องระวังมาก

"การตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว สามารถทราบได้ภายใน 10 นาที เพราะมีเครื่องมือที่ทันสมัยและตำแหน่งที่เกิดในตำแหน่งนั้นยังมีเกาะอยู่ ดูในรูปสังเกตดูว่าในตำแหน่งที่เกิดจะอยู่ทางใต้ ฉะนั้นในส่วนนี้จะมีเกาะสุมาตราบังอยู่ การเคลื่อนตัวของคลื่นทางทะเลต้องกระทบชายฝั่งของเกาะ จากนั้นแผ่ไปอินเดีย ศรีลังกา มัลดีฟส์ มากกว่าก่อนจะอ้อมมาสู่ประเทศไทย ตรงนี้เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่มีความแน่นอน ทั้งนี้เนื่องจากว่าการแจ้งเตือนภัย หากแจ้งผิดตรงนี้จะมีผลกระทบอย่างสูงทำให้ประชาชนเสียขวัญด้วย"

การตรวจสอบว่าเกิดคลื่นยักษ์สึนามิหรือไม่หลังเหตุการณ์ จึงเป็นภาระหน้าที่สำคัญของกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อจะได้แจ้งเตือนภัยอย่างถูกต้องไม่ทำให้ประชาชนขวัญเสีย ซึ่งศุภฤกษ์บอกว่า เราร่วมมือกับกรมอุตุฯ กรมอุทกศาสตร์และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในการตรวจเช็คตรงนี้ จะมีการรายงาน ฉะนั้นระยะแรกคงประเมินว่าในส่วนนี้จะต้องใช้เวลาว่าจะเกิดสึนามิที่แท้จริงหรือไม่ โดยการตรวจสอบกับทางต่างประเทศด้วย ช่องทางที่จะชี้ชัดว่าจะเกิดสึนามิหรือไม่ต้องใช้เวลา และเราจึงมีความแน่ใจว่าในส่วนนี้คงไม่กระทบกับประเทศไทยมากนัก ประเทศไทยอยู่ห่างจากเหตุเกิดแผ่นดินไหว 1,000 กว่ากิโล ก็ระยะทางไกลพอสมควร ซึ่งไกลกว่าสึนามิที่เกิดขึ้นครั้งที่แล้ว

"เรามีเวลาประมาณเกือบ 3 ชั่วโมงในการประเมิน ประกอบกับเรามีการตรวจวัดคลื่นที่เกาะเมียง จ.พังงา เมื่อเกิดคลื่นที่ทางทะเลแล้วเครื่องวัดตัวนี้สามารถตรวจสอบได้ และเรามีเวลาในการเตรียมอพยพ ในโอกาสแรก ก็แจ้งว่าเกิดแผ่นดินไหวและเตรียมการไว้ก่อน เพราะข้อเท็จจริง หลังจากเกิดแล้วภายใน 3 ชั่วโมง หากมีระบบเอสโอพี คือมีมาตรฐานในการทำงาน ตรวจสอบแล้วไม่มีอะไร ก็ต้องแจ้งยกเลิกว่าไม่มีสึนามิเกิดขึ้นแล้ว"

กระนั้นก็ตาม ศุภฤกษ์บอกว่า ลึกๆ แล้ว เขาก็หวั่นไม่น้อยว่าจะเกิดคลื่นยักษ์ สึนามิ หลังจากตรวจสอบข้อมูลได้เพียง 1 ชั่วโมง แต่เมื่อพบว่าลักษณะตำแหน่งที่เกิดและมีเกาะบังอยู่ ทำให้คิดว่าไม่น่าจะเกิดแน่ แต่ก็วางใจไม่ได้ เพราะได้รับรายงานว่าคลื่นที่เกิดมีความสูงเล็กน้อย ในบริเวณใกล้กันแต่อีกฝั่งหนึ่งอาจจะสูงได้ ฉะนั้นสิ่งสำคัญต้องเตรียมพร้อม ต้องเฝ้าติดตามเรื่องข้อมูลต่างๆ ให้มากสุด ประกอบกับส่วนนี้ต้องมีการจัดหาติดตั้งเครื่องมือที่มีความพร้อม หมายถึงเครื่องวัดแผ่นดินไหว โดยจะติดตั้งแล้วเสร็จปีหน้าอีก 40 ชุดรอบประเทศไทย และเรามีเครื่องตรวจวัดระดับน้ำทะเล ที่ร่วมกับกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือทั้งหมด 9 ชุดทางฝั่งทะเลอันดามัน

"ผมถือว่าการเตือนภัยที่เกิดขึ้นสมบูรณ์มากที่สุดใน 16 ประเทศของฝั่งทะเลอันดามัน และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามีความพร้อมมากที่สุด ในขณะเดียวกันเราต้องให้ความรู้กับประชาชน เป็นสิ่งสำคัญ ขณะเดียวกันในหน่วยราชการต่างๆ จะต้องมีการเตรียมการในการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่องเช่นกัน"

ศุภฤกษ์บอกอีกว่า ที่ผ่านมาเรามีการทดสอบสัญญาณหอเตือนภัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่ทราบว่าหอเตือนภัยในฝั่งทะเลอันดามัน 6 จังหวัด มีการติดตั้งหอเตือนภัยทั้งหมด 79 หอ ประกอบด้วยระนอง 5 พังงา 18 ภูเก็ต 19 กระบี่ 12 ตรัง 11 สตูล 14 รวมแล้ว 79 หอ ดังนั้นจะมีการเสริมเรื่องหอเตือนภัยทางอันดามันอีก 20 หอ ทางจังหวัดกระบี่ ขณะเดียวกันเราก็วางใจทางฝั่งอ่าวไทยไม่ได้เหมือนกัน เพราะจุดที่เกิดคงเป็นฟิลิปปินส์ที่จะมีผลกระทบเรากับไต้หวัน รวมทั้งอินโดนีเซียด้วย ดังนั้นในส่วนนี้เราจะมีการวางเรื่องหอเตือนภัยอีก 48 หอ ตรงนี้ทำให้สองฝั่งทะเลเรามีความพร้อมมากที่สุด ในเรื่องการเตือนภัย แต่ยังคงจำเป็นจะต้องให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง



+++++++++++++



นักวิชาการห่วงรอยเลื่อนสะแกงปริไหวซ้ำ         :           ล้อมกรอบ

นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหาการเกิดแผ่นดินไหวอาจจะรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแนวเลื่อนใน 2 อำเภอ คือ อ.ศรีสวัสดิ์และสังขละบุรี ซึ่งไม่ทราบว่าจะเกิดในพื้นที่ใด และสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินหรือไม่ จากสถิติแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2526 วัดได้สูงสุด 5.8 ริกเตอร์ แต่ปัจจุบันมีการไหวเพิ่มขึ้นและสร้างความเสียหายเพิ่มขึ้นตามมา โดยส่วนตัวเห็นว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) น่าจะจัดงบประมาณสร้างหอเตือนภัยขึ้นในพื้นที่สร้างเขื่อน เพราะหากรองบประมาณของรัฐบาลอาจไม่ทันกาล เนื่องจากจังหวัดกาญจนบุรีเป็นพื้นที่ได้รับความนิยมด้านท่องเที่ยว

ผศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหวและธรณีแปรสัณฐาน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า กรณีที่ศูนย์เตือนพิบัติแห่งชาติไม่ออกประกาศ เตือนภัยสึนามิทันทีหลังทราบข่าวนั้น เป็นเพราะได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์จนมั่นใจแล้วว่าแผ่นดินไหวดังกล่าว จะไม่ก่อให้เกิดสึนามิมากระทบกับไทยอย่างแน่นอน และคงไม่อยากสร้างความแตกตื่นกับประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน อย่างไรก็ตาม อยากให้ประชาชนเชื่อมั่นในศูนย์เตือนภัยของไทยมากกว่าเชื่อข้อมูลเตือนภัยจากต่างประเทศ ซึ่งค่อนข้างมีความพร้อม

แล้ว

ผศ.ดร.ปัญญา กล่าวด้วยว่า สำหรับเหตุการณ์ไหวระดับ 8.4 ริกเตอร์ใต้ทะเลครั้งนี้ น่าจะเป็นสัญญาณเตือนอีกครั้งว่าแผ่นดินไหวบริเวณรอบๆ มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีจุดวงแหวนไฟอยู่โดยรอบ เช่น ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ตะวันตกของอเมริกา ตะวันตกของอเมริกาใต้ เป็นต้น ส่วนของไทยแม้จะไม่ได้อยู่ในจุดวงแหวนไฟแบบตรงๆ แต่ก็สามารถได้รับผลกระทบได้หากมีแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงอย่างที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุด และคงเป็นสัญญาณว่าศูนย์เตือนภัยฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำงานหนักขึ้น

“ที่น่าเป็นห่วงคือการไหวระดับ 8 ริกเตอร์ครั้งนี้ อาจจะกระทบกับรอยเลื่อนใหญ่บนแผ่นดิน ซึ่งมี 2 รอย ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ คือรอยเลื่อนสุมาตรา ที่ขนานเกาะสุมาตรา และต่อกับรอยเลื่อนสะแกง ของพม่า ที่อาจจะกระทบถึงกันหมด รวมทั้งจุดอื่นๆ ที่อาจกำลังสะสมความแรงจนครบอยู่แล้ว อาจจะแตกปริออกมากลายเป็นแผ่นดินไหวได้ โดยเฉพาะรอยเลื่อนสะแกงนั้น ยังมีรอยเลื่อนแขนงต่อมายังรอยเลื่อนแม่ปิงของไทย รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ถ้ารอยเลื่อนสะแกงขยับ รอยเลื่อนเหล่านี้ก็จะขยับตามด้วย ซึ่งการคาดการณ์เชิงสถิติพบว่าการไหวระดับรุนแรงของรอยเลื่อนสะแกง ขยับมาเหลือ 40 ปี จากเดิมที่เคยคาดการณ์เอาไว้ว่าจะอยู่ในช่วง 70 ปีต่อครั้ง แต่จากการเก็บสถิติพบว่ามันเริ่มมีการไหวถี่มากขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงควรต้องจับตาว่ามีสัญญาณอะไรหรือไม่ ต้องเฝ้าระวัง” นักวิชาการระบุ



จาก     :     กรุงเทพธุรกิจ    วันที่ 14 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #13 เมื่อ: กันยายน 15, 2007, 12:48:57 AM »


กรมทรัพย์สนองพระราชดำรัสสำรวจรอยเลื่อน 13 แห่ง


แผนที่รอยเลื่อนของกรมทรัพยากรธรณี

       กรมทรัพยากรธรณี เร่งสำรวจรอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย 3 แห่ง และดินเหลวใน กทม.รับสนองพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยในเรื่องของธรณีพิบัติ และความเป็นอยู่ของประชาชน คาดใช้เวลาดำเนินการ 5 ปี คิดเป็นงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท
       
       นายทศพร นุชอนงค์ ผู้อำนวยการกองธรณีสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยถึงความเป็นมาของโครงการสำรวจลอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย 13 แห่ง และดินเหลวในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่า สืบเนื่องจากกรมทรัพยากรธรณีได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าถวายสมุดแผนที่ทรัพยากรธรณีประเทศไทย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรง มีกระแสพระราชดำรัสห่วงใยในพสกนิกรไทยเกี่ยวกับเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น กรมฯ น้อมรับพระราชดำรัสเร่งดำเนินการสำรวจรอยเลื่อนมีพลังทั้ง 13 แห่ง และดินเหลวใน กทม.ที่มาของการรับรู้แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้อยู่เสมอ เพื่อหาวิธีการ มาตรการในการรับมือ ควบคุมการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ
       
       “โครงการสำรวจนี้ตามที่วางแผนไว้จะเริ่มในปี 2550 แต่ด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้เกิดขึ้นต่อเนื่อง และวัดแรงสั่นสะเทือนได้สูงขึ้น และเป็นการสนองพระราชดำรัสในเรื่องของธรณีพิบัติและความเป็นอยู่ของประชาชน ท่านอธิบดีได้สั่งการเร่งด่วนให้ดำเนินโครงการสำรวจลอยเลื่อนมีพลังในปีนี้เป็นต้นไป จะใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น 5 ปี คิดเป็นงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งจะดำเนินการสำรวจดินเหลวในเขต กทม.ก่อน โดยทำควบคู่ไปกับการสำรวจลอยเลื่อนอื่นไปด้วย” นายทศพร กล่าว
       
       นายทศพร กล่าวอีกว่า ในการสำรวจและดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ นั้น ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของธรณีวิทยา วิศวกรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ เพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจน สามารถชี้แจงให้กับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดมาตรการต่างๆ ที่จะตามมาได้ ถึงความสำคัญในข้อกำหนดนั้นๆ ในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งหมด



จาก     :     ผู้จัดการออนไลน์     วันที่ 15 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #14 เมื่อ: กันยายน 15, 2007, 01:10:12 AM »


เตรียมประกาศจว.เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวเพิ่ม12 จว.รวมกทม.

เตรียมประกาศจังหวัดเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวเพิ่ม 12 จังหวัด รวม กทม. กำหนดการก่อสร้างอาคารสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป ต้องออกแบบโครงสร้างรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว หลังจากกรมธรณีแสดงความเป็นห่วงอาคารสูงกทม.ไม่ออกแบบรองรับ

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมการรับมือเหตุแผ่นดินไหวในพื้นที่ กทม. หลังพบรอยเลื่อนใต้ กทม. ซึ่งเกิดจากเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศอินโดนีเซียว่า ขณะนี้ กทม.มีการตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ หลังจากเกิดเหตุคลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อปี 2547 โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญ เช่น รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย คอยให้คำปรึกษา รวมถึงเชิญผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้ประกอบการในพื้นที่สูงมาร่วมประชุมสัมมนา ซึ่งที่ประชุมมีการเสนอให้รวมพื้นที่ กทม.เข้าเป็นพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว และทราบว่าขณะนี้เรื่องอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย

 นายอภิรักษ์ กล่าวว่า ขณะที่กฎกระทรวงแผ่นดินไหวยังไม่ประกาศใช้ ในส่วนของ กทม.โดยนางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าฯ กทม. ก็ได้จัดสัมมนาเรื่องการป้องกันภัยจากเหตุแผ่นดินไหวให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ที่อยู่ในอาคารสูง ซึ่งเจ้าหน้าที่จากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) ของ กทม. จะเข้าไปให้คำแนะนำในการป้องกันและปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว อีกทั้ง กทม.ยังมีศูนย์แจ้งเตือนภัย เพื่อสื่อสารให้ประชาชนรับทราบกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติต่างๆ ด้วย แต่หากกฎกระทรวงประกาศใช้แล้ว ก็จะรวมพื้นที่ กทม.เข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว ซึ่งจะทำให้อาคารสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปที่จะขออนุญาตก่อสร้างต้องออกแบบโครงสร้างให้มีระบบรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวเพิ่ม 

 ทั้งนี้ พื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่ได้กำหนดไว้เดิม มีทั้งสิ้น 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก กาญจนบุรี และเชียงใหม่ ซึ่งกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ จะมีการเพิ่มพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวอีก 12 จังหวัด แบ่งเป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ 7 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี ส่วนอีก 5 จังหวัด ได้แก่ กทม. ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และนครปฐม ซึ่งขณะนี้กระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างออกประกาศ คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้เร็วๆ นี้


กรมธรณีห่วงอาคารสูงกทม.ไม่ออกแบบรองรับแผ่นดินไหว

นายทศพร นุชอนงค์  ผู้อำนวยการกองวิทยาสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี  ขณะนี้ครม. ได้เห็นชอบ  ตามที่กรมโยธาธิการและการผังเมือง เสนอให้เพิ่มเติมกฎกระทรวงว่าด้วยการก่อสร้าง อาคารในเขตพื้นที่ที่อาจได้รับแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ กฤษฎีกา ที่จะต้องมีการออกแบบอาคารให้สามารถรองรับผลกระทบจากแผ่นดินไหว โดยได้แบ่งออก เป็น  3 พื้นที่ ได้แก่ โซนที่ 1 หมายถึงบริเวณที่เป็นชั้นดินอ่อนและจะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ระยะไกล ซึ่งประกอบด้วยกทม. นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการและสมุทรสาคร โซนที่ 2 หมายถึง บริเวณที่อยู่ใกล้แนวรอยเลื่อนในเขตภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย 10 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย กาญจนบุรี ลำปาง ลำพูน ตาก น่าน แพร่ พะเยา กาญจนบุรี และโซน ที่ 3 เป็นพื้นที่เฝ้าระวังในเขตภาคใต้ 7 จังหวัด  คือ กระบี่ ชุมพร ภูเก็ต สุราษฎร์ พังงา ระนอง และ สงขลา อย่างไรก็ตาม กรณี 10 จังหวัดในโซนที่ 2 มีการบังคับใช้ตามกฎหมายแล้ว โดยต้องออกแบบ อาคารบ้านเรือนรองรับผลกระทบของแผ่นดินไหวที่จะสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างของอาคาร   

 ส่วนพื้นที่อื่นๆที่ยังไม่มีผลบังคับใช้ ก็เริ้มมีการคุยในวงการวิศวกรรมว่าจะต้องเริ่มในส่วนของอาคาร สาธารณะเช่น โรงพยาบาล โรงเรียน  สะพาน  เป็นมาตรการทางสังคมจนกว่ากฎกระทรวงว่าจะมีผล บังคับใช้

    ดร.วรวุฒิ ตันติวานิช ที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรธรณี  กรมทรัพยากรธรณี   กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กล่าวถึงกรณีที่นักวิชาการ จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ระบุว่าการเกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเล นอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา ขนาด 8.4  ริกเตอร์ เมื่อวัน ที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมาอาจส่งผลต่อรอยเลื่อน สุมาตรา และรอยเลื่อนสะแกงที่อยู่บนแผ่นดินให้เกิดการขยับตัวว่า  ไม่เห็นด้วยกับการแปลความหมาย แบบนี้ เพราะพฤติกรรมของรอยเลื่อนแตกต่างกัน จึงไม่มีความสัมพันธ์กันได้เลย เนื่องจากรอยเลื่อนที่ ทำให้เกิดแผ่น ดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.47 และวันที่ 12-13 ก.ย.50 เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่น เปลือกโลกอินเดีย-ออสเตรเลีย มุดตัวใต้แผ่นเปลือกโลก ซึ่งเป็นรอยเลื่อนย้อนเพราะเคลื่อนที่แบบขึ้นลง

  ขณะที่รอยเลื่อนสุมาตรา และสะแกงจะเป็นรอยเลื่อนแบบขนาน  นอกจากนี้แรงส่งไม่ได้ส่งไปใน ทิศทางเดียวกันที่จะทำให้รอยเลื่อนบนบกทั้งสองรอยเกิดการเคลื่อนที่ได้  จึงไม่สามารถต่อกันได้   โดยเฉพาะแนวรอยเลื่อนสุมาตรานั้นอยู่กลางเกาะ     

    ดร.วรวุฒิ กล่าวว่า   สำหรับความเสี่ยงของกทม.ต่อกรณีแผ่นดินไหวนั้นมาจาก  3 แหล่งคือ แผ่นดิน ไหวขนาดใหญ่นอกเขตไทยขนาด 7-8 ริกเตอร์ เช่น กรณีการเกิดที่เกาะสุมตรา กทม.ก็รู้สึกถึง แรงสั่นไหว  เช่นเดียวกับรอยเลื่อนสะแกงของพม่า อยู่ห่างจากกทม.ประมาณ  400 ก.ม. ส่วนแหล่งที่ 2  แผ่นดินไหวจากแนวรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และศรีสวัสดิ์ เพราะเป็นรอยเลื่อนใกล้กทม.ราว 200 กม.หากไหว ขนาดกลาง 5-6 ริกเตอร์ ก็สร้างความเสียหาย  และสุดท้ายแผ่นดินไหวจากแนวรอยเลื่อน ทางทิศใต้ของกทม. เอง ประเมินว่าขนาดเล็กและปานกลาง ระดับ 4.5-5  ริกเตอร์ก็จะส่งผลกระทบขึ้น ได้ เนื่องจากปัจจัยที่กทม.เป็นชั้นดินอ่อนจะขยายแรงเพิ่มอีก 2-3 เท่า

 “กรณีของรอยเลื่อนด้านใต้กทม.นั้น จากสถิติย้อนกลับไป 60ปียังไม่มีสัญญาณว่ามีแผ่นดิน ไหว  แต่ เนื่องจากกทม.เป็นเมืองหลวงเป็นพื้นที่ที่มีก่อสร้าง และตึกและอาคารสูงมาก แม้จะเสี่ยงต่อการเกิด แผ่นดินไหวน้อยก็ต้องศึกษา โดยขณะนี้มีการจัดสรรงบจำนวน 1 ล้านบาท เพื่อหาให้แน่ใจว่าแนวรอย

เลื่อนอยู่ตรงไหน  ซึ่งข้อมูลแผนที่จุดสำรวจจะแล้วเสร็จช่วงเดือนต.ค.นี้  จากนั้น ต้นปี 2551 จึงจะลง ไปเจาะเก็บตัวอย่างทางธรณีวิทยาเพื่อดูสถิติการการเคลื่อนตัวต่อไป

 อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากปัจจุบันมี การก่อสร้างอาคารสูง และคอนโดมีเนียมบริเวณใจกลาง กทม.ค่อนข้างมาก  จึงอยากให้เจ้าของ โครงการมีจิตสำนึกในการออกแบบ และสร้างอาคารที่รองรับแผ่นดินไหวได้ ซึ่งอยู่ระหว่างการเพิ่มใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารของกรมโยธาธิการและผังเมือง”

      สำหรับกรณีที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ไม่ได้ประกาศเตือนภัยชาวบ้านนั้น   ดร.วรวุฒิ  กล่าวว่า  ถ้า ภาครัฐให้ความรู้กับประชาชน และสร้างความเข้าใจว่าแผ่นดินไหวในทะเลทุกครั้งไม่ได้แปลว่าจะเกิดสิ นามิ รวมทั้งศูนย์ควรจะมีมาตรการว่าจะแจ้งประชาชนได้อย่างไร ตามความเหมาะสมของเวลา ไม่ใช่รอ จนแน่ใจว่ามี หรือไม่มีสึนามิแล้วเตือน เนื่องจากชาวบ้านที่เคยมีประสบการณ์จาก 3 ปีที่แล้วเมื่อรับรู้ถึง แรงสั่นสะเทือน ประ กอบกับข่าวสารที่เข้าถึงชาวบ้านแล้วว่ามีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ จึงต้องอพยพหนีเพื่อความปลอดภัยของตัวเองขณะที่   ศูนย์เตือนภัยไทย กลับไม่ให้ข่าวสารที่จำเป็นในพื้นที่เกี่ยวข้อง

ประชาชนเลยสับสน  ซึ่งเรื่องนี้ไม่โทษประชาชนที่แตกตื่น  แม้ว่าศูนย์จะเชื่อมั่นว่าจากระยะทางจากจุด เกิดเหตุแผ่นดินไหว และสถานการณ์จะไม่ส่งผลให้เกิดสึนามิมาถึงไทยก็ตาม แต่ก็จำเป็นต้องแจ้งให้ ประชาชนรู้เป็นระยะๆ  ซึ่งตรงนี้เป็นช่องว่างที่ศูนย์ฯต้องนำไปปรับปรุง การเตือนภัย

 “แผ่นดินไหวครั้งนี้ถือว่าโชคดีเพราะว่าเป็นการขยับทีละรอบคือ ระดับ  8.4 ริกเตอร์ 7.8 และขนาด 7.2 ริกเตอร์ใกล้เคียงกัน ซึ่งแสดงว่าการปลดปล่อยพลังงานหรือการเคลื่อนที่ 3 ขยับ แต่หากสะสมรวมกัน แล้วขยับเพียงครั้งเดียว เชื่อว่าผลกระทบจะแรงมาก และส่งผลให้เปลือกโลกยกสูง และอาจเกิดสึนามิ

ที่มีความรุนแรง ซึ่งลักษณะของการขยับตัวของเปลือกโลกก็ปลดปล่อยไปในทิศทางเดียวกันคือทาง เหนือของเกาะสุมาตรา” ดร.วรวุฒิ กล่าว
 


จาก     :     คม ชัด ลึก     วันที่ 15 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: [1] 2 3 ... 5   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง